3 ก.ย. 2022 เวลา 04:18 • ประวัติศาสตร์
สงครามเสียกรุงครั้งสุดท้ายห้วงเวลาสุดท้ายก่อนกรุงศรีอยุธยาจะถึงกัลปาวสาน
รุทธศักราช 1129 ปีกุนนพประสพถึง ณ วันอังคารขึ้น 9 ค่ำเดือน 5 ทัพพม่าจุดเพลิงเผาฟืนใต้รากกำแพงตรงหัวรอริมป้อมมหาชัย
พร้อมกับระดมยิงปืนใหญ่เข้าสู่กรุงศรีอยุธยาตั้งแต่บ่าย 3 โมงเศษจนถึงค่ำครั้นเพลา 2 ทุ่ม ทัพพม่าจากเชียงใหม่ 71 ครับและจากถวาย 57 ครับก็กรีฑาทัพเข้าสู่กรุงศรีอยุธยา
วันนี้เราจะย้อนอดีตไปดูห้วงเวลาสุดท้ายของกรุงศรีอยุธยาในปีพุทธศักราช 2310 กันครับ
ในห้วงสุดท้ายก่อนที่กรุงศรีอยุธยาจะถึงการอวสานนั้น
ค่ายพม่าที่โอบล้อมกรุงศรีอยุธยาโดยตั้งมั่นอยู่ตามวัดต่างๆซึ่งล้วนมีปืนใหญ่ประจำการและปลูกหอรบเอาปืนใหญ่น้อยขึ้นยิงเข้ามาในทุกๆค่าย
สำคัญ 2 ค่ายที่สร้างความเสียหายให้กับกรุงศรีอยุธยาเป็นอย่างมากคือค่ายวัดการ้องหรือวัดท่าการ้องซึ่งอยู่ทางตะวันตกของพระนครห่างเพียงแม่น้ำกั้นน่าจะเป็นจุดที่สร้างความเสียหายให้กับพระราชวังมากที่สุด
1
อีกค่ายหนึ่งคือค่ายวัดนางปลื้มซึ่งอยู่เยื้องกับพระราชวังไปทางตะวันออกเฉียงเหนือค่ายนี้สร้างความเสียหายให้กับราษฎรเป็นอย่างมากเพราะมีบันทึกเอาไว้ว่าพม่าก่อป้อมสูงขึ้นที่ค่ายวัดนางปลื้ม
เอาปืนใหญ่ขึ้นตั้งยิงเข้ามาในค่ายถูกผู้คนเป็นอันมากส่วนบันทึกของฝ่ายพม่านั้นก็บันทึกเอาไว้ว่า
ฝ่ายข้างเราก็ได้สร้างเมืองใหม่ประชิดเคียงขึ้นกับป้อมกรุงศรีอยุธยา 30 เมืองแล้วเราได้สร้างหอรบและป้อมเสร็จแล้วเอาปืนใหญ่น้อยเอาขึ้นบนหัวรอและป้อมนั้นให้ยิงเข้าไปในกำแพงกรุงศรีอยุธยาดุจดังฝนแสนห่าฝ่ายพลเมืองราษฎรชายหญิงที่อยู่ในกำแพงกรุงศรีอยุธยาก็ได้รับความคับแค้นถึงกับต้องขุดหลุมซ่อนตัวพ่อเอาตัวรอด
จากข้อความดังกล่าวจึงอาจสรุปได้ว่า ณ เวลานั้นกรุงศรีอยุธยาได้ถูกทัพของพม่าที่โอบล้อมอยู่และระดมยิงเข้าใส่ดั้งหาฝนในลักษณะของสงครามป้อมค่ายประชิดที่ต่างฝ่ายต่างสร้างป้อมประชันหน้าซึ่งกันและกัน
และในที่สุดวงสุดท้ายของกรุงศรีอยุธยาก็มาถึงด้วยแผนพระมโหสถคุณอุโมงค์ของพม่า
ดังที่บันทึกไว้ในพงศาวดารของพม่าว่าให้พลทหารทั้งปวงขนฟืนเข้าไว้ในอุโมงค์ที่เราสั่งให้ขุดไว้ 2 ทางริมกำแพงกรุงศรีอยุธยานั้นให้เต็ม
แล้วเอาไฟเผาร่างกำแพงเมืองกำแพงเมืองก็จะทรุดแตกร้าวฝ่ายพม่าก็จัดให้พลช้างพลม้าพลทหารทั้งปวงตีเข้าไปให้พร้อมเพรียงการใช้แผนพระมโหสถคุณอุโมงค์ของพม่านั้นพม่าวางแผนให้ไพร่พลของตนที่อยู่ตามค่ายต่างๆรอบพระนครโดยเฉพาะอย่างยิ่งค่ายวัดสามภัญวัดพระเจดีย์แดงวัดมณฑปทำการเกณฑ์ทหารทำสะพานข้ามแม่น้ำบริเวณหัวรอป้อมมหาชัย
คือจุดที่แม่น้ำแคบที่สุดในระหว่างที่ทหารพม่าข้ามแม่น้ำเข้ามานั้นฝ่ายกรุงศรีอยุธยาต่างก็ระดมยิงเข้าใส่แต่พม่าใช้ไม้ตาลตัดเป็นกระดานหรือเป็นค่ายวิรันซึ่งก็คือโล่บังกายแบบเดียวกับใบเสมาบนกำแพงเมือง
กำแพงเมืองค่ายวิรันนี้ใช้บังสะพานทั้งสองข้างเพื่อป้องกันปืนที่ยิงมาจากกำแพงกรุงศรีอยุธยาพอพม่าข้ามแม่น้ำได้ก็ตั้งค่ายขุดอุโมงค์ไปตามแนวกำแพงแล้วขนฟืนเข้าใส่รากกำแพงไว้
การขุดอุโมงค์นั้นไม่ใช่การขุดแบบเป็นหลุมหรือเป็นโพรงแต่เป็นการขุดอุโมงค์เป็นแนวยาวถึงประมาณ 4 กิโลเมตรจากตะวันออกไปตะวันตกแล้วใช้ไม้ฟืนขนาดใหญ่ค้ำดินในอุโมงค์ไว้ครั้นได้ฤกษ์พม่าก็จัดให้พลทหารที่ยกมาจากเชียงใหม่ 71 ทัพสมทบกับพลทหารที่ยกมาจากเมืองทวายอีก 57 ทัพ
เข้าบรรจบกันโดยพลทหารราบเหล่านั้นจัดให้ถือจอบถือเสียมและบันไดสายโซ่สำหรับพาดปีนกำแพงพร้อมกับจัดให้พลทหารขนฟืนเข้าไปไว้ในอุโมงค์เชิงกำแพงเมืองนั้น
เสร็จแล้วก็เอาไฟเผาพอไฟลุกไหม้เชิงกำแพงจนกำแพงทรุดก็ขับให้พลทหารทั้งสี่ทิศเอาปืนใหญ่ยิงเข้าไปในกำแพงกรุงศรีอยุธยามิให้หยุดเสียงปืน
พอหมอกควันปืนและควันไฟนั้นกลบมืดไปทั่วอากาศก็ให้พลทหารทั้งปวงบ้างขุดเชิงกำแพงบ้านเอาบันไดพาดปีนกำแพงบางเอาสายโซ่คล้องใบเสมากำแพงขึ้นไปมิได้ย่อท้อ
คิดแก่ชีวิตฝ่ายทหารของกรุงศรีอยุธยาที่รักษาบนเชิงเทินนั้นก็เอาศาสตราอาวุธทั้งปวงทุ่มทิ้งยิงลงมาเป็นสามารถแต่ก็รักษาไว้ไม่ได้
ครั้นถึงณวันขึ้น 11 ค่ำเดือน 5 จุลศักราช 1,129 พลทหารและนายทัพนายกองทั้งปวงของพม่าก็เข้าในกำแพงเมืองกรุงศรีอยุธยาได้
4
เมื่อก็เข้าในกำแพงเมืองได้นั้นพลทหารพม่าทั้งปวงก็เที่ยวเอาไฟเผาบ้านเรือนของพลเมืองและวัดวาอารามเสียสิ้น
แล้วเที่ยวจับพลเมืองราษฎรชายหญิงทั้งปวงเก็บริบเงินทองทรัพย์สิ่งของต่างๆเป็นอันมากส่วนพงศาวดารของไทยก็บันทึกเหตุการณ์ไว้ต่างกันว่ารุศักราช 1129 ปีกุนถึงณวันอังคารขึ้น 9 ค่ำเดือน 5 วันเนาสงกรานต์วันกลางพม่าจุดเพลิงเผาฟืนใต้รากกำแพงตรงหัวรอตรงป้อมมหาชัยและพม่าค่ายวัดการ้องวัดนางปลื้มและค่ายอื่นๆทุกค่ายจุดปืนใหญ่ปืนป้อมและหอรบยิ่งระดมเข้ามาในกรุงพร้อมกัน
ตั้งแต่เวลาบ่าย 3 โมงเศษจนครบค่ำพอกำแพงที่จุดเชื้อฟืนเผารากนั้นทรุดลงหน่อยนึงถึงเวลา 2ทุ่ม จึงให้จุดปืนสัญญาณขึ้นทหารพม่าทุกด้านทุกกองซึ่งเตรียมไว้ก็เอาบันไดพลาดที่กำแพงและที่อื่นๆรอบพระนครพร้อมกัน
และปีนเข้ากรุงได้ในเพลานั้นและจุดเพลิงขึ้นทุกตำบลเผาเหย้าเรือนอาวาสและพระราชวังทั้งปราสาทราชมณเฑียรแสงเพลิงสว่างดังกลางวันและเที่ยวไล่จับผู้คนค้นเอาทรัพย์เงินทองสิ่งของทั้งปวง
มีหลักฐานของตะวันตกที่บันทึกเอาไว้ว่าพม่าบุกเผาปล้นและมีการสังหารหมู่เกิดขึ้นความเสียหายที่สะสมมาตั้งแต่การปิดล้อมจนถึงวันกรุงแตกได้สร้างความเสียหายให้กับกรุงศรีอยุธยาจนไม่สามารถฟื้นคืนกลับมาดีดังเดิมได้อีก
จากหนังสือเรื่องอยุธยาอันเดอร์กราวด์ประวัติศาสตร์อยุธยาจากวัดชั้นดินและสิ่งของโดยอาจารย์พิพัฒน์กระจัดจันทร์บันทึกเอาไว้ว่าผลจากการขุดแต่งแนวกำแพงพระราชวังหลวงในปีพุทธศักราช 2539 พบว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่ผ่านการต่อสู้กับพม่าที่ตั้งค่ายอยู่บริเวณฝั่งหน้าวัดพระเมรุมาอย่างรุนแรง
พบผลจากการดำเนินงานทางด้านโบราณคดีที่ผ่านมาพบร่องรอยและหลักฐานของการสู้รบเช่นแท่งหินแกรนิตที่ถูกไฟเผาด้วยความร้อนสูงกระจัดกระจายจากลักษณะของหลักฐานจึงตีความได้ว่า
การเสื่อมสภาพของหินแกรนิตที่พบน่าจะมาจากการถูกไฟเผาฐานรากเพื่อบุกเข้าพระราชวังหลวงจากทางด้านทิศเหนือในบริเวณดังกล่าวยังพบเศษประกันโลหะที่ผ่านการหลอมละลายกระจัดกระจายอยู่เป็นจำนวนมากรวมทั้งยังพบเม็ดกรวดและหินกรวดจากแม่น้ำขนาดต่างๆสภาพถูกไฟเผาปนอยู่กับเศษฐานในชั้นดินอยู่ด้วย
จากการพิจารณาร่วมกับชั้นทับถมที่ขุดพบร่องรอยดังกล่าวมีความเป็นไปได้สูงว่าประกันโลหะและหินกรวดเผาไฟนี้ใช้สำหรับเทสาดเข้าใส่ข้าศึกที่ประชิดพระราชวังหลวงในสงครามคราวเสียศรีกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2
นอกจากนี้แล้วกำแพงพระราชวังหลวงด้านทิศเหนือยังปรากฏหลักฐานประเภทอาวุธกระจัดกระจายเป็นจำนวนมากได้แก่กระสุนปืนทำจากโลหะประเภทเหล็กและตะกั่วหลากหลายขนาดตั้งแต่เป็นกระสุนปืนใหญ่ไปจนถึงกระสุนปืนพกรวมทั้งพบลูกกระสุนที่ทำมาจากหินและดินเผาฝากโลหะที่ใช้เป็นกับดักสำหรับช้างม้าและกำลังพลเดินเท้า
ชิ้นส่วนดาบปลายหอกและใบมีดจากหลักฐานดังกล่าวจึงอาจกล่าวได้ว่าเมื่อทัพพม่าสามารถลุกผ่านกำแพงเมืองเข้ามาได้ก็ได้เกิดการสู้รบเพื่อรักษาพระราชวังไว้อย่างสุดความสามารถดังที่พบหลักฐานทั้งอาวุธเศษประกันโลหะต่างๆมากมายอันเป็นสิ่งที่ย้ำเตือนให้เห็นว่าชาวกรุงศรีอยุธยานั้นต่างต่อสู้เพื่อรักษาพระมหานครแห่งนี้อย่างสุดชีวิตก่อนที่กรุงศรีอยุธยาจะถึงการอวสานลงในที่สุด
โฆษณา