16 ก.ย. 2022 เวลา 06:14 • ไลฟ์สไตล์
อะไรคือ “Quiet Quitting” ละทิ้ง Hustle culture เลี่ยงการ Burnout
Quiet Quitting ละทิ้ง Hustle Culture เลี่ยงการ Burn Out
เหนื่อยกับความรู้สึกที่เหมือนกับว่าเรากำลังทำงานอย่างหนัก แต่กลับไม่ได้รับผลตอบรับใดๆ แต่ก็ไม่อยากที่จะยอมแพ้ง่ายๆ ไปเลยไหม?
ตั้งแต่ที่เราเผชิญการระบาดใหญ่ของโควิด-19 โลกเรานั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากซึ่งรวมไปถึงแนวคิดเรื่องวัฒนธรรมในการทำงานที่เรียกว่า “Quiet Quitting” (ไควเอต ควิตติง) ซึ่งกำลังเป็นกระแสที่มีการพูดถึงมากที่สุดในตอนนี้บนโซเชียลมีเดียอย่างเช่น TikTok
  • Quiet Quitting คืออะไร?
“Quiet Quitting” หรือ ออกจากไอเดียที่จำเป็นต้องพยายามไปสู่จุดสูงสุดของการทำงาน มันไม่ได้แปลว่าการลาออกจากงาน แต่มันคือการทำงานเฉพาะหน้าที่ที่กำหนดไว้ตามคำบรรยายลักษณะงาน โดยที่ไม่ต้องมีการทุ่มเททำงานมากกว่าปกติหรือเป็นพิเศษอะไรเกินไปจากขอบเขตงาน เพื่อการสร้างความประทับใจให้กับเจ้านาย เป็นการเลิกทำงานเกินหน้าที่
เช่นเดียวกันกับ TikToker @zkchillin ที่วิดีโอของเขามียอดวิวที่พุ่งทะยานขึ้นไปมากกว่า 3 ล้านยอดวิว และยอดไลก์ที่มากถึง 500,000 ไลก์ เขาได้กล่าวไว้ในวิดีโอว่า “Work is not your life; your worth is not defined by your productive output” ซึ่งแปลว่า งานไม่ใช่ชีวิตของคุณ คุณค่าของคุณไม่ได้ถูกกำหนดโดยผลงาน (ผลผลิตจากงาน) ของคุณ โดย @zkchillin TikToker
มีคนรุ่นใหม่รู้สึกเหนื่อยกับการทำงานเกินเวลาโดยที่ไม่รับค่าตอบแทนใดๆ หรือแม้แต่การเล็งเห็นคุณค่าจากองค์กร ซึ่งก็ไม่ยอมเผชิญหน้ากับภาวะหมดไฟจากการทำงานหนักเกินไป แล้วหันไปให้ความสำคัญกับการใช้ชีวิตที่ Balance ระหว่างการทำงานกับชีวิตส่วนตัว
แนวคิดสำคัญของ Quiet Quitting คือ การรักษาใจตนเองและทำงานตามเงินเดือนที่ได้ ซึ่งหลายคนก็ตั้งข้อสงสัยว่า แนวคิดการทำงานแบบนี้อาจจะมีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน ที่เริ่มกระแสแฮชแท็ก #tangping (ถ่าง ผิง) ที่แปลว่า “นอนราบ” แต่ปัจจุบันแฮชแท็กนี้ถูกทางการจีนปิดกั้นไปแล้ว และสร้างขึ้นมาเพื่อต่อต้านวัฒนธรรมการทำงานหนักแต่กลับไม่ได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่า จึงทำให้คนจีนรุ่นใหม่มีความรู้สึกอ่อนล้าจากการทำงานทั้งกายและจิตใจ
ตัวอย่างเช่น จากกรณีของ เอ็มมา โอไบรอัน ผู้ที่เคยเป็นผู้ช่วยส่วนตัวในธุรกิจค้าปลีก ในวัย 31 ปี จากกรุงลอนดอนที่เป็นอีกหนึ่งคนที่ใช้แนวคิด Quiet Quitting หลังจากถูกนายจ้างปฏิเสธการขึ้นเงินเดือนให้
2
“การถูกปฏิเสธการขึ้นเงินเดือน คือฟางเส้นสุดท้าย”
“ปริมาณงานของฉันเพิ่มขึ้น และฉันต้องดูแลคนทั้งทีมในช่วงโควิด” เอ็มม่ากล่าวไว้
เอ็มม่าพยายามคุยกับหัวหน้าของเธอเรื่องการขอขึ้นเงินเดือนอยู่หลายสัปดาห์ และเมื่อได้เจรจากัน เขากลับตอบปฏิเสธ เลยทำให้เธอตัดสินใจที่จะทำงานตามหน้าที่รับผิดชอบและไม่ทำอย่างอื่นเพิ่มเติมเป็นพิเศษและเธอได้ทำงานตามแนวคิดนี้มา 1 ปีแล้ว จนก่อนที่จะตัดสินใจเปลี่ยนงานเมื่อไม่นานมานี้
  • Quiet Quitting ดีจริงหรือไม่?
ไม่ใช่ทุกคนที่จะเห็นดีเห็นงามกับกระแสแนวคิด Quiet Quitting
ผู้เชี่ยวชาญด้านมารยาทในที่ทำงานอย่าง แพตตี อาห์ไซ (Pattie Ehsaei ) ได้ออกมากล่าวแสดงความไม่เห็นด้วยกับเรื่องนี้ผ่านวิดีโอบนโซเชียลมีเดีย TikTok และชี้แจงว่าหากยังใช้แนวคิดแบบนี้ คุณจะไม่มีทางประสบความสำเร็จในการทำงาน เธออธิบายว่า Quiet Quitting คือการทำงานที่จำเป็นต้องทำในระดับที่ต่ำที่สุดและพอใจกับอะไรที่ออกมาธรรมดา (ถึงในระดับแย่)
“ความก้าวหน้าในหน้าที่การทำงานและการได้ขึ้นค่าจ้างจะตกอยู่กับคนที่อดทนทุ่มเททำงานในระดับที่สามารถรับรองเพื่อนำไปสู่ความก้าวหน้า ซึ่งก็ไม่ใช่คนที่ทำงานในระดับที่ต่ำได้อย่างแน่นอน” แพตตี อาห์ไซ ได้กล่าวไว้
ผู้แนะแนวอาชีพและผู้ดำเนินรายการพอดแคสต์อย่าง โจแอนน์ มัลลอน ได้ระบุว่าลูกค้าหลายคนของเธอก็เริ่มทำงานตามแนวคิด Quiet Quitting แล้ว ตั้งแต่ที่เข้ารับการแนะแนวอาชีพจากเธอ
โจแอนน์บอกว่า แม้เธอจะไม่เคยให้คำแนะนำกับใครที่ใช้แนวคิดการทำงานแบบ Quiet Quitting แต่ฉันก็จะถามถึงเหตุผลจากพวกเขาแบบนี้ เธอบอกว่า “ทุกคนล้วนเคย Quiet Quitting กันทั้งนั้นในช่วงเวลาชีวิตหนึ่งของชีวิต แต่ท้ายที่สุดแล้วนี่ก็อาจจะเป็นสัญญาณที่บอกว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องเปลี่ยนงาน และออกจากที่ทำงานที่ทำอยู่จริงๆ” แบบเดียวกันกับที่เอ็มมาทำในท้ายที่สุด โจแอนน์กล่าว
แล้วเพื่อนๆ ล่ะคะ คิดยังไงกับแนวคิด Quiet Quitting ที่เริ่มมาเป็นกระแสร้อนแรงในช่วงเวลานี้ คิดตรงกันกับเอ็มมาหรือไม่ หรือเห็นด้วยกับคุณแพตตี อาห์ไซ มากกว่า สามารถคอมเมนต์หรือแชร์ประสบการณ์ที่รู้สึกกันมาได้เลยในช่องคอมเมนต์ด้านล่าง แล้วพบกันใหม่อาทิตย์หน้าค่ะ
ขอขอบคุณบทความอัปเดตที่น่าสนใจจาก
โฆษณา