1 ก.ค. 2022 เวลา 17:07 • ปรัชญา
ลูกเอเชียต้องรับผิดชอบความสุขของพ่อแม่ ในขณะที่ลูกเยอรมันต้องรับผิดชอบตัวเองให้ได้ (ตามวัยที่เหมาะสม)
  • 1.
    "โตมาต้องรวย เพื่อแสดงสถานะทางสังคม"
  • 2.
    "ในวัยเด็กห้ามมีแฟน"
  • 3.
    "ต้องสอบให้ได้ที่ 1 ต้องเรียนหมอ เรียนวิศวะ"
  • 4.
    "พ่อแม่ไม่เคยรักษาสัญญาใดๆ ที่เคยให้ไว้ได้เลย"
  • 5.
    "เธอคือสาเหตุที่ทำให้พ่อโมโหเป็นฟืนเป็นไฟตะโกนด่าลั่นบ้าน เพราะสอบติดในคณะที่พ่อไม่ชอบ"
  • 6.
    "ผู้ชายคนนี้พ่อแม่ไม่ชอบ"
  • 7.
    "มีลูกในเวลาที่พ่อแม่อยากให้มี"
  • 8.
    "ลูกคนนั้นส่งเงินให้พ่อแม่ใช้ทุกเดือนๆ ละสองหมื่น"
3
Family (ภาพ: Unsplash 2021)
อลิสเติบโตในไทย กลายเป็นผู้หญิงคนหนึ่งตกสู่ภาวะของการเป็นโรคซึมเศร้า ตลอด 30 ปี โดยไม่รู้สาเหตุ หลายครั้ง กลางดึกตื่นขึ้นมานั่งร้องไห้โดยไม่มีสาเหตุ จนต้องไปหาหมอเพื่อรับยากล่อมประสาท
ในสังคมเอเชียมีค่านิยมว่า ลูกที่ดีคือลูกกตัญญู ลูกที่ทำให้พ่อแม่มีความสุข สบายใจ เลี้ยงดูพ่อแม่ได้ ลูกคือตุ๊กตาที่พ่อแม่เป็นคนปั้นจากดิน อยากให้เป็นรูปร่างแบบไหน ใส่ชุดอะไร พ่อแม่มีสิทธิ์ที่จะเลือกและหยิบมาใส่ให้ และลูกบางคนต้อง “เชื่อง” เพื่อให้ พ่อแม่เป็นคนกำหนดอนาคต ส่งผลให้คิดแก้ปัญหาอะไรเองไม่เป็นเลย จนตลอดชีวิต
เพราะคำว่า “รักที่ไร้สติ” ความหมายจึงกลายพันธุ์ แปลเป็นคำว่า “พ่อแม่รังแกฉัน”…
ปัญหาครอบครัวไทย มักมาพร้อมกับการไม่เปิดใจรับฟังกันกันของสมาชิกภายในบ้าน ลองเซิร์ชคำว่า “พ่อแม่” ในทวิตดู เราจะเห็นปัญหาเต็มพรืด ซึ่งสังคมเลือกที่จะไม่พูดถึงมัน ปล่อยให้เด็กที่เจอปัญหา ต้องเผชิญด้วยตัวเองเพียงลำพัง
toxic relationship ที่สังคมตั้งใจมองข้ามคือคนในครอบครัว กระทำการ abuse ง่าย ลอยนวลง่าย นึกภาพแฟนกันยังเลิกยาก แต่เด็กยังต้องพึ่งพาพ่อแม่ ก็ตกอยู่ในลูปนรกนั่นแหละ ทุกคนก็ปิดตาข้างนึง กลัวความจริงเปิดโปงว่าพ่อแม่ก็ชั่วร้ายได้ไม่ต่างจากคนแปลกหน้า เลวร้ายได้ไม่ต่างจากโลกข้างนอก
Twitter @godsfavaudience • Jun 24
ไม่กล้าแสดงความรักกับลูกแต่อยากให้ลูกรัก ไม่ชมลูกต่อหน้าเพราะกลัวเหลิง การบ่นและด่าแบบใส่อารมณ์คือความหวังดี คิดว่าเลี้ยงลูกแบบเพื่อนแต่ถ้าชั้นผิดชั้นไม่ขอโทษนะเพราะชั้นคือพ่อแม่เธอ
Twitter @cherriesbabe_ • Jun 27
2
กูบอกเลยครอบครัวเอเชียเป็นปัจจัยหลักในการทำให้เด็กเป็น low-self esteem เขาชอบด้อยค่ามากกว่าเห็นคุณค่าของการกระทำ กว่าเด็กจะรับรู้และเห็นคุณค่าของตัวเองก็ตอนโตมาแล้ว และพวกเขาไม่เคยได้รับคำขอโทษจากปากผู้ใหญ่ที่สร้างความเจ็บปวดพวกนั้น
Twitter @mspinknherblue • Jun 27
1
ความคาดหวังของพ่อแม่ที่มีต่อเด็กในรูปแบบต่างๆ บังคับให้ทำตามคำสั่ง ไม่เปิดใจรับฟัง ไซโค จนส่งผลให้เด็กเกิดภาวะเครียด เป็นสาเหตุของโรคซึมเศร้า มี self esteem ต่ำ รวมไปถึงเด็กที่ต้องออกจากโรงเรียนมาทำงานหาเงินเลี้ยงน้อง หรือเลี้ยงพ่อแม่ที่พิการซ้ำซ้อน อาจจะด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ หรือหลักวิธีคิดแบบเมืองไทยเมืองพุทธที่ต้องกตัญญู กตเวที คนอายุน้อยกว่าห้ามเถียง ห้ามถาม ก็ตามที
แต่ในสังคมเยอรมันนี กลับไม่ใช่เช่นนั้น…
แม่เยอรมันในปัจจุบันยังคงได้รับอิทธิพลจากคู่มือการเลี้ยงลูกที่ชื่อว่า “The German Mother and Her First Child” ที่ถูกตีพิมพ์ในปี ค.ศ.1934 สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งเป็นยุคที่นาซีครองอำนาจตามระบอบคอมมิวนิสต์ ในยุคนั้นจัดว่าหนังสือเล่มนี้ เป็นคู่มือสามัญประจำบ้าน เป็นที่นิยมในบรรดาแม่ๆ ชาวด๊อยช์ในสมัยนั้นที่ต้องการสร้างลูกให้เป็นยอดคนที่เข้มแข็ง แม้ว่าหนังสือเล่มนี้ปัจจุบันเป็นหนังสือที่ห้ามพิมพ์ซ้ำก็ตามที [1]
คู่มือ The German Mother and Her First Child (ภาพ: warrelics.eu)
พ่อแม่เยอรมันเลี้ยงลูกให้รู้จักการพึ่งตัวเองเป็นหลัก เมื่อลูกล้ม ก็ปล่อยให้ลุกเอง เมื่อเด็กโดนประตูหนีบ ก็ไม่ตีประตู หรือโทษว่าผีผลัก ฝึกวินัยลูกด้วยการปล่อยให้ลูกกินข้าวเองที่โต๊ะตั้งแต่หัดนั่ง จนกว่าจะกินหมด ถ้าไม่ทำตาม หมดเวลากิน ก็จะไม่มีอะไรให้กิน ไม่มีพ่อแม่ด๊อยช์คนไหนคอยเดินตามป้อนข้าวลูก แบบพ่อแม่ไทยที่เราเห็นตามถนนหน้าหมู่บ้าน ซึ่งหารู้ไม่ว่านั่นคือการฝึกให้ลูกโตไม่เป็น และขาดวินัย
Chlid (ภาพ: Unsplash 2017)
เด็กเยอรมันมีสิทธิ์เลือกในสิ่งที่ตัวเองชอบ มีสิทธิ์ตั้งคำถาม ถูกฝึกให้เริ่มหารายได้พิเศษตั้งแต่อายุ 13 ปี และออกไปใช้ชีวิตด้วยตัวเอง เช่าบ้านของตัวเองได้ตั้งแต่อายุ 18 ปี ทุกคนมีสิทธิ์เรียนฟรีจนจบสายวิชาชีพ หรือมหาวิทยาลัย ระหว่างฝึกงานก็มีรายได้
เด็กเยอรมันทุกคนได้รับเงินเดือนจากรัฐบาล ที่เรียกว่า Kindergeld ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 18 ปี เป็นจำนวนเงิน 219-250 ยูโร หรือราวๆ 10,000 บาท [3]
เด็กสามารถโทรแจ้งตำรวจได้เมื่อถูกพ่อแม่ทำร้าย เพราะที่นี่มีกฎหมายคุ้มครองเด็กที่เข้มแข็ง รวมถึงมีหน่วยงานที่ดูแลเด็กที่มีปัญหาจากครอบครัว ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญดูแลโดยเฉพาะ
เด็กเยอรมันมีอิสระทางความคิด พ่อแม่และครู มีหน้าที่เพียงแค่ช่วยประคับประคอง ให้พวกเขาเติบโตในแบบที่เขาเป็น
ลูกเยอรมันไม่ต้องรับผิดชอบต่อชีวิตของพ่อแม่ และพ่อแม่เยอรมันก็ไม่ได้มีความคาดหวังว่า ลูกต้องมาเลี้ยงดูยามแก่เฒ่า เพราะทุกคนมีประกันชีวิต เป็นกฎหมายที่ทุกคนต้องจ่าย โดยไม่มีข้อยกเว้น เป็นประกันที่ครอบคลุมถึงวัยเกษียน หรือเมื่อช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ทุกคนมีเงินสำรองสำหรับใช้จ่าย จ้างคนดูแลเมื่อยามที่ตนเองแก่จนกระทั่งวันสุดท้ายของชีวิต
คนทุกคนในเยอรมนี มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบชีวิตของตัวเอง
หากพ่อแม่คนไหนที่ยังคงคิดว่า ตนคือผู้เลือกวิธีดำเนินชีวิตให้กับลูก ก็เท่ากับเป็นการจำกัดเสรีภาพ สติปัญญา และความสามารถ เข้าทำนอง "พรหมลิขิต" ที่ขีดเส้นชีวิตให้บุคคลอื่น อันเป็นแนวคิดแบบ จิตนิยม (Idialism) ซึ่งในความเป็นจริงนั้น เด็กทุกคนมีความแตกต่างกัน มีศักยภาพที่แตกต่างกัน มีความชอบ ความถนัด และจุดมุ่งหมายในชีวิตไม่เท่ากัน นั่นแปลว่าทุกคนควรมีเสรีภาพที่จะพัฒนาตนเองตามลักษณะเฉพาะของตน อันเป็นหลักการแบบ อัตถิภาวนิยม [2]
1
Child cooking (ภาพ: Unsplash 2021)
เด็ก ไม่ควรที่จะต้องมารับผิดชอบชีวิตของผู้ใหญ่
แต่มีเด็กไทยจำนวนไม่น้อยต้องรับผิดชอบค่าเรียนหนังสือ ค่าอาหาร รวมถึงชีวิตพ่อแม่ตัวเอง จนกระทั่งสร้างปัญหาทับถมทางเศรษฐกิจ หรือปัญหาทางสังคมตามมา รวมถึงปัญหาฆ่าตัวตาย เพราะไร้คนรับฟัง เพียงเพราะคำว่า กตัญญูกตเวที ที่มันค้ำคอ
หากคุณไม่พร้อมจริงๆ อย่ามีลูกเพียงเพราะต้องการให้เขามาเลี้ยงดูคุณในตอนแก่ เพราะนั่นคือการผลักภาระให้คนรุ่นต่อไป
แต่หากคุณมีลูกเมื่อพร้อมแล้ว ดีใจด้วย แค่ขออย่ากดดันลูก ปล่อยให้เขาเป็นในสิ่งที่เขาอยากเป็นเถอะ
หากใครที่กำลังเป็นลูก และกำลังเจอกับภาวะปัญหาในครอบครัวอย่างที่กล่าวมา ก็อยากบอกว่า
เราไม่ต้องรับผิดชอบความสุขของแม่
เราไม่ต้องรับผิดชอบความสุขของพ่อ
เราไม่ต้องรับผิดชอบต่อ ความวิตกกังวล ความเครียดของแม่
เราไม่ต้องรับผิดชอบต่อความรู้สึกผิดของแม่
เราไม่ต้องรับผิดชอบต่อความอับอายใดๆ ของพ่อ
เราไม่ต้องรับผิดชอบต่อสภาวะที่ไร้ความสามารถของพ่อ
การเติบโตมาเป็นคนไทย เราอาจจะต้องรู้สึกผิดมากๆ
เราอาจจะถูกทำให้รู้สึกว่า เป็นคนที่มีความผิด ถ้าทำให้พ่อต้องโกรธ และทำให้พ่อต้องลงไม้ลงมือ
เราจะถูกทำให้รู้สึกว่า หน้าที่ของลูกที่ดี คือต้องแก้ปัญหาให้พ่อแม่
เราต้องพูดเพื่อพ่อแม่ เราต้องทำเพื่อพ่อแม่
เราถูกทำให้รู้สึกว่า เราต้องทำทุกๆ อย่าง อย่างที่พ่อกับแม่ต้องการ เพื่อทำให้พ่อกับแม่มีความสุข
เราได้เรียนรู้ว่า เราสามารถช่วยเหลือพ่อแม่ได้ และเราก็จะทำ แต่ไม่ใช่หน้าที่ของเราที่จะต้องรับผิดชอบให้พวกเขามีความสุข หรือความทุกข์ เพราะว่า มันเป็นความรับผิดชอบของพ่อกับแม่เองน่ะแหละ ถ้าพวกเขาอยากจะมีความสุข พวกเขาต้องทำเอง ถ้าเขาทำให้ตัวเองทุกข์ ใครจะไปช่วยได้ล่ะ
เพราะเราก็มีชีวิตของตัวเองเหมือนกัน
เราสามารถที่จะคิดในสิ่งที่แตกต่างจากพ่อแม่ได้
เราสามารถที่จะรู้สึกที่แตกต่างจากที่พ่อแม่รู้สึกได้
เพราะเราก็เป็นมนุษย์ ที่มีความรู้สึกเหมือนกัน
และมันไม่โอเค ที่พ่อกับแม่จะรู้สึกผิดกับเรา
พ่อแม่ไม่ควรต้องมากำหนด ว่าเราต้องใช้ชีวิตอยู่ในที่แบบไหน
พวกเขาไม่มีหน้าที่มาบอกให้เรารู้สึกอย่างไร และไม่จำเป็นที่จะทำเหมือนเราไม่มีทางเลือก
เราต้องทำตามที่แม่อยากให้เราทำ ตอนนี้ เดี๋ยวนี้ และต้องไม่มีทางเลือกอื่น เพราะว่าพวกเขาคือพ่อกับแม่ ไม่ มันไม่ถูกต้อง
2
เรารักพ่อแม่ในแบบของเรา
เราเคารพพวกเขา
เราจะช่วยเหลือพวกเขา
แต่เราไม่ต้องรับผิดชอบต่อความสุขของพวกเขาจนกระทั่งตัวเราเป็นทุกข์
Family (ภาพ: Unsplash 2017)
พื้นฐานทางความคิดของคนไทยที่มีอิทธิพลจากพุทธศาสนา เราควรทำความเข้าใจใหม่ให้ถูกต้องเกี่ยวกับคำว่า “กตัญญูกตเวที”
พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า หากไม่มีพ่อแม่ให้กำเนิดและเลี้ยงดูแล้ว เราคงไม่สามารถเติบโตมาเป็นคนสร้างความดี หรือความชั่วได้ พ่อแม่จึงมีพระคุณ และควรตอบแทนคุณนั้น โดยทั่วไป คือ ช่วยเหลือกิจการงาน ดูแลเมื่อยามชรา ช่วยเหลือเมื่อเจ็บป่วย หากใครที่ทำได้เกินร้อย ก็ขออนุโมทนา
แต่ด้วยในสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันที่มันย่ำแย่แบบนี้ พยายามอย่าเอามาตรวัดใดๆ มาสร้างความกดดันให้ตัวเองจนต้องกลายเป็นโรคซึมเศร้า เพราะมันอาจสร้างปัญหาใหม่ ให้เราต้องกลายเป็นคนล้มละลายทางเศรษฐกิจและจิตใจ
ความกตัญญูคือเครื่องหมายของคนดี
แต่การแสดงความกตัญญูต้องไม่ควรสร้างความเดือดร้อนให้ใครโดยเฉพาะกับตัวเอง เราจำเป็นต้องอาศัยความพอดี ตอบแทนคุณตามความสามารถที่เรามีให้เต็มที่ อย่าทำจนเกินกำลังจนกระทั่งทำให้เรากลายเป็นคนป่วยของสังคม
และการตอบแทนที่สูงที่สุดของการเป็นชาวพุทธ คือ พาพ่อแม่ให้รู้จักกับการทำทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา เพราะสามสิ่งนี้ คือสิ่งที่จะพาพ่อแม่ให้ดับทุกข์ในปัจจุบันได้ จนพาตัวเองไปสู่จุดสูงสุดคือนิพพาน [4]
จงรักพ่อแม่ให้ถูกทาง
รับผิดชอบต่อความสุขที่แท้จริงของตัวเองก่อน
เมื่อนั้น เราจึงจะมีพลังเผื่อแผ่ให้กับพ่อแม่และสังคมได้
หากบทความนี้ดีมีประโยชน์ ฝากแชร์ต่อ เผื่อว่าข้อความนี้อาจจะช่วยคนที่กำลังหาทางออกของชีวิตตนเองอยู่ก็ได้ค่ะ
อ้างอิง
[1] Thanet Ratanakul. (2019). The Matter. ความเย็นชาที่ถูกส่งต่อให้ลูกหลาน เมื่อการเลี้ยงดูแบบนาซีส่งผลกับครอบครัวชาวเยอรมัน. https://thematter.co/science-tech/the-german-mother-and-her-first-child/72336
[2] บ้านจอมยุทธ์. (2543). ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม. www.baanjomyut.com/library_2/educational_philosoph/03.html
[3] Dr. Britta Beate Schön. (2022). So viel Kindergeld steht Dir zu. www.finanztip.de/kindergeld
[4] พระไตรปิฎกฉบับหลวง. (องฺ.เอก. 20/278). https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/item.php?book=20&item=278&items=1/
โฆษณา