25 พ.ค. 2022 เวลา 23:28 • ข่าวรอบโลก
Gen Z กับเงินเฟ้อระดับยอดดอยครั้งแรกในชีวิต
2
พวกเขาจะผ่านมันไปได้ด้วยดีกว่าคน Gen อื่นหรือไม่?
คนเจน Z คือคนที่มีอายุระหว่าง 18-25 ปีในปัจจุบัน
ตลอดช่วงชีวิตของคนเจนนี้ พวกเขาเพิ่งได้ประสบกับภาวะเงินเฟ้อสูงขนาดนี้เป็นครั้งแรกในชีวิต
ซึ่งต่างกับคนเจนอื่นที่อาจเคยเจอวิกฤติเงินเฟ้อหนัก ๆ มาบ้างแล้ว
คำถามคือ คนเจน Z ที่ไม่มีประสบการณ์การใช้ชีวิตท่ามกลางเงินเฟ้อรุนแรงมาก่อน
พวกเขาจะผ่านมันไปได้ไหม อย่างไร?
Alia Hudeib สาวเยอรมันวัย 23 ปี ให้สัมภาษณ์ว่า..
"ตอนฉันอยู่มัธยม ฉันวางแผนไว้ว่าตอนอายุเท่านี้ ฉันจะซื้อรถมือสองเอาไว้ขับไปเยี่ยมคุณยายในบาวาเลียบ่อย ๆ ฉันคิดว่าเงินเดือนฉันคงพอที่จะผ่อนรถได้สบาย ๆ "
"แต่มาถึงตอนนี้ ทุกอย่างคงต้องเลื่อนออกไปก่อน"
ปัจจุบัน Alia ทำงานบริการด้านสุขภาพ มีรายได้อยู่ที่ 600 ยูโร/เดือน แถมเธอยังใช้เวลาว่างจากงานประจำไปทำงานพาร์ทไทม์ในร้านกาแฟเพิ่มด้วย
"รายได้ที่ฉันมี ทำให้ฉันไม่สามารถกินอาหารออร์แกนิคอย่างที่ต้องการได้ ฉันต้องเลือกซื้อแต่อาหารราคาถูกที่สุดในซุปเปอร์มาเก็ตเท่านั้น"
ข้อมูลจากองค์กรแรงงานระหว่างประเทศรายงานว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วโลกในเดือนมีนาคมสูงขึ้น 3 เท่าเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว
ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดในรอบหลายสิบปี
สาเหตุของเงินเฟ้อเริ่มต้นมาจากปัญหาคอขวดของห่วงโซ่อุปทานที่ขาดหายไป อันเนื่องมาจากการระบาดของโควิด -19
ต่อเนื่องด้วยปัญหาสงครามยูเครน ที่ทำให้ราคาพลังงานและอาหารสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
นักวิจัยอาวุโสสถาบันการการจ้างงานแห่งชาติเยอรมนี ให้ความเห็นว่า..
"แม้เงินเฟ้อจะกระทบกับคนทุกรุ่น ทุกเจน แต่ผลกระทบในแต่ละคนนั้นต่างกันออกไป"
"ขึ้นอยู่กับพฤติกรรม ไลฟ์สไตล์ รวมถึงสถานะทางการเงิน"
ธนาคารโลก เคยเปิดเผยผลการศึกษาผลกระทบของเงินเฟ้อที่มีต่อคนกลุ่มต่าง ๆ พบว่า..
ครัวเรือนรายได้ต่ำ มักเกิดผลกระทบมากกว่าคนที่มีทรัพย์สิน
และคนรุ่นหนุ่มสาวก็มีความยืดหยุ่นในการปรับตัวได้ดีกว่ากลุ่มผู้อาวุโส
Valerie Lorraine นักศึกษาวัย 24 เป็นตัวอย่างของคนเจน Z ที่สามารถยืดหยุ่นต่อผลกระทบจากอัตราเงินเฟ้อได้ดี โดยเธอบอกกับผู้สื่อข่าวว่า..
"แฟลตที่เธออยู่แจ้งว่าต้องขึ้นค่าเช่า เธอกับเพื่อนอีกสองคนจึงไปหาห้องเช่าที่เล็กกว่าและถูกกว่าเพื่ออยู่แบบหารค่าใช้จ่ายร่วมกันแทน"
1
Valerie ยังเล่าให้ฟังอีกว่า เพื่อนนักศึกษาหลายคนของเธอต้องย้ายกลับไปอยู่กับพ่อแม่ที่อยู่นอกเมือง เพราะสู้ค่าเช่าต่อไปไม่ไหว
การปรับตัวแบบที่เกิดขึ้นกับ Valerie เป็นสิ่งที่คนอายุ 30-40 ปีในเยอรมันหลายคนที่มีครอบครัวแล้ว ทำไม่ได้ เพราะพวกเขามีลูก
ข้อดีของประเทศที่มีขนส่งมวลชนดีและประชาชนไม่นิยมมีรถยนต์ส่วนตัวแบบเยอรมนีก็คือ ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของยานพาหนะที่ไม่เพิ่มขึ้น
1
แม้จะมีความพยายามขึ้นค่าแรงเพื่อชดเชยอัตราเงินเฟ้อในแต่ละประเทศ แต่ส่วนใหญ่ผลที่ได้คือค่าแรงไล่ตามราคาสินค้าไม่เคยทัน
คนเจน Z ส่วนใหญ่ยังไม่มีทรัพย์สินที่มูลค่าเติบโตตามอัตราเงินเฟ้อเช่นอาคาร บ้านหรือที่ดิน
ทำให้พวกเขาไม่มีอะไรมาชดเชยรายได้ที่หายไปจากค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น
สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือ Gen Z จำนวนมากเข้าสู่ตลาดแรงงานช้าลง 1-2 ปี เพราะติดปัญหาผู้ประกอบการลดการจ้างงานช่วงโควิด-19 ระบาดรุนแรง
ความยืดหยุ่นแบบสุด ๆ ของการใช้ชีวิตเท่านั้น ที่น่าจะเป็นคำตอบของการอยู่รอดของคน Gen Z ในยุคเงินเฟ้อสูงทะลุฟ้า
1
ต้องกินง่าย
อยู่ง่าย
มีงานอะไรทำได้ ก็ต้องทำ
3
ติดตามอ่านบทความได้ที่
โฆษณา