30 ต.ค. 2022 เวลา 12:30 • ไลฟ์สไตล์
ถ้าคุณเป็นคนที่เล่นโซเชียลมีเดียอย่าเลื่อนผ่านโพสต์นี้
จากพอตเเคสต์ช่องChris Williamsonได้สัมภาษณ์Dr Andrew Huberman นักประสาทวิทยา
โดยChris Williamsonได้ถามDr Andrew Hubermanว่า มือถือมีผลต่อการหลั่งโดพามีนในคนอย่างไร
โดยDr Andrew ได้กล่าวไว้ว่า
ครั้งเเรกหรือเมื่อเวลาผ่านไปนานๆเเล้วเรามาเล่นโซเชียลมีเดีย โดพามีนหรือสารเคมีเเห่งความสุขจะเกิดการหลั่งอย่างมาก โดพามีนจะมีความเกี่ยวข้องกับสิ่งแปลกใหม่ เซอร์ไพรส์หรือให้ความรู้สึกที่ว่าเรากำลังจะทำอะไรที่ตื่นเต้น ทำให้เราอยู่ในสภาวะที่พร้อม มีส่วนร่วม ค้นหาและมองหาสิ่งที่อยู่นอกตัวเรา
1
ส่วน เซราโทนินจะทำงานตรงกันข้ามกัน เมื่อมีการหลั่งเซราโทนินในร่างกายเราจะทำให้เรารู้สึกสบายนิ่ง มีความรู้สึกสบาย เช่น ความรู้สึกสบายที่ได้จากการกินอาหาร ส่วนโดพามีนเกี่ยวข้องกับการไปนู่นไปนี่ไปนั่น
ถ้าเราดูคนที่ติดโคเคนเเละยาไอซ์เราจะเห็นได้ว่าคนที่ติดยาประเภทนี้จะมีลักษณะเหมือนที่กำลังตามหาบางสิ่งบางอย่างซึ่งพวกนี้จะเป็นยาประเภทที่กระตุ้นการหลั่งโดพามีน
เเต่ถ้าคนที่เสพยาประเภท selective seratonin reuptake inhibitor (เพิ่มเซราโททนินในสมอง) เช่น Prozac หรือZoloft ถ้าเกิดว่าเสพเกินขนาดจะมีผลข้างเคียงคือ ขาดความอยากอาหาร ขาดความใคร่ รู้สึกเฉยเมยกับชีวิต ซึ่งยาพวกนี้เป็น seroternogic drug(เพิ่มเซราโททนินในสมอง)
ส่วนในเเง่ของมือถือ เช่นเมื่อเครื่องบินที่เรานั่งลงจอดจากไฟลต์ที่นั่งซึ่งไม่มีอินเตอร์เน็ต เราจะรู้สึกเหมือนถูกกระตุ้นจากการหลั่งไหลโดพามีนเมื่อคุณได้เล่นโซเชียลมีเดียเเละเห็นนู่น เห็นนี่มาใหม่เเต่หลังจากที่เราเล่นไปสักพักเราจะไม่รู้สึกถึงความเเปลกใหม่อีกต่อไปเเต่เราก็ยังเล่นต่อโดยไม่รู้ว่าทำไมเรายังเล่นอยู่อีก
1
ซึ่ง ณ จุดนี้พฤติกรรมของเราที่เราทำจะกลายเป็นการย้ำคิดย้ำทำ หรืออธิบายอีกนัยนึงก็คือการเสพติดซึ่งนำไปสู่การกระทำ การเสพติดในที่นี้คือความคิดเเละการกระทำคือพฤติกรรมของเรา
เเต่การกระทำที่เกิดจากการเสพติดการเล่นโซเชียลมีเดียมีเพียงเเต่จะทำให้ยิ่งเสพติดการเล่นโซเชียลมีเดียมากกว่าเดิม เพราะว่าไม่มีอะไรที่ได้มาในเเง่ของผลลัพธ์จากการเล่นโซเชียลมีเดียเเละไม่มีการผ่อนคลายทางความกังวลจากการกระทำที่ทำลงไป ซึ่งเเตกต่างจากการเสพติดอาหารหรือความสะอาด เช่นถ้าเราเสพติดความสะอาดเราก็จะทำความสะอาด(ผลลัพธ์ที่ได้คือสถานที่สะอาด)
หลายๆคนก็คงเป็นกับการไถมือถือเล่นไปเรื่อยๆพร้อมกลับรู้สึกไปในใจว่า ทำไมฉันถึงทำอย่างงี้อยู่ ทั้งๆที่เล่นไปก็เจอเเต่กับสิ่งที่ไม่น่าสนใจเเล้ว เเล้วก็เลื่อนไปเจอกับสิ่งที่ไม่น่าสนใจอีก เเต่สิ่งที่ทำให้เราเป็นอย่างงี้ได้เกิดจากสิ่งที่จงใจให้เกิดขึ้นนั่นก็คือ อัลกอริทึม
อัลกอริทึมสามารถที่จะทำให้คนเราหรือเเม้เเต่สัตว์ก็ตามทำพฤติกรรมนั้นซ้ำไปเรื่อยๆซึ่งวิธีนั่นก็คือ intermittent random rewardหรือก็คือการให้รางวัลเเบบสุ่มอย่างไม่ต่อเนื่อง คล้ายกับการเสี่ยงโชคซึ่งเป็นการทำให้เราไม่รู้ว่าเมื่อไหร่เราจะได้เเจ็คพ็อต
พูดง่ายๆก็คือเมื่อเราเลื่อนดูโซเชลมีเดียไปเรื่อยๆจนกระทั่งเราได้เห็นบางสิ่ง(เเจ็คพ็อต)ซึ่งในศัพท์ทางวิชาการเรียกว่า(signal to noise) เช่น เมื่อเรากำลังเลื่อนดูโซเชียลมีเดียของเราไปเรื่อยๆเเล้วอยู่ดีๆก็มีข่าวการก่อจลาจลหรือ คลิปคนกำลังกระโดดข้ามตึกสูงไปมา หรือเเม้เเต่ร่างกายคนก็ตาม ฯลฯ
สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือเมื่อมีบางสิ่งที่น่าอนาถ,เเย่ หรือเป็นดราม่าเกิดขึ้นมักจะมีเเรงที่ดึงดูดเราเข้าหามันเเละนั่นคือการที่ทำให้ระบบในตัวเรามองหาdopamine hit หรือสิ่งที่กระตุ้นการหลั่งโดพามีนอีกครั้งซึ่งไม่ต่างกับการพนัน
ซึ่ง Dr Andrew Hubermanได้มองว่าโซเชียลมีเดียเป็นสิ่งที่กระตุ้นโดพามีนอย่างมากเพราะเน้นการให้รางวัล,เซอร์ไพรส์เเละความน่าตื่นเต้นเเต่จะเปลี่ยนกลายเป็นการย้ำคิดย้ำทำอย่างรวดเร็ว
เเละได้ทิ้งท้ายไว้ว่าถ้าเกิดเราลองมองตัวเราเองผ่านมุมมองของผู้ทำการทดลองกับสัตว์ เราคงเห็นว่าสัตว์ตัวนั้นป่วยเเน่ๆ ถ้ามันเอาเเต่คอยคุ้ยหากระดูกอย่างไม่หยุดหย่อน เราคงคิดว่าสัตว์ตัวนี้มันดูน่ารันทดมากซึ่งนั่นก็คือเรา
โฆษณา