23 ก.ค. 2022 เวลา 23:00 • การตลาด
บุกตลาดขนมหวานสำเร็จรูป (Confectionery) ในสหรัฐอเมริกา
“ตามรายงาน the US Confectionery State of Industry ประจำปี 2565 จัดทำโดย National Confectioners Association รายงานว่า ยอดขายขนมหวาน สำเร็จรูป (Confectionery) ในปี 2564 ของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11 เมื่อเทียบกับปี 2563 และมากกว่าร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับปี 2562”
ตลาดสินค้าขนมหวานสำเร็จรูป
ตลาดค้าปลีกสินค้าขนมหวานสำเร็จรูปสหรัฐฯ มีมูลค่า 36.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2564 ขยายตัวเพิ่มร้อยละ 11 ยอดขายแยกเป็น
ขนม Chocolate มูลค่า 21.1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มร้อยละ 9
ขนม Non-Chocolate มูลค่า 12.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มร้อยละ 14.5
ขนม Gummy/Mints มูลค่า 3.1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มร้อยละ 3.8
และคาดว่า ยอดขายจะเพิ่มขึ้นเป็น 44.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2569
อัตราการบริโภคสินค้าขนมหวานสำเร็จรูปของผู้บริโภคสหรัฐฯ คิดเป็น 25.7 ปอนด์/คน/ปี ในปี 2563 หรือเพิ่มขึ้น 1 ปอนด์จากเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา โดยการบริโภคแยกเป็นการบริโภค Chocolate 13.7 ปอนด์/คน/ปี และ การบรโภค Non-Chocolate คิดเป็น 12.0 ปอนด์/คน/ปี
อุตสาหกรรมการผลิตของสหรัฐฯ
อุตสาหกรรมการผลิตขนมหวานสำเร็จรูป (Confectionery) มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ด้วยมูลค่าค้าปลีกสูงถึง 37 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2564 และมีการจ้างงานมากกว่า 58,000 คนซึ่งมีโรงงานมากกว่า 1,500 แห่ง ใน 50 รัฐ ซึ่งนับได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีผู้ผลิตจำนวนมาก ผลผลิตของอุตสาหกรรมในประเทศมีสัดส่วนตลาดสูงถึงร้อยละ 70 ในขณะที่สินค้าขนมหวานสำเร็จรูปนำเข้าจากต่างประเทศคิดเป็นเพียงร้อยละ 30
ผู้นำตลาดขนมหวานสำเร็จรูปในสหรัฐฯ
ผู้นำตลาดขนมหวานสำเร็จรูป รายสำคัญ ได้แก่ Hershey’s, Mars Wrigley, Ferrero, Mondelez, Nestle’, General Mills, Pepsi Co, Tootsie Rolls, Russell Stover และ Jelly Belly ทั้งนี้ ผู้ผลิตสหรัฐฯ ดังกล่าวดำเนินการผลิตสินค้าในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศไปพร้อมกัน
นครชิคาโกได้สมญานามเป็นศูนย์กลางการผลิตสินค้าลกกวาดของโลก (Candy Capital of the World) เนื่องจากมีโรงงานของผู้ผลิตที่มีชื่อเสียงหลายรายตั้งอยู่ในนครชิคาโก และเป็นเหตุผลให้ งานแสดงสินค้า Sweets & Snacks Expo ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้า ต้องมาจัดที่นครชิคาโกเป็นประจำทุกปี
อุปสรรคและโอกาสตลาดขนมหวานสำเร็จรูปไทยในสหรัฐฯ
1. ปัญหาและอุปสรรค
1.1 การแข่งขันกับสินค้า Confectionery ที่ผลิตในประเทศ ทั้งนี้ สัดส่วนการผลิตในประเทศมีสูงถึงร้อยละ 70 อีกทั้งการผลิตครอบคลุมสินค้าทุกแขนง ซึ่งจะเป็นอุปสรรคกีดกั้นการเปิดโอกาสสินค้านำเข้าจากไทย
1.2 โควิด-19 สร้างปัญหาให้กับห่วงโซ่อุปทานการผลิตสินค้า Confectionery และการขาดแคลนแรงงานเป็นผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น
1.3 ความเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้บริโภคที่มีปัญหาด้าน การควบคุมระดับน้ำตาล ฟันผุ โรคอ้วน เบาหวาน และภูมิแพ้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการลดบริโภค
