22 ส.ค. 2022 เวลา 23:25 • สุขภาพ
#ต่อมน้ำเหลืองเซนทิเนลเรามีมะเร็งเต้านมแอบอยู่หรือไม่?
สวัสดีครับ ความเดิมจากตอนที่แล้วที่หมอได้เล่าให้ทุกคนฟังเกี่ยวกับการผ่าตัดหาต่อมน้ำเหลืองเซนทิเนล https://www.blockdit.com/posts/63025f0e4038f7b1859b550c สำหรับวันนี้ เรามาดูกันว่า มีวิธีไหนบ้างที่จะบอกว่าต่อมน้ำเหลืองเซนทิเนลของเรามีมะเร็งเต้านมแอบแฝงอยู่หรือไม่
ต่อมน้ำเหลืองเซนทิเนลเป็นต่อมน้ำเหลืองต่อมแรกที่รับน้ำเหลืองมาจากเต้านม ทำให้มีหน้าทีในการดักจับมะเร็งเต้านม ถ้าต่อมน้ำเหลืองเซนทิเนลมีมะเร็งเต้านมอยู่ ผู้ป่วยก็มีความจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองรักแร้ออกทั้งหมดเพื่อลดโอกาสการเกิดมะเร็งเต้านมแพร่กระจาย
หลังจากที่เราสามารถเอาต่อมน้ำเหลืองเซนทิเนลออกมาได้แล้ว เรามีวิธีการดูว่ามีเซลล์มะเร็งเต้านมแอบอยู่หรือไม่ ได้ทั้งหมด 2 วิธี คือ
.
1.การส่งตรวจในขณะที่ทำการผ่าตัด ซึ่งมีเทคนิคการทำอยู่ 4 เทคนิค
-การตรวจเซลล์วิทยา (TOUCH IMPRINTINGCYTOLOGY)
คือการตรวจโดยขูดผิวของต่อมน้ำเหลืองมาส่องกล้องจุลทรรศน์ดูว่ามีเซลล์มะเร็งไหม วิธีนี้มีความไวในการตรวจเจอเพียง 33-73%
-การตรวจพยาธิวิทยาแบบแช่แข็ง (FROZEN SECTION) คือการเอาต่อมน้ำเหลืองมาแช่แข็งแล้วตัดสไลด์ออกมาตรวจในกล้องจุลทรรศน์เพื่อดูว่ามีเซลล์มะเร็งในต่อมน้ำเหลืองหรือไม่ วิธีนี้มีความไวในการตรวจที่ 57-74%
-การตรวจแบบ qRT-PCR คือการสกัดเอาสารmRNAออกมาจากต่อมน้ำเหลืองเพื่อหาmRNAของเซลล์มะเร็งเต้านม มีความไวในการตรวจถึง 76-99 %
-การตรวจ ONE-STEP NUCLEIC ACID AMPLIFICATION (OSNA) คือการเอาต่อมน้ำเหลืองออกมาสกัดเพื่อหา DNAของเซลล์มะเร็งเต้านม มีความไวในการตรวจเจอมะเร็งเต้านมได้ถึง 84.6-93.9%
ข้อดีของวิธีนี้คือสามารถทำการผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองรักแร้ได้เลยในการผ่าตัดเพียงครั้งเดียว ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดใหม่อีกครั้ง
.
2.การตรวจต่อมน้ำเหลืองเซนทิเนล หลังการผ่าตัดเสร็จสิ้นแล้ว
เป็นการตรวจต่อมน้ำเหลืองเซนทิเนลโดยวิธีการส่องกล้องจุลทรรศน์ตามปกติหลังจากที่ย้อมชิ้นเนื้อแล้ว โดยที่หลังจากได้ต่อมน้ำเหลืองแล้วนั้น แพทย์จะปิดแผลผ่าตัดจนเสร็จ ส่วนต่อมน้ำเหลืองก็ถูกส่งไปตรวจทางพยาธิวิทยาตามปกติ ผลของการตรวจจะออกในภายหลัง ถ้าเป็น+ผู้ป่วยก็จะต้องเข้ารับการผ่าตัดใหม่เพื่อทำการผ่าตัดเอาต่อมน้ำเหลืองรักแร้ที่เหลือออกทั้งหมดนั่นเอง
ถ้าคุณมีอาการผิดปกติที่เต้านมอย่ารอช้า
รีบมาพบแพทย์โดยไวนะครับ
ด้วยรัก
#หมอโภคิน
#คุยเฟื่องเรื่องศัลย์
reference
1. Centers for Disease Control and Prevention. Breast cancer statistics. http://www.cdc.gov/cancer/breast/statistics. Accessed March 26, 2010.
2. American Cancer Society. Cancer facts and figures 2009. Atlanta, Ga.: American Cancer Society; 2009. http://www.cancer.org/downloads/ STT/500809web.pdf. Accessed March 26, 2010.
3. Horner MJ, Ries LAG, Krapcho M, et al., eds. SEER cancer statistics review, 1975-2006. Bethesda, Md.: national Cancer Institute; 2009. http://seer.cancer.gov/csr/1975_2006. Accessed March 26, 2010.
4. American Cancer Society. overview: breast cancer. Survival rates for breast cancer. http://www.cancer.org/docroot/CRI/content/CRI_2_2_ 3X_Survival_rates_for_breast_cancer_5.asp. Accessed April 8, 2010.
5. Breast. In: Greene FL, Page DL, Fleming ID, et al., eds. AJCC Cancer Staging Manual. 6th ed. new York, nY: Springer-Verlag; 2002:223-240.
6. U.S. Preventive Services Task Force. Chemoprevention of breast cancer: recommendations and rationale. Rockville, Md.: Agency for Healthcare Research and Quality; July 2002. http://www.ahrq.gov/clinic/3rduspstf/ breastchemo/breastchemorr.htm. Accessed February 8, 2010.

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา