30 มิ.ย. 2022 เวลา 04:11 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
สมน้ำหน้าพวกอัจฉริยะที่ไม่มีความสามารถนี้ 😏
สมน้ำหน้าเจ้ามดอัจฉริยะ 😒
เป็นที่ทราบกันดีว่า การที่ใครสักคนเกิดมา ฝึกฝน ทำอะไรบางอย่างพร้อมกับคนอื่น ชั่วโมงบินเท่าคนอื่น แต่กลับมีบางคนที่โดดเด่นหรือทำได้ดีกว่าค่าเฉลี่ยไปมากพอสมควรจะถูกเรียกว่า “อัจฉริยะ”
ในฐานะที่เราเป็นคนธรรมดา 🤪
อะไรที่ทำให้คนเราไม่เหมือนกันนะ !?
พันธุกรรม? สารเคมีในสมอง? สภาพแวดล้อม? อาหารการกิน?
ใช่ครับ ลูกชิ้นธรรมดาอย่างเราสงสัยอย่างมาก ถึงขั้นหนีเรียนไปไล่ดูสารคดี บทสัมภาษณ์ และศึกษาประสาทวิทยาเพื่อหาคำตอบ จนคุณผู้อ่านคำตอบบางส่วนที่สามารถเข้าใจได้ใน ep นี้แบบเข้าใจง่าย ไม่มีศัพท์วิชาการ ชื่อสารเคมี หรือชื่อเซลล์ประสาทยาว ๆ สัญญาเลยงับ
*คำเตือน ไม่มีเจตนาพาดพิงบุคคลใด เป็นเพียงแสดงความคิดเห็นหลังจากที่ศึกษาเรื่องแนวนี้จากความอิจฉาเหล่าคนที่ทำสิ่งต่าง ๆ ได้ดีกว่าค่าเฉลี่ยในเวลาอันสั้นและนำมาเขียนเพื่อเป็นการสรุปแนวคิดที่ได้ศึกษาในภาษาที่เข้าใจง่ายเท่านั้น และไม่มีเจตนาแนะแนว หรือสอนให้นำไปใช้เพียงแสดงให้เห็นเท่านั้น
🚨 เตือนแล้วน้าา
ส่วนเจตนามีเพียงสองอย่างคือยอดไลก์และยอดติดตามเท่านั้น >///<
2
ที่จริงมันมีวิธีทดสอบความเป็นอัจฉริยะง่าย ๆ อยู่โดยไม่จำเป็นต้องไปสอบวัด IQ BQ หรืออะไรก็แล้วแต่
นั่นคือสุ่มเลข 10 หลัก ตามด้านล่างนี้ หรือจะมากกว่านี้เพิ่มหลักไปเรื่อย ๆ เลยก็ได้ครับ
ถ้าอยากลองดูก็ตามนี้เลยครับ [https://random.thaiware.com/]
เว็บสุ่มช่วงเลข ต้องกรอกเป็นช่วงจำนวน
ตามสถิติหากจำได้ 7 ตัวเรียงลำดับถูกต้อง จะเป็นค่าเฉลี่ยที่คนทั่วไปจดจำได้จากการมองเพียงครั้งเดียวตามทฤษฎีที่ว่าสมองคนเรามีความจำระยะสั้นอยู่ 7 บิท
หากคุณจำได้ตั้งแต่ 8 ตัวขึ้นไปก็ขอแสดงความยินดีด้วยครับ “คุณคืออัจฉริยะ” 😎
หากย้อนกลับไปโพสต์วิทยาศาสตร์ก้าวหน้าเมื่อมีงานศพ [https://www.blockdit.com/posts/6224463002d685e786cc7206] จะเห็นการเปรียบเทียบความช่ำชองเป็นการเดินเส้นทางเดิมซ้ำ ๆ จนเกิดเป็นทางเดินถาวร
แน่นอนว่าถ้ามีโอกาสได้คุยกับบุคคลที่ประสบความสำเร็จจะได้เห็นความเป็นวินัยของพวกเขาที่จะเหยียบย่ำทางเดิมซ้ำ ๆ จนกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในสิ่งนั้น
ดังคำกล่าวขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า “ซ้ำ ๆ ซาก ๆ คือพ่อแม่ของความจำ”
แต่เหล่าอัจฉริยะไม่ได้เดินย้ำ ๆ บนเส้นทางเดิม ๆ เพียงอย่างเดียวน่ะสิ
พูดง่าย ๆ ก็คือ “พวกเขาไม่ได้แค่เหยียบย่ำเส้นทางเดิมซ้ำ ๆ แต่พวกเขาเอาเสียมไปขุดหน้าดินออกด้วย หรือแม้แต่ทำสัญลักษณ์ ติดป้ายบอกทาง” จุดนี้ทำให้สามารถเก่งเกินค่่าเฉลี่ยได้เร็วกว่าคนทั่วไป
แต่เสียมที่ว่านั่นคืออะไรนะ !?
คำตอบคือ “การเรียนรู้” ซึ่งมีวิธีเดียวคือ “การลงมือปฏิบัติ” อ้างอิงจากครูอาจารย์และหนังสือเกี่ยวกับการเรียนรู้ 🧠
อัจฉริยะไม่ได้มีเวลาในการปฏิบัติที่มากกว่าคนปกติ แต่พวกเขามีเครื่องมือในการปฏิบัติที่เป็นฟังก์ชันที่ติดพร้อมมาแล้วตั้งแต่แรก ฟังก์ชันนั้นเรียกว่า “การเชื่อมโยง”
9 1 8 7 5 1 7 2 4 7 คือชุดตัวเลขที่สุ่มได้ก่อนหน้านี้
ในสายตาที่มองมัน ยังไงมันก็คือตัวเลข แต่ในสายตาของเหล่าอัจฉริยะกลับไม่ใช่ พวกเขาเชื่อมโยงสิ่งของเหล่านี้จนมองเห็นเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง
กล่าวคือ 9 อาจไม่ใช่ 9 อาจเป็นแตงโม ลูกโป่ง สีเหลือง หรืออะไรก็แล้วแต่ที่ไม่ใช่แค่เลข 9
บทสัมภาษณ์ของผู้เข้าแข่งขันหุ่นยนต์คนหนึ่ง นักพัฒนาซอฟแวย์ประจำทีมที่มีส่วนสำคัญในการพาทีมไปสู่เป้าหมายได้พูดไว้ในบทสัมภาษณ์ว่า
“The way my brain works, I can’t think the things in words. I think in feelings and numbers. The feelings that number give me— Well, the number two I am facing south and I am looking at the corner of a building. The number three, it can be a tree. It can be something purple. ….etc”
หรือสรุปสั้น ๆ ก็คือ เขามองเห็นสิ่งต่างเป็นความรู้สึกและตัวเลข
เมื่อพวกเขาต้องจำเลข 10 ตัว 20 ตัว 30 ตัวเรียงกันเป็นลำดับ การจำของเขาจึงไม่ใช่การจำตัวเลข แต่เป็นการจำลำดับสิ่งต่าง ๆ ที่เขามองเห็น อาจจะมีปฏิสัมพันธ์กัน หรืออยู่ตำแหน่งต่าง ๆ ที่เขาเห็นตามชีวิตประจำวันที่คุ้นชินจากการเชื่อมไปผูกติดไว้ตั้งแต่ต้น
อาจเคยได้ยินว่าการจำที่จะทำให้ไม่ลืมคือจำ Topic แล้วทุกอย่าจะไหลลื่น
อันที่จริงคำว่า Topic ตามรากศัพท์แปลว่าตำแหน่ง หรือสถานที่ การนำอะไรไปผูกติด หรือเชื่อมโยงกับสถานที่จึงช่วยให้เราจดจำได้ง่าย เพราะสมองเราออกแบบให้จดจำสถานที่ แผนที่เพื่อเอาตัวรอด
ทีนี้ก็ได้เวลาเป็นอัจฉริยะแล้ว 👀
ก่อนอื่นให้จินตนาการตามลูกชิ้นเลยฮะ เริ่มจากเลข 0 ถึง 9 ดังนี้
0 นึกถึงลูกชิ้น ลูกบอล ลูกปิงปอง หรือหลุมดำ
