30 ก.ค. 2022 เวลา 12:19 • ประวัติศาสตร์
ย้อนรอยวิกฤติน้ำมันยุค 70 เมื่อครั้งประเทศตะวันออกใช้ “น้ำมันเป็นอาวุธทางการทูต”
2
การกลับมาเปิดใช้งานของท่อส่ง “Nord Stream 1”  ซึ่งทำหน้าที่ลำเลียงก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียไปสู่เยอรมัน หลังจากปิดปรับปรุงประจำปีไป
กลับไม่ใช่ข่าวดีเท่าที่มันควรจะเป็น
1
ทั้งนี้ เป็นเพราะว่า รัสเซียส่งก๊าซในอัตรา 20% จากอัตราเต็มกำลังเท่านั้น
ซึ่งเป็นปริมาณที่น้อยเป็นอย่างมาก
1
จนหลายฝ่ายวิพากษ์ว่า การทำแบบนี้เป็นการใช้ “การส่งออกก๊าซเป็นอาวุธเพื่อต่อรองทางการทูต” กับประเทศสนับสนุนยูเครนมากกว่า...
1
แต่การแปลงร่างการส่งออกสินค้าพลังงานเป็นอาวุธแบบนี้ มิได้เกิดขึ้นในปัจจุบันเป็นครั้งแรก ในยุค 1970 วิกฤติน้ำมันครั้งแรก
ต้นเหตุก็มาจากการใช้ “น้ำมันเป็นอาวุธทางการทูต” เช่นกัน
ในบทความนี้ Bnomics จึงจะพาทุกท่านย้อนกลับไปดูเรื่องราวและตัวละครในความขัดแย้งครั้งนั้นว่า มีหน้าตาละม้ายคล้ายปัจจุบันขนาดไหน?
📌 การแบ่งฝ่ายในสงคราม Yon Kippur War
หากจะเล่าเหตุการณ์วิกฤติน้ำมันครั้งนั้นอย่างสั้นที่สุด
เนื้อเรื่องจะเป็นว่า มันเกิดสงครามระหว่างอิสราเอลและประเทศอียิปต์กับซีเรีย เรียกว่า “Yom Kippur War”
อเมริกาและพันธมิตรสนับสนุนฝ่ายอิสราเอล แต่ประเทศในกลุ่มอาหรับ (และสหภาพโซเวียด) สนับสนุนอีกฝ่ายหนึ่ง ทางประเทศกลุ่มอาหรับไม่พอใจฝั่งอเมริกาที่สนับสนุนอิสราเอลก็เลยแบนการส่งออกน้ำมันไปประเทศเหล่านี้
แล้วก็ทำให้เกิดวิกฤติการขาดแคลนน้ำมันในปี 1973 ขึ้นมา
จะเห็นได้ว่า ต้นเหตุมีความคล้ายคลึงกับปัจจุบันมาก
ที่ลำดับเริ่มจาก เกิดสงคราม-มีการแบ่งฝ่าย-ฝ่ายที่ผลิตสินค้าพลังงานก็แบนการส่งออก
แต่เมื่อดูกันในรายละเอียดแล้ว กว่าสถานการณ์จะสุกงอมถึงขั้นนั้นได้
ก็ต้องผ่านเหตุการณ์และความเจ็บปวดหลายอย่างเลยทีเดียว
องค์ประกอบของวิกฤติน้ำมัน
องค์ประกอบที่พาสถานการณ์มาจนสุกงอม อาจจะแบ่งออกได้เป็นดังนี้
1) สงคราม 6 วัน (Six-day war) หรืออีกชื่อว่า Third Arab-Israeli War ในปี 1967 เป็นสงครามระหว่างฝ่ายอิสราเอล และกลุ่มประเทศอาหรับที่อยู่ล้อมรอบอิสราเอล
2
โดยข้อสรุปว่า ใครเป็นฝ่ายที่ทำการรุกรานอีกฝ่ายก่อนยังมีการถกเถียงกันไปมา แต่ที่รู้ได้อย่างแน่ชัดเลย คือ ในเวลาเพียง 6 วันนี้ อิสราเอลสามารถยึดดินแดนของประเทศรอบข้างได้อย่างมาก
ดินแดนที่ว่านั้นรวมถึง คาบสมุทรซีนาย ที่ราบสูงโกลัน ฉนวนกาซา
ซึ่งการถูกยึดครองดินแดนไปนั้น ก็เป็นเชื้อไฟให้เกิดสงคราม Yom Kippur ต่อมา
2) การรวมตัวของประเทศส่งออกน้ำมัน (OAPEC) และอิทธิพลที่อ่อนแรงลงของ “The Seven Sister”
