16 มิ.ย. 2022 เวลา 12:19 • สุขภาพ
สว. แล้ว ยาก็เยอะ ขี้ลืม ลืมแล้วรีบกินยาเลย? หรือรอก่อน ?
ไปหาหมอ2ที่ได้ยาซ้ำกันสองชุด..ทำยังไงดี?
บทนี้เหมือนเขียนให้ตัวเองด้วยค่ะ(มีพวกมั้ย)
บทนี้เหมือนเขียนให้ตัวเองด้วย เป็นคนขี้ลืมเรื่องกินยาตลอดๆๆๆ
ทำไงดี บอกกันบ้างค่ะ
📍สว. สิ่งที่มาพร้อมกับวัย นอกจากความสุขแบบง่าย ๆ เช่นอ่านบีดีก็เป็นสุขแล้ว ก็จะมีเรื่อง"กินยา"นี่แหละที่กวนใจสว.
สว. ต่อให้เป็นคนแข็งแรงก็จะต้องมี ไอเทมยากินอยุ่ทุกวัน ยาบำรุงสมอง ประสาท วิตะมินต่างต่างนานา..
❕แล้วถ้ามีปัญหาสุขภาพ มีโรคภัยไข้เจ็บ ไขมันสูง ความดันสูง เบาหวาน และอีกสารพัด..ก็จะยิ่งวุ่น
💊"ยา"จึงเปรียบเสมือนเพื่อนคู่กายของเรา เหล่าสว.
แต่อย่าลืมค่ะ ความชราทำให้อวัยวะของร่างกายเราเสื่อมไปด้วย การกำจัดยาหรือการบริหารยาจึงต้องรู้และศึกษาไว้บ้าง
ขอเล่าแต่ตัวหลัก ๆ
👉ตับ-เป็นตัวบริหารยา หมายถึง ยาส่วนใหญ่จะไปแตกตัว หรือไปถูกเปลี่ยนให้เป็นหน่วยย่อยทางเคมีที่ตับ
👉ไต- เป็นผู้ขับ"ยา" ส่วนที่เกิน ส่วนเหลือใช้ ส่วนที่ร่างกายไม่เอาแล้ว(ของเหลือที่ไม่ได้ประโยชน์ หรือสารเคมีหน่วยจิ๋ว ๆ ที่มากไปจะสะสมในร่างกายจนเกิดโทษ)
ระบบการดูดซึมยาของระบบทางเดินอาหาร ด้วย เสื่อมลงเช่นกัน
ด้วยเหตุปัจจัยต่าง ๆ
  • "ยา"จึงเป็น เพื่อนที่คบให้สนิทได้ยากกับ สว.
ถ้าการดูดซึมยาลดลง การกระจายตัวของยาจะไม่ค่อยดี ก็อาจพบปริมาณยาที่ค้างในร่างกายเพิ่มได้
เกิดอะไรต่อไป..>>>ทำให้มีความเสี่ยงที่จะได้รับ"ยา" ปริมาณมากเกินความจำเป็น
ยามากเกิน เกิดอะไร>>> ทำให้เกิดผลข้างเคียงหรืออันตรายจากยาได้
ดังนั้นเรื่องผู้สูงอายุกินยาจึงไม่ใช่เรื่องง่ายเลยค่ะ เป็นเรื่องธรรมดาก็จริง แต่ห้ามมองข้าม ต้องให้ความสำคัญมาก ๆ
ปัญหาจากการกินยา
ขนานยามีเยอะในผู้สูงอายุ
ปัญหาในทุก ๆ วัน
- เสี่ยงต่อการหยิบยาผิด
- ประมาทเลินเล่อ?