1.4 ฝ่ายจัดซื้อ/ผู้นำเข้ามีอำนาจต่อรองสินค้ามากกว่า ผู้ผลิต/ผู้ส่งออกเนื่องจากผู้ผลิต/ผู้ขายขนมจำนวนมากนำเสนอผลิตภัณฑ์ ผู้ซื้อจึงสามารถเลือกสินค้าที่เหมาะสมกับความต้องการของตนให้ได้มากที่สุด
2. โอกาสการขยายตลาด
2.1 สินค้า Confectionery ของไทยนำเข้าไปจำหน่ายในสหรัฐฯ ได้รับการยกเว้นภาษี หรือบางรายการเป็นสินค้าภายใต้โปรแกรม GSP
(1) สินค้ากลม Chocolate พิกัดศุลกากร 1806 สหรัฐฯ ไม่เรียกเก็บภาษีนำเข้าจากกลุ่มประเทศ MFN รวมทั้งจากประเทศไทย
(2) สินค้าในกลุ่ม Non Chocolate พิกัดศุลกากร 1704.90.25: ไม่มีภาษีนำเข้า แต่ พิกัดศุลกากร 1704.10 และ 1704.90.35 เป็นสินค้า GSP (เนื่องจาก GSP ยังไม่ได้รับการต่ออายุ จึงต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตราร้อยละ 4.5 และ 5.6 ตามลำดับ)
2.2 ผู้นำเข้า/จัดจำหน่ายสหรัฐฯ จะมองหาสินค้า Confectionery รายการใหม่ๆ เพื่อนำมาเสนอต่อกลุ่มผบริโภคหลากหลายในสหรัฐฯ เช่น กลมผู้บริโภคฮิสแปนิก ผู้บริโภคเอเชีย เป็นต้น
2.3 การขยายตัวของตลาดต่อเนื่องในระดับสูง ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เป็นการแสดงให้เห็น ถึงแนวโน้มความต้องการที่เพิ่มขึ้นในอนาคต
2.4 เป็นโอกาสของผู้ประกอบการ Startup ในการนำเสนอสินค้า Confectionery ชนิดเป็นนวัตกรรมใหม่ โดยเฉพาะในเรื่องกระแสรักสุขภาพของผู้บริโภคมีผลต่อความต้องการสินค้า Confectionery ประเภทที่ส่งเสริมสุขภาพ ดังนั้น Plant-based confectionery กำลังเป็นเทรนด์ที่มาแรง และตอบโจทย์ให้กับความต้องการของกระแสรักสุขภาพของผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน
ช่องทางการจัดจำหน่าย
1. ร้านซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ และร้าน Confectionery โดยเฉพาะ (เช่น
B.A. Sweet Candy Store, Dylan's Candy , Rocky Mountain Chocolate Factory, See’s Candies) เป็นช่องทางหลักของการจำหน่ายสินค้า Confectionery หรือคิดเป็นร้อยละ 92 ของยอดขายรวม
ดังนั้น ในการบุกตลาดของช่องทางนี้ และเข้าถึงผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าจากร้านค้าดังกล่าว จึงต้องสร้างความร่วมมือกับหรือหาคู่ค้าที่เรียกว่าผู้จัดจำหน่าย (Distributor) เนื่องจากผู้จัดจำหน่ายเป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์และสนิทชิดเชื้อกับ
ร้านค้าปลีกเป็นอย่างดี โรงงานผลิตหรือผู้นำเข้ามักจะใช้ผู้จัดจำหน่ายเป็นผู้ช่วยกระจายสินค้าไปยังร้านค้าปลีก นอกจากนั้นแล้ว ผู้จัดจำหน่ายบางรายยังเป็นผู้นำเข้าพร้อมกัน ไปด้วย
2. ช่องทาง E-Commerce: ผู้บริโภคนิยมซื้อ Confectionery ผ่านทางออนไลน์ ยอดจำหน่าย Confectionery ทางออนไลน์ขยายตัวสูงร้อยละ 19.9 ในปี 2564 หรือเพิ่มขึ้นจาก 2.71 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็น 3.25 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ แพลตฟอร์มออนไลน์จำหน่าย Confectionery ที่นิยมในสหรัฐฯ ได้แก่ Amazon.com, Walmart.com, dylandycanybar.com, sugarfina.com
พฤติกรรมผู้บริโภคต่อสินค้าขนมหวานสำเร็จรูป
ข้อมูลการสำรวจตลาด Confectionery สหรัฐฯ จัดทำโดยสมาคม National Confectioners Association พบว่า
1. ร้อยละ 66 ของผู้บริโภคจะหาข้อมูลการหาซื้อ Confectionery บนโซเชียลมีเดีย
2. ร้อยละ 78 ของผู้บริโภคผู้ใหญ่ ใช้ช็อกโกแลตหรือลูกอมเป็นครั้งคราว
