21 ก.ค. 2022 เวลา 09:04 • สุขภาพ
ตาขี้เกียจ (Lazy Eyes) โรคตาที่มักเกิดในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ที่พ่อแม่ ผู้ปกครองต้องคองระวังและสังเกตุให้ดี
ตาขี้เกียจ (Amblyopia หรือ Lazy Eye) คืออาการที่ตามองเห็นไม่ดีจนสมองปิดการรับรู้ภาพของตาข้างนั้นไป แล้วพัฒนาประสาทสัมผัสด้านอื่นแทน ทำให้ตาไม่ได้ใช้งานจนกล้ามเนื้อตาอ่อนแอลง ทำให้การมองเห็นแย่ลง ซึ่งสามารถเกิดได้กับตาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง
เพื่อให้ตรวจพบโรคได้เร็ว และรักษาทันทีถ้าตรวจพบโรคหรือเริ่มรักษาเมื่ออายุมากกว่า 6 ปีก็รักษาค่อนข้างยาก และหากอายุเกิน 9 ปีอาจจะไม่สามารถรักษาได้อีกโรคตาขี้เกียจพบได้ประมาณ 2 - 5% ในเด็กอายุน้อยกว่า 6 ปี เนื่องจากเป็นช่วงวัยที่ดวงตากำลังพัฒนา หากเกิดความผิดปกติ เช่น ลูกมองเอียงเหมือนใช้ตาข้างเดียว, ตาเหล่ หรือ ตาเข ให้รีบพาไปพบจักษุแพทย์เพราะมีโอกาสเป็นโรคตาขี้เกียจได้
ทั้งนี้ ผู้ปกครองควรพาเด็กมาพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจเป็นระยะตั้งแต่อายุประมาณ 3 ปีครึ่งเพื่อให้ตรวจพบ และ รักษาทัน เพราะถ้าอายุมากกว่า 6 ปีจะรักษาค่อนข้างยาก และหากอายุเกิน 9 ปีอาจจะไม่สามารถรักษาได้อีก โรคตาขี้เกียจในผู้ใหญ่จะเป็นกรณีที่พบตั้งแต่เด็กและไม่ได้รักษามากกว่า
หากตาขี้เกียจข้างเดียวเกิดขึ้นในเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี และไม่ได้รับการรักษาภายในอายุ 2 ปี จะทำให้สมองไม่พัฒนาการรับรู้ภาพแบบสามมิติ เกิดเป็นโรคตาขี้เกียจที่รักษายาก แม้จะปรับการมองเห็นให้กลับมาใช้ได้ทั้งสองข้าง แต่สมองจะไม่รับรู้ภาพเป็นสามมิติ ผู้ป่วยจะประเมินความลึกของวัตถุได้จากแสงเงาเท่านั้น
สาเหตุของโรคตาขี้เกียจ
1. การมีค่าสายตามากตั้งแต่เด็ก
การมีค่าสายตามากทั้งสายตาสั้น สายตาเอียง และสายตายาวโดยกำเนิด เป็นสาเหตุของโรคตาขี้เกียจ เพราะ มีค่าสายตามาก การมองเห็นจะค่อนข้างแย่ ในขณะที่สมองยังพัฒนาระบบประสาทต่างๆไม่เต็มที่ การที่สายตาแย่จะทำให้สมองรับภาพการมองเห็นได้แย่ จนไม่พัฒนาระบบประสาทเกี่ยวกับการมองเห็นเท่าที่ควร แล้วเลือกไปพัฒนาระบบประสาทตาอีกข้าง หรือ ระบบประสาทสัมผัสอื่นๆแทน ส่งผลให้เป็นโรคตาขี้เกียจในที่สุด
2. อาการตาเหล่ ตาเข
โรคตาขี้เกียจเกิดจากอาการตาเหล่ ตาเขข้างเดียว เพราะโดยทั่วไปผู้ที่ตาเหล่เข้างเดียวจะใช้ตาข้างเดียวในการมองเสมอ ทำให้ตาที่ไม่ได้ใช้งานเลยจะมีการมองเห็นที่แย่ลงเรื่อยๆ จนในที่สุดจะเกิดโรคตาขี้เกียจขึ้น ดังนั้นโรคตาขี้เกียจข้างเดียวจะพบได้เฉพาะในผู้ที่ตาเหล่ข้างเดียวนั่นเอง
3. เปลือกตาตก
เด็กที่เปลือกตาตก หรือ หนังตาก็ทำให้เป็นโรคตาขี้เกียจได้ เพราะเมื่อมีเปลือกตาลงมาบัง การมองเห็นจะไม่ชัด ส่งผลทำให้ตาขี้เกียจทั้งสองข้างได้
4. โรคที่ทำให้เกิดความผิดปกติเกี่ยวกับการมองเห็น
ต้อกระจกตั้งแต่กำเนิด เลนส์ตาผิดปกติ จอประสาทตาลอก จอประสาทตาเสื่อมในเด็ก โรคมะเร็งจอตา กระจกตาขุ่น ก็ทำให้เด็ก ๆ เป็นโรคตาขี้เกียจได้
5. การส่งกระแสประสาทผิดปกติ
หากระบบประสาทส่วนกลาง กระแสประสาท หรือเส้นประสาทดวงตามีความผิดปกติบางอย่างเกิดขึ้น จะทำให้การส่งภาพไปสมองผิดปกติ หรือส่งภาพไปได้ไม่เต็มที่
ดังนั้น เรื่องจอประสาทตาเป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับเด็ก ๆ และเป็นส่วนสำคัญสำหรับพัฒการของพวกเขา
พาลูก ๆ ไปพบจักษุแพทย์แต่เนิ่น ๆ เพราะถ้ามารู้ตอนโตจะรักษาได้ยากมาก
Cr. รพ.สมิติเวช
โฆษณา