25 ต.ค. 2022 เวลา 12:00 • การศึกษา
คุณเคยสมองไม่แล่นบ้างหรือเปล่า ?
วิธีเอาชนะอาการสมองไม่แล่น🤯
Cover
เฮ้อ😥... ทำไมถึงคิดไม่ออกกันนะ จะใกล้ถึงวันที่สอบหรือส่งรายงานแล้ว ไม่รู้จะเขียนอะไรเลย
จากที่ผมพิมมาใครเคยเป็นบ้างครับ คิดเท่าไหร่ก็คิดไม่ออก ไม่รู้จะเขียนอะไรลงไปในรายงาน ในข้อสอบ หรือในข้อความที่เจ้านายถามว่า "รายงานไปถึงไหนแล้ว" (อันหลังผมล้อเล่นนะ ถ้าคุณเจออยู่ละก็ ผมหวังว่าบทความนี้จะช่วยคุณ)
ผมมีวิธีมานำเสนอครับ วิธีเหล่านี้ได้นำมาจากการอ่านหนังสือ "Learn Like a Pro" ของ Dr.Barbara Oakley และ Olav Schewe จากคอร์สดังอย่าง LEARN HOW TO LEARN ใน Coursera
หนังสือและคอร์สเรียน
การที่จะเอาชนะอาการสมองไม่แล่นได้นั้น สิ่งที่เราจะต้องทำคือ
🌟การให้สมองสลับการทำงานในโหมด "ตั้งใจ" และ โหมด"ปล่อยใจ"
โหมดตั้งใจคืออะไร?
โหมดตั้งใจ คือสภาวะที่เราจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างตั้งใจ เช่นตั้งใจทำข้อสอบหรือตั้งใจจดจำคำศัพท์ใหม่
ซึ่งโหมดนี้จะทำให้เราเรียนรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่งได้อย่างลึกซึ้ง ทำให้เราจดจำได้ หรือก็คือใช้สมองอย่างเต็มที่นั้นเอง
แต่แน่นอนว่าการใช้สมองอย่างเต็มที่นั้น มันก็จะมีช่วงที่เราคิดอะไรไม่ออกหรือสมาธิหมดนั้นเอง ดังนั้นเราจำเป็นต้องพักหรือเข้าสู่โหมด "ปล่อยใจ"
โหมดตั้งใจ
โหมดปล่อยใจคืออะไร
โหมดปล่อยใจ คือสภาวะที่เราไม่ได้จดจ่ออะไรสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เป็นช่วงเวลาที่เราได้ทำการพักผ่อนนั้นเอง เช่นไปเดินเล่น อาบน้ำ หรือคุยกับคนอื่น ซึ่งช่วงนี้เองถือว่าเป็นช่วงที่สำคัญมาก ๆ ในกระบวนการการเรียนรู้เลยเก็ว่าได้เลย
ถ้ายังไม่เห็นภาพ ผมจะขอลองยกตัวอย่าง ถ้าหากคุณกำลังนั่งแก้สมการคณิตศาสตร์อย่าง x + 22 > 73 เรามักจะใช้โหมดตั้งใจในการทำเพราะเรามีสมาธิมากพอที่จะทำให้มันสำเร็จ แต่หากเราเจอโจทย์ที่ยากและต้องใช้ความคิดขึ้นเช่น เราจะหาค่า x ค่าใดบ้างที่ทำให้สมการเป็นจริงและสามารถนำค่า x นั้นมาลบกับ 73 แล้วได้ 7
จะเห็นได้ว่าเมื่อเราทำแก้สมการแบบแรกเราจะสามารถทำมันได้ทันที แต่หากมีการที่ต้องใช้ความคิดมากขึ้น วิธีการมากขึ้น บางทีอาจจะทำให้คิดไม่ออกทันที ซึ่งการที่เราหยุดพักแล้วออกไปเดินเล่น อาบน้ำ พอกลับมาทำโจทย์ใหม่ เรากลับคิดออกเฉยเลย
โหมดปล่อยใจ
ผมคิดว่าคุณผู้อ่านก็ต้องเคยเจอประสบการณ์แบบนี้ ที่คิดไม่ออก พอไปอาบน้ำความคิดก็ผุดออกมาทันที
ดังนั้นหากเราสมองไม่แล่นหรือคิดอะไรไม่ออก สิ่งที่ควรทำไม่ใช่การใช้ความตั้งใจมากขึ้น แต่เป็นการ "หยุดพัก" สักครู่ เมื่อให้ความรู้มาบรรจบกัน (คล้องจองไหมครับ)
🌟แต่ประเด็นสำคัญมันคือ เมื่อคุณอยู่ในโหมดตั้งใจ คุณต้องตั้งใจจริง ๆ ไม่อย่างงั้น โหมดปล่อยใจจะทำงานไม่ได้อย่างเต็มที่
