2 ส.ค. 2022 เวลา 00:00 • ธุรกิจ
นิสัยการทำงานที่ดี ทำให้มีแต่คนรักและให้เกียรติ
• ทำงานของตัวเองให้ดีที่สุด - อย่ามัวแต่คิดว่าจะทำยังไงให้คนอื่นให้เกียรติเรา ให้ใช้เวลาทุ่มเทกับงานให้เต็มที่ เพราะสิ่งที่เราได้ทุ่มเทไปในเนื้องานจะเป็นข้อพิสูจน์ที่ชัดเจน ‘ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน’
• ส่งงานให้ตรงเวลา สั้นๆ ง่ายๆ ‘รักษาสัญญาและคำพูดที่ให้ไว้’ ทั้งวันที่สัญญาจะส่งงาน หรือ ลักษณะงานที่ตกลงกันไว้ ก็ต้องทำให้ได้ตามที่พูด
• แต่งตัวให้เหมาะสมกาลเทศะ ดูให้ดีว่าในแต่ละงานมีกำหนดการแต่งกาย (dress code) ไว้มั้ย เพราะการแต่งกายก็ถือเป็นการให้เกียรติทั้งสถานที่และเจ้าของงานนั้นๆ อย่างหนึ่ง การแต่งตัวถูกกาลเทศะเป็นคนละเรื่องกับเสื้อผ้าราคาแพง ไม่ต้องกังวลเรื่องนี้
2
• ให้เกียรติทุกคนเท่าเทียมกัน ก่อนที่เราอยากให้ทุกคนให้เกียรติเรา จงเริ่มต้นด้วยการให้เกียรติคนอื่นก่อน ไม่ว่าเราจะพูดกับเจ้านาย หรือ ลูกน้อง จงใช้คำพูดที่ให้เกียรติซึ่งกันและกัน
• เลือกเพื่อนให้ถูก เลือกผูกมิตรกับคนที่ให้เกียรติผู้อื่น
• เป็นคนกลางที่สำคัญ รู้จักกับคนอื่นๆ ในสายงานเดียวกันแต่คนละบริษัท เราอาจจะได้ไอเดียหรือความรู้ดีๆ จากเพื่อนในวงการเดียวกันหรืออาจจะได้คนที่จะเข้ามาแก้ไขสถานการณ์ในบริษัท ก็ได้ นั่นยิ่งเพิ่มความน่าเชื่อถือในตัวเราให้คนที่รายล้อมเราได้เห็นว่าการมีคอนเน็กชั่นที่ดีก็ทำให้งานราบรื่นไปได้ด้วยดี
• เป็นคนเชื่อมความสัมพันธ์ ไม่ว่าจะงานเล็ก งานใหญ่ หรือ งานnetworking ต่างๆ ลองชวนคนที่เรารู้จักจากหลายๆ วงการมานั่งร่วมสนทานากัน เราจะได้ความรู้ใหม่ และได้ทำความรู้จักคนๆ นั้นมากขึ้น
• พูดถึงตัวเองให้น้อย ใช้คำว่า ‘เรา’ ให้มาก การที่พูดด้วยคำว่า ‘ผมว่า’ หรือ ‘พี่ว่า’ จากการวิจัยพบว่า คำเหล่านี้คนพูดมักจะมีอำนาจที่เหนือกว่า คนที่ฟังส่วนใหญ่จะรู้สึกเหมือนถูกสั่ง ให้ลองเปลี่ยนมาใช้ คำว่า ‘เรา’ ที่ทำให้ทุกคนเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรไม่แปลกแยก และ ให้เกียรติกัน
1
• ขอความช่วยเหลือบ้าง หลายคนชอบคิดว่าการขอความช่วยเหลือจากใครจะเป็นเรื่องเสียหน้าและด้อยค่าตัวเอง ให้ปรับความคิดซะใหม่ เพราะการยอมรับว่ายังไม่เข้าใจเนื้องานเพียงพอ หรือ ติดขัด แก้ปัญหาไม่ออกจริงๆ นั้นไม่ใช่เรื่องน่าอาย แต่การพยายามดันทุรังทำเองอยู่คนเดียวทั้งที่ไม่รู้ต่างหากจะยิ่งทำให้เสียเวลา เสียงานซะมากกว่า ดังนั้น การขอความช่วยเหลือจากคนอื่นบ้างไม่ได้ทำให้ลดคุณค่าของตัวเองลงเลย
1
• ช่วยงานเพื่อนร่วมงานบ้างตามสมควร ถ้างานของเราเสร็จแล้ว ลองหันไปถามเจ้านาย หรือเพื่อนร่วมงานดูว่ามีอะไรให้เราพอช่วยได้เพื่อให้งานเสร็จลุล่วงไปพร้อมๆ กัน
• ตั้งใจฟัง การรับฟังอย่างตั้งใจเป็นส่วนหนึ่งของการให้เกียรติกัน อย่าเพียงแค่พยักหน้าเข้าใจ หรือ มัวแต่สนใจสิ่งกวนใจรอบข้าง
• แค่ถามคนอื่นว่า ‘เป็นยังไงบ้าง’ บางครั้งประโยคง่ายๆ ก็ทำให้คนที่เราคุยด้วยใจฟูแล้ว ลองถามไถ่เรื่องชีวิตประจำวันที่นอกเหนือจากงานบ้าง เช่น วันหยุดไปเที่ยวไหนมา ครอบครัวสบายดีมั้ย หรือหยุดยาวมีแผนไปเที่ยวไหนบ้าง ซึ่งสิ่งเล็กๆ เหล่านี้ที่เราใส่ใจ ก็ทำให้คนที่เราคุยด้วยมีความสุขไปได้ทั้งวันโดยที่เราไม่รู้ตัว
• ยอมรับเมื่อทำผิดพลาดและแก้ไขปัญหาที่เกิด ไม่มีใครที่ไม่เคยทำผิด ดังนั้นถ้าหากทำผิดพลาดจุดไหนไปแค่ยอมรับและแก้ไขมัน
• ยอมรับคำติชมและแสดงความคิดเห็น ยอมรับข้อเสนอแนะ คำติชมจากคนอื่นเกี่ยวกับงานที่เราทำเพื่อปรับปรุง พัฒนาตัวเองให้ดีขึ้น ถือเป็นการให้เกียรติตัวเองอย่างหนึ่งและในขณะเดียวกันเราก็ควรให้คำแนะนำ และติชมแก่คนอื่นด้วยเช่นกัน ด้วยคำพูดเป็นกลางและให้ข้อเสนอแนะเรื่องงานเท่านั้น
• แยกแยะเรื่องส่วนตัวออกจากเรื่องงาน ถ้าแยกแยะไม่ได้ ปัญหาจะยิ่งยาก และดูเรางอแง ไม่เป็นผู้ใหญ่ด้วย
1
• ไม่ใช้อารมณ์ หากมีความขัดแย้ง เห็นไม่ตรงกัน ก็ถกเถียงกันบนข้อมูลและข้อเท็จจริง การพูดต้องอยู่บนพื้นฐานของเหตุผล ไม่ใช้อารมณ์
• อย่าคิดว่านี่ไม่ใช่งานเราไม่เห็นต้องช่วยเลย ความมีน้ำใจ ก็เป็นสิ่งเล็กๆ ที่เราสามารถแสดงออกได้ เช่น ถ้าเพื่อนยกของหนักมาคนเดียวก็เข้าไปช่วยเค้าได้ อย่าคิดว่างานใครงานมัน ไม่จำเป็นต้องช่วย
1
• เสนอตัวช่วยงาน เราไม่จำเป็นต้องรอให้เจ้านายสั่งงานให้ทำเพียงฝ่ายเดียว ลองคิดไอเดียใหม่ หรือ ลองต่อยอดจากที่เจ้านายพูดแล้วเสนอความคิดดู อาจจะได้โปรเจคใหม่มาทำต่อเลยก็ได้
• ปฏิเสธบ้าง การได้รับการยอมรับหรือมีคนให้เกียรติเราไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าเราจะต้องรับงานทุกอย่างมาไว้กับตัวเราเองซะหมด ถ้างานล้นมือแล้ว รับงานนนี้มาแล้วจะไม่มีเวลาทำอย่างเต็มที่ ก็ปฏิเสธได้ อย่ากลัวว่าจะไม่ได้รับการยอมรับจากการปฏิเสธงานบางงานไป
• กล้าแสดงความคิดเห็น การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องงานในที่ประชุมนั้น ต้องแสดงความคิดเห็นของตัวเองให้ชัดเจน ไม่พูดคลุมเครือ ตะกุกตะกัก เมื่อเห็นว่าความคิดของใครดีก็ควรสนับสนุน ส่วนความคิดของใครต้องช่วยกันแก้ไขปรับปรุงก็ช่วยกันแก้ไขเพื่อประโยชน์ส่วนรวมขององค์กรและ นี่คือการให้เกียรติกันในที่ประชุมด้วย
1
• เลี่ยงการซุบซิบนินทา อย่ามัวแต่เสียเวลากับการฟังเรื่องราวซุบซิบในที่ทำงาน หันมาใส่ใจกับคนรอบข้างด้วยการเป็นเพื่อนด้วยความจริงใจอย่าเพิ่งไปฟังเสียงนกเสียงการอบข้างจะดีกว่า
• จัด work-life balance ในการทำงาน การจัดสรรเวลาในการทำงานก็ถือเป็นเรื่องให้เกียรติกันอย่างหนึ่ง เวลาของทุกคนมีค่าอย่านัดประชุมโดยไม่จำเป็น หรือ ถามคำถามที่เราสามารถหาคำตอบเองได้ และ ที่สำคัญอย่าปล่อยให้มีคนรอคำตอบหรือการติดต่อกลับจากเรา แยกแยะเวลาส่วนตัวกับเวลาทำงานให้ชัดเจน เป็นไปได้อย่างส่งอีเมลตามงานในช่วงวันหยุดหรือหลังเลิกงานเพื่อให้ทุกคนได้ใช้ชีวิตส่วนตัวบ้าง
2
• อย่าพูดว่า ‘ไม่รู้’ จนติดปาก การตอบคำถามด้วยคำว่า “ไม่รู้” ทำให้เราดูเป็นคนเพิกเฉยและไม่คิดจะช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น แทนที่จะพูดคำนี้ ให้พูดว่าจะหาข้อมูลเพิ่มเติมและทำอย่างไรเพื่อแก้ไขปัญหานี้แทน
1
• ฝึกพูดให้มากขึ้น การฝึกพูดจะทำให้เราพูดในที่ประชุมอย่างมั่นใจมากขึ้น เมื่อเรามั่นใจการพูดในที่สาธารณะหรือที่ประชุมที่ใหญ่ขึ้นก็จะทำให้เราดูน่าเชื่อถือ ดูมีพลัง สร้างความน่าเชื่อถือให้แก่คนอื่นได้ว่าเรามีคุณสมบัติของผู้นำ
• ฝึกพูดให้ดูน่าเชื่อถือ จากการวิจัยผู้นำที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติสองอย่างควบคู่กัน คือ พูดแล้วดูน่าเชื่อถือ และ เป็นมิตร แต่แฝงด้วยพลังที่จะสร้างความมั่นใจให้กับคนฟังว่าจะสามารถทำได้จริงอย่างที่พูด
• รู้จักเพื่อนร่วมงานให้มากขึ้น การทำงานร่วมกันแน่นอนว่าแต่ละคนก็มีแนวทางการทำงานไม่เหมือนกัน ดังนั้นลองสังเกตเพื่อนร่วมงานของเราว่าแต่ละคนทำงานยังไง บางคนชอบอยู่เงียบๆ แล้วทำงานได้ดี ก็หลีกเลี่ยงการเดินเข้าไปคุยให้ส่งข้อความถามแทน หรือ บางคนชอบทำงานเงียบๆ ช่วงเช้าก็ลองจัดเวลาประชุมให้สายขึ้นตามความเหมาะสมดู
• เป็นที่ปรึกษา ไม่ว่าจะเพื่อนร่วมงาน หรือ รุ่นน้อง ถ้าหากคนเหล่านี้เจอปัญหา เราก็สามารถยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือได้ ด้วยการแนะนำ เสนอแนะ และช่วยกันแก้ไขปัญหา อย่าใช้คำพูดว่าร้าย โทษกัน หรือ เขียนรายงานฟ้องกันจะดีกว่า การช่วยเหลือกันถือเป็นการให้เกียรติที่ดีที่สุด
• บ่นให้น้อยลง ทุกคนมีวันที่เหนื่อย วันที่ท้อ แต่การบ่นในที่ทำงานก็สร้างแต่พลังงานลบให้แก่ตัวเองและผู้ร่วมงานคนอื่นๆ ลองนั่งนิ่งๆ ใช้ความคิดและพยายามคิดในแง่บวก ความคิดที่ดีจะนำมาซึ่งพลังงานที่ดีและมีทางแก้ไขปัญหาที่ดีเช่นกัน
• เรียนรู้ให้มากขึ้น อย่าหยุดที่จะเรียนรู้ ตามโลกให้ทัน อ่านให้มากขึ้น หรือ เข้าร่วมอีเวนท์และประชุมวิชาการต่างๆ แล้วนำความรู้ที่ได้มาแบ่งปันให้คนอื่นๆ
1
• ถามตัวเองบ่อยๆ หมั่นทำ self–reflection กับตัวเองเพื่อให้มั่นใจว่าเรามาถูกทางตามที่เราตั้งเป้าหมายไว้แต่ต้น ถ้าเริ่มเขวหรือหลุดออกนอกเส้นทางจะได้หาทางที่ทำให้ไปถึงจุดหมายนั้นอีกครั้ง
1
ทำงานเก่งอย่างเดียวไม่พอ
เราต้องมีนิสัยการทำงานที่ดีด้วย
1
เพราะการทำงานเก่ง เราอาจจะไม่เก่งไปตลอด
แต่นิสัยการทำงานที่ดีจะอยู่ติดตัวเราตลอดไป
1

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา