18 พ.ค. 2022 เวลา 13:29 • คริปโทเคอร์เรนซี
เมื่อ Stablecoins ราคาไม่ stable
ในโลกนี้ช่างไม่มีอะไรแน่นอนจริง ๆ โดยเฉพาะโลกของ Cryptocurrency ที่ดูจะเป็นรถไฟเหาะ ตีลังกา ผาดโผนเอามากๆ แต่ก็มีสิ่งหนึ่งที่สามารถชะลอการผาดโผนของรถไฟขบวนนี้ลงได้บ้าง นั่นก็คือ Stablecoin
โดย Stablecoin ก่อนหน้านี้ถูกเคลมว่า เป็นเงินที่มั่นคง แม้มันจะไม่ได้มั่นคง 100% ก็ตาม เพราะมูลค่ายังอ้างอิงกับสกุลเงินใดสกุลเงินหนึ่งหรือสินทรัพย์ใดสินทรัพย์หนึ่งอยู่ดี
แต่ในความน่าสนใจก็คือ Stablecoin เป็นสินทรัพย์ประเภทที่อยู่เบื้องหลังของระบบการเงินหลายๆ รูปแบบบนโลกคริปโตฯ
Stablecoin คือ สกุลเงินดิจิทัลหรือคริปโตเคอร์เรนซีตัวหนึ่ง เหมือนอย่าง Bitcoin, ETH, BNB และอื่นๆ แต่มีคุณสมบัติพิเศษกว่า คือมีกลไกสำหรับการคงมูลค่าไว้
เช่น การตรึงมูลค่าด้วยสกุลเงินหลักของโลก การตรึงมูลค่าด้วยสินทรัพย์ดิจิทัลหนุนหลัง และการควบคุมปริมาณเหรียญด้วยกลไกทางคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
จึงทำให้ Stablecoin คล้ายกับเงิน เพราะรักษามูลค่าเอาไว้ได้ ดังนั้น Stablecoin จึงถูกนำมาใช้เป็นสื่อกลางในการชำระเงินมากขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งคริปโตฯ อื่นๆ เช่น บิตคอยน์ อาจจะทำไม่ได้ เพราะราคาขึ้น-ลงผันผวน
ตัวอย่างของ Stablecoin ก็อย่างเช่น USDT, USDC, BUSD, TUSD เป็นต้น
1
ภาพจาก Pinterest
Stablecoin มีต้นกำเนิดที่แตกต่างกัน ซึ่งเราควรทำความเข้าใจ ว่าแต่ละแบบกำเนิดมาได้อย่างไร วิธีการแบบไหน แล้วมูลค่าพื้นฐานของมันคืออะไร จะได้รู้ว่าสิ่งที่เราถือเป็นแค่โทเคนกลวงๆ หรือของจริงกันแน่
ปกติแล้ว Stablecoin เป็นเหรียญที่มีมูลค่าคงที่ 1:1 เสมอ โดยการคงมูลค่าให้คงที่ 1:1 มีหลายประเภท เช่น
>> แบบมีสินทรัพย์ในโลกจริงหนุนหลัง (Real world collateral)
>> แบบมี Cryptocurrency ค้ำอยู่ (Crypto collateral)
>> แบบไม่มีสินทรัพย์ใดหนุนหลังแต่ใช้กลไกทางคอมพิวเตอร์แทน (No collateral)
1) Stablecoin แบบมีสินทรัพย์ในโลกจริงหนุนหลัง (Real world collateral)
Stablecoin ที่มีทรัพย์สินค้ำอยู่จริง ก็อย่างเช่น USDT, BUSD, TUSD
ตัวยอดนิยมเลยก็คือ USDT ที่เค้าบอกว่ามีเงิน Dollar วางค้ำเอาไว้จริงๆ ในอัตรา 1 USDT ต่อ 1 US Dollar เลย
**ขอหมายเหตุไว้ว่า เค้าว่ามาอย่างนั้น เนื่องจากมีข่าวลือว่า USDT นั้นถูกพิมพ์ขึ้นมาโดยไม่มี US Dollar ค้ำเอาไว้จริงๆ ซึ่งข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรนั้น ขอข้ามไปนะคะ
ตัวนิยมต่อไป คือ BUSD (Stablecoin ของ Binance) ก็มี US Dollar แบ็คเอาไว้จริงๆ รวมไปถึง GOLD, DGX ที่เป็น Stablecoin ที่อ้างอิงมูลค่าทองคำ และมีทองที่เป็นทองคำจริงๆ จับต้องได้แบ็คเอาไว้ โดย 1 GOLD = 1 gram ของทองคำ ที่มีความบริสุทธ์ 99.99% (ทองที่เราสวมใส่จะบริสุทธ์ 96.5% เหมาะสำหรับสวมใส่มากกว่าเก็บเพื่อเพิ่มมูลค่า)
ภาพจาก Pinterest
เหล่านี้คือ Stablecoin ที่มีทรัพย์สินจริงๆ ค้ำเอาไว้ และราคาก็จะเปลี่ยนแปลงตามทรัพย์สินที่ค้ำนั้นอีกที ขึ้นอยู่กับเรามองมุมไหน เช่น ถ้ามองเงินบาท จะเห็นว่า US Dollar ราคาก็ไม่คงที่ในแต่ละวัน แต่ถ้ามองมุม US Dollar จะเห็นว่ามันแทบจะไม่เคลื่อนไหวเลยในแต่ละวัน
2) Stablecoin แบบมี Cryptocurrency ค้ำอยู่ ซึ่งสามารถแบ่งได้ 2 แบบ
>> แบบเอา Cryptocurrency ตัวเดียวมาค้ำ เพื่อสร้าง token ใหม่ที่อ้างอิงทรัพย์สินนั้น
>> แบบเอา Cryptocurrency หลายตัวมาค้ำเป็นหลักประกัน เช่น BTC, ETH, BNB หรืออื่นๆ มารวมๆ กัน แล้วสร้าง Cryptocurrency Stablecoin ขึ้นมาใหม่
ทั้งนี้ ทรัพย์สินที่เอามาค้ำจะมีมูลค่ามากกว่าเงินที่สร้างขึ้นมาเสมอ เพื่อให้ส่วนต่างเป็นหลักประกันที่น่าเชื่อถือ เพราะตลาด Cryptocurrency เป็นตลาดที่มีความผันผวนสูงมาก
3) Stablecoin แบบไม่มีสินทรัพย์ใดหนุนหลังแต่ใช้กลไกทางคอมพิวเตอร์แทน (No collateral) หรือแบบที่พยายามรักษามูลค่าไว้ด้วย Algorithm
Stablecoin แบบนี้ ยังแตกย่อยได้อีกหลายแบบ และแต่ละ coin จะมี algorithm ที่แตกต่างกัน ซึ่งทั้งหมด ไม่มีสินทรัพย์อะไรมาค้ำประกัน
แต่ว่าใช้กระบวนการของโค้ด smart contract ทำงานร่วมกับสภาพตลาด ที่สื่อออกมาเป็น ราคา ณ เวลาต่างๆ ที่ได้กำหนดเอาไว้ล่วงหน้า เช่น ทุกๆ 6 ชั่วโมง เพื่อทำการปรับมูลค่าของ coin อีกที
⛳ ทำไม Stablecoin จึงมีราคาที่ไม่ stable
อย่างที่กล่าวมาแล้ว ว่า stablecoin มีหลายแบบ และแต่ละแบบมีความแข็งแรงทนทานไม่เท่ากัน แบบ algorithm จะเป็นพวกที่ราคาสวิงมากที่สุด และด้วยความที่ไม่มีทรัพย์สินใดๆ ค้ำเลย มันสามารถวิ่งเข้าสู่ 0 ได้อย่างง่ายดาย
ถ้าเหรียญนั้นไม่มีใครสนใจ ราคาเหรียญก็จะตกลงไป และยิ่งไม่มีทรัพย์สินมาค้ำประกัน ก็ยิ่งหามูลค่าที่แท้จริงได้ยากหรือหามูลค่าไม่เจอเลย
ตัวอย่างล่าสุดอย่าง UST-LUNA ซึ่่งเป็นแบบที่ 3 คือ Stablecoin ที่ไม่มีสินทรัพย์หนุนหลัง แต่อาศัยกลไก Algorithmic Stablecoin เพื่อทำให้เหรียญมีมูลค่าคงที่ที่ 1:1
ภาพจาก Pinterest
ส่วนแบบที่มี cryptocurrency ค้ำประกัน ก็ถือว่ามีสินทรัพย์ค้ำอยู่ข้างหลัง ก็ทำให้มีความน่าเชื่อถือได้ระดับหนึ่ง แต่ก็ไม่แน่เสมอไปว่าราคาต้องเป็น $1 เสมอ
อย่างเช่น VAI ที่ออกแบบมาให้มีทรัพย์สินวางค้ำเอาไว้ 266.67% แต่ราคากลับต่ำกว่า $1 ซึ่งกรณีนี้ ก็เป็นไปตามกลไกความต้องการของตลาดนั่นเอง
ส่วนแบบที่มีทรัพย์สินจริงๆ ค้ำอยู่ ก็ใช่ว่าราคาจะนิ่งคงที่เสมอไป อย่างเช่น USDT, BUSD ก็เคยมีวูบสวิงไปถึง 10% อยู่เหมือนกัน แต่โอกาสเกิดขึ้นก็น้อยมาก
1
⛳ แล้ว Stablecoin กับเงินบาทละ
หลังจากที่เราพอจะเข้าใจแล้วว่า Stablecoin ที่มีมูลค่าเท่ากับ 1 US Dollar มันก็ควรจะมีค่าเท่ากับ 1 US Dollar เสมอ แต่ด้วยอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อเงิน US Dollar ของไทยเรานั้นเป็นอัตราลอยตัวทำให้เกิดความผันผวนในจุดนี้เพิ่มอีกจุดหนึ่ง
เมื่อประมาณกลางเดือนที่แล้วอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารแห่งประเทศไทยยังอยู่ที่ ประมาณ 33.663 บาทต่อ 1 US Dollar แต่วันนี้อยู่ที่ประมาณ 34.624 บาทต่อ 1 US Dollar แล้ว
และเมื่อไหร่ก็ตามที่มีความต้องการซื้อ USDT มากขึ้น ก็จะทำให้อัตราแลกเปลี่ยนแพงขึ้น อย่างเมื่อวันก่อนหลังเหตุการณ์ LUNA ถูกโจมตีและ bitcoin ก็ราคาตก แอดเข้าไปซื้อ USDT ผ่าน P2P ซึ่งวันนั้นราคาแพงขึ้นถึง 38-41 บาทต่อ 1 US Dollar เลยทีเดียวค่ะ
Cr. bemyblockchain
เรียบเรียงโดย : ลงทุนในบัญชีและภาษี
ขอบคุณทุกๆ กำลังใจที่มีให้กันเสมอค่ะ
🌷🌷❤❤🙏🙏🙏🙏❤❤🌷🌷
1

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา