9 ก.ย. 2022 เวลา 11:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ระบบการจัดการข้อมูลแบบไร้ตัวกลางหรือบล็อกเชน ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย ด้วยลักษณะของการเข้ารหัสเพื่อส่งต่อข้อมูลเป็นห่วงโซ่ต่อกัน ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเห็นการเปลี่ยนแปลงของธุรกรรมทั้งหมดได้ นอกจากนี้ยังมีเสถียรภาพสูงเพราะอุปกรณ์ทุกเครื่องทั่วโลกในระบบ จะทำหน้าที่เป็นผู้จดบัญชีธุรกรรม และคอยตรวจสอบข้อมูลกันตลอดเวลา ส่งผลให้ผู้ใช้งานแต่ละคนก็ยังคงรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูล เพราะระบบจะเปิดเผยข้อมูลผู้ทำธุรกรรมเพียงแค่รหัสบัญชีซึ่งเป็นโค้ดเท่านั้น
จึงเป็นที่มาขอแนวความคิดการนำบล็อกเชนเพื่อใช้ในทางการเมืองจึงถูกหยิบมาพูดถึงในช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมา นั่นก็เพื่อสร้างเสถียรภาพทางข้อมูลและความโปร่งใสตรวจสอบได้ทุกขั้นตอนของประสิทธิภาพการทำงานของรัฐบาล เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน ยกตัวอย่างเช่น การเรียกร้องให้ผลการศึกษาและวุฒิบัตรของนักการเมืองถูกตรวจสอบและจัดเก็บในรูปแบบโทเคนดิจิทัล Non-fungible Tokens (NFT) ซึ่งมีความเป็นกรรมสิทธิ์เพียงหนึ่งเดียวและปลอมแปลงไม่ได้ก่อนลงสมัครเลือกตั้ง
1
การตรวจสอบรายละเอียดข้อสัญญาระหว่างหน่วยงานรัฐกับบริษัทเอกชนด้วยสัญญาอัจฉริยะ (smart contracts) บนระบบบล็อกเชน การตรวจสอบเส้นทางการกระจายวัคซีนไปในพื้นที่ท้องถิ่น การตรวจสอบและติดตามการดำเนินการการจ่ายเบี้ยประกันและเงินสนับสนุนของรัฐ การติดตามธุรกรรมและเส้นทางการเงินของนักการเมือง การติดตามการจ่ายภาษีของบุคคลและองค์กร รวมไปถึงการให้สิทธิประชาชนในการเลือกจัดสรรเงินภาษีของตนเองว่าจะนำไปสนับสนุนในส่วนใด ความโปร่งใสของการลงคะแนนเสียงเพื่อเลือกผู้แทนในพื้นที่ต่างๆ เป็นต้น
2
นอกจากนี้ยังมีแนวคิดที่จะเป็นการส่งเสริมระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย นั่นคือ การส่งเสริมให้ประชาชนเป็นผู้โหวตเลือกตั้งและทำประชามติทุกหัวข้อผ่านระบบบล็อกเชนโดยไม่ต้องใช้การยกมือโหวตของนักการเมืองในรัฐสภา แนวคิดดังกล่าวจะเป็นการเปิดพื้นที่ให้ประชาชนให้ความสนใจกับการมีส่วนร่วมกับภาครัฐ รวมถึงให้เกิดพลังกลับมาอยู่ในมือประชาชนอย่างแท้