คงไม่ใช่ทั้งหมด เกิดจากเหตุผลต่างๆ ได้อีก👇
- กินยาผิดเพราะสายตาเสื่อม ตาพร่ามัว มองไม่ชัด
- เป็นโรคที่เกี่ยวกับตา เช่นเป็นต้อกระจก ทำให้อ่านฉลากยาไม่ได้
- ตายาวอ่านตัวหนังสือเล็กๆไม่ได้
- หยิบยาผิด
  • เพราะฉะนั้นอย่าดุป้า(พา) หรือลุง ตา ยาย..นะๆๆ
ความจำ
- ลืมกินยา กินยาไม่ตรงเวลา
- ปัญหาด้านความจำที่ถดถอย
- ความจำเสื่อม หลงลืม หรือจำไม่ได้เลยว่าต้องกินยา
- ทำให้ลืมกินยา หรือกินยาไม่ตรงเวลา
คิดเอาเอง
- เมื่อลืมกินยาตามช่วงเวลาที่แพทย์สั่ง สว.เกือบทุกคนเลยค่ะ จะไปรวมกินเป็นมื้อเดียวกันในรอบมื้อถัดไปแทน ซึ่งเป็นการกินยาที่ผิดวิธีค่ะ
- กินเป็นมื้อเดียวกัน หรือกินไม่เป็นช่วงเวลา จะส่งผลทำให้ได้ยาเยอะเกิน ยาออกฤทธิ์มั่ว ประสิทธิภาพยาก็ไม่พอ ทำให้การรักษาโรคไม่ได้ผล และเป็นอันตราย
กินยา..ยิ่งเยอะยิ่งแข็งแรง
* มีความเชื่อผิดๆ ว่า
👉ยิ่งกินยามาก ยิ่งดี
ผู้สูงอายุและผู้ดูแลมักมีความเชื่อเหมือนๆ กัน อีกแล้วว่า
"กินยาหลายขนานทำให้ร่างกายแข็งแรง มีกำลังวังชา"
บางคนก็เชื่อคำโฆษณาเรื่องอาหารเสริม สมุนไพร
มาก ๆ ๆๆ ๆ ๆ
จึงหายาหลายชนิดมากินเอง
โดยไม่ปรึกษาหมอ
การกินยาเกินความจำเป็นมักจะส่งผลต่อร่างกายผู้สูงอายุที่มีความเสื่อมถอย ทำให้ตับและไต ยิ่งมีความเสื่อมเร็วขึ้น
ป้าพา เองแหละ
เก็บยาไม่ถูกต้อง
- สว. จะไม่รู้ว่ายาประเภทไหนควรเก็บให้พ้นแสง
- ยาประเภทไหนควรเก็บที่อุณหภูมิห้องหรือในตู้เย็น ..
เก็บผิดที่ส่งผลให้ยาเสื่อม
คุณภาพได้
กินไปเที่ยวไป
กินยารวมมิตร
เพราะมีหลายโรค หลายภาวะ ต้องรักษาหลายโรค สว.เลยถูกกินยา หรือหยิบยากิน"ซ้ำ"ขนานได้ง่าย ๆ ทำให้เกิดผลข้างเคียง และรักษาโรคไม่ได้ผล
ข้อควรรู้ ถ้าต้องกินยาเยอะ
ต้องมีผู้ดูแลมาคอยจัดยาให้
อ่านฉลากยาให้ดี ถูกต้องที่สุด
ดูวันหมดอายุของยาบ่อย ๆ
2
กินยาตามแพทย์สั่งอย่างถูกต้องสม่ำเสมอ
ตรวจติดตามกับแพทย์
ไม่ใช่ร้านขายยา นะคะ
ไม่ควรไปซื้อยามาใช้เอง
ถ้ามีหลายโรคยิ่งต้องระวัง
มาก ๆ ค่ะ
...
ยังมีอีกเยอะค่อยมาเล่าต่อ
(เอิ่ม ป้ายังไม่เสร็จงาน)
* ยาระบบประสาท
ยากันชัก
ยารักษาพาร์กินสัน
ยาละลายลิ่มเลือด
หรือยาป้องกันเลือดแข็งตัว
💊🥼👆
สำคัญและยุ่งยาก
ขอติดไว้ก่อนค่ะ
ก่อนจบบทความ
📍ยาก่อนอาหารควรรับประทานก่อนอาหารอย่างน้อย 30 นาที
📍ยาหลังอาหาร จะกินหลังอาหารทันที หรือหลังอาหาร 15 นาที ก็ได้ค่า
1
บ๋ายบาย
ป้าพา
ปล. 1.ลืมบอกว่า แปะคำถามเฉพาะเจาะเป็นเรื่องๆ ไว้
บทนี้แค่ทีเซอร์ ถ้ามีคนสงสัยค่อยเขียนตอบค่ะ
2. หาหมอ2 ที่ ง่ายๆ เลยเอายาชุดแรกไปให้หมอดูด้วยค่ะ
3. หรือโทร ไลน์ เมล ถามให้เข้าใจ
ถ่ายรูป จดยา ให้ครบละเอียด ถามได้ๆๆๆ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา