9 ส.ค. 2022 เวลา 13:29 • ครอบครัว & เด็ก
ผลของความไว้ใจของเด็กสองขวบ...
เมื่อเค้าไว้ใจคุณ เค้าคิดว่าคุณจะไม่ทำร้ายเค้า...
5
นี่คือผลของมันค่ะ
2
สติ๊กเกอร์ อาวุธที่มีแสนยานุภาพยิ่งนักของ
หมอเด็ก
ตรวจร่างกายเสร็จ แขนหมอก็ลายพร้อย
อยากจะบอกว่า ตอนแรกเด็กยังติดไม่เป็น เพราะกล้ามเนื้อมัดเล็กยังไม่แข็งแรง ยังไม่รู้ว่าสติ๊กเกอร์คืออะไร เด็กใช้ด้านกระดาษแปะ มันก็จะติดมือเขาพอเราแกะให้ดู แล้วเอาหน้ากาวแปะผิวสัมผัสอื่น เด็กจะทำเลียนแบบ อันที่สองที่สามนิ้วเด็กจะใช้งานคล่องขึ้น แม่นยำขึ้น นั่นคือกล้ามเนื้อมัดเล็กถูกฝึก การทำงานประสานระหว่างตา และกล้ามเนื้อมือ ถือว่าเป็นการกระตุ้นใยประสาทของสมองในการทำงานที่ละเอียดและซับซ้อนต่อไปค่ะ
เมื่อไหร่ที่คุณเป็นหมอเด็กแล้ว คุณสามารถทำให้
เด็กทารกไม่ถึงขวบ ที่เขามาหาคุณมากกว่าหนึ่งครั้งแล้วคุณรู้ได้ว่าเค้าคุ้นมือหมอ จำเสียงเราได้ มองสบตาเราด้วยสายตาที่เรามีตัวตน แต่ไม่หวาดกลัว
เด็กหนึ่งขวบ โผมากอดคุณได้โดยคิดว่าเป็นแม่ หรือโผจากแม่มาให้คุณกอดและอุ้ม โผมาหาแบบแม่งงๆ ว่าลูกฉันไปได้ยังไง...
เด็กสองสามขวบ หลังทักทายกันแล้วเค้าลุกมานั่งบนตักคุณที่กำลังคุยกับพ่อแม่เค้าอยู่แบบหน้าตาเฉย... แบบเฮ้ย ใครเชิญมา... แล้วก็เล่นต่ออย่างมีความสุขบนตักหมอ
เด็กสี่ห้าขวบคุยกับคุณได้เรื่อยๆ....
และรอวันนัดมาเจอหมอ ราวกับชายหนุ่มนัดเดทกับหญิงสาวไว้
ถ้าคุณได้สัมผัสสิ่งเหล่านี้เรื่อยๆ
แปลว่า คุณได้วิทยายุทธขั้นสูงมาแล้วค่ะ 😆
2
คุยกับเด็กยากไหม คุยกับเด็กคุยยังไง ไม่ชอบคุยกับเด็กเลย คุยไม่รู้เรื่อง....
หลายคนรู้สึกว่าการสื่อสาร การพูดคุยกับเด็กไม่ใช่เรื่องง่าย หลายคนลำบากใจ...
แอบแนะนำเคล็ดลับง่ายๆ สไตล์หมอเด็ก เอาไว้พูดจาภาษาเด็กกันดูนะคะ....
1
1.ภาษาใจ เริ่มที่ใจก่อนเลย คุณจะอารมณ์ไหนมาก็ช่าง โกรธใครกี่คนมาบนโลก หันไปหาเด็กต้อง.... เย็นทันที... หรือเจ้าตัวเล็กนั่นแหละที่กำลังกวนประสาทคุณที่สุด หน้าที่คุณคือ
ตั้งสติและควบคุมอารมณ์ตัวเองให้ได้ เพราะคุณคือคนที่มีวุฒิภาวะมากกว่าเด็กตรงหน้า
ถ้าจะคุยกับคนตัวเล็กตรงหน้า.... คุณต้องเย็นนั่นคือหน้าที่คุณ
2
กระแสใจสำคัญมากค่ะ
เด็กรับรู้พลังงานของใจง่าย และไวมาก....
จิตเค้าละเอียด ยังไม่ต้องคิดเยอะ เหมือนเครื่องรับคลื่นพลังเค้าดี ทำงานไวและแม่นยำ ถ้าคุณคือคนหนึ่งที่ปล่อยคลื่นพลังให้เขา เขาจะสัมผัสได้ว่าตอนนี้อารมณ์คุณเป็นอย่างไร.....
มันส่งออกมาทาง ภาษากาย
1
2. ภาษากาย.... แววตา สีหน้า กล้ามเนื้อเล็กๆบนใบหน้า พูดคุยกับเด็กอยู่ กล้ามเนื้อทุกมัดของร่างกายบ่งบอกความเครียดของอารมณ์ของคุณที่เด็กรับรู้ได้ น้ำเสียงบอกได้ว่าตอนนี้อารมณ์คุณคุณอยู่ในโทนเย็น หรือร้อน สงบ หรือพลุกพล่าน... เด็กรู้
1
และที่สำคัญเวลาคุยกันต้องสบตาค่ะ เพื่อให้เด็กรู้ชัดว่า เรากำลังคุยกับเค้า กำลังสื่อสาร เค้าควรฟัง
ภาษากายที่ดีนี่แหละค่ะ ที่พวกมิจฉาชีพใช้ล่อลวงเด็ก คนพวกนี้พูดคุยดี ดูใจดี เด็กจึงไว้ใจ
ต้องสอนลูกให้เชื่อคนที่ควรเชื่อเท่านั้น คนที่ไว้ใจได้ต้องบอกเด็กเลยว่ามีใครบ้าง พ่อ แม่ ตา ปู่ ย่า ยาย อา น้า หรือใครบ้าง ที่เหลือมาชักชวนให้ปฏิเสธ ให้กลับมาหาพ่อแม่ หรือให้มาเล่าให้พ่อแม่ฟัง
1
3.สื่อสารกับเขาอย่างจริงใจ ด้วยภาษาที่เหมาะกับวัย การใช้เสียงสอง สาม สี่ อาจจะเหมาะกับทารกหรือเด็กเล็กที่ถูกกระตุ้นให้สนใจการสื่อสารได้ง่ายด้วยน้ำเสียงเหล่านี้ แต่คงไม่เหมาะกับวัยรุ่นนะคะ เด็กๆคงตกใจ
วัยเด็กโตหรือวัยรุ่น เสียงสูงต่ำยังใช้ได้ถ้าเรามีอารมณ์แบบนั้นจริง เช่น... จิงดิ... เสียงสอง คือเสียงที่สูงขึ้นกว่าปกติ เมื่อเราตื่นเต้นกับสิ่วที่เขาพูดจริงๆ เด็กๆก็จะรู้ว่าเราตื่นเต้นจริงๆ มันก็จะเป็นการสนทนาที่มีอารมณ์ร่วมไปด้วยกัน
4.เด็กเล็ก อาจมีการใช้เสียง หรือศัพท์ที่เป็นภาษาเด็ก เช่น
หม่ำ คือกิน
เค้ง คือ นอน
อึ๊ คือ อึ
จ๊อด คือ ฉี่ ภาษาเหล่านี้ใช้สื่อสารได้ง่ายๆกับเด็กเล็ก แต่ถ้าเราไปใช้กับเด็กโตหรือวัยรุ่น เด็กอาจจะรำคาญ
5.การใช้ภาษากับเด็กเล็ก ถึงเราจะมีภาษาเด็ก แต่การฝึกให้เด็กออกเสียงอย่างถูกต้องก็มีความสำคัญค่ะ ไม่แนะนำให้สอนเด็กพูดไม่ชัด การออกเสียง การพูด ปกติเด็กจะออกเสียงเพี้ยนอยู่แล้ว ผู้ใหญ่ช่วยแก้เสียงที่เพี้ยนให้ถูกต้องแบบค่อยๆทำ เราจึงจะไม่สอนเด็กให้พูดไม่ชัดซะเอง เพราะมันจะแก้ยาก
1
6.รับฟังเด็กพูด ฟังจริงๆ ไม่ใช่ฟังแค่สิ่งที่เค้าพยายามบอกซึ่งเราอาจจะเข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง แต่ฟังเพื่อให้รู้ว่าเขาอยากบอกเล่าอะไร เขามีความรู้สึกแบบไหนในเรื่องเล่านั้น ตกใจ กลัว สนุก ตื่นเต้น ฟังเด็กๆเล่าให้จบ อย่าพูดแทรกพูดขัด และสะท้อนสิ่งที่เรารับรู้ให้เขาฟัง เด็กจะรู้สึกอบอุ่นใจ เรากำลังเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้กับคนตัวเล็กๆค่ะ
1
การรับฟัง ฟังเพื่อรับรู้ ไม่ใช่ฟังเพื่อตัดสิน
รับรู้เนื้อหา เรื่องราว รับรู้อารมณ์ความรู้สึก รับรู้กระบวนการคิดและความเห็นของเด็ก ไปจนถึงรับรู้เบื้องลึกในจิตใจ การฟังที่ดี เราจะฟังได้ลึก
การฟังที่ดี ทำให้เด็กรู้สึกปลอดภัย
1
7.ชวนคุยในเรื่องที่เด็กสนใจ การเริ่มต้นทักทายง่ายๆ ด้วยการถามชื่อ การเรียกเด็กด้วยชื่อเล่น จะทำให้เด็กรู้สึกได้รับความสำคัญ ถูกสนใจ เป็นการดึงความสนใจเด๋กมาอยู่ที่เราถ้าต้องการสื่อสาร
เริ่มคุยด้วยเรื่องง่ายๆ เนื้อหาตามวัย เช่น
ถ้าเด็กเล็ก บทสนทนาอาจเริ่มด้วย
อู้หูวววว เสียงสอง 😆.... เสื้อหนูสีสวยจัง มีลายกระต่ายด้วย หูยาวเลย ไหนหูของหนูอยู่ไหนคะ การพูดคุยเรื่องใกล้ตัวที่เด็กจับต้องได้ จะทำให้เด็กเล็กไม่เครียดเกินไป เอาของเล่นมาล่อ เอาอะไรมาให้ดูไปได้เรื่อยๆค่ะ พอเบื่อเค้าก็จะวิ่งเล่น ก็ปล่อยเล่นอย่างเหมาะสมแก่เวลา สถานที่ และความปลอดภัย นี่คือซนตามวัย
8.เด็กเล็กวัยเตาะแตะ วัยอนุบาล การใช้เจ้าชาย เจ้าหญิง นางฟ้า ยักษ์ตัวใหญ่ พี่มังกร
ม้ายูนิคอร์น หรือเพื่อนๆของเขาในนิทาน อาจเป็นหนูนิด กุ๋งกิ๋ง ป๋องแป๋ง มาช่วยเป็นตัวกลางในการสื่อสารเพื่อวัตถุประสงค์บางอย่างเช่นการปรับพฤติกรรม ยังทำได้....
เช่น... เดี๋ยววันนี้พี่มังกรจะมาเก็บขวดนมหนูไปเก็บแล้วนะคะ หรือ พอหนูนิดไม่แปรงฟัน หนูนิดก็ฟันผุ ปวดฟัน ถ้าไม่อยากฟันผุแบบหนูนิด หนูต้องแปรงฟันรู้ไหมคะ
1
9.เด็กโตหรือวัยรุ่น พูดคุยกันได้เหมือนเราคุยกับเพื่อนหรือผู้ใหญ่คนหนึ่งค่ะ หลายครั้งที่เราจะได้้มุมมองดีๆจากเด็ก เราแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ จะแนะนำอะไรกัน ให้แนะนำกันตอนที่คุยกันแบบอารมณ์ดีๆ ปกตินี่ละค่ะ เด็กจะเปิดใจรับได้ง่ายและจำได้ อย่าไปพยายามสอนตอนกำลังโมโหทั้งสองฝ่าย ข้อมูลนั้นจะถูกปฏิเสธทันทีโดยเฉพาะในวัยรุ่น... เวลาทะเลาะกัน เราจะเหมือนฝ่ายตรงข้ามเขา ถ้าเราสื่อสารกันดีมาตลอดตั้งแต่เล็ก ถ้าเราทะเลาะกัน มันจะเป็นเพียงการเห็นต่างที่สามารถปรับเข้าหากันได้ค่ะ
1
ว่าจะพิมพ์เล่นๆสั้นๆ มาซะยาวเลย 😅
โฆษณา