23 ส.ค. 2022 เวลา 11:00 • สิ่งแวดล้อม
ปัจจุบัน 70% ของน้ำสะอาดทั่วโลก ถูกนำไปใช้เพื่ออุตสหากรรมการเกษตร มี 19% ถูกใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ และอีก 11% ถูกใช้ในครัวเรือน เช่น การกินดื่ม เป็นต้น ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าภายในปี พ.ศ. 2568 พื้นที่ 66.7% ทั่วโลกจะต้องเผชิญหน้ากับปัญหาการขาดแคลนน้ำ และภายในปี พ.ศ. 2573 คนกว่า 700 ล้านคนทั่วโลกจะต้องประสบปัญหาภัยแล้ง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะปัญหาสภาพภูมิอากาศแปรปรวนซึ่งทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น ส่งผลให้ขาดแคลนน้ำฝนและแหล่งกักเก็บน้ำตามธรรมชาติ
เมื่อการดึงน้ำจืดจากแหล่งน้ำบนดินและใต้ดินมีข้อจำกัดต่างกันไปตามพื้นที่และมีต้นทุนรวมถึงความยากลำบากเพิ่มมากขึ้นตามภาวะกดดันของสภาพแวดล้อม อีกทางเลือกหนึ่งที่พอจะเป็นไปได้อาทิ การหาแหล่งน้ำใหม่มาใช้ และหนึ่งในแนวคิดนั้น คือ การนำน้ำทะเล ซึ่งมีอยู่ 71% ทั่วโลก และจัดเป็นแหล่งน้ำถึง 97% ที่โลกมีมาทำให้กลายเป็นน้ำจืดเพื่อให้เพียงพอต่อการใช้งานในระดับอุตสาหกรรมและครัวเรือน
2
จากสถิติ 40 ปีที่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 - 2563 พบว่าระบบการจัดการน้ำเพื่อแยกเกลือออกจากน้ำหรือ Desalination เป็นที่นิยมมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอเมริกาเหนือ แถบแอฟริกาตะวันออกกลาง และเอเชียแปซิฟิก ที่มีการพัฒนาองค์ความรู้ ธุรกิจ เทคโนโลยี และโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง
1
การสร้างน้ำจืดจากน้ำทะเลที่นิยมมี 2 วิธี คือ วิธีแรก Thermal Desalination หรือ การใช้ความร้อนทำให้น้ำทะเลระเหยกลายเป็นไอ ลอยแยกออกจากอนุภาคเกลือ แล้วใช้ความเย็นควบแน่นทำให้กลับมาเป็นของเหลวดังเดิม
และวิธีที่สอง Reverse Osmosis ซึ่งเป็นการใช้พลังงานไฟฟ้าดันอนุภาคน้ำให้ทะลุตัวกลาง แล้วดักจับอนุภาคเกลือเอาไว้ ทำให้มีเพียงน้ำจืดเท่านั้นที่ไหลข้ามไปยังอีกฝั่ง วิธีที่สองเป็นวิธีได้รับความนิยมเพราะใช้พลังงานน้อยกว่า แต่ในระดับอุตสาหกรรมทั้งสองวิธีก็ยังต้องใช้พลังงานฟอสซิลสูงมาก โดยจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กว่า 76 ล้านตันต่อปีในการผลิตน้ำสะอาดจากทะเล
1
และหากเป็นเช่นนี้ต่อไป ภายในปี 2583 กระบวนการสร้างน้ำจืดจากน้ำทะเลจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาถึง 218 ล้านตันต่อปี ยังไม่นับรวมน้ำเค็มเข้มข้นปริมาณมหาศาลซึ่งเป็นผลกระทบจากกระบวนการดังกล่าว ยกตัวอย่าง หากมีน้ำทะเล 2 แกลลอน หลังผ่านกระบวนการ Reverse Osmosis จะให้น้ำสะอาด 1 แกลลอน แต่อีกหนึ่งแกลลอนจะกลายเป็นน้ำทะเลเข้มข้นที่ถูกปล่อยออกสู่ทะเล ซึ่งจะรบกวนความสมดุลออกซิเจนและความเค็มของระบบนิเวศทางทะเล ถือเป็นผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมอีกทอดหนึ่ง
1
แต่เพราะทุกวันนี้มีคนถึง 300 ล้านคน ใน 173 ประเทศทั่วโลกต้องพึ่งพาน้ำจากกระบวนการดังกล่าว ปัจจุบันจึงมีหลายฝ่ายที่พยายามจะทำให้กระบวนการสร้างน้ำจืดมีประสิทธิภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
3
ในขณะที่ตัวอย่างโครงการที่ไม่พูดถึงคงเป็นไปไม่ได้ คือการลงทุนกว่า 500 ดอลลาร์สหรัฐของประเทศซาอุดิอาระเบียเพื่อสร้างเมือง NEOM ให้เป็นเมืองอัจฉริยะและจุดดึงดูดนักท่องเที่ยว โครงการนี้เลือกใช้วิธี Thermal Desalination จะเสร็จภายในปี พ.ศ. 2567 ซึ่งแก้จุดบกพร่องข้อใหญ่เกี่ยวกับการใช้พลังงานฟอสซิลโดยเปลี่ยนเป็นการใช้ความร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์แทน อย่างไรก็ตามยังคงเป็นคำถามว่าโครงการดังกล่าวจะมีการจัดการกับน้ำเกลือเข้มข้นซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์พลอยได้อย่างไรต่อไป
นัยยะสำคัญที่มีต่ออนาคต:
- การเป็นเมืองที่มีความยืดหยุ่นและยั่งยืนด้วยตัวเองจะกลายเป็นโจทย์ใหญ่ของเมืองแห่งอนาคต ทั้งในมิติของความมั่นคงทางอาหาร พลังงาน รวมไปถึงการบริหารจัดการน้ำสะอาด ซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญของเมือง
- การพัฒนาเมืองอัจฉริยะจำเป็นต้องมีการวางวิสัยทัศน์และแผนการดำเนินงานแต่ละส่วนที่สอดคล้องกันในภาพรวม เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรหมุนเวียนให้คุ้มค่าและส่งผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด
- การบริหารจัดการระบบประปาในระดับเมืองโดยการเปลี่ยนแปลงถึงระบบโครงสร้างพื้นฐานจะกลายเป็นความท้าทายที่หน่วยงานรัฐจะต้องวางทิศทางการดำเนินงานและการสื่อสารกับประชาชนและผู้อยู่อาศัยให้ชัดเจน เพื่อให้เกิดความเข้าใจและให้หันมาร่วมมือกันในการช่วยกันรักษาเรื่องน้ำให้เหมาะสม และ มีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อลดผลกระทบต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการสร้างสิ่งใหม่แต่ไปทำลายทรัพยากรเดิม
1
อยากรู้จักเรามากขึ้น คลิก www.futuretaleslab.com หรือติดตามที่ https://www.blockdit.com/futuretaleslab
#FutureTalesLAB #FuturePossible #FutureUpdate #FutureofSustainability #Desalination #WaterScarcity #MQDC
โฆษณา