7 ก.ย. 2022 เวลา 06:17 • หนังสือ
สรุป 6 ข้อคิด ทำความสะอาดบ้านตัวเองก่อน โลกนี้จึงจะดีขึ้น
จากหนังสือ 12 กฏที่ใช้ได้ตลอดชีวิต
บทที่ 6 ดูแลบ้านให้เรียบร้อยก่อนที่จะวิจารณ์โลก
จอร์แดน บี ปีเตอร์สัน เขียน
ธีร์ ทิพกฤต แปล
จัดพิมพ์โดย อมรินทร์
1. หากเรายอมเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองก่อน ... เราจะมีชีวิตที่น่าอนาถน้อยลง !
( อันนี้จุกมาก แต่หนังสือเขียนอย่างนี้จริงๆ ค่ะ )
2. เราอาจจะพบเจอเรื่องเลวร้ายในวัยเด็ก หรือ ตลอดชีวิตของเรา
แต่เราไม่จำเป็นต้องส่งต่อความเลวร้ายนั้น...ไม่จำเป็นต้องแพร่กระจายมันออกไป
ให้มันจบที่รุ่นเรา !
เราสามารถหยุดมันได้ตั้งแต่วันนี้ ตอนนี้
3. สำรวจความเลวร้ายในชีวิตตัวเอง
ไม่ใช่เพื่อสาปแช่งสิ่งที่เกิดขึ้น แต่ให้ทำเพื่อเปลี่ยนแปลงมันให้ดีขึ้น
4. ถึงอย่างนั้นก็ตาม แม้ว่าเราจะใช้ชีวิตอย่างเต็มที่แล้ว
ก็ขอให้เผื่อใจไว้ให้กับความทุกข์และความเลวร้ายที่ควบคุมไม่ได้ด้วย
5. ยึดมั่นในมาตรฐานการดำเนินชีวิตของตัวเอง พึ่งพาการนำทางของตัวเอง ไม่จำเป็นต้องยึดค่านิยมภายนอก
( แต่ก็มีคำกล่าวว่า ไม่ควรมองข้ามวัฒนธรรมที่อาจจะมีประโยชน์ ...เพราะชีวิตนี้สั้นนัก สั้นเกินกว่าที่จะมาคาดเดาทุกอย่างได้ด้วยตัวเอง
6. อย่าจัดระเบียบรัฐหรือสังคมใหม่ จนกว่าคุณจะจัดระเบียบบ้านและระบบระเบียบประสบการณ์ (ซึ่งเป็นเหมือนบ้านภายในจิตใจ) ของเราเสียก่อน
บ้านเมืองที่สงบสุข จะเกิดจากบ้านที่มีสันติสุขก่อน
1. หากเรายอมเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองก่อน ... เราจะมีชีวิตที่น่าอนาถน้อยลง !
( อันนี้จุกมาก แต่หนังสือเขียนอย่างนี้จริงๆ ค่ะ )
สำหรับเรา เราคิดว่าบ้านที่หนังสือกล่าวถึงไม่ใช่แค่การกวาดบ้าน เก็บที่นอนเปลี่ยนโลก ล้างจาน แต่เป็นการจัดการชีวิต นิสัยส่วนตัว พฤติกรรมที่ไม่ดีของตัวเองด้วย
ซึ่งถ้าหากบอกว่าเป็นนิสัยเราอาจจะไม่เห็นภาพว่ามันแย่ยังไง เพราะมันเป็นเรื่องที่เราจะอ้างได้ว่ามันเป็นเรื่องส่วนตัว
แต่ถ้าหากเราโฟกัสไปที่พฤติกรรม ซึ่งพฤติกรรมนี่เป็นตัวส่งผลต่อชีวิตเราโดยตรง
ฉะนั้น จึงเป็นเวลาที่เราจะต้องสำรวจและยอมรับ เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างที่ส่งผลเสียต่อชีวิตของเรา
2. เราอาจจะพบเจอเรื่องเลวร้ายในวัยเด็ก หรือ ตลอดชีวิตของเรา
แต่เราไม่จำเป็นต้องส่งต่อความเลวร้ายนั้น...ไม่จำเป็นต้องแพร่กระจายมันออกไป
ให้มันจบที่รุ่นเรา !
เราสามารถหยุดมันได้ตั้งแต่วันนี้ ตอนนี้
อันนี้เค้าก็ยกตัวอย่างเด็กที่เติบโตมากับความรุงแรงค่ะ
แต่เมื่อเธอโตมา มีลูก เธอตัดสินใจที่จะหยุดความรุนแรงนั้นไว้ที่ตัวเอง
ไม่ทำกับลูกแบบเดียวกันกับที่เธอเจอมา
ลองคิดดูว่าถ้าหากเราตัดสินใจส่งต่ออิทธิพลนิสัยไม่ดี ด้วยเหตุผลที่ว่าเราโตมาแบบนี้ เราถูกสอนมาแบบนี้ ทั้งๆ ที่มันไม่ใช่ลักษณะที่ดีแล้วเราเองก็ไม่ชอบ
แต่เราไม่ตัดสินใจหยุดมัน เราเลือกที่จะส่งมันต่อไป หากเรามีลูก 3 คน ก็เท่ากับคูณ 3 ถ้าหากลูกเรา 3 คนไปมีลูกอีก x3 ไปเรื่อยๆ สัก 14 รุ่น
เราจะผลิตมนุษย์ที่มีนิสัยแย่ๆ ไปอีกเท่าไหร่?
3. สำรวจความเลวร้ายในชีวิตตัวเอง
ไม่ใช่เพื่อสาปแช่งสิ่งที่เกิดขึ้น แต่ให้ทำเพื่อเปลี่ยนแปลงมันให้ดีขึ้น
เป็นเรื่องยากที่เราจะยอมรับด้านแย่ๆ ของตัวเอง
แต่ถ้าหากว่าเรายอมรับมันได้ ขอให้เราขอบคุณตัวเอง
และรับรู้ว่า จะมีสิ่งดีดีเกิดขึ้น แทนที่สิ่งเลวร้ายในชีวิตของเรา
อย่างเช่นเรื่องที่แล้ว ที่เด็กคนหนึ่ง ตัดสินใจหยุดความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับตัวเอง ไว้ที่ตัวเอง
ก็จะสามารถหยุดเชื้อสายความรุนแรงที่จะส่งผ่านเธอได้มหาศาลเมื่อเวลาเดินทางผ่านไปหลายรุ่น
หรือการจัดการเรื่องแย่ๆ นิสัยแย่ๆ ของตัวเอง
หากว่าเราปรับทิศทางชีวิตให้ดี อย่างที่มันควรจะเป็นแล้ว
ก็ต้องเผื่อใจสำหรับอะไรที่ควบคุมไมได้ด้วยเช่นกัน
ดังข้อที่ 4 ที่บอกว่า
4. .... แม้ว่าเราจะใช้ชีวิตอย่างเต็มที่แล้ว
ก็ขอให้เผื่อใจไว้ให้กับความทุกข์และความเลวร้ายที่ควบคุมไม่ได้ด้วย
เพราะเราไม่อาจจะควบคุมชีวิตนี้ได้ด้วยสองมือเล็กๆ ของเรา
เรายังอยู่ท่ามกลางโลก ท่ามกลางมนุษย์คนอื่นๆ ที่พวกเขาอาจจะยังไม่รู้ตัวเอง
ว่ามีบางอย่างที่พวกเขาต้องแก้ไข
หรือแม้แต่การเผื่อพื้นที่ให้กับความเป็นมนุษย์ของเรา ความอ่อนแอ ความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นจากตัวเราเอง
เพราะฉะนั้น การเผื่อใจนี้ ก็ไม่ใช่แค่เผื่อใจให้คนอื่น แต่เมตตาต่อตัวเองด้วย
5. ยึดมั่นในมาตรฐานการดำเนินชีวิตของตัวเอง พึ่งพาการนำทางของตัวเอง ไม่จำเป็นต้องยึดค่านิยมภายนอก
( แต่ก็มีคำกล่าวว่า ไม่ควรมองข้ามวัฒนธรรมที่อาจจะมีประโยชน์ ...เพราะชีวิตนี้สั้นนัก สั้นเกินกว่าที่จะมาคาดเดาทุกอย่างได้ด้วยตัวเอง )
โลกเราดำเนินมา มีวิวัฒนาการ วัฒนธรรม ประเพณีมามากมาย
ยิ่งในโลกที่ทุกอย่างวิ่งเร็วจี๋ ... การส่งต่อวัฒนธรรม วิถีชีวิตเป็นเรื่องง่าย
และก็เป็นเรื่องง่ายอีกเช่นกันที่เราจะเผลอรับวิถีชีวิต ค่านิยม ที่ไม่เหมาะกับตัวเองมาใช้กับตัวเอง
ถามว่า มันจะเกิดอะไรขึ้นล่ะ? หากเราจะทำตามวิถีชีวิตคนอื่น
ยกตัวอย่างง่ายๆ อย่างเช่น เราเห็นบ้านเมืองหนาวเค้าสวยดี เราอยากมีบ้าง เค้ามีเตาผิง มีปล่องไฟ เตียงเค้ายกสูงนุ่มฟู เค้ามีพรม เราอยากได้บ้าง
แต่อย่าลืมว่าบ้านเค้าเป็นเมืองหนาว เค้าจำเป็นต้องมี
แต่บ้านเมืองเราเป็นเมืองร้อน ชื้น เราจำเป็นต้องระบายอากาศ ให้ลมวิ่งผ่าน ระบายความร้อน แต่บ้านแบบที่เราอยากได้ อาจจะเก็บความร้อนเพื่อให้ความอบอุ่นในเวลากลางคืน
เพียงแค่เรื่องนี้ ก็เปลี่ยนวิถีชีวิตของเราไปมากๆ แล้ว ...ยิ่งเป็นเรื่องบ้าน เราต้องอยู่กับมันไปอีกถึงรุ่นลูก รุ่นหลาน เพราะฉะนั้นมันจะส่งผลต่อชีวิตของเราอยากมากมาย
6. อย่าจัดระเบียบรัฐหรือสังคมใหม่ จนกว่าคุณจะจัดระเบียบบ้านและระบบระเบียบประสบการณ์ (ซึ่งเป็นเหมือนบ้านภายในจิตใจ) ของเราเสียก่อน
บ้านเมืองที่สงบสุข จะเกิดจากบ้านที่มีสันติสุขก่อน
หากบ้านยังไร้ระเบียบทั้งในเชิงกายภาพและความสัมพันธ์ ก็เป็นเรื่องที่ยากและซับซ้อนที่ใครคนนึงจะเป็นผู้นำได้ทางสงบสุขแท้จริง
อันนี้เราไม่ได้จะพาดพิงใครนะคะ แต่ผู้นำบางคนที่ก้าวเข้าไปนำประเทศ นำสังคม หรือนำองค์กร แต่ชีวิตส่วนตัวกลับยุ่งเหยิงและไร้ระเบียบ
ก็ไม่แปลกที่องค์กรนั้นๆ จะไร้ระเบียบตามไปด้วย
ในทางกลับกันชีวิตที่มีระเบียบก็ย่อมส่งผลออกมาทางพฤติกรรม วิธีการทำงาน และผลงาน
เรื่องงานและเรื่องส่วนตัวอาจจะดูแยกออกจากกัน แต่สองสิ่งนี้ไม่อาจจะแยกออกจากกันได้
มันเกี่ยงโยงกันเป็นหนึ่งเดียวกัน ผ่านมนุษย์ผู้ถือบทบาทสิ่งนั้น
ในวันนี้...
หากเราเริ่มที่ตัวเองก่อน
ชีวิตของเราจะค่อยๆ เปลี่ยน ( แน่นอนมันใช้เวลา )
และปมต่างๆ จะค่อยๆ คลายออก ... เราจะแข็งแกร่งขึ้น ทุกข์น้อยลง เราจะมั่นใจ มั่นคงขึ้น ในการดำเนินชีวิต ... ชีวิตจะไม่จำเป็นต้องทุกข์โดยไม่จำเป็น ยุ่งยากน้อยลง บิดเบี้ยวน้อยลง
เมื่อตัวคุณ ทุกๆคน ซึ่งเป็นองค์ประกอบ เป็นเหมือนอวัยวะที่ประกอบร่างเป็นสังคมนี้ มีสุขภาพที่ดีขึ้น ทั้งร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณภายใน ... สังคมนี้จะแย่ลงได้อย่างไร
แต่อย่างไรก็ตาม เราที่ดีขึ้นก็ไม่อาจจะพิพากษ์ผู้อื่นได้ว่าเลวร้าย
บางคนอาจจะเลวร้ายจริง แต่บางคนก็อาจจะกำลังตะเกียกตะกายสู่ปกติสภาวะของชีวิตที่ดีขึ้น...เช่นนั้นแล้ว ขอให้เราเป็นกำลังใจให้แก่กันและกัน : )
โฆษณา