21 ก.ค. 2022 เวลา 11:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
รอดจากระเบิดเศรษฐกิจด้วยการทำ "Asset Allocation"
World Bank ได้ออกมาให้ข้อมูลว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวอย่างรวดเร็วจาก 5.7% ในปี 2021 เหลือเพียง 2.9% ในปี 2022 และวิกฤติครั้งนี้อาจลากยาวไปจนถึงปี 2023-2024 โดยปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจเติบโตช้าลง เป็นผลมาจากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นภาวะเงินเฟ้อที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา นโยบายขึ้นดอกเบี้ยทั่วโลก การระบาดใหม่อีกครั้งของโควิด-19 รวมถึงผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน
3
(ที่มา : The World Bank ณ วันที่ 7 มิถุนายน 2022) ทำให้ภาพรวมสถานการณ์ตอนนี้ไม่ต่างอะไรจาก ระเบิดลูกใหญ่ทางเศรษฐกิจ…
ผลกระทบจากวิกฤติดังกล่าว ไม่เพียงส่งผลต่อความยากลำบากในการใช้ชีวิตของผู้คนเท่านั้น แต่ยังสร้างความเสียหายต่อพอร์ตการลงทุนของใครหลายคน
โดยเฉพาะนักลงทุนที่ทุ่มเงินซื้อสินทรัพย์ใดสินทรัพย์หนึ่งเพียงชนิดเดียว
ดังนั้น นักลงทุนจึงต้องมองหากลยุทธ์ที่จะช่วยลดความเสี่ยงจากการลงทุนในสถานการณ์ดังกล่าว
และหนึ่งในกลยุทธ์การลงทุนที่เหมาะสมในช่วงเวลาแบบนี้ คือ Asset Allocation
Asset Allocation คือ การจัดสรรเงินลงทุนกระจายในสินทรัพย์ที่หลากหลาย เพื่อไม่ให้เงินทุนกระจุกตัวในสินทรัพย์ใดสินทรัพย์หนึ่ง โดยสินทรัพย์ที่มักเลือกลงทุน ได้แก่ เงินฝาก หุ้น ตราสารหนี้ พันธบัตร หุ้นกู้ และสินทรัพย์ทางเลือกอย่างกองทุนรวมอสังหาฯ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน และทองคำ เป็นต้น
สำหรับนักลงทุนท่านใดที่ไม่มีความชำนาญในการจัดสรรเงินทุนด้วยตัวเอง ก็สามารถลงทุนผ่านกองทุนรวมที่เน้นลงทุนแบบ Asset Allocation ที่เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของตนเองได้เช่นกัน ข้อดีของกองทุนประเภทนี้ คือ
กระจายความเสี่ยงให้กับพอร์ตการลงทุน
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า พอร์ตการลงทุนอาจจะได้รับความเสียหายหนักจากวิกฤติ หากมีการลงทุนกระจุกตัวในสินทรัพย์ใดสินทรัพย์หนึ่งเพียงอย่างเดียว ซึ่งการกระจายลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลายจะช่วยกระจายความเสี่ยงจากการลงทุนได้ในระดับหนึ่ง
หากเปรียบเทียบเงินลงทุนคือไข่ไก่ และสินทรัพย์ชนิดต่าง ๆ คือตะกร้า การทำ Asset Allocation จึงเปรียบได้กับการฝากไข่ไว้ในตะกร้าหลายใบ เพราะหากเกิดไข่ในตะกร้าใบใดใบหนึ่งตกพื้นขึ้นมา เราก็ยังเหลือไข่ในตะกร้าอื่นอยู่นั่นเอง หรือที่นักลงทุนเคยได้ยินอยู่เสมอว่า “อย่าเก็บไข่ในตระกร้าใบเดียว” เน้นสร้างผลตอบแทนในระยะยาว
Asset Allocation เป็นการลงทุนที่ถูกออกแบบมาให้เหมาะกับการลงทุนในระยะยาว เพราะในระยะเวลาสั้น ๆ นั้น ราคาสินทรัพย์มีความผันผวนสูง โดยเฉพาะสินทรัพย์ประเภทตราสารทุนอย่างหุ้น ดังนั้น แม้เราจะหนีความเสี่ยงจากการลงทุนไม่ได้ แต่อย่างน้อย ก็สามารถลดความเสี่ยงจากความผันผวนในระยะสั้นได้ด้วยการลงทุนระยะยาวนั่นเอง
มีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่น่าสนใจ แม้จะไม่เข้าใจทิศทางการลงทุน
จุดเด่นสำคัญของกองทุนรวม คือ มีโอกาสสร้างผลตอบแทนให้กับนักลงทุนได้ในระดับที่น่าสนใจ ถึงแม้ว่านักลงทุนจะไม่มีความเข้าใจทิศทางของตลาด หรือไม่มีเวลาติดตามความเคลื่อนไหวการลงทุนมากนัก
แต่การลงทุนผ่านกองทุนรวม จะมีผู้จัดการกองทุนที่มีความรู้ความสามารถ คอยปรับพอร์ตให้อยู่เสมอ เพื่อเน้นสร้างผลตอบแทนให้สูงกว่าดัชนีชี้วัด ( Active Management)
หากนักลงทุนท่านใดที่สนใจกองทุนรวมที่เน้นลงทุนแบบ Asset Allocation ทาง KTAM ขอแนะนำ 4 กองทุนกลุ่ม “มั่ง มี ศรี สุข” ให้เลือกลงทุนตามระดับความเสี่ยงที่รับได้ของตนเอง นอกจากนี้ ยังเปิดให้นักลงทุนที่ต้องการลงทุนเพื่อสิทธิประโยชน์ทางภาษี เลือกลงทุนทั้งในรูปแบบ SSF และ RMF อีกด้วย
ทั้ง 4 กองทุนเป็นการลงทุนแบบ Fund of Funds ที่อยู่ภายใต้การบริหารและจัดการของบริษัท และจะลงทุนในกองทุนใดกองทุนหนึ่งไม่เกิน 79% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยมีผู้จัดการกองทุนที่คอยติดตามดูวัฏจักรเศรษฐกิจในระยะยาวและจะคอยเพิ่มหรือลดนํ้าหนักสินทรัพย์ให้สอดคล้องกับภาวะตลาด อีกทั้งในแต่ละกองทุนมีนโยบายกระจายลงทุน ไปในสินทรัพย์ที่หลากหลายในสัดส่วนที่แตกต่างกัน โดยมีประมาณสัดส่วนการลงทุน ดังนี้
  • กองทุนเปิดกรุงไทยมั่งคั่ง (KTMUNG)
ระดับความเสี่ยงกองทุน : 5
ความเสี่ยงที่นักลงทุนรับได้ : สูง
สัดส่วนการลงทุน : หุ้น 75%, ตราสารหนี้ 15% และตราสารทางเลือก 10%
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : http://bitly.ws/sGwS
  • กองทุนเปิดกรุงไทยมีทรัพย์ (KTMEE)
ระดับความเสี่ยงกองทุน : 5
ความเสี่ยงที่นักลงทุนรับได้ : ปานกลาง - สูง
สัดส่วนการลงทุน : หุ้น 50%, ตราสารหนี้ 40% และตราสารทางเลือก 10%
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : http://bitly.ws/sGwZ
  • กองทุนเปิดกรุงไทยศรีสิริ ( KTSRI)
ระดับความเสี่ยงกองทุน : 5
ความเสี่ยงที่นักลงทุนรับได้ : ปานกลาง
สัดส่วนการลงทุน : หุ้น 25%, ตราสารหนี้ 65% และตราสารทางเลือก 10%
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : http://bitly.ws/sGx9
  • กองทุนเปิดกรุงไทยสุขใจ (KTSUK)
ระดับความเสี่ยงกองทุน : 5
ความเสี่ยงที่นักลงทุนรับได้ : น้อย
สัดส่วนการลงทุน : หุ้น 10%, ตราสารหนี้ 80% และตราสารทางเลือก 10%
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/3yyzWCr
*หมายเหตุ
กองทุนมั่ง มี ศรี สุข มีความเสี่ยงระดับ 5 และ “ความเสี่ยงที่รับได้” ที่ระบุนี้ ไม่ใช่ระดับความเสี่ยงจากผลการประเมิน Suitability ของผู้ลงทุนแต่อย่างใด
Asset Allocation อาจเป็นรูปแบบการลงทุนที่ดูแสนจะธรรมดา อีกทั้งผลตอบแทนก็อาจจะไม่ได้หวือหวา แต่กลับเป็นแนวทางการลงทุนที่มีโอกาสนำพาพอร์ตการลงทุนของเราให้รอดพ้นจากระเบิดเศรษฐกิจลูกใหญ่ในเวลานี้ก็เป็นได้
ลงทุนออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน KTAM Smart Trade ง่าย สะดวก ปลอดภัย เพียงดาวน์โหลด:
☎ สอบถามรายละเอียดหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ ธนาคารกรุงไทย ผู้สนับสนุนการขาย หรือบลจ.กรุงไทย โทร. 02-6866100 กด 9
คำเตือน:
ปัจจัยความเสี่ยงที่สำคัญ: ความเสี่ยงทางตลาด (Market Risk) / ความเสี่ยงจากการดำเนินงานของผู้ออกตราสาร (Business Risk) / ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน (Currency Risk) / ความเสี่ยงของประเทศที่ลงทุน (Country Risk) เป็นต้น
กองทุนนี้มีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งนี้ กองทุนมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ในกรณีที่กองทุนไม่ได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุน หรืออาจจะได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนในกองทุนเพื่อการออม/กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ หากลงทุนไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด อาจจะต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีและเสียเงินเพิ่ม
Reference :
โฆษณา