26 ส.ค. 2022 เวลา 13:00 • ประวัติศาสตร์
ขอให้โลกนี้ไม่มีพันธุฆาต (No More! Genocide)
EP3: Auschwitz I: หยดน้ำตา ณ โรงฆ่ามนุษย์ 🏴‍☠️
วันที่สามของ Holocaust and Genocide studied workshop
เปิดวันด้วยการเข้าฟังบรรยายในหัวข้อ “Poland in WWII” ของ Dr. Piotr Setkiewicz ผู้อำนวยการของ Centre for Research at the Auschwitz-Birkenau State Museum
ซึ่งทำให้ทราบว่า ก่อนที่ฮิตเลอร์จะบุกโปแลนด์ เขาได้มีการไปทำสนธิสัญญาแฝงเพื่อแบ่งดินแดนของโปแลนด์ที่กำลังจะยึดครองนั้นกับสหภาพโซเวียตก่อนหน้านี้แล้ว และเหตุผลหลักที่ต้องเอาดินแดนโปแลนด์มาให้ได้ก็เพราะ นาซีเยอรมันต้องการสร้าง “พื้นที่อยู่อาศัย” ใหม่ๆให้กับประชากรอารยัน หรือ “เยอรมันแท้ๆ” ได้อยู่อาศัยกัน อีกทั้งยังต้องการแสดงให้สหภาพโซเวียตและโลกเห็นว่า “ดินแดนในอุดมคติของนาซี” นั้นเป็นอย่างไร … และสิ่งที่ฮิตเลอร์ทำก็คือ
Set up ผู้ปกครองใหม่ในโปแลนด์ ภายใต้ชื่อ General Government/ เอาคนเยอรมันแท้เข้ามาอยู่ในโปแลนด์ พร้อมทั้งขับไล่ที่คนโปลออกไปอยู่ในค่ายแรงงานให้หมด ประหารทุกคนที่คิดว่าจะมีแนวโน้มต่อต้านนาซี ซึ่งข้อหาที่ส่วนตัวคิดว่ามัน non-sense ที่สุดก็คือ เพราะแกเป็นคนขี้เกียจ!-เอามันไปประหารซะ!
Session ถัดไป ก็คือ การทำ Workshop แบบ Group Discussion เพื่อหาและเรียง Timeline ของเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ว่าก่อนที่โลกจะรู้จักคำว่า การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว (Holocaust) นั้น มันเกิดอะไรขึ้นบ้าง แล้วอะไรที่นำไปสู่เหตุการณ์นี้?
ถกกันมันในประเด็นประวัติศาสตร์ และเปิดโลกมากในหลายๆเรื่อง โดยเฉพาะเรื่อง ชะตากรรมของผู้อพยพชาวเยอรมันในอเมริกาช่วง WWII กับชีวิตคนโปแลนด์กับเช็กภายใต้การปกครองของโซเวียต (ถ้ามีโอกาสไว้จะเล่าให้ฟังครับ) - กลับมาที่ Group discussion สรุปสุดท้ายคือ หาคำตอบแบบแท้จริงกันไม่ได้ว่า triggering event แรกสุดของการเกิด Holocaust มันอยู่ตรงไหนกันแน่? (บางคนบอกว่าถ้าจะนับ ควรเริ่มนับตั้งแต่วันที่พระเยชูถูกคนยิวใส่ความจนโดนตรึงไม้กางเขนนั่นเลย)
หลังจากนั้นก็ถึงเวลาของอีกหนึ่ง Highlight ใน Workshop ครั้งนี้ ก็คือ การได้เข้าชมค่ายกักกัน Auschwitz I (สามารถเปิดรูปดูตามไปด้วยกันเลยครับ แต่มีคำเตือนนิดนึงว่า ภาพและเนื้อหาใน caption มีความหดหู่แฝงอยู่*)
ทางเข้าหน้าสุดของค่ายกักกัน Auschwitz I (ด้านขวาคือตึกอำนวยการ ที่เดิมหน่วย SS ของนาซีใช้เป็นที่กองอำนวยการ) นักประวัติศาสตร์คาดกันว่ามีผู้เสียชีวิตในค่ายกักกันนี้ (รวม Auschwitz I และ Auschwitz II หรือที่เรียกว่า ค่าย Birkenau) กว่า 1.1 ล้านคน โดย 1 ล้านคนเป็นชาวยิว และที่เหลือก็เป็นชาวโปแลนด์, ชาวโซเวียต, ชาวยิปซี, กลุ่มผู้พิการ, กลุ่มพยานแห่งพระยะโฮวา และกลุ่มโฮโมเซ็กชวล) … ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดขึ้นภายในระยะเวลาเพียง 5 ปี (1941-1945) เท่านั้น
อย่างที่เกริ่นไปว่า ค่ายกักกัน Auschwitz นี้ มีอัตราการเสียชีวิตที่สูงมาก สืบเนื่องมาจาก 2 เหตุผลด้วยกัน คือ (1) ฟังชั่นของค่ายมีนอกจากจะเป็นค่ายกักกันแล้ว อีก part หนึ่งยังเป็นสถานที่สำหรับการสังหารหมู่อีกด้วย และ (2) เนื่องจากเป็นค่ายสังหาร ชาวยิวจำนวนมากมายทั่วยุโรปจึงถูกขนส่งมาที่ค่ายแห่งนี้โดยขบวนรถไฟที่แออัดและไร้หน้าต่าง … ซึ่งจากภาพจะเห็นว่ามีชาวยิวบางส่วนถูกขนส่งมาจากกรุงออสโลประเทศนอร์เวย์เลย (แน่นอนไกด์บอกว่า หลายคนตายระหว่างการขนส่งนี้)
แผนที่แสดงที่ตั้งของค่ายกักกันในเครือ Auschwitz ซึ่งได้แก่
1) Auschwitz I - ค่ายแรกที่ถูกนาซีสร้างขึ้น โดยการ renovate กรมทหารโปแลนด์เดิม มาเป็นค่ายกักกันแทน
2) Auschwitz II - Birkenau
3) Auschwitz III - Monowitz
ซึ่งเป็นค่ายแรงงานโดยเฉพาะ
และวันนี้เรามาชมค่าย Auschwitz I กันก่อน
เดินผ่านตึกอำนวยการมาก็จะเจอ อาคารที่ทำงานของทหารนาซีหน่วย SS
แล้วก็ประตูเข้าออกค่าย พร้อมป้าย “จงทำงานเพื่ออิสรภาพ (ARBEIT MACHT FREI)” อันโด่งดัง
จงทำงานเพื่ออิสรภาพ (ARBEIT MACHT FREI)
ทั้งค่ายถูกล้อมรอบด้วยรั้วไฟฟ้าแรงสูง (ไกด์บอกว่ามีนีกโทษหลายรายตัดสินใจฆ่าตัวตายด้วยการวิ่งไปชนกับรั้วไฟฟ้านี้ เพื่อหนีจากความทุกข์ทรมานในค่าย)
ผ่านรั้วไฟฟ้าเข้ามาด้านในค่าย
ตึกที่เห็นเป็นที่พักของนักโทษ
ฝั่งตรงข้ามกับตึกในรูปเมื่อกี้ จะเป็นลานเล็กๆที่ไว้สำหรับให้นักโทษมาตั้งวงดนตรี(แน่นอนถูกบังคับให้มาเล่น) เพื่อบรรเลงเพลงมาร์ช ตอนเช้าและตอนเย็น เพื่อส่งและต้อนรับนักโทษที่ถูกส่งออกไปใช้แรงงานนอกค่าย
ตึกที่เห็นด้านซ้ายคืออาคารพักของนักโทษ ส่วนฝั่งขวาคือโรงครัวของค่าย
ลานกว้างหน้าโรงครัว คือพื้นที่สำหรับใช้เรียกแถวนักโทษ เพื่อนับจำนวน พอเข้าช่วงหน้าหนาวที่อากาศติดลมหลายองศา ทหาร SS ก็จะเข้าไปยืนอยู่ในป้อมที่เห็น เพื่อนับจำนวนนักโทษ
และหากนักโทษแถวไหนมีนักโทษขาดหายไป หลายครั้งทหาร SS ก็จะสุ่มเลือกคนที่เหลือในแถวนั้นมาแขวนคอประจานตรงขื่อไม้ที่เห็นในภาพด้านซ้ายมือ (ที่คนเสื้อขาวยืนอยู่) หรือนักโทษที่ทำผิดกฏแม้ของค่ายแม้เพียงเล็กน้อย อาทิเช่น มองหน้าผู้คุม SS หรือมีส่วนรู้เห็นว่าเพื่อนหลบหนี ก็จะถูกแขวนคอตรงนี้เหมือนกัน ขณะที่ด้านหลังขื่อไม้ที่เห็นนั่นเป็นโรงอาหารของค่าย
ทางเดินในค่าย
อาคารที่ 6 (Block 6) ถูกใช้เป็นห้องจัดแสดงการลงทะเบียนนักโทษ
นักโทษที่ถูกขนส่งเข้ามาใหม่ จะถูกสั่งให้วางสัมภาระที่ขนมาทั้งหมดลง ถูกจับโกนขนให้เกลี้ยงเกลาหมดทั้งร่างกาย แล้วก็บังคับให้ไปอาบน้ำ จากนั้นก็ถูกบังคับให้ใส่เสื้อลายทาง ฟ้าเทา
ภาพแสดงการกดขี่ของผู้คุม SS
ชุดนักโทษของจริง ที่ถูกนำมาจัดแสดง
ชุดนักโทษ
หลังจากนั้นนักโทษแต่ละคนก็จะถูกสักหมายเลขประจำตัวตามร่างกาย เพื่อที่ทหาร SS จะได้ระบุตัวตนถูก
สัญลักษณ์ต่างๆบนเสื้อของนักโทษ ที่แสดงถึงกลุ่มคนที่แตกต่างกัน อาทิ ถ้านักโทษคนไหนมีตรา SU ปักอยู่ที่อกเสื้อ นั่นหมายความว่า นักโทษคนนั้นคือกลุ่มที่มาจาก Soviet Union / ถ้าสามเหลี่ยมคว่ำสีแดง หมายถึง นักโทษการเมือง เป็นต้น
ในค่ายมีเด็กๆหลายคนถูกจับมาขังด้วย
สภาพของโรงนอนในค่าย (พื้นคอนกรีตคลุมด้วยฟาง)
อีกหนึ่งโรงนอนที่มีฟูกทำจากฟางเช่นกัน
สภาพห้องส้วมในค่าย
โรงอาบน้ำ
ห้องพักสำหรับนักโทษครอบครัว
อีกหนึ่งโรงนอน
อาคารที่ 10 (Block 10) เป็นอาคารที่แพทย์นาซีใช้ทำการทดลองต่างๆอันไร้ศีลธรรมกับนักโทษ
อาคารที่ 11 (block 11): อยู่ด้านในสุดของค่าย ถูกทหารนาซีใช้เป็นที่กักขัง ทรมาน นักโทษที่กระทำความผิดในค่าย (ภายในน่าขนลุกมาก แต่ห้ามถ่ายภาพ เพราะมีชั้นใต้ดินสำหรับการทำทารุณกรรม ในรูปแบบต่างๆ อาทิเช่น ห้องอดตาย, ห้องมืด และห้องแคบมากๆที่ต้องการให้นักโทษข้างในยืนอยู่ตลอดทั่งวันทั้งคืน) อีกทั่ง block นี้ยังถูกใช้เป็นลานประหารอีกด้วย
ทางเข้า
ภายใน Block 11
ห้องตัดสินโทษที่ดำเนินงานโดยตำรวจลับนาซี หรือที่เรียกกันว่า เกสตาโป
ห้องพักนักโทษประหาร
ลานประหารชีวิต
Death Wall
ภาพวาดของเด็กๆในค่าย
สมุดรวบรวมรายชื่อของผู้ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ Holocaust
แบบจำลองห้องรมแก๊ส ที่ถูกต่อเติมขึ้นในค่าย ภายหลังจากที่ฮิตเลอร์ประกาศชัดเจนว่าจะใช้นโนบายขั้นเด็ดขาดในการกำจัดชาวยิว หรือ final solution
แบบจำลองห้องรมแก๊ส
เกล็ดสารพิษไซครอน B ที่นาซีใช้สังหารชาวยิวในห้องรมแก๊ส
กล่องบรรจุสารพิษไซครอน B ใช้แล้ว ที่เจอภายในค่าย
อุปกรณ์ขาเทียมต่างๆของเหยื่อที่เจอภายในค่าย
ภาชนะต่างๆของเหยื่อที่เจอภายในค่าย
รองเท้าของเหยื่อที่ถูกพบภายในคลังของค่าย
ชุดเด็กน้อยที่เจอภายในค่าย
กองสัมภาระต่างๆที่เจอภายในค่าย
ทางเดินไปส่วน extermination center (ห้องรมแก๊ส)
ประตูทางเข้าของส่วน Extermination Center (ห้องรมแก๊ส)
มุมมองจากส่วน extermination center ที่จะเห็นตัวค่ายซึ่งแยกออกไปหลังรั้วไฟฟ้า
สถานที่ที่ผู้บัญชาการค่ายเอาชวิท Rudolf Höss ถูกติดสันประหารชีวิตด้วยการแขวนคอ จากข้อหาอาชญากรสงคราม และก่ออาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ
ห้องรมแก๊ส
รูบนเพดานที่ทหารนาซีใช้สำหรับหย่อนกระป๋องสารพิษไซครอน B ลงมา (ไกด์บอกว่าส่วนใหญ่เหยื่อจะเสียชีวิตภายใน 20 นาทีเนื่องจากขาดอากาศหายใจ)
ถัดจากห้องรมแก๊ส เมื่อเปิดประตูออกมาจะเจอเตาเผาศพ
Gas Chamber และเตาเผาศพ
สุดท้ายในช่วงครึ่งปีหลังของ ค.ศ.1944 นาซีเยอรมันเริ่มตระหนักว่ากองทัพโซเวียตกำลังจะบุกเข้ามาถึงค่าย Auschwitz ในอีกไม่นาน ดังนั้น ทหาร SS จึงออกคำสั่งให้นักโทษที่เหลือรอดทั้งหมดทิ้งค่าย และเดินเท้าไปยังค่ายกักกันอื่นที่อยู่ลึกเข้าไปในดินแดนเยอรมันแทน - ซึ่งแรากฏว่ามีนักโทษหลายรายเสียชีวิตจากการเดินเท้า (death march) ครั้งนี้
และท้ายสุดค่าย auschwitz ถูกปลดปล่อยในวันที่ 27 มกราคม ค.ศ.1945 โดยกองทัพโซเวียต โดยที่ทิ้งคราบน้ำตาและความน่าตกใจไว้ให้กับชาวโลกได้เห็น และต้องจดจำในฐานะ ตราบาปของมนุษยชาติ ตลอดไป …
สำหรับวันอังคารหน้า…
มีโปรแกรมพาไปดู Auschwitz II หรือ Birkenau ครับ
ขอบคุณที่ติดตาม 🙏🏻
ปล. Series เกี่ยวกับ Workshop ครั้งนี้จะมี 8 EP
ซึ่งผมจะทยอยลงทุกๆวัน อังคาร กับ ศุกร์
ตอนสองทุ่มครับ
#GivePeaceaChance #NeverAgain
#GodBlessUall
#aDailyBread 🍞

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา