5 ส.ค. 2022 เวลา 10:37 • ความคิดเห็น
ครูที่ปรึกษาอ้างอิงทฤษฎีจิตวิทยาของ อีริค อีริคสัน ขออนุญาต ผอ. ให้เด็กไว้ผมยาวได้สำเร็จ
4
โลกออนไลน์พากันชื่นชม เมื่อมีคุณครูท่านหนึ่งโพสต์เล่าเรื่องราวน่ารักๆ ที่เกิดขึ้นที่โรงเรียน
เรื่องนี้ถูกแชร์โดย คุณร่มเกล้า ช้างน้อย หรือ ครูกั๊ก เป็นครูที่ปรึกษาของนักเรียนชั้น ม.1/1 โรงเรียนเทพศาลาประชาสรรค์ ได้ทำหนังสือถึงผู้อำนวยการโรงเรียน เพื่อขออนุญาตให้นักเรียนจำนวนหนึ่งไว้ผมยาวได้ ซึ่งตามกฎของโรงเรียน นักเรียนหญิงชั้น ม.ต้น ต้องไว้ผมสั้น
(pic: จากเรื่องราวที่แชร์)
ซึ่งรายละเอียดที่อยู่ในหนังสือขออนุญาตฉบับนี้ ครูกั๊กได้ยกหลักทฤษฎีทางจิตวิทยามาเป็นเหตุผลประกอบด้วย
" ในการนี้ นักเรียนในประจำชั้นได้ขอคำปรึกษาและขออนุญาตในการไว้ผมยาว เนื่องจากลักษณะผมของนักเรียนเป็นผมหยิกฟู เมื่อตัดผมสั้นจะทำให้ผมยิ่งหยิกฟูและเกิดความไม่มั่นใจในตนเอง ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีพัฒนาการทางจิตสังคม 8 ขั้นตอน ของอีริคสัน นักเรียนในช่วงอายุ 12-18 ปี เป็นช่วงอายุที่เน้นการหาอัตลักษณ์ของตนเอง ดังนั้น การตัดผมสั้นจะทำให้นักเรียนสับสนในตนเอง และพลาดโอกาสที่จะเติบโตในการเป็นวัยรุ่นที่สมบูรณ์ได้ "
5
มีเหตุผลอ้างอิงทฤษฎีแบบนี้ แน่นอนว่าครูกั๊กทำสำเร็จค่ะ เพราะหลังจากที่ยื่นหนังสือให้ผู้อำนวยการพิจารณา ท่านก็ได้เซ็นอนุญาต ทำให้เด็กๆ รู้สึกดีใจอย่างมาก
1
ครูกั๊กเล่าว่า เนื่องจากตนเองเป็นครูประจำชั้นหรือครูที่ปรึกษา จึงมีหน้าที่ดูแลความเรียบร้อย และรับฟังนักเรียนในชั้น เพื่อช่วยเหลือแก้ปัญหาให้ ซึ่งบางเรื่องก็ต้องประสานกับทางโรงเรียน
1
ก่อนนี้มีเด็กนักเรียนผู้หญิงมาปรึกษาถึงเรื่องนี้ ตนจึงเห็นว่าเด็กๆมีเหตุผลที่ทำให้เข้าใจได้ จึงอยากลองขออนุญาตทางโรงเรียนดู
และจากจุดนี้ คิดว่าอีกไม่นานทางโรงเรียนจะอนุญาตให้นักเรียนทั้งหมดไว้ผมสั้นหรือยาวได้เสรี เนื่องจากในที่ประชุมล่าสุดทุกฝ่ายเห็นตรงกันว่าทรงผมสั้นหรือยาวไม่มีผลกับการเรียน เรื่องระเบียบวินัยก็ให้นักเรียนรวบผมเรียบร้อยก็พอ
1
ทางด้านผู้ปกครองได้ทักมาขอบคุณครูกั๊กในกลุ่มไลน์ ชื่นชมคุณครูที่ให้ความสำคัญกับเรื่องเล็กๆ ที่สำหรับเด็กๆ ถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะบุคลิกที่ดีช่วยสร้างความมั่นใจ ทำให้กล้าแสดงออก
1
ทฤษฎีพัฒนาการทางจิตสังคมของอีริคสัน (Theory of Psychosocial Development) แบ่งขั้นตอนการพัฒนาไว้ 8 ขั้น เป็นขั้นในการพัฒนาที่มนุษย์คนหนึ่งควรจะผ่านไปตั้งแต่เกิดจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต ซึ่งในแต่ละขั้นเราจะมีความต้องการที่แตกต่าง เนื่องจากการพบเจอกับสิ่งใหม่ๆตามช่วงอายุนั้นจะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมและการเรียนรู้ของเรา
1
จากเรื่องราวที่นำมาเล่าในวันนี้ ครูกั๊กได้ยกทฤษฎีในช่วงวัยของนักเรียนระดับมัธยมศึกษามาประกอบเหตุผล ซึ่งนั่นก็คือ
ขั้นที่ 5 ความเป็นอัตลักษณ์ และความสับสนในบทบาท (Ego Identity vs Role Confusion) ช่วงอายุ 13 – 19 ปี
เด็กในช่วงวัยรุ่นจะเรียนรู้ว่าแต่ละคนมีบทบาทในสังคมแตกต่างกัน โดยที่เขาเป็นทั้งเพื่อน นักเรียน เป็นเด็ก และพลเมือง วัยรุ่นหลายคนจะพบวิกฤติในการค้นหาตัวตนของตัวเอง ดังนั้น ในขั้นนี้หากพ่อแม่อนุญาตให้เขาออกไปค้นหาตัวเอง เขาก็จะค้นพบตัวเองได้ แต่หากพ่อแม่เรียกร้องให้ลูกอยู่ในกรอบของตัวเองอย่างเดียว วัยรุ่นอาจรู้สึกสับสนในบทบาทและรู้สึกหลงทาง ซึ่งบุคคลสำคัญในการพัฒนาช่วงนี้ก็คือ เพื่อนๆ และบุคคลต้นแบบของเขา
1
เป็นเรื่องราวที่ดีต่อใจจริงๆค่ะ ที่เห็นคุณครูใส่ใจให้ความสำคัญกับความรู้สึกของเด็กๆ ส่วนตัวชื่นชอบกับวิธีการพูดคุยปรึกษากันด้วยเหตุและผลค่ะ ไม่ว่าจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตก็ตาม เหตุผลจะทำให้อีกฝ่ายเข้าใจได้ และสามารถแลกเปลี่ยนแนวทางอื่นๆร่วมกัน เพื่อให้ทุกฝ่ายมีทางออกของปัญหานั้นๆ
1
ข้อมูลอ้างอิง
แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมได้ค่ะ
ถ้าชอบบทความที่นำมาเล่า อย่าลืม
♡กดติดตาม ♡กดไลค์ ♡กดแชร์ กันนะคะ
Simple Blog
05.08.22

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา