21 ส.ค. 2022 เวลา 05:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
สถานการณ์เงินเฟ้อ กลายเป็นปัญหาใหญ่ของหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศในภูมิภาคเอเชีย
ซึ่งส่งผลกระทบต่อการลงทุน และยังคงเป็นประเด็นที่ผู้ลงทุนติดตาม
ส่องเงินเฟ้อ 10 ประเทศในภูมิภาคเอเชีย
วันนี้ KAsset จะพามาส่องและสรุปสั้นๆ ว่า 10 ประเทศในภูมิภาคเอเชีย มีอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับใดกันบ้าง และเมื่อเทียบกับทางฝั่งสหรัฐฯ แล้ว มีความน่ากังวลมากน้อยแค่ไหน 👇
1️⃣ ไทย มีอัตราเงินเฟ้อสูงที่สุดอยู่ที่ 7.61% โดยมีปัจจัยหลักๆ มาจากสินค้าในกลุ่มพลังงานทั้งน้ำมัน และไฟฟ้า รวมถึงในกลุ่มอาหาร เช่น เนื้อหมู ไข่ไก่ เป็นต้น
2️⃣ อินเดีย มีอัตราเงินเฟ้อสูงรองลงมาอยู่ที่ 7.04% ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เงินเฟ้ออินเดียพุ่งสูงขึ้นก็มาจากราคาน้ำมันดิบที่ปรับราคาสูงขึ้น และผลกระทบจากคลื่นความร้อนในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ส่งผลให้ราคาผักในอินเดียมีราคาสูงขึ้นตามไปด้วย
3️⃣ เกาหลีใต้ มีอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 6.3% ซึ่งนับว่าเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบ 24 ปี ซึ่งเป็นผลมาจากราคาพลังงาน และสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ ที่ปรับราคาเพิ่มขึ้น
1
4️⃣ ฟิลิปปินส์ มีอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 6.1% ซึ่งเป็นอัตราที่สูงที่สุดในรอบ 4 ปี โดยปัจจัยที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้นมาจาก ราคาอาหาร และต้นทุนการขนส่งและสาธารณูปโภคภายในประเทศที่พุ่งสูงขึ้น
2
5️⃣ อินโดนีเซีย มีอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 4.94% ถือเป็นอัตราที่สูงที่สุดในรอบ 7 ปี และเกินความคาดหมายของธนาคารอินโดนีเซียอีกด้วย ซึ่งอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องครั้งนี้ เป็นผลมาจากราคาอาหาร เชื้อเพลิงภาคครัวเรือน รวมถึงการปรับขึ้นค่าไฟฟ้า
6️⃣ ไต้หวัน มีอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 3.59% ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดในรอบ 14 ปี เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบจากราคาพลังงานที่สูงขึ้นในรอบ 4 ปี ทำให้ราคาข้าวของในประเทศต้องปรับราคาขึ้นตามไปด้วย
7️⃣ เวียดนาม มีอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 3.37% ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการควบคุมให้อยู่ในระดับต่ำกว่า 4% อย่างไรก็ตาม เวียดนามยังคงต้องเผชิญกับแรงกดดันด้านราคาเชื้อเพลิง ปุ๋ย และวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เนื่องจากมีฐานการผลิตของบริษัทระดับโลกตั้งอยู่ในเวียดนามหลายบริษัท
1
8️⃣ มาเลเซีย มีอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 2.8% โดยเป็นผลมาจากราคาอาหาร และราคาขนส่งที่ปรับตัวสูงขึ้น ทั้งนี้ รัฐบาลมาเลเซียได้ออกมาตรการควบคุมราคาอาหารที่จำเป็น เช่น ข้าว เนื้อสัตว์ เพื่อให้ประชาชนสามารถหาซื้อสินค้าที่จำเป็นเหล่านี้ในราคาที่เหมาะสมได้
9️⃣ ญี่ปุ่น มีอัตราเงินเฟ้อต่ำอยู่ที่ 2.5% ล่าสุดรัฐบาลญี่ปุ่นเตรียมเสนอขึ้นค่าแรงขั้นต่ำปี 2565 เป็น 960 เยน/ชั่วโมง เพื่อช่วยเหลือแรงงานในประเทศให้สามารถผ่านวิกฤตเงินเฟ้อนี้ไปด้วยกันได้
1️⃣0️⃣ จีน มีอัตรเงินเฟ้อต่ำอยู่ที่ 2.5% ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ และเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดในรอบ 2 ปี โดยปัจจัยที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นก็มาจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง และราคาอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้น
หากเปรียบกับสหรัฐฯที่อัตราเงินเฟ้อยังทรงตัวในระดับสูง โดยตัวเลขเดือนมิ.ย. 9.1% สูงที่สุดในรอบ 40 ปีเลยทีเดียว ซึ่งนอกจากจะกดดันกำลังซื้อของประชาชน ยังส่งผลให้กำไรบริษัทจะอ่อนแอลงเนื่องจากเผชิญกับต้นทุนที่สูงขึ้น
ดังนั้น ประเทศที่ยังไม่มี่แรงกดดันเรื่องเงินเฟ้อ เช่น จีนและเวียดนาม การดำเนินนโยบายการเงินจะยังเป็นลักษณะผ่อนคลาย จึงมีความได้เปรียบในแง่ของสภาพคล่อง และมีความน่าสนใจลงทุนมากกว่า
แนะนำ K-CHX จะได้ประโยชน์จากอุปสงค์ภายในประเทศที่จะมีบทบาทสำคัญต่อการเติบโตของประเทศในช่วงครึ่งปีหลัง และ K-VIETNAM ที่เน้นลงทุนในหุ้นชั้นนำ โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศ ทั้งนี้ สามารถเริ่มต้นลงทุนขั้นต่ำ 500 บาท ผ่านแอปฯ K-My Funds ได้ทุกที่ ตลอด 24 ชม.
1
👉 ดูรายละเอียดกองทุน K-VIETNAM เพิ่มเติม คลิก https://bit.ly/3tqRsGS
👉 ดูรายละเอียดกองทุน K-CHX เพิ่มเติม คลิก https://bit.ly/3oY5KMy
📲 สนใจลงทุน เริ่มต้นเพียง 500 บาท ผ่านแอป K-My Funds ตลอด 24 ชม.
- ผู้ลงทุนโปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
#KAsset #KBankLive
โฆษณา