3. ผู้บริโภคร้อยละ 88 จะแบ่งปันกับครอบครัวและเพื่อนฝูงอย่างน้อยครั้งหนึ่งเมื่อซื้อช็อกโกแลตและลูกอม
4. ผู้บริโภคร้อยละ 71 นิยมซื้อ Confectionery จากร้านชำหรือซูเปอร์มาร์เก็ต
5. ร้อยละ 72 ของผู้บริโภคเห็นด้วยว่าแบรนด์ Confectionery ต่างๆ ควรนำเสนอความหลากหลายของขนาด (Size)
6. ร้อยละ 72 ของผู้บริโภคเชื่อว่าสุขภาพร่างกายและความผาสุกทางอารมณ์นั้นเชื่อมโยงกับ Confectionery ที่บริโภค
7. ร้อยละ 91 ของผู้บริโภครายงานว่ากำลังเดินทาง มักจะพกพา Confectionery ชนิดต่างๆ ไปด้วยกับการเดินทาง
ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตผลไม้ที่มีชื่อเสียง จึงควรพิจารณาการปรบรูปแบบนำเสนอในสินค้ากลุ่มผลไม้เพื่อการเพิ่มมูลค่า การดัดแปลง/เปลี่ยนโฉมให้เป็นสินค้า Confectionery เช่น Fruit Twists, Hot Extruded Fruit Strips, Fruit Straws, Fruit Bits, Fruit Shapes, Fruit Sandwiches, โดยคงรูปแบบรสชาติผลไม้
ขนมหวานสำเร็จรูปจะเป็นที่กล่าวขานว่าเป็นของกินที่ไม่ส่งเสริมในเรื่องสุขภาพ แต่ปัจจุบัน กระแสการบริโภคเพื่อสุขภาพ (Healthy Eating) มาแรง ผู้ผลิตจึงได้ปรับตัวผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยว โดยการลดปัจจัยที่เป็นผลเสียต่อสุขภาพลง เช่น ลดน้ำตาล ลดปริมาณเกลือ ลดไขมัน หรือเพิ่มการปรุงแต่งรสแบบรสธรรมชาติ และนำเสนอสินค้าหลากหลายรูปแบบเพื่อสนองความต้องการผู้บริโภค
การประชาสัมพันธ์และสง่ เสริมสินค้า: ผู้ประกอบการไทยต้องใช้ Social Media ซึ่งได้แก่ Facebook, Instagram, Twitter เข้ามาเป็นเครื่องมือในการสื่อสารกับผู้บริโภค แนะนำและชักจูงให้ผู้บริโภครู้จักสินค้า หรือการนำสินค้าไปใช้ในโอกาสหรือกิจกรรมต่างๆ รวมไปถึงการจัดทำเกมสินค้าผ่าน Social Media เป็นต้น
การนำเสนอสินค้า Confectionery ที่ตรงตามโอกาสพิเศษ เช่น Easter, Mother’s Day, Valentine’s Day, Thank Giving Day และ วัน Halloween เป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของตลาด Confectionery ในสหรัฐฯ ซึ่งตรงกับวันที่ 31 ตุลาคมของทุกปี หน่วยงาน National Retail Federation ของสหรัฐฯ รายงานว่า ผู้บริโภคอเมริกันไม่ต่ำกว่า 150 ล้านคนจะใช้จ่ายการซื้อสินค้าขนมหวานสำเร็จรูป ชนิดต่างๆ ไม่ต่ำกว่า 10 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
การขอซื้อ License ตัว Cartoon Character ที่เป็นที่รจักและนิยมในสหรัฐฯ เพื่อ
นำมาประกอบกับฉลากบรรจุภัณฑ์หรือทำเป็นบรรจุภัณฑ์ใส่ Candies เช่น Disney’s, Nintendo, Barbie, Hello Kitty, Trolls เป็นต้น ซึ่งจะมงุ่ จำหน่ายไปยังผู้บริโภคกลุ่มเด็ก สินค้าในกลมนี้นำเข้าจาก ต่างประเทศในอัตราสูง
กลยุทธ์ด้านช่องทางจำหน่าย
- การใช้ Candy Distributor ในสหรัฐฯ เพื่อให้นำสินค้าไปเสนอต่อผู้ซื้อในตลาด
Mainstream ได้แก่ ร้านซูเปอร์มาร์เก็ต
- การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวไทยในช่องทางออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มที่ สำคัญ คือ amazon.com และ Walmart.com โดยศึกษาข้อมูลการเข้าไปขายได้จาก
การขยายตลาดสินค้า Confectionery ของไทยไปยังสหรัฐฯ ควรพิจารณาไปเข้าร่วมงานแสดงสินค้า Sweets & Snack Expo (www.sweetsandsnacks.com) ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้า Confectionery ที่สำคัญและใหญ่ที่สุดในโลก โดยในปี 2566 กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 22-25 พฤษภาคม 2566 ณ ศูนย์แสดงสินค้า McCormick Place Center นครชิคาโก
โฆษณา