น้ำมันถือเป็นทรัพยากรสำคัญที่ทางตะวันตกต้องใช้อย่างมหาศาล
เมื่อความต้องการน้ำมันสูงมากขึ้นจนผลิตเองไม่พอ
พวกเขาก็ได้สนับสนุนให้บริษัทน้ำมันของตนเองออกไปลงทุนต่างประเทศ
โดยกลุ่มบริษัทน้ำมันตะวันตกยักษ์ใหญ่กลุ่มนี้ มีชื่อเรียกว่า “The Seven Sisters” ประกอบไปด้วย BP, Gulf Oil, Shell, Chevron, Mobil, Texaco และ Exxon
ซึ่งตะวันออกกลางก็เป็นเป้าหมายหลักในการลงทุนของบริษัทกลุ่มนี้มาหลายสิบปี
อย่างไรก็ดี ในช่วงปี 1960 ประเทศตะวันออกกลาง เริ่มคิดว่า “พวกเขาได้ประโยชน์จากทรัพยากรน้ำมันของตนน้อยไป”
จึงทำการรวมกลุ่ม หนึ่งในนั้น คือ OAPEC เพื่อให้ตนเองมีอำนาจต่อรองมากขึ้น
*กลุ่ม OAPEC ไม่เหมือนกับ OPEC เป๊ะๆ แต่ก็มีกลุ่มสมาชิกที่ซ้ำกันจำนวนมากทีเดียว
1
เมื่อกลุ่มนี้เริ่มรวมกันแข็งแกร่งมากขึ้น และแต่ละประเทศสมาชิกก็เริ่มจัดการให้แท่นขุดเจาะและธุรกิจน้ำมันที่บริษัทตะวันตกเคยเข้ามาลงทุน กลับมาเป็นของตนเองมากขึ้น
จึงทำให้กลุ่มของพวกเขามีอำนาจในการกำหนดราคาน้ำมันในตลาดโลกมากขึ้นไปด้วยนั่นเอง
3) ความชะล่าใจของกลุ่มประเทศตะวันตก
2
ความชะล่าใจของประเทศตะวันตกเกิดมาจาก “ความพยายามที่ล้มเหลวของประเทศอาหรับในอดีต”
อย่างการที่จะแปรรูปบริษัทน้ำมันให้กลายเป็นของรัฐ เคยเกิดขึ้นในอิหร่าน แต่ยังทำได้ไม่สำเร็จ เพราะ สุดท้าย The Seven Sisters ก็หันมาร่วมหัวกันป้องกันไม่ให้น้ำมันของอิหร่านของสู่ตลาดโลกได้
หรือความพยายามของกลุ่มประเทศอาหรับในการจะแบนการส่งออกน้ำมัน “หลังจากสงคราม 6 วัน” ที่เราเล่าไปในข้อ 1 ซึ่งครั้งนั้นก็ไม่ประสบความสำเร็จ
2
แต่กลุ่มอาหรับก็เรียนรู้จากเรื่องนี้ ค่อยๆ จัดการเปลี่ยนแปลงและรวมตัวกันทีละน้อย จนมีพลังมากพออย่างที่กล่าวไปในข้อ 2
ทว่า ประเทศตะวันตกยังคิดว่า สถานการณ์ยังเข้าข้างพวกเขามาตลอด
จึงไม่ได้เตรียมตัวเตรียมใจให้พร้อม เมื่อเกิดการแบนการส่งออกน้ำมันขึ้นจริง จึงเกิดเป็นวิกฤติเศรษฐกิจในประเทศของพวกเขา
โดยราคาน้ำมัน WTI ปรับขึ้นมาอยู่ระดับ 11.65 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ที่ดูเผินๆ เมื่อเทียบกับราคาตอนนี้ที่อยู่ระดับประมาณ 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลได้แล้ว หลายคนก็อาจจะรู้สึกว่า ราคานี้ไม่สูงมาก
2
แต่ราคา 11.65 ดอลลาร์สหรัฐนั้น เป็นการพุ่งขึ้นมาประมาณ 4 เท่า!! จากราคาเดิมที่ต่ำกว่า 3 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
2
ลองนึกภาพ ต้นทุนจากน้ำมันที่เพิ่มขึ้นมา 4 เท่าในระยะเวลาสั้นๆ แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย ที่จะธุรกิจหรือประชาชนปรับตัวทัน จนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจเป็น Stagflation ยุค 70
ซึ่งมันก็ทำให้เกิดภาพประวัติศาสตร์ รถยนต์ในอเมริกาต่อแถวเติมน้ำมันกัน
และหลายครั้งน้ำมันก็มีไม่พอให้เติมด้วย ซึ่งฉากนี้ปรากฏอยู่ในหนังชื่อดังหลายเรื่องด้วย
และตั้งแต่วิกฤติน้ำมันครั้งนั้น ราคาน้ำมัน WTI ก็ไม่เคยกลับไปอยู่ระดับต่ำกว่า 11 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลอีกเลย ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านั้นสามารถคงระดับราคาไม่ถึง 3 ดอลลาร์สหรัฐมาได้ตั้งนาน
1
📌 บทเรียนจากอดีตที่ยังไม่ถูกแก้ไขในปัจจุบัน
เวลาผ่านมาจากตอนนั้นประมาณ 50 ปี แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันคล้ายคลึงกับตอนนั้นไม่น้อยทีเดียวครับ
1
เกิดสงคราม ตามมาด้วยการแบ่งฝ่าย ฝ่ายที่มีสินค้าพลังงานก็ห้ามไม่ให้มีการส่งออก จนประเทศที่สนับสนุนฝ่ายตรงข้ามมีปัญหาสินค้าแพง
อย่างเหตุการณ์ที่ทางรัสเซียลดการส่งก๊าซธรรมชาติ
ผ่านท่อ Nord Stream 1 เหลือแค่ 20% เท่านั้น
“ก็เป็นการนำพลังงานมาใช้เป็นอาวุธอีกครั้งของหน้าประวัติศาสตร์เช่นกัน”
3
เกร็ดที่น่าสนใจอย่างหนึ่ง คือ สหรัฐฯ ต้องเข้าไปเจรจากับกลุ่มประเทศอาหรับที่เคยเป็นฝ่ายตรงข้ามในตอน 70 เพื่อเจรจาให้ช่วยเพิ่มการผลิตอีก
1
เป็นการแสดงให้เห็นว่า ไม่มีมิตรแท้และศัตรูถาวรในการเมืองระหว่างประเทศ สุดท้าย รัฐบาลก็ต้องตัดสินใจทำเพื่อประโยชน์ของคนในประเทศเป็นสำคัญ
ความบาดหมางในอดีตก็ต้องวางลงไปได้
กลับมาที่การลดการส่งก๊าซของรัสเซีย กำลังผลักให้ยุโรปเข้าสู่ “สถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง”
ต้องหาแหล่งพลังงานเพิ่มเติมและปันส่วนพลังงานสำรองให้ดี เพื่อให้มีพร้อมใช้สำหรับหน้าหนาว อันเป็นช่วงที่ใช้พลังงานมากที่สุดในรอบปี
1
ซึ่งเหตุการณ์นี้ก็คงเป็นบทเรียนที่สำคัญของยุโรป
ที่ชะล่าใจเชื่อมั่นในการพึ่งพิงพลังงานจากรัสเซียอย่างมากมาตลอด
1
ทั้งๆ ที่ก่อนหน้าก็เห็นสัญญาณแล้วว่า ทางรัสเซียและยูเครนเคยมีความขัดแย้งกันมาก่อน โดยเฉพาะในปี 2014 ที่รัสเซียเข้าไปผนวกไครเมียร์มาเป็นของตนเอง
ก็ได้แต่หวังว่า สถานการณ์จะคลี่คลายและความขัดแย้งทั้งหมดจะสามารถตกลงกันได้ในเร็ววันนี้ครับ
2
ผู้เขียน : ณัฐนันท์ รำเพย Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶️ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Line OA : @Bnomics https://bit.ly/3eYkTJC
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
References :
เครดิตภาพ : December 23, 1973, MELTDOWN RECESSION FEARS, AP Photo/Marty Lederhandler, file

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา