13 ก.ค. 2022 เวลา 11:53 • ไลฟ์สไตล์
บทสรุปเรื่อง Cognitive functions ของ MBTI ที่จะอธิบายว่า
"ทำไมทุกคนต้องมีทั้ง Introvert และ Extrovert อยู่ในตัว" และช่วงไหนเราควรพัฒนาอะไร💃
(1) ก่อนอื่น MBTI ไม่ได้มีผลต่อผลลัพธ์ ไม่ว่าเราจะเป็นไทป์ไหนเราอาจทำอะไรออกมาเหมือนคนไทป์อื่น สิ่งที่แตกต่างกันคือการทำความเข้าใจในเรื่องราวต่าง ๆ และวิธีการ, มันเป็นเรื่องของ Process มากกว่า Product
(2) การเริ่มต้นเข้าใจจุดเริ่มต้นตัวเองว่ามีแนวโน้มในค่า Default ของตัวเองเป็นแบบไหนมากกว่าระหว่าง
E หรือ I,
S หรือ N,
T หรือ F,
J หรือ P เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น,
โดยที่ทุกข้อ...เราทุกคนมักจะเอนเอียงไปทางใดมากกว่า
อย่างน้อยก็มากกว่าแบบ 51:49 เพราะไม่มีใครอยู่ตรงกลางแบบ 50:50 เป๊ะ ๆ
(3) สิ่งที่ซ่อนเร้นอยู่ในผลลัพธ์ทั้ง 4 ค่า คือ คือ S, N, T, F โดยที่แต่ละแบบจะเป็น i (introvert) หรือ e (extrovert)
กล่าวคือ MBTI ทั้ง 16ไทป์จะมี Cognitive function 4 ตัวที่เป็น Extrovert 2 ตัว และ Introvert อีก 2 ตัว
เช่น ENTP= Ne,Ti,Fe,Si
หรือ ISFJ= Si,Fe,Ti,Ne
(*มีบทสรุป Functional Stacks ของทั้ง 14 ไทป์อีกครั้งที่ท้ายบทความ)
(4) จากตัวอย่างข้างต้นสังเกตได้ว่า
ENTP และ ISFJ มี Cognitive function ทั้ง 4ตัวเหมือนกันทั้ง Ti, Fe, Si, Ne แต่มีการจัดเรียงแตกต่างกัน การจัดเรียงที่ต่างกันนี้คือ Dominant, Auxiliary, Tertiary, Inferior function ซึ่งตามIdealแล้ว พัฒนาการแต่ละฟังก์ชันจะแตกต่างกัน คืออายุ 6-12, 12-20,20-35,35+ปี ตามลำดับ
(5) ที่กล่าวว่าเป็น Ideal เพราะคนเราไม่ได้เป็นแบบนั้นไปตามช่วงวัยทุกคน
การพัฒนา ฝึกฝน สิ่งแวดล้อม ฯลฯ มีผลต่อพัฒนาการด้วย แต่สิ่งที่เหมือนกันแน่นอนคือ
ทุกไทป์จะมีฟังก์ชันของ extrovert และ introvert สลับกันไป ตัวอย่างไทป์อื่นเช่น
ESTP= Se,Ti,Fe,Ni
ISTJ= Si, Te,Fi,Ne
ENFJ= Fe,Ni,Se,Ti
(6) นี่เป็นเหตุผลในข้อแรกว่า ทำไมเราทุกคนต้องมีทั้ง introvert และ extrovert,
และในขณะเดียวกันก็อาจทำให้มีคำถามคือ...
แล้วถ้าเราไม่เป็นอย่างนั้นล่ะ?
ถ้าเราใช้แต่ฟังก์ชันที่ถนัดล่ะ?
เช่น introvert ก็ introvert ไปเลย หรือ
extrovert ก็ extrovert ไปเลย อะไรจะเกิดขึ้น?
(7) การใช้แต่ฟังก์ชันที่ถนัด หรืออาจเรียกอีกอย่างว่าเลือกใช้เพื่อปกป้องตัวเองจะทำให้ยิ่งล้มเหลว เช่น
- extrovert ยิ่งมุ่งทำในโลกภายนอก ไม่หยุดทบทวนตัวเอง
- introvert ยิ่งเก็บตัวหลบอยู่ในโลกลวงตาภายในของตัวเอง
สุดท้ายก็เกิดปัญหา อาจเรียกปัญหาแบบนี้ว่า "ชีวิตติด Loop"
(8) ทีนี้มาลงลึกในแต่ละฟังก์ชันกัน
a. Dominant function อันแรกเปรียบเสมือนพระเอกหรือสิ่งที่ใกล้เคียงกับอัตลักษณ์หรืออาวุธที่เราหยิบใช้บ่อยที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคย และมันก็จะเป็นฟังก์ชันที่มีบทบาทมากที่สุดสมชื่อ Dominant และเราถนัดที่สุดด้วย
(9) b. Auxiliary function เหมือน QC ที่คอยตรวจสอบถ่วงดุลหรือที่ปรึกษาที่คอยให้คำแนะนำหรือเสริม Dominant f. ในยามจำเป็น ในคนส่วนใหญ่จึงเริ่มใช้เมื่อ Dominant f. เริ่มมีข้อบกพร่อง แล้วเริ่มพัฒนา b. ขึ้นในช่วง 12-20ปี นี่เป็นอีกคำอธิบายว่า ทำไมใน Functional stacks นี้ introvert และ extrovert จึงต้องสลับกัน
(10) เมื่อเราใช้ a. + b. ดีที่อายุเฉลี่ย 20ปี เราก็จะเป็นคนที่ตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ในชีวิตได้อย่างลงตัว รากฐานในชีวิตก็จะดี เพราะ a. และ b. ที่เป็น Perceiving กับ Judging สมดุลกันดี และตัวเลข 20ปีนี้ก็ยังสัมพันธ์กับการบรรลุนิติภาวะโดยอายุตามกฎหมายด้วย
(11) ตัวอย่างการทำงานของ a.+b. แบบ Ne, Ti ของ ENTP คือ
Ti(b) ช่วยปรับ Ne(a) ให้ไม่สุดโต่งเกินไป เช่น
Ne -> Ti
เปิดรับ ไว้วางใจโลก -> ด้วยวิจารณญาณ จึงตัดสินใจได้ดี
สนุกกับการทำในสิ่งที่น่าสนใจ -> ในขอบเขตที่ไม่เป็นอันตราย
ไขว่คว้าหาโอกาสในชีวิต -> โดยไม่ลืมสิ่งที่มีอยู่แล้ว
(12) c. Tertiary function เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่เจอกับชีวิตที่ซับซ้อนขึ้น a.+b. เริ่มไม่เพียงพอจึงเกิดการพัฒนาฟังก์ชันที่สามนี้ และแน่นอนว่า มันจะเกิดการสลับ extrovert หรือ introvert จาก aux f.
และสุดท้าย d. Inferior function จะสลับกับ Dominant f. ที่เราถนัดที่สุดทั้งชนิดและทิศทาง
(13) การที่ d. ตรงข้ามกับ a. อย่างสิ้นเชิงเป็นเหตุผลที่มันเป็นฟังก์ชันสุดท้ายที่เราจะพัฒนาเพราะมันเสมือนด้านมืดที่เราไม่รู้ตัว ไม่ชอบ พยายามปฏิเสธ หรือซ่อนอยู่ลึกในจิตใต้สำนึก
ยิ่งเราใช้ a. มากแค่ไหน d. ก็จะยิ่งถูกกลบลงไปแล้วมันก็รอวันปะทุขึ้นมาเมื่อตกในภาวะเครียดหรืออ่อนแอ
(14) พัฒนาการของ d. ที่มาในช่วงอายุ 35+ สัมพันธ์กับ Mid-life crisis และสัมพันธ์กับที่หลายคนทำแบบทดสอบ MBTI แล้วเกิดความเข้าใจว่า ตัวเองเปลี่ยนไทป์เกิดขึ้น
ในทางทฤษฎีไทป์จะไม่เปลี่ยน สิ่งที่เปลี่ยนคือการใช้ฟังก์ชันที่ถูกหยิบมาใช้เปลี่ยนไป ซึ่งการเปลี่ยนฟังก์ชันเป็นได้ทั้งดีและแย่
(15) ในทางที่ดีคือการใช้ฟังก์ชันสมดุลกันตามไทป์ เช่น
ISTP= Ti,Se,Ni,Fe
ESTJ= Te,Si,Ne,Fi
INTP= Ti,Ne,Si,Fe
ENTJ= Te,Ni,Se,Fi
INFP= Fi,Ne,Si,Te
ESFJ= Fe,Si,Ne,Ti
ISFP= Fi,Se,Ni,Te
ESFP= Se,Fi,Te,Ni
ISFJ= Si,Fe,Ti,Ne
นี่เป็นอีกเหตุผลที่ว่า ทำไมทุกคนต้องมีทั้ง introvert & extrovert
สรุป MBTI & Jungian Functional stack 8 แบบ
- ที่โดดเด่น (Dominant) ด้วย iNtuition 4 แบบ
คือ INTJ, INFJ, ENTP, ENFP
- ที่โดดเด่น (Dominant) ด้วย Thinking 4 แบบ
คือ ISTP, INTP, ESTJ, ENTJ
และ สรุป MBTI & Jungian Functional stack 8 แบบ
- ที่โดดเด่น (Dominant) ด้วย Sensing 4 แบบ
คือ ISTJ, ISFJ, ESTP, ESFP
- ที่โดดเด่น (Dominant) ด้วย Feeling 4 แบบ
คือ ESFJ, ENFJ, ISFP, INFP
โฆษณา