11 มิ.ย. 2022 เวลา 14:04 • ข่าวรอบโลก
พาเหรดสีรุ้งมุ่งสู่ความเท่าเทียม
รู้จัก LGBTQ+ และ Pride Month ครั้งแรกในไทย
2
ผ่านพ้นไปอย่างวังเว่อร์และเลอค่า!! สำหรับ “นฤมิตไพรด์” กับขบวนพาเหรดและธงสีรุ้งโบกสะบัดอย่างสง่างาม เทศกาลระดับโลกที่เรารู้จักกันในชื่อ “Pride Month” การเฉลิมฉลองของ LGBTQ+
2
ซึ่งในประเทศไทยนั้น ได้ grand opening จัดอย่างยิ่งใหญ่เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 มิ.ย. ที่ผ่านมา ใครที่ได้ชมภาพงานแล้วเกิดสงสัยว่างานนี้คืออะไร แล้วเขาเดินกันไปเพื่ออะไร? ในคอนเทนต์นี้มีคำตอบจ้า!!
  • ที่มาของ Pride Month
Pride Month เดือนแห่งความภาคภูมิใจ คือการระลึกถึงเหตุการณ์จลาจล Stonewall Riots ในวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ.1969 ในบาร์ที่ชื่อ ‘สโตนวอลล์ อินน์’ ย่านแมนฮัตตันของนครนิวยอร์ก เรื่องแซดๆ ก็คือในยุคนั้นตำรวจมักเลือกปฏิบัติใช้ความรุนแรงกับกลุ่มคนรักร่วมเพศ
ซึ่งพาเหรดรำลึกในเดือน June ของทุกปีนั้น นอกจากจะเลิศด้วยสีสัน การแต่งตัวสุดปังอลังการแล้ว ผู้คนที่ออกมาร่วมขบวนต่างต้องการเรียกร้องสิทธิ ความเท่าเทียม เพื่อเป็นการแสดงสัญลักษณ์การต่อต้านความอคติ แต่ก่อนจะรู้ว่าพวกเขาเรียกร้องอะไรบ้าง เราไปทำความรู้จักตัวย่อ LGBTQ+ กันก่อน
  • LGBTQ+ ย่อมาจากอะไร?
1
L มาจากเลสเบี้ยน (Lesbian) เพศหญิงที่มีความสนใจในเพศหญิงด้วยกัน
G มาจาก เกย์ (Gay) หรือคำว่าชายรักชายที่เราคุ้นเคย แต่ความจริงสังคมตะวันตกก็ใช้คำนี้กับผู้หญิงเหมือนกันนะ
B มาจากไบเซ็กซวล เป็นกลุ่มที่ชอบได้ทั้งเพศตรงข้าม และเพศเดียวกัน
T มาจาก ทรานส์เจนเดอร์ (Transgender) คนข้ามเพศ ใช้กระบวนการเปลี่ยนผ่านทางการแพทย์และฮอร์โมนกระตุ้น
Q มาจาก เควียร์ (Queer) กลุ่มคนที่ไม่เสน่หาในคนต่างเพศ (Straight) หรือ เพศตรงเพศกำเนิด (Cisgender)
แล้วสิ่งที่ LBGTQ+ ออกมาเรียกร้องมีอะไรบ้าง?
แน่นอนสิ่งที่ยิ่งใหญ่สำหรับทุกคนก็คือความรัก LBGTQ+ จึงเรียกร้องให้รัฐฯ อนุญาตให้คู่รักเพศเดียวกันสามารถแต่งงานกันได้อย่างถูกกฎหมาย เสนอให้ใช้คำเรียก “คู่สมรส/คู่ครอง” แทนคำว่า “สามี-ภรรยา” และใช้คำว่า “ผู้คน” แทน “ผู้ชาย-หญิง”
พ.ร.บ. คู่สมรส เรียกร้องให้เป็นพ.ร.บ.คู่ชีวิต
1. ชาย-หญิงจดทะเบียนสมรสกันได้กรณีอายุ 17 ปีแต่ยังไม่ถึง 20 ปีต้องได้รับความยินยอมจากพ่อแม่ ส่วนร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต กำหนดให้บุคคลทั้งสองฝ่ายไม่ว่าจะหญิง-หญิง หรือชาย-ชาย มีอายุ 18 ปี แต่อายุยังไม่ถึง 20 ปีต้องได้รับความยินยอมจากพ่อแม่ก่อน
2. การมอบของหมั้น สำหรับคู่สมรสชายหญิง กำหนดให้ฝ่ายชายมอบให้ฝ่ายหญิง แต่ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต กำหนดให้ฝ่าย “ผู้หมั้น” มอบให้แก่ “ผู้รับหมั้น” หรือสามารถแลกเปลี่ยนของหมั้นกันได้
3. การมอบสินสอดให้ฝ่ายชายมอบให้แก่บิดามารดาของหญิง ในร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต กำหนดให้ฝ่ายผู้หมั้นมอบให้แก่บิดามารดาของผู้รับหมั้น หรือสามารถมอบให้แก่บิดามารดาของทั้งสองฝ่ายได้
4. การเข้าถึงสิทธิประโยชน์และสวัสดิการของรัฐได้ตามกฎหมาย กำหนดให้คู่สมรส และสามี-ภรรยา ส่วนร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต กำหนดให้ได้ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้ คู่สมรส เช่น สิทธิเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลข้าราชการ การรับประโยชน์ทดแทนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม
XO เปิดกว้างเรื่องเพศวิถี LBGTQ+ ที่นี่ จึงทั้งเริ่ดทั้งทำงานเก่งจ้า!!!!
XO ของเราได้ชื่อว่าเป็นองค์กรที่ Open สุดๆ เราสนับสนุนความหลากหลายทางเพศมาตั้งนานแล้ว ที่นี่เราไม่เคยปิดกั้นคนที่ตั้งใจทำงาน ไม่ว่าจะอยู่ในเพศวิถีใด หากทำงานเก่ง ก็สามารถเริ่ดๆ เชิดๆ รับเงินเดือน มีสิทธิ์ที่จะมีความสุขในที่ทำงานได้เท่าเทียมกับทุกคน
แถมยังไม่เคยฟิกซ์ว่าคนที่จะอัพเวลได้จะต้องเป็นชายจริงหญิงแท้เท่านั้น LBGTQ+ หากเก่งจริง เจ๋งจริงก็สามารถรับมงก้าวสู่ระดับหัวหน้าได้เช่นกัน
ส่วนสวัสดิการของเราก็ปัง!! และจัดให้แบบเท่าเทียมนะจ๊ะ อย่างเช่น การฉีดวัคซีนที่ไม่ได้ระบุว่าต้องฉีดให้พ่อแม่ หรือคนที่เป็นครอบครัวที่อยู่อาศัยกับพนักงานของเราเท่านั้น แต่ครอบคลุมคนที่อยู่ใกล้ชิด ครอบครัวที่อาจจะเป็น LGBTQ ชายชาย หญิงหญิงที่อยู่ด้วยกัน พนักงานก็สามารถใส่ชื่อเพื่อเข้ามารับวัคซีนฟรีกับบริษัทได้เหมือนกัน
ทั้งแฟร์ทั้งแคร์แบบนี้จะไม่ให้รักได้ยังไงละ XO…เลิฟๆ นะจ๊ะ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา