27 ส.ค. 2022 เวลา 11:00 • ธุรกิจ
ทำความรู้จักกับ DISC Model
การศึกษาเรื่องบุคลิกภาพนั้น มีทฤษฎีมากมายที่สามารถนำไปปรับใช้เกี่ยวกับการพัฒนาตนเองได้ และอีกหนึ่ง Model ที่ค่อนข้างมีประโยชน์ในการนำไปบริหารบุคคลหรือพัฒนาเกี่ยวกับการทำงานได้คือ แบบทดสอบ DISC Model
1
ที่เป็นการแบ่งบุคลิกภาพในการทำงานของแต่ละคนออกเป็น 4 ประเภท ที่มีจุดเด่น จุดด้อยต่างกันไป ซึ่งจะสามารถทำให้ทั้งตัวพนักงาน ฝ่ายบริหารงานบุคคล หรือผู้บริหาร เข้าใจตัวเองและเข้าใจลักษณะนิสัยของเพื่อนร่วมงานมากขึ้น
และสามารถวางแผน หรือปรับตัวให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ
DISC Model คืออะไร
คือ ลักษณะของบุคลิกภาพที่แบ่งออกจากการสังเกตนิสัยในการทำงานและสภาพแวดล้อมของแต่ละคน ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ คือ Dominance, Influence, Steadiness, Compliance
1
ซึ่งจะมีการแสดงบุคลิกเด่นออกมา ซึ่งถือเป็นบุคลิกภาพของแต่ละคนนั่นเอง และบางคนสามารถมีบุคลิกภาพอื่น ๆ มากกว่าหนึ่งบุคลิกได้ แต่จะเน้นบุคลิกที่เกี่ยวกับการทำงานที่เด่นที่สุดนั่นเอง
ที่มาของ DISC Model
ที่มาของโมเดล DISC มาจากศาสตราจารย์ ดร. วิลเลียม มาร์สตัน (Dr. William Marston) เป็นนักทฤษฎีเกี่ยวกับความเสมอภาค จบการศึกษาปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สาขาจิตวิทยา
และเป็นเจ้าของทฤษฎี DISC Model ที่มีการตีพิมพ์ลงในหนังสือ ‘Emotion of Normal People’ ในหนังสือมีการพูดถึงกระบวนการทำงานของอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์
จนนำไปสู่ลักษณะของพฤติกรรมที่มีความหลากหลาย จนได้มีนักจิตวิทยาอุตสาหกรรม วอลเตอร์ คลาร์ก (Walter Clark) โดยนำทฤษฎีของดร. วิลเลียมนี้ไปสร้างแบบทดสอบเพื่อใช้ในการคัดเลือกบุคลากรเข้าสู่องค์กร
ซึ่ง 4 รูปแบบนี้ แบ่งออกเป็น Aggressive, Sociable, Stable และ Avoidant ซึ่งนี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้น เพราะได้มีคนนำทฤษฎีเหล่านี้ไปพัฒนาต่อยอด จนกลายมาเป็นแบบทดสอบ DISC ซึ่งมีการใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
ประโยชน์ของแบบทดสอบ DISC
ประโยชน์ของการทำแบบทดสอบ DISC นั้น สามารถทำให้เข้าใจลักษณะนิสัยของตัวเองได้มากขึ้น และสามารถเลือกหรือปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานที่เหมาะกับตัวเองได้ รวมถึงการพัฒนาตัวเองได้อย่างถูกจุดด้วย
และในด้านการทำงานก็ทำให้ได้รู้จุดเด่นจุดด้อย เข้าใจลักษณะนิสัยของเพื่อนร่วมงานมากขึ้น ทำให้สามารถปรับตัวเพื่อให้เกิดความเข้าใจกันมากขึ้น ส่งผลให้การทำงานออกมาราบรื่น ลดความขัดแย้ง และทำให้มีความเป็นทีมเวิร์คที่ดี
ความหมายและลักษณะต่างๆ ของ DISC Model คือ
ลักษณะต่าง ๆ ของ DISC นั้นแยกออกมาได้ตามตัวย่อคือ Dominance (ผู้นำ), Influence (ผู้มีอิทธิพล), Steadiness ( รักความสงบ), Conscientiousness (นักวิเคราะห์) ซึ่งบุคลิกภาพแต่ละลักษณะนั้น จะมีจุดเด่นจุดด้อยต่างกันไป รวมถึงความเข้ากันได้และความสัมพันธ์ของคนแต่ละบุคลิกยังมีความแตกต่างกันด้วย
1
  • D – Dominance : ผู้นำ
1
ลักษณะนิสัยของคนในกลุ่ม Dominance คือมีความเป็นผู้นำสูง ตัดสินใจเร็ว มีความมั่นใจ มีเป้าหมายชัดเจน ชอบความท้าทาย ไม่ยอมแพ้อะไรง่ายๆ ถ้ามีโอกาสใหม่ ๆ เข้ามา คนกลุ่มนี้ก็พร้อมเข้าหาเป้าหมายอย่างมุ่งมั่นและไม่ชอบการมีขั้นตอนกระบวนการเยอะ หรืออยู่ในกฎระเบียบมากเกินไป
1
จุดด้อยที่ต้องระวัง เนื่องจากลักษณะนิสัยที่มีความมั่นใจสูง อีโก้สูง ชอบความเป็นผู้นำ มีความมุ่งมั่นในการไปถึงเป้าหมาย อาจจะไม่ค่อยฟังเสียงรอบข้าง หรือคำแนะนำของใคร ขาดความรอบคอบในรายละเอียดเล็ก ๆ เสมอ
จึงควรหันมารับฟังคำแนะนำของคนในทีมมากขึ้น และใส่ใจในรายละเอียดต่าง ๆ มากขึ้น ถึงจะทำให้พาทีมไปยังเป้าหมายที่วางเอาไว้ได้ ทำให้คนบุคลิกนี้ดูพัฒนาเป็นผู้นำที่ดีขึ้นได้
  • I – Influence : ผู้มีอิทธิพล
ลักษณะนิสัยของคนในกลุ่ม Influence คือ เป็นคนที่ดูสนุกสนานร่าเริง เป็นมิตร มองโลกในแง่ดี เป็นคนที่มีพลังบวก มีความกล้าแสดงออก ชอบสร้างบรรยากาศการทำงานให้สนุกสนานอยู่เสมอ
2
ทำให้ดูเป็นคนน่าเข้าหา โน้มน้าวใจคนเก่ง คนกลุ่มนี้จะรู้สึกภูมิใจอย่างมากถ้าได้ทำงานเกี่ยวกับความสร้างสรรค์ และชอบทำงานในบรรยากาศที่มีอิสระ ไม่มีกฎบังคับที่มากเกินไป
จุดด้อยที่ต้องระวัง เนื่องจากความกล้าแสดงออกที่อาจทำให้เป็นที่สนใจ และโดดเด่นมากเกินไป อาจทำให้หลายคนอาจรำคาญได้ และความอัธยาศัยดี ปฏิเสธคนไม่เก่ง อาจโดนรบกวนสมาธิได้ง่ายเพราะอาจโดนขอความช่วยเหลืออยู่บ่อย ๆ จนลำบากใจ และอาจเหนื่อยเกินความจำเป็น
3
  • S – Steadiness : รักความสงบ
ลักษณะนิสัยของคนในกลุ่ม Steadiness คือ เป็นคนที่รักความสงบ นิ่งและใจเย็น รอบคอบ มักมีความประนีประนอมกับคนรอบข้าง เป็นผู้รับฟังที่ดี มักเก็บรายละเอียดเล็กน้อยได้อย่างดี ชอบทำตามขั้นตอนหรือกฎระเบียบ
1
ทำให้เหมาะกับการทำงานที่ต้องการความละเอียด และเป็นกลุ่มที่ไม่ค่อยมีความขัดแย้งกับใคร ไม่ชอบการปะทะอารมณ์ เหมาะกับการเป็นคนกลางในการประสานงาน ไกล่เกลี่ยปัญหาให้กับทั้งสองฝ่ายได้
จุดด้อยที่ต้องระวัง คนในกลุ่มนี้มักไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงที่กะทันหันเกินไป เพราะชอบความสบายความสงบ ทำให้ดูเหมือนไม่มีการพัฒนา และเป็นคนขี้เกรงใจ ไม่ชอบความขัดแย้ง ไม่ชอบการปะทะ ทำให้บางครั้งอาจโดนเอาเปรียบได้ง่าย ๆ นั่นเอง
  • C – Conscientiousness : นักวิเคราะห์
ลักษณะนิสัยของคนในกลุ่ม Conscientiousness คือ ชอบวางแผน ชอบความเป็นระบบ มีขั้นตอนชัดเจน ชอบการเตรียมตัวล่วงหน้า มีความรอบคอบ ใส่ใจในทุกรายละเอียด ชอบความสมบูรณ์แบบ
สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ชอบการทำงานที่มีข้อมูล มีรายละเอียด จึงเหมาะกับงานที่ต้องการความละเอียดและการวิเคราะห์ข้อมูลที่แม่นยำ และชอบที่ได้ใช้ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล
1
จุดด้อยที่ต้องระวัง ด้วยความที่มีนิสัยชอบความเป็นขั้นตอน ความมีระเบียบในทุกรายละเอียด ทำให้หลายคนอาจมองว่าเป็นคนที่จุกจิกเกินไป และมีการวางแผนทุกขั้นตอน
1
ทำให้ดูเคร่งเครียดและจริงจังจนเกินไปได้ ควรผ่อนคลายในเรื่องนี้บ้าง หากเกิดความผิดพลาดสักเล็กน้อยก็ไม่เป็นอะไร ลองเสี่ยงดูบ้าง เพื่อจะได้ไม่เสียโอกาสในการทำสิ่งใหม่ ๆ
การนำแบบทดสอบ DISC มาประยุกต์ใช้กับพนักงานในองค์กร
ฝ่ายบริหารงานบุคคล หรือ HR สามารถนำโมเดล DISC มาประยุกต์ใช้ได้ เมื่อทราบถึงข้อมูลลักษณะนิสัยของพนักงานแล้ว จะช่วยเพิ่มความเข้าใจในนิสัยและบุคลิกภาพที่แตกต่างหลากหลายของพนักงานแต่ละคนได้
ทำให้สามารถนำจุดเด่นของบุคลิกภาพนั้น มาบริหารและช่วยเพิ่มศักยภาพอย่างมีประสิทธิภาพให้กับพนักงานหรือบุคลากรได้ และพัฒนาในจุดด้อยให้ดีขึ้นได้
ในส่วนของผู้บริหารหรือหัวหน้าทีม ก็สามารถบริหารจัดการวางแผนเกี่ยวกับการทำงานของคนในทีมได้ เพื่อให้บุคลากรในทีมได้ทำสิ่งในที่ถนัด ผลงานออกมาราบรื่น มีประสิทธิภาพ สร้างความก้าวหน้าและความมีคุณภาพให้กับองค์กรได้
โฆษณา