28 ก.ค. 2022 เวลา 15:45 • คริปโทเคอร์เรนซี
ทำไมผมจึงเขียนเรื่องคริปโต ตอนที่ 1
1
สวัสดีครับเพื่อน ๆ นี่น่าจะเป็นเวลาที่ผมเขียนถึงเกี่ยวกับเรื่องคริปโตออกสู่สาธารณะได้เกือบ 4 เดือนแล้ว หลาย ๆ คนอาจจะคิดว่ามันเหมือนนานกว่านั้นมาก
1
ผมจึงอยากจะใช้พื้นที่ตรงนี้เล่าให้ฟังถึงที่ไปที่มา และสาเหตุที่ผมเขียนถึงเรื่องนี้
Cr : https://www.freepik.com/free-photos-vectors/crypto
เพื่อน ๆ หลาย ๆ คนยกให้ผมเป็นหัวหน้าคณะทัวร์ เพราะมีทัวร์ลงเป็นประจำ แต่ผมไม่ได้ทำไปเพราะหิวแสง ไม่ได้ทำไปเพราะอยากเด่น อยากดัง แต่อย่างใด ที่ผ่านมากลับโดนดูถูก โดนด่ามากมาย โดนแม้กระทั่งด่ากระทบกระทั่งบุคคลที่ผมเคารพ หรือแม้กระทั่งองค์กรที่ผมทำงานอยู่ ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้เลย
4
ผมเองได้เรียนรู้เกี่ยวกับบิทคอยน์ และบล็อกเชนมาตั้งแต่ช่วงปี 2011 ที่เพื่อนร่วมงานแนะนำให้รู้จัก แต่ก็ไม่ได้ลงทุน หรือไปขุดเหมืองตามเพื่อนแต่อย่างใด แต่ก็ได้ติดตามอยู่เรื่อย ๆ
1
และหลังจากนั้น ผมได้มีโอกาสทำงานกับ Amazon Web Services ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญ และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีหลายอันที่เป็นองค์ประกอบบางส่วนของบล็อกเชน โดยไม่ได้เป็นบล็อกเชนแต่อย่างใด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ Gossip Protocol, Byzantine Fault Tolerance, Appendable Log, Consensus Protocol, Merkle Tree และ Cryptography เป็นหัวใจในการทำงานของระบบ เนื่องจากเป็นระบบการทำงานแบบกระจายศูนย์ (Distributed System) เพื่อไม่ให้มีจุดตายเพียงจุดเดียว (Single Point of Failure) อยู่แล้ว
2
ดังนั้น พอมาศึกษาเรื่องกลไกการทำงานของบล็อกเชน และบิทคอยน์ จึงมีความเข้าใจในโครงสร้างพื้นฐานอยู่บ้าง อาจจะไม่ได้เชี่ยวชาญเหมือนผู้เชี่ยวชาญด้านบล็อกเชนที่ออกสื่ออยู่ดาษดื่น แต่ผมก็คิดว่า ผมพอมีความรู้พอที่จะถูไถไปได้
แต่พอมีพื้นฐานมาแบบนั้น จึงเห็นได้ชัดว่า บล็อกเชนไม่ได้มีอะไรมากกว่าเทคโนโลยีเหล่านี้ และในโลกที่ผมทำงานอยู่ เราไม่จำเป็นต้องใช้บล็อกเชนเลย เราสามารถเลือก และหยิบยกเทคโนโลยีแต่ละชิ้นมาประกอบกันขึ้น เพราะแก้ไขปัญหาในแต่โจทย์ที่มีมา ตามความเหมาะสม
2
แต่พอมาเป็นโลกบล็อกเชน/บิตคอยน์ เราถูกจำกัดบอกว่า ต้องใช้สิ่งนี้สิ่งนั้นทั้งแพ็คเกจ ถ้าไม่ใช้มัน คือไม่เวิร์ค เปลี่ยนนิด เปลี่ยนหน่อย ก็ไม่เวิร์ค กลายเป็นเทคโนโลยีที่มีความเปราะบางอย่างยิ่ง
3
ไม่แค่นั้น ปกติแล้ว เวลาเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาท ลูกค้า/ผู้บริหารไม่ได้จำเป็นต้องรู้ว่าผลิตภัณฑ์/บริการนั้นใช้เทคโนโลยีอะไร แต่ในช่วงที่คนบ้าบล็อกเชน/บิตคอยน์ ทีมงานก็จะถูกกดดันจากผู้บริหารว่า "เฮ้ย ใช้บล็อกเชนหรือยัง" ผู้บริหารก็ถูกกดดันมาจากบอร์ดว่า "เฮ้ย ผมได้ยินมาว่า บล็อกเชน มันดีนะ ทำไม บริษัทเรายังไม่ใช้" เรื่องแบบนี้ไม่เคยเกิดขึ้นถึงขั้นนี้มาก่อน ถ้าเทคโนโลยีมันดี มันได้ ทีมงานจะหยิบมาใช้เอง
1
จู่ ๆ บล็อกเชน จึงกลายเป็นคำตอบที่พยายามหาโจทย์อยู่ และคงเป็นเช่นนั้นอยู่แม้กระทั่งวันนี้ ตอนที่ความบ้าคลั่งถึงจุดสูงสุด บล็อกเชนถูกหยิบยกเป็นคำตอบของทุกคำถามไปเสียหมด (คงไม่แตกต่างกับ 42 is the answer to life the universe and everything)
6
ยิ่งไปกว่านั้น พออะไรที่ติดคำว่า บล็อกเชน ลงไป มันขายได้ บริษัทที่เปลี่ยนชื่อให้มีคำว่า บล็อกเชน อยู่ด้วย ราคาหุ้นก็ขึ้น ใครที่ทำงานอยู่ มีตำแหน่งเป็น บล็อกเชน อะไรสักอย่าง หรือเขียนคำว่า บล็อกเชนอยู่ใน Resume ก็ได้เงินเดือนขึ้น
2
แต่พอมาถึงวันนี้ วันที่คนรู้จักบล็อกเชนมานานกว่า 13 ปีแล้ว แต่ถ้ารวมเทคโนโลยีที่เป็นองค์ประกอบของบล็อกเชนด้วยแล้ว ก็ไม่น่าจะต่ำกว่า 30 ปี (https://www.vice.com/en/article/j5nzx4/what-was-the-first-blockchain) โลกก็ยังหาประโยชน์จากมันไม่ได้จริง ๆ นอกจากการเป็นพื้นฐานของคริปโตเท่านั้น
นี่จึงเป็นตัวจุดประเด็นอันหนึ่งที่ทำให้ผมเริ่มอยากที่จะเขียนถึงเรื่องนี้ เพื่อไม่ให้เราเสียเวลากับสิ่งนี้มากเกินไป มนุษย์เรายังมีปัญหาอื่นที่รอการแก้ไขมากกว่านี้มาก และปัญหาเหล่านั้นก็ไม่ได้มีความจำเป็นต้องใช้บล็อกเชนในการแก้ไขปัญหานั้นแต่อย่างใด มันจะดีกว่าไหม ถ้าเราใช้ทรัพยากรอันมีค่าของเราให้ถูกทาง ด้วยการหยิบยกเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ในการแก้ไขปัญหา แทนที่จะเลือกเทคโนโลยีก่อน และพยายามใช้มันแก้ทุกปัญหา
6
13 ปีที่ผ่านมา มันเป็นเวลานานมากพอหรือยังในการค้นหาคำถามให้กับคำตอบหนึ่งคำตอบ? เราเสียเวลากับมันมานานพอหรือยัง?
1

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา