29 ก.ค. 2022 เวลา 18:08 • การศึกษา
มีคนเคยบอกว่า…เรียนภาษาอังกฤษต้องเริ่มจากการฟังก่อน ฟังเยอะๆ คำถามคือ? เราควรฟังครูต่างชาติพูด/สอนภาษาไปเลย หรือเราควรไปฟังครูคนไทยสอนการสนทนาภาษาอังกฤษเบื้องต้นดี?
คำถามนี้ถูกลบ
ผมมองว่าข้อดีของ “ภาษาอังกฤษ” ที่โดดเด่นอย่างหนึ่งคือ “ความเป็นระบบระเบียบ” ของโครงสร้างไวยากรณ์และการเขียนหรือ paragraph development
นอกจากภาษาอังกฤษแล้ว ผมเคยเรียนภาษาญี่ปุ่นมาด้วยครับ
ทักษะทางภาษามีทั้ง ฟัง, พูด, อ่าน, เขียน แต่ในช่วงเริ่มต้น การ “ฟังและอ่าน” น่าจะสำคัญที่สุด เพราะเป็นทักษะของ input ซึ่งเมื่อเรามีความชำนาญแล้ว ทักษะด้าน output ที่เป็นการ “พูดและเขียน” ก็จะได้รับการพัฒนาโดยอัตโนมัติ!
และไม่ว่าภาษาใดๆ มักถูกจำแนกเป็น
1) “ภาษาทางการ”
ผมขอเรียกว่า “Formal หรือ Academics” ซึ่งเราสามารถเรียนรู้ได้จากการฟังและอ่านจากสื่อที่เป็นทางการเช่น หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ หรือ Youtube ที่เจ้าของช่องเป็นสื่อเจ้าใหญ่ๆ
2) “ภาษาชาวบ้าน”
ผมขอเรียกว่า “General” ซึ่งเราสามารถเรียนรู้ภาษาลักษณะนี้ได้จาก การดูหนังดูละครและฟังเพลง โดยการดูสื่อบันเทิงนี้จะช่วยให้เราเข้าใจการใช้ภาษาได้ดีเพราะมันถูกใช้ผ่าน “ภาษากาย: สีหน้า แววตา ท่าทาง น้ำเสียง” ของนักแสดงอาชีพ
เช่น
ชาวตะวันตกเวลาชิมอาหารในรายการแข่งทำอาหาร เขาสามารถพูดว่า
“That’s beautiful!” แทน “delicious”
หรือใน ละครจากญี่ปุ่นสามารถใช้
“umai” แทน “oishii” (อร่อย)
1) ช่วงที่ผมยังเป็นนักเรียนซึ่งเป็นยุค “pre-youtube”
ผมจะให้ความสำคัญกับ grammars เป็นอันดับแรกๆ เนื่องด้วยที่ผมเกริ่นไว้ข้างต้นว่า ภาษาอังกฤษมีความเป็นระบบระเบียบสูง ดังนั้นถึงแม้คุณจะ “ฟังและดู” คลิปวีดีโอบน youtube หรือ platforms ใดๆ
เวลาที่ชาวต่างชาติในคลิปเหล่านั้นพูดอะไรออกมา ส่วนใหญ่พวกเขาก็จะพูดตามหลักไวยากรณ์ที่เราๆเรียนกัน
ยิ่งถ้าคุณ “อ่าน” ข่าวหรือ ดูคลิปข่าวจากสำนักข่าวใหญ่ๆ เช่น BBC, CNN, หรือ Bloomberg ระดับของภาษาอังกฤษที่ใช้จะเป็นภาษาที่ออกไปในแบบทางการหรือถึงขั้นที่ผมเรียกว่า Academics ในบางกรณีเลยทีเดียว!
2) เทคนิคอย่างหนึ่งที่ผมใช้ใน “การอ่าน” ภาษาอังกฤษซึ่งผมมองว่าเป็นพื้นฐานสำคัญของ “การฟัง” คือ
ผมจะใช้ดินสอ “ขีด” ทำเครื่องหมายตรงจุด “full stops” ของทุกๆประโยค ซึ่งผมเรียกเทคนิคนี้ว่า “การตัดประโยค” ในแต่ละ paragraph
แล้วผมจะเริ่มไล่อ่านทีละประโยค ซึ่งโดยส่วนใหญ่ “ประโยคแรก” ในแต่ละ paragraph ก็คือ ประโยคที่เป็น “main idea” ของแต่ละย่อหน้านั่นเอง
โดยทฤษฎีของผมนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับ “การฟัง”
และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ “การวิเคราะห์ประโยค” หลังจากที่ “ตัดประโยค” แล้ว
การวิเคราะห์ประโยคในความหมายของผมคือ
i+S+i+V+i+O+i
โดย S: Subject
V: Verb
O: Object
และ i: ส่วนขยาย
ประเด็นมันอยู่ตรงนี้ครับ
เมื่อใดที่คุณมีความชำนาญในเรื่องไวยากรณ์เกี่ยวกับ “โครงสร้างและชนิดของประโยค” รวมถึง “ประเภทของส่วนขยาย” , เมื่อนั้น นอกจากคุณจะ “อ่าน” ได้ดีขึ้นแล้ว คุณยังจะ “ฟัง” ได้ดีขึ้นด้วย!
3) ผมขอยกตัวอย่างแบบนี้ครับ
“Former Japanese Prime Minister, Shinzo Abe, was assassinated in Nara by the suspect named Tetsuya Yamagami, 41 , who is unemployed and lives in Nara.”
ครับ นี่คือประโยคเพียงประโยคเดียว! แต่มี “ส่วนขยาย” เยอะทีเดียว
ไม่ว่าประโยคข้างต้นจะเป็นประโยคที่คุณ “อ่าน” พบจากข่าว หรือ เป็นประโยคที่ผู้ประกาศข่าวกล่าวออกมาให้คุณ “ฟัง” ในคลิป โครงสร้างของประโยคยังคงเดิม!
ดังนั้น ถ้าคุณมีความเชี่ยวชาญเรื่องโครงสร้างประโยคอย่างที่ผมและนำ เมื่อใดที่คุณ “ฟัง” ประโยคนี้ คุณสามารถวิเคราะห์ได้ว่า
-”ท่าน Abe”
ในที่นี้ปรากฎเป็นประโยค passive voice นั่นคือ เป็น ประธาน ที่ถูกกระทำ
-“was assassinated”
คือ กริยาหลัก
-“Tetsuya Yamagami”
เป็น กรรม ของ preposition “by”
และ “ที่เหลือ” คือ “ส่วนขยาย”
4) นั่นคือ ถ้าคุณได้ฟังประโยคนี้มาตั้งแต่แรก แต่คุณยังฟังไม่ทันจบประโยคทั้งหมด เพราะประโยคยาวมาก!
อย่างน้อยๆ คุณก็สามารถบอกกับตัวเองในใจได้ว่า
“ผู้ประกาศข่าวกล่าวชื่อท่าน Abe ออกมาแล้วพร้อมส่วนขยาย และ was assassinated คือรูป passive voice
ดังนั้น ประโยคที่เหลือน่าจะตามมาด้วย “by” someone ที่ assassinated ท่าน Abe! และส่วนขยาย (ถ้ามี)”
เมื่อใดก็ตามที่คุณทำได้เช่นนี้ ผมรับรองว่า
“โลกแห่งการฟังภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างชาติใดๆที่คุณเรียน จะไม่มีวันเหมือนเดิมอีกต่อไป!”
5) เทคนิคการเรียนภาษาของผม
โฆษณา