6 ส.ค. 2022 เวลา 12:19 • ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์โรคฝีดาษลิง (Monkeypox)
1
การระบาดของโรคฝีดาษลิง (Monkeypox) ที่ค่อยๆ ขยายวงไปในภูมิภาคต่างๆ ของโลก ได้รับการพูดถึงมากขึ้นเรื่อยๆ
2
อย่างในสหรัฐฯ ล่าสุดก็ได้ประกาศให้การระบาดของฝีดาษลิง กลายเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข (Public Health Emergency)
เนื่องจากมีผู้ป่วยทะลุ 7,000 คนไปแล้ว
ประเทศในยุโรปหลายประเทศ ก็มีการรายงานเคสผู้ป่วยหลักหลายพันคน
อย่างในประเทศสเปนข้อมูลล่าสุดบอกว่า มีผู้ป่วยโรคนี้มากกว่า 4,500 คนแล้วในปีนี้
1
สำหรับไทยก็ประกาศพบผู้ป่วยโรคนี้เช่นกัน โดยมีผู้ป่วยที่ยืนยันแล้วว่า
เป็นโรคนี้ 4 คนด้วยกัน (ข้อมูลอ้างอิงวันที่ 4 สิงหาคม 2565)
ทำให้ในบทความนี้ ทาง Bnomics จึงได้นำเรื่องราวของโรคฝีดาษลิงมาเล่าครับว่า มันคืออะไร? และก็แทรกเกร็ดทางประวัติศาสตร์ที่น่าเกี่ยวข้อง น่าสนใจคู่ไปด้วยครับ
ฝีดาษลิง (Monkeypox) คืออะไร?
โรคฝีดาษลิงถูกค้นพบครั้งแรก ที่ห้องทดลองในกรุงโคเปนเฮเกน เมืองหลวงของเดนมาร์กในปี 1958
ในตอนนั้น การค้นพบที่เกิดขึ้นไม่ใช่โรคที่เกิดกับคนทั่วไป
แต่ค้นพบว่า “ลิง” ที่อยู่ห้องทดลองมีอาการของโรคชนิดนี้
ซึ่งก็เป็นที่มาของชื่อ “ฝีดาษลิง” อย่างที่เราเรียกกัน
อย่างไรก็ดี ต้นกำเนิดของโรคฝีดาษลิงที่แท้จริง นักวิทยาศาสตร์ยังไม่พบหลักฐานใดที่มายืนยันได้ เจ้าลิงในห้องทดลองกลุ่มนั้นก็ได้รับเชื้อมาจากแหล่งอื่นเช่นกัน
4
แม้เรารู้จักไวรัสนี้ครั้งแรกที่ห้องทดลองในทวีปยุโรป
แต่กรณี “ผู้ป่วยมนุษย์คนแรกของโรค” ที่ถูกยืนยัน เกิดขึ้นในปี 1970 ที่ทวีปแอฟริกา ประเทศคองโก
2
และแอฟริกาก็เป็นทวีปหลักที่มีการแพร่ระบาดของโรคฝีดาษลิง จนกลายเป็นโรคประจำถิ่น (endemic) ไปแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริเวณแอฟริกาตะวันตก
3
อย่างไรก็ดี ก่อนหน้านี้ ไม่เคยมีรายงานการแพร่ระบาดของโรคนี้ในทวีปอื่น ที่เกิดการติดจากคนสู่คนมาก่อน
แต่ในปี 2022 นี้ที่พึ่งจะผ่านมาประมาณ 8 เดือน ประเทศที่ไม่เคยมีผู้ป่วยฝีดาษลิงมาก่อนเลยทั่วโลก กลับมามีผู้ป่วยสะสมรวมกันกว่า 26,000 คนไปแล้ว
ซึ่งทำให้เกิดคำถามกับนักวิจัยมากมายว่าเกิดอะไรขึ้น?
1
เพราะด้วยความเข้าใจของนักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน
โรคฝีดาษลิงไม่ได้ติดต่อกันง่ายขนาดที่ลอยอยู่ในอากาศเหมือนโควิด-19
แต่จะติดได้มักจะเกิดจากการสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย หรือของที่ผู้ป่วยใช้เป็นหลัก
ซึ่งก็ทำให้เคสส่วนใหญ่ที่พบกว่า 90% เกิดมาจากการที่ผู้ป่วยไปมีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยคนอื่น ทำให้มีโอกาสที่จะสัมผัสเข้าตัวเชื้อไวรัสที่อยู่บนตัวคนอื่น
และล่าสุดก็เริ่มมีการตั้งข้อสมมติฐานว่า โรคฝีดาษอาจจะติดผ่านสเปิร์มโดยตรงได้ หลังจากมีการค้นพบเชื้อโรคฝีดาษในสเปิร์มของผู้ป่วยในอิตาลี
แต่เรื่องนี้ก็ต้องรอการยืนยันกันต่อไป
3
อีกประเด็นสำคัญที่ต้องรู้ คือ โรคนี้เกิดจากเชื้อโรคในกลุ่ม Orthopoxvirus
ซึ่งโรคที่อยู่ในตระกูลใกล้เคียงกัน ก็คือ โรคฝีดาษ หรือ ไข้ทรพิษ (Smallpox) ที่เป็นหนึ่งในโรคที่มีการแพร่ระบาดรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษย์
4
ทำให้อาการหลายอย่าง ทั้งการเป็นไข้ มีตุ่มหนองขึ้นตามร่างกาย ปวดตามร่างกาย เกิดขึ้นกับทั้ง 2 โรค
ทว่า ความรุนแรงของอาการ “โรคฝีดาษลิงเบากว่ามากเมื่อเทียบกับอาการของฝีดาษ (Smallpox)” ที่อยู่กับมนุษย์มายาวนานกว่าหมื่นปี
ซึ่งเรื่องนี้ ทำให้นึกไปถึงเกร็ดในประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการสร้างวัคซีนขึ้นมาด้วยครับ
2
📌โรคฝีดาษ (Smallpox) รุนแรงมากกว่าโรคฝีดาษวัว (Cowpox)
1
อย่างที่กล่าวไปข้างต้น โรคฝีดาษ ถือเป็นหนึ่งในโรคระบาดที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ โดยโรคนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ 10,000 ปีก่อนในทวีปแอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือ
3
โรคฝีดาษเป็นโรคที่ติดต่อผ่านทางอากาศได้
30% ของผู้ป่วยโรคนี้จะเสียชีวิตหลังจากติดเชื้อไม่เกิน 2 สัปดาห์
โรคฝีดาษเข้าไปสร้างวิกฤติให้กับหลายอาณาจักร จนมีส่วนไปสู่การล่มสลาย
ทั้งอียิปต์ โรมัน หรือ ชนเผ่าในทวีปอเมริกา ซึ่งรับเชื้อโรคไปจากทหารของจักรวรรดิยุโรป
โดยในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 อย่างเดียวมีผู้เสียชีวิตจากโรคฝีดาษ 300-500 คนทีเดียว
อย่างไรก็ดี มนุษย์เราสังเกตเห็นว่า ผู้ที่เคยป่วยเป็นโรคนี้แล้ว ก็จะไม่เป็นโรคนี้ซ้ำอีก
จึงทำให้เกิดวิธีป้องกัน โดยนำเชื้อฝีดาษจำนวนน้อยๆ มาขูดบนแขนของคนที่ยังแข็งแรง จำนวน 4-5 แผล เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน
2
ซึ่งก็เป็นวิธีที่ลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคฝีดาษได้อย่างมาก
แต่วิธีการนี้ก็ยังมีความเสี่ยง เพราะ เชื้อที่เข้าไปก็ยังมีความรุนแรง ยังมีผู้เสียชีวิตอยู่ประมาณ 3%
แต่ต่อมา ก็มีนายแพทย์ชาวอังกฤษชื่อว่า เอ็ดเวิร์ด เจนเนอร์ (Edward Jenner)
1
ได้พบว่า มันมีโรคที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันกับฝีดาษ เรียกว่า “ฝีดาษวัว (Cowpox)” ซึ่งคนที่เคยเป็นโรคฝีดาษวัวเนี่ย จะไม่มีโอกาสเป็นโรคฝีดาษอีก
1
นอกจากนี้ อาการของ “โรคฝีดาษวัว” เมื่อติดต่อมาสู่คนก็เบากว่า “โรคฝีดาษ” อย่างมาก
1
ทำให้เขาทดลองใช้เชื้อโรคจากฝีดาษวัวแทนฝีดาษปกติ ซึ่งมันก็ให้ผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยม
สามารถป้องกันผู้รับจากโรคฝีดาษจริงๆ ได้ จนนำมาสู่การประกาศชัยชนะต่อโรคฝีดาษของมนุษย์ในช่วงต่อมา
1
การค้นพบที่ยิ่งใหญ่นี้ เป็นจุดเริ่มต้นของวิชาภูมิคุ้มกันวิทยา และคุณเอ็ดเวิร์ดก็ได้รับการยกย่องเป็นบิดาของสาขาวิชานี้ต่อมา
3
เกร็ดที่น่าสนใจที่เหตุการณ์ในปัจจุบันเชื่อมโยงกับอดีต ไม่ได้มีแค่เรื่องที่ฝีดาษที่มีต้นกำเนิดมาจากสัตว์อื่น จะมีอาการรุนแรงกับคน น้อยกว่าโรคฝีดาษโดยตรงแล้ว
ก็ยังมีอีกเรื่องเกี่ยวกับวัคซีนเรากำลังจะใช้ ที่ในอดีตนั้น เราจะป้องกันโรคฝีดาษ เราก็ไม่ได้ใช้ตัวเชื้อโรคฝีดาษโดยตรง ไปใช้เชื้อโรคฝีดาษวัวมาเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันแทน
1
ในตอนนี้ เมื่อมีการแพร่ระบาด “โรคฝีดาษลิง” เรายังไม่มีวัคซีนของโรคนี้โดยตรง
ก็มีแนวนโยบายจากหลายประเทศจะใช้ “วัคซีนสำหรับโรคฝีดาษ” ที่ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคาดการณ์ว่า จะป้องกันอาการของฝีดาษลิงได้อย่างดี
1
ซึ่งก็ต้องขอบคุณบทเรียนในอดีตที่เราเรียนรู้และพัฒนาต่อมา
มิเช่นนั้น เราก็อาจจะต้องเสียเวลาอีกไม่น้อย เพื่อพัฒนาวัคซีนโดยเริ่มจากศูนย์
เหมือนกับตอนโควิด-19 อีกครั้งหนึ่ง...
ผู้เขียน : ณัฐนันท์ รำเพย Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
1
▶️ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Line OA : @Bnomics https://bit.ly/3eYkTJC
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
1
References :
#APEC2022COMMUNICATIONPARTNER

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา