ภาพยนตร์เรื่อง The Black Phone เป็นผลงานกำกับของ Scott Derrickson เจ้าของผลงานสยองขวัญอย่าง The Exorcism of Emily Rose และ Sinister โดยเป็นการดัดแปลงจากเรื่องสั้นภายใต้ชื่อเดียวกันจากผลงานการเขียนของ Joe Hill ซึ่งเป็นลูกชายของสุดยอดนักเขียนสายสยองขวัญอย่าง Stephen King ครับ
ภาพยนตร์เรื่อง The Black Phone เลือกที่จะโฟกัสไปที่ตัวละครหลักอย่าง ฟินนีย์ เด็กน้อยวัย 13 ปีที่มักถูกเพื่อนในโรงเรียนกลั่นแกล้ง และใช้ชีวิตอยู่ในครอบครัวที่เต็มไปด้วยความรุนแรงครับ เส้นทางการเติบโตจากกระสอบทรายของผู้คนรอบข้าง สู่การเผชิญหน้ากับฆาตกรต่อเนื่องที่โหดร้ายที่สุดของเมือง จึงเป็นเสน่ห์สำคัญที่ทำให้ The Black Phone นั้นแตกต่างและน่าติดตามอยู่ตลอดทั้งเรื่อง
นอกจากบรรยากาศอันยอดเยี่ยมแล้ว The Black Phone ยังมาพร้อมกับจังหวะการเล่าเรื่องที่เนิบช้าแต่หนักแน่นมากครับ โดยภาพยนตร์ใช้เวลาในช่วงต้นเรื่องสร้างความสัมพันธ์และแนะนำตัวละครให้กับผู้ชมรู้จัก แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถสร้างความไม่น่าไว้วางใจให้กับเรื่องราว พร้อมปล่อยให้ความโหดร้ายทารุณค่อยๆ คืบคลานเข้ามาหาตัวละครอย่างช้าๆ
ด้วยจังหวะที่แม่นยำนี้เองทำให้ช่วงกลางเรื่อง ซึ่งมักจะเป็นจุดตกท้องช้างของภาพยนตร์ระทึกขวัญหลายเรื่อง แต่เมื่อผู้ชมคุ้นชินกับจังหวะการเล่าเรื่องและร่วมเอาใจช่วยตัวละครอย่างเต็มที่แล้ว ปัญหาดังกล่าวจึงไม่ส่งผลกระทบกับ The Black Phone เลย แม้ว่าเหตุการณ์ในภาพยนตร์นั้นจะไม่ได้เดินหน้าเท่าไรนักก็ตามครับ
โดยสรุปแล้วภาพยนตร์เรื่อง The Black Phone เป็นตัวอย่างที่ดีหากจะพูดถึงบทภาพยนตร์ที่ชาญฉลาดและการใช้ทรัพยากรที่มีในมือได้อย่างคุ้มค่า นอกจากนี้ภาพยนตร์ยังมาพร้อมกับบรรยากาศอันน่าสะพรึงและดึงดูด จังหวะการเล่าเรื่องแบบเล่นน้อยได้มาก และสามารถผสมผสานเรื่องราวเหนือธรรมชาติ เข้ากับความระทึกขวัญและดราม่าได้อย่างลงตัว อย่างไรก็ตามภาพยนตร์ยังมีคำถามที่ยังไม่ได้ถูกสำรวจมากมาย หากขยับความยาวเพิ่มขึ้นอีกสักนิด ก็น่าจะยิ่งทำให้ภาพรวมของ The Black Phone กลมกล่อมมากขึ้นครับ
#ประเด็นตกผลึก
ประเด็นตกผลึกจากภาพยนตร์เรื่อง The Black Phone ที่ผมจะชวนผู้อ่านทุกท่านมาคุยกันในวันนี้ก็คือ