28 ก.ค. 2022 เวลา 00:00 • ไลฟ์สไตล์
😍 จะดีเเค่ไหน ? ถ้าเงินก้อนที่เรามีอยู่ สามารถทำงานสร้างรายได้อย่างต่อเนื่องแทนเรา 💰
K WEALTH 💚 ขอแนะนำวิธีการเลือกลงทุนให้เหมาะกับความเสี่ยงที่รับได้ และระยะเวลาในการลงทุนที่คุณวางแผนไว้
2
มีเงินล้านแรกแล้ว!! ลงทุนยังไงต่อดี?
ตัวอย่างเช่น
สำหรับคนที่รับความเสี่ยงได้สูง เลือกลงทุน 👉 หุ้นปันผล
สำหรับคนที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง เลือกลงทุน 👉 กองทุนรวมผสมปันผล
สำหรับคนที่รับความเสี่ยงได้ต่ำ เลือกลงทุน 👉 ประกันสะสมทรัพย์
1
💚 แล้วถ้าอยากวางแผนเฉพาะคุณ ให้เงินออมงอกเงยต้องทำอย่างไร
K WEALTH มีบทสรุปมาให้อ่านกันต่อ
● Passive Income คือ การให้เงินทำงานสร้างรายได้อย่างต่อเนื่องจากเงินก้อน โดยการลงมือทำครั้งแรกครั้งเดียว
1
● ผู้ลงทุนที่ต้องการรายได้ต่อเนื่องสม่ำเสมอให้มองหาการลงทุนที่ได้รับผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ย ปันผล เงินจ่ายคืนระหว่างลงทุน ที่มีประวัติการจ่ายแน่นอนหรือระบุการจ่ายชัดเจน
1
● ก่อนให้เงินทำงานสร้างรายได้ต่อเนื่องควรมีความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่จะลงทุน เลือกลงทุนให้เหมาะกับความเสี่ยงที่รับได้และระยะเวลาในการลงทุน รวมถึงติดตามสถานการณ์และผลการดำเนินงานจากสินทรัพย์ที่ลงทุนอย่างสม่ำเสมอ
1
ใน 1 วัน ทุกคนมีเวลา 24 ชั่วโมงเท่ากัน การใช้แรงทำงาน เชื่อว่าไม่มีใครสามารถทำได้ตลอด 24 ชั่วโมง แต่เงินที่เราหามาได้นั้นสามารถทำงานแทนเราได้ ทั้งในยามที่เราหลับและตื่น
ซึ่งจะมีวิธีไหนบ้างที่เราสามารถให้เงินทำงานสร้างรายได้อย่างต่อเนื่องจากเงินก้อน โดยการลงมือทำครั้งแรกเพียงครั้งเดียว หรือ Passive Income ติดตามได้จากบทความนี้
​วิธีสร้างรายได้สม่ำเสมอความเสี่ยงปานกลาง-สูง ​​​​​ ​
สำหรับคนที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง-สูง มีวิธีลงทุนหลายอย่างที่ทำให้เรามีโอกาสได้รายได้สม่ำเสมอ เช่น
● หุ้นกู้/พันธบัตรรัฐบาล
1
ทางเลือกลงทุนที่ให้ผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ย มีโอกาสได้สม่ำเสมอตามระยะเวลาที่กำหนดไว้
เช่น หุ้นกู้บริษัท A อายุ 3 ปี จ่ายดอกเบี้ย 2% ต่อปี โดยจ่ายดอกเบี้ยให้ทุก 3 เดือน ซึ่งดอกเบี้ยที่ได้รับจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% แต่ก็มีความเสี่ยงทั้งในรูปของการผิดนัดชำระ ชำระล่าช้า หรือบริษัทที่ออกหุ้นกู้ล้ม เสี่ยงสูญเงินต้นได้เช่นกัน
หลักเลือกอย่างง่ายให้พิจารณาหุ้นกู้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือที่ระดับ BBB- ขึ้นไปเป็นกลุ่มที่ลงทุนได้ ส่วนระดับที่ต่ำกว่านี้ หากต้องการลงทุนจำเป็นต้องดูรายละเอียดบริษัทหรือสถานะการเงินให้ชัดก่อนลงทุน
1
● กองทุนรวมที่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล หรือรับซื้อคืนอัตโนมัติ
1
กองทุนรวมจะมีนโยบายการลงทุนที่แตกต่างกัน โดยมีทั้งแบบที่มีนโยบายจ่ายเงินปันผลและไม่จ่ายเงินปันผล บางกองทุนมีการรับซื้อคืนอัตโนมัติ (auto redemption)
เช่น กองทุน K-GINCOME-A(R) ที่มีการรับซื้อคืนอัตโนมัติไม่เกินปีละ 12 ครั้ง
ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ทำให้เรามีรายได้เข้ามาสม่ำเสมอทุกเดือน ซึ่งกองทุนที่มีนโยบายจ่ายปันผลก็ไม่ได้การันตีว่าจะต้องจ่ายทุกครั้ง ขึ้นอยู่กับผลประกอบการ ทั้งนี้ เงินปันผลที่ได้รับจากกองทุนจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 10%
2
● หุ้นปันผล
1
การลงทุนในหุ้นก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้เรามีรายได้เข้ามาสม่ำเสมอได้เช่นกัน โดยเลือกลงทุนในหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีผลการดำเนินงานที่ดี มีกำไรอย่างต่อเนื่อง และมีประวัติการจ่ายปันผลสม่ำเสมอ
โดยสามารถเลือกหุ้นปันผลได้จากดัชนี SETHD (SET High Dividend 30 Index) ที่ได้รวบรวมหุ้นที่มีประวัติการจ่ายเงินปันผลสูงสุดไว้ 30 บริษัท ซึ่งเงินปันผลจากหุ้นจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 10%
1
● หุ้นกู้อนุพันธ์อ้างอิงกับหุ้นสามัญ (Equity-Linked Notes : ELN)
2
ELN เป็นหุ้นกู้ที่ผู้ลงทุนมีสิทธิซื้อขายหุ้นตามราคาที่ต้องการ
หากราคาหุ้นไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนใกล้เคียงกับหุ้นกู้ แต่หากราคาหุ้นเป็นไปตามที่คาดการณ์ ผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนอ้างอิงกับหุ้นรายตัวด้วย
ซึ่งเหมาะกับผู้ลงทุนรายใหญ่ (High Net Worth) ที่ต้องการผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝาก แต่ความเสี่ยงไม่สูงเท่ากับการลงทุนในหุ้นโดยตรง ถือเป็นวิธีที่สามารถสร้างกระแสเงินสดในระหว่างที่รอซื้อหุ้นได้ ซึ่งผลตอบแทนที่ได้รับจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15%
1
● ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs)
1
REITs เป็นการลงทุนที่มีโอกาสได้รับเงินปันผลสม่ำเสมอจากรายได้ค่าเช่าหรือค่าใช้บริการของสินทรัพย์ที่ REITS นั้นไปลงทุน ซึ่งเงินปันผลที่ได้จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 10%
1
● อสังหาริมทรัพย์ให้เช่า
1
เป็นการลงทุนในอสังหาฯ อย่างบ้าน คอนโดฯ เพื่อปล่อยเช่า โดยจะได้รับค่าเช่าเป็นรายเดือน
หากใครยังผ่อนบ้านหรือคอนโดฯ ที่ให้เช่าไม่หมด การปล่อยเช่าโดยได้ค่าเช่าไม่น้อยกว่าค่าผ่อนถือเป็นวิธีที่ดี เพราะเหมือนมีคนมาช่วยเราผ่อนนั่นเอง
แต่วิธีนี้ใช้เงินลงทุนสูง และมีความเสี่ยงหากไม่สามารถหาคนมาเช่าได้อย่างต่อเนื่อง หรือไม่สามารถเก็บค่าเช่าได้ ซึ่งรายได้จากค่าเช่าถือเป็นรายได้ตามมาตรา 40(5) ที่จะต้องนำมายื่นภาษีกลางปีและปลายปี
1
วิธีสร้างรายได้สม่ำเสมอความเสี่ยงต่ำ ​​​​​
2
สำหรับคนที่รับความเสี่ยงได้ต่ำ การทำประกันชีวิตแบบที่มีเงินคืน นอกจากจะได้ความคุ้มครองชีวิตตามสัญญาแล้ว ยังมีเงินคืนให้เราสม่ำเสมอตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ และเงินคืนที่ได้รับไม่เสียภาษี เช่น
● ประกันสะสมทรัพย์
1
เป็นประกันชีวิตที่เน้นออมเงินไว้ใช้ในอนาคต โดยมีการจ่ายเงินคืนที่แน่นอนให้ผู้ทำประกันตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ เช่น ประกันเพื่อสะสมทรัพย์ 1525 ที่จ่ายเบี้ย 15 ปี คุ้มครอง 25 ปี และมีเงินคืนให้ทุกปี ปีละ 1% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย (สิ้นปีกรมธรรม์ที่ 1-24) หากทำทุนประกัน 500,000 บาท จะได้รับเงินคืนทุกปี ปีละ 5,000 บาท
สำหรับใครที่อยากได้เงินคืนหรือมีเงินบำนาญที่แน่นอนให้ใช้ทุกเดือนก็สามารถทำประกันสะสมทรัพย์หรือประกันบำนาญ 12 ฉบับในช่วงเวลาที่ต่างกัน
เพื่อให้ได้รับเงินเข้ามาสม่ำเสมอทุกเดือน หรือเลือกทำประกันฉบับเดียว โดยทำทุนประกันสูงหน่อย เพื่อให้ได้รับเงินคืนหรือบำนาญเป็นเงินก้อน แล้ววางแผนทยอยใช้เงินก้อนนั้นในแต่ละเดือนก็สามารถทำได้เช่นกัน
1
ตัวอย่างการสร้าง Passive Income ตามความเสี่ยงที่รับได้
1
หากมีเงินก้อน 1 ล้านบาท ต้องการสร้างกระแสเงินสดให้มีรายได้เข้ามาสม่ำเสมอ โดยเลือกสินทรัพย์ลงทุนตามระดับความเสี่ยงที่รับได้ ในแต่ละปีจะมีกระแสเงินสดเข้ามาดังนี้
ตัวอย่างการสร้าง Passive Income ตามความเสี่ยงที่รับได้
ทั้งนี้ หากมีเงินลงทุนสูง ก็ยิ่งมีโอกาสสร้าง Passive Income ได้มากขึ้น สำหรับคนที่รับความเสี่ยงได้สูง แนะนำให้มีสินทรัพย์ลงทุนทั้งแบบที่เสี่ยงสูงและเสี่ยงต่ำรวมอยู่ด้วย เพื่อช่วยลดความผันผวนหรือความไม่แน่นอนของผลตอบแทนที่จะได้รับจากการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงสูงนั่นเอง
1
คำแนะนำก่อนให้เงินทำงานสร้างรายได้ ​​​​​
3
สำหรับใครที่อยากมีรายได้เข้ามาอย่างต่อเนื่อง มีคำแนะนำก่อนให้เงินทำงานสร้างรายได้ ดังนี้
- รู้จักและเข้าใจในสินทรัพย์ที่จะลงทุนเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นสินทรัพย์อะไร มีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน ผู้ลงทุนควรศึกษา ทำความเข้าใจถึงลักษณะเงื่อนไข วิธีสร้างรายได้ ผลตอบแทน และความเสี่ยงให้ดีก่อนลงทุน
1
- เลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่เหมาะกับความเสี่ยงที่รับได้และระยะเวลาในการลงทุน รวมถึงกระจายความเสี่ยงในการลงทุนไปยังหลายๆ สินทรัพย์
- ติดตามสถานการณ์และผลการดำเนินงานจากสินทรัพย์ที่ลงทุนอย่างสม่ำเสมอ โดยทบทวนอย่างน้อยปีละครั้ง
การให้เงินทำงานสร้างรายได้อย่างต่อเนื่องแทนเรา ไม่ว่าจะมาในรูปแบบของดอกเบี้ย เงินปันผล เงินคืน หรือค่าเช่าก็ตาม
หากมีความรู้ความเข้าใจ และเลือกลงทุนได้เหมาะกับความเสี่ยงที่รับได้ ก็จะทำให้เรามีกระแสเงินสดเข้ามาอย่างต่อเนื่องตามที่ตั้งใจ และช่วยให้เงินของเราไม่ลดน้อยถอยลงไปในภาวะเงินเฟ้อ ข้าวของราคาแพง และค่าครองชีพที่สูงขึ้น
Disclaimer: “ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน”
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย​​
บทความโดย K WEALTH GURU สุวิมล ยิ่งเจริญรุ่งโรจน์ AFPT™
💚ติดตามเทรนด์การลงทุนจาก K WEALTH แอดไลน์ไว้เลย คลิก 👉 https://kbank.co/3a7ZJcb
#KBankLive #KWEALTH #ลงทุน #ลงทุนตามความเสี่ยง #PassiveIncome
1
โฆษณา