ถ้าคุณนั่งตั้งใจเรียน แต่ในหัวกลับคิดเรื่องอื่นที่ไม่ใช่เรื่องเรียนเลย หรือ ทำตัวให้ตั้งใจเพื่อหวังให้โหมดปล่อยใจเป็นคนทำงาน" คุณคิดผิดแล้วละ เพราะโหมดปล่อยใจจะทำงานก็ต่อเมื่อ โหมดตั้งใจ ทำงานไม่ไหวแล้วนั้นเองหรือก็คือ คุณตั้งใจแก้ปัญหา จดจำ หรือเรียนรู้สุด ๆ แล้วและไม่สามารถเข้าใจอะไรเพิ่มเติมได้
ดังนั้นช่วงเวลานี้โหมดปล่อยใจทำเป็นคนรับช่วงต่อเอง ขอให้คุณนั่งจิบกาแฟ ฟังเพลงชิว ๆ แล้วกลับมาเรียนใหม่ คุณจะร้องว่า อ๋อ...เข้าใจแล้ว
ควรสลับโหมดกันไปมา
ทั้งหมดที่กล่าวมาส่วนตัวผมลองแล้วครับ แล้วมันได้ผลจริง ๆ รู้สึกถึงเวลาที่ตัวเองคิดออกตอนช่วงไปเดินเล่นกับอาบน้ำ ที่ตลกมาก ๆ คือคิดออกตอนไปเข้าห้องน้ำเนี่ยแหละครับ อุตส่าปวดหัวกับปัญหาตั้งนาน เดินไปเข้าห้องน้ำทีเดียวอ๋อเลย
สุดท้ายนี้ก็ขอเสริมเรื่องของการใช้โหมดปล่อยใจ เพราะบางคนก็อาจจะเข้าใจผิดเหมือนผม
ผมบอกว่าโหมดปล่อยใจคือการพักผ่อนจากการเรียนหรือการทำงานในโหมดตั้งใจ แล้วการพักผ่อนของคุณคืออะไร
ตอนแรกผมคิดว่าพักผ่อนจะเป็นกิจกรรมอะไรก็ได้ที่เราอยากทำเช่น เล่นเกม ดู Youtube ดูหนัง หรือเล่นโทรศัพท์
แต่คุณผู้อ่านรู้หรือไม่ว่า กิจกรรมเหล่านี้ล้วนใช้โหมดตั้งใจในการทำงานทั้งสิ้น
เอ้า..ไหนบอกว่าจะเข้าสู่โหมดปล่อยใจตอนที่เหนื่อยจากโหมดตั้งใจยังไงละ ทำไมพลังงานของโหมดตั้งใจถึงยังเหลืออยู่?
ตรงนี้จะเป็นเรื่องของสารเคมีในสมองอย่างโดพามีน หรือสารแห่งความสุข ซึ่งต่อให้คุณเหนื่อยจากการทำงานหรือเรียน แต่ขอให้คุณได้มีความสุขจากการได้ดูหนังหรือเล่นเกม สมองของคุณก็จะตื่นตัวทันที
แต่ทว่าหากคุณกลับมาเรียนรู้จากเรื่องเดิม คุณก็ต้องใช้โหมดตั้งใจอีก สุดท้ายเป็นว่าแทนที่สมองจะได้ใช้โหมดปล่อยใจ กลับต้องใช้โหมดตั้งใจในการเรียนรู้อีกซึ่งก็ใช้พลังงานหมดแล้ว คุณก็อาจจะรู้สึกว่า ทำไมคิดไม่ออก หรือรู้สึกว่ายากได้ครับ
แต่บางคนก็บอกว่าการทำกิจกรรมที่ว่ามาก็เป็นการผ่อนคลาย เรื่องนี้ก็ขึ้นอยู่กับบุคคลด้วยครับ
📖แต่อยากให้จำประเด็นว่า "โหมดปล่อยใจ" ก็คือสภาวะที่ไม่ต้องใช้ความคิดเยอะ ใช้นิดเดียวเท่านั้น คุณก็สามารถหากิจกรรมพักผ่อนได้เลย
เอาเป็นว่าผมจะยกตัวอย่างการใช้โหมดปล่อยใจให้เป็นประโยชน์ให้ดูครับ
- เริ่มต้นเขียนรายงานหรือทำการบ้านที่ยาก ๆ ก่อน พอถึงช่วงพักกินข้าว เราก็จะใช้โหมดปล่อยใจทำงานได้
- เริ่มดูหัวข้อหรือโจทย์ยาก ๆ ก่อนจะหยุดพัก
-อ่านเนื้อหายาก ๆ ก่อนเข้านอน
- ทำโจทย์ที่ยาก ๆ หลาย ๆ ครั้งก่อนอาบน้ำ
- ทบทวนคำศัพท์ก่อนออกไปห้าง
- ถ้าคิดไม่ออกก็แค่เดินไปเข้าห้องน้ำ
หวังเป็นอย่างยิ่งว่า บทความนี้จะมีประโยชน์สำหรับคุณผู้อ่านนะครับ
และสามารถติดตามเพจ SIT TO THINK ได้นะครับ จะโพสต์เนื้อหาดี ๆ แบบนี้ต่อไป
โฆษณา