1 นึกถึงไม้เสียบลูกชิ้น ไม้เบสบอล ไม้จิ้มฟัน ขวดน้ำ เขายูนิคอร์น
2 นึกถถึงเป็ด งู หงส์ ห่าน
3 นึกถึงก้น กุญแจมือ ริมฝีปาก ยกทรง ตัวเอ็ม (M หรือ m)
4 นึกถึงเรือใบ ธง พิซซ่า ตัวเอ (A หรือ a)
5 นึกถึงตะขอ ม้าน้ำ ตัวเอส (S หรือ s)
6 นึกถึงงวงช้าง ไม้กอล์ฟ โยโย่ จักรยานล้อเดียว เก้าอี้
7 นึกถึงเครื่องหมายถูกต้อง หน้าผา บานพับ ที่หนีบถั่ว บูมเมอแรง
8 นึกถึงตุ๊กตาหิมะ แว่นตา รูจมูก อนันต์
9 นึกถึงลูกโป่ง ค้อนยักษ์ ที่สอยมะม่วง สัปไปรท์
1
ภาพนี้แสดงตัวอย่างการเชื่อมโยงตัวเลขกับสิ่งของ
เมื่อสร้างการเชื่อมโยงสำเร็จทีนี้ก็ได้เวลาจำเลข 10 หลักกันแล้ว ขออนุญาตเล่าสิ่งที่คิดเป็นตัวอย่างเลยนะครับ
ลูกโป่ง (9) หลุดจากเสาลอยไปโดนไม้เสียบลูกชิ้น (1) จนแตก แรงระเบิดทำให้ตุ๊กตาหิมะ (8) ตกหน้าผา (7) แต่ยังไม่ตกไปในทันทีเพราะติดตะขอ (5) อยู่ ก่อนที่ร่วงลงไปเพราะม้ายูนิคอร์น (1) บินชนตกไป
หลักจากตกลงไปหน้าผา (7) ก็ถล่มลงทำให้เป็ดยักษ์ (2) ที่ถูกฝังอยู่ตื่นขึ้น ด้วยความแค้นที่ถูกปิดผนึกมานานมันเลยกระโจนไปทำลายเรือใบที่แล่นอยู่ใกล้ไม่ทันระวังโดนม้าทหารปาบูมเมอแรง (7) ตัดคอขาด
เรื่องอาจจะกาวหน่อย แต่ลองหลับตาแล้วนึกเลขดูจะพบว่าจำได้ครบ 10 ตัวโดยไม่ยากเย็นนัก 🙃
นอกจากนี้ยังมีวิธีเชื่อมโยงรูปแบบอื่นอีกจากเพจลูกชิ้นเข้าเรียน [https://www.blockdit.com/posts/617992f173e86d03d137ad30]
หลังจากที่ชมอัจฉริยะไปมากพอแล้ว ตอนนี้ก็ได้เวลานินทาอัจฉริยะกัน นึกคือพูดถึงสิ่งที่อัจฉริยะไม่มี
ข้อแรก - ความสามารถในการเชื่อมโยงจาก Mindset ที่อัจฉริยะมีมาแต่เกิดนั้นที่จริงไม่ว่าใครก็ตามสามารถฝึกฝนได้ อาจใช้เวลานานหน่อยในช่วงเริ่มต้น
ข้อที่สอง - เนื่องจากชุดการเชื่อมโยงของเหล่าอัจฉริยะมีมาแต่กำเนิด ทำให้พวกเขาอาจจะเรียนรู้บางเรื่องได้รวดเร็วกว่าและเอาชนะค่าเฉลี่ยได้ในเวลาไม่นาน แน่นอว่าว่าถ้าเขาเรียนรู้ “ผิด” อยู่นั่นก็เร็วกว่าคนทั่วไปด้วย
และนั่นคือ “หายนะ” เพราะหากอ่านเรื่องสั้นของลูกชิ้นในโพสต์ที่แล้วจบ จะพบว่านั่นคือ “การยึดติด” นั้นยากต่อการแก้ไข (ไม่ได้บอกว่าไม่สามารถแก้ไขได้)
พูดง่าย ๆ คือ ในการเรียนสักเรื่อง หากทำความเข้าใจผิดไปเล็กน้อยในโจทย์ปัญหาที่ไม่ยากแต่คำตอบยังถูกอยู่ เพียงแต่แนวคิดผิด เช่น โจทย์ข้อนั้นคำตอบสุดท้ายต้องใช้ 2x2 แต่เขาอาจจะใช้เป็น 2^2 ซึ่งคำตอบก็ยังเหมือนกัน
แน่นอนว่า หากข้อสอบออกโจทย์แนวนั้นแต่ในขั้นตอนสุดท้ายเป็น 3x4 การใช้ 3^4 จึงไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้อง
บุคคลที่ Unlearn สิ่งที่รู้แบบผิด ๆ ได้ง่ายกว่ากลับไม่ใช่อัจฉริยะ เพราะการเชื่อมโยงที่หนาแน่นทำให้ยากต่อการแก้ไข
ประมาณว่า ถ้าเห็นต้นไม้เป็นเลข 4 เลข 4 ก็ไม่ได้มีแค่ต้นไม้ ยังมีสีแดง เรือใบ ธง พิซซ่าและอื่น ๆ ขึ้นกับแต่ละคน ซึ่งหากเลข 4 ถูกลบออกจากระบบตัวเลข ใครจะลบเลข 4 ออกจากใจได้ก่อนกันระหว่างคนที่เห็น 4 เป็นแค่เลข 4 กับคนที่เห็นของ 10 อย่างเป็นเลข 4
เช่นเดียวกับกรณีที่เราลืมความทรงจำวัยเด็กไปแล้ว แต่เมื่อพบเจอของเล่นในวัยเด็กเราจะนึกทุกอย่างออกราวกับว่าเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อกี้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง นั่นแหละครับ “การเชื่อมโยง”
คุณครู อาจารย์ นักวิชาการ นักการศึกษาทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “ประสาทสัมผัสทั้ง 5” ช่วยทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีที่สุด หรือแม้แต่ประโยคที่ว่า การเรียนรู้มีวิธีเดียวคือ “การลงมือปฏิบัติ” ก็เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงหลาย ๆ ส่วนนั่นเอง
ก่อนที่เราจะไปหัวเราะเยาะเหล่าอัจฉริยะ อยากบอกให้รู้ว่าเราทุกคนมีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกัน ได้มาเท่ากันนั่นคือ “พลังศรัทธา” - อ้างอิง เนื้อเพลงผู้ชนะ เสก โลโซ [https://youtu.be/UETzHjlHm6U]
ใช่ครับ ถึงเราจะสามารถเรียนรู้วิธี เลียนแบบอัจฉริยะได้ แต่พวกเขาก็มี “ความพยายาม” ไม่ต่างจากเรา
ดังนั้น การจะสมน้ำหน้าพวกอัจฉริยะตามชื่อโพสต์คงจะพูดได้แค่ว่า “สมน้ำหน้าที่ลบข้อมูลผิด ๆ ช้าเหมือนเต่า” 🤣
1
โฆษณา