10 ส.ค. 2022 เวลา 05:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
Sliding (Options) Doors [Part 1/2]
.
วันนี้จะมาคุยเรื่องการเซทอัพกราฟว่ามีประมาณไหนบ้าง และมีข้อดีข้อเสียต่างกันอย่างไร.. แต่ก่อนจะไปถึงตรงนั้น ผมอยากจะให้เข้าใจฟิลการเทรดออปชั่นก่อน ถ้าให้อธิบายภาพใหญ่ในมุมที่ผมสัมผัสมา มันจะเหมือนหนังเรื่อง Sliding Doors (1998.. 24 ปีแล้วเหรอเนี่ย !! 555 .. ใครไม่เคยดู.. ส่อง Trailer น่าจะเข้าใจประเด็น -- https://www.youtube.com/watch?v=Da-Mizk86AE)
สั้นๆ ย่อๆ คือ.. ถ้าคุณมาทันขึ้นขบวนรถไฟ ชีวิตคุณจะเป็นแบบ A.. แต่ถ้าคุณพลาด.. มาช้าหลังประตูรถไฟปิดแล้ว ชีวิตคุณก็จะเป็นแบบ B
.
ฟิลของการเซทอัพกราฟออปชั่นตั้งแต่ต้นรอบก็ประมาณนั้น.. เมื่อคุณเลือกที่จะตั้งทรงแบบ [1] มันก็อาจจะยากที่จะกลับไปทำทรงแบบ [2] หรืออื่นๆ ด้วยความที่มันมีค่า Time เข้ามาเกี่ยวข้อง.. มูลค่าพรีเมียมที่เปลี่ยนไป และจำนวน Position เป็นร้อยเป็นพันที่ถือไว้ในพอร์ต ผูกไว้เป็นเงื่อนไข มันเลยไม่เหมือนกับเทรดฟิวเจอร์หรือหุ้นที่ผิดทางก็แค่คัทแล้วเริ่มใหม่เมื่อไรก็ได้
แบบที่ 1 – เน้นทิศทาง (Directional Options) ก็ง่ายๆ เน้นๆ เลือกขึ้นก็เทรด LC หรือ SP ถ้าเลือกลงก็เทรด LP หรือ SC.. ถ้าเน้น LC หรือ LP ก็รอถูกทางได้เงิน กินส่วนต่างพรีเมียม และยังจำกัดความเสี่ยงด้วยตัวมันเองอีกด้วย แต่ถ้าเลือก SC หรือ SP ก็รับเงินออกมาก่อนเลย แต่ก็เปิดความเสี่ยงเหวด้านใดด้านหนึ่งไว้เสมอ ดังนั้น จึงควรวางเงิน Margin เต็มจำนวนไว้เพื่อจำกัดความเสี่ยง.. การเทรดลักษณะนี้ Money Management ความแม่นในการอ่านเทรนด์ตลาด และเทคนิคในการล็อกกำไร/ปิดเกม/จำกัดความเสี่ยง ค่อนข้างสำคัญ
แบบที่ 2 - ไม่เน้นทิศทาง (Non-Directional Options) โดยภาพใหญ่การเทรดแบบสร้าง Payoff จะอยู่ในโหมดนี้ คือ มีการผสมใช้ทั้ง Long และ Short เพื่อบริหาร Payoff ให้คุมโซนตลาดทั้งขึ้นและลงเอาไว้ให้ได้เพื่อทำกำไร และจากประสบการณ์ที่เทรดและเห็นมา น่าจะแบ่งการเซทอัพกราฟออกมาได้ 2 ลักษณะใหญ่ๆ..
.
[พักเบรกต่อตอนหน้าครับ]
.
#zardspreadoptions
#SET50indexoptions #TFEX #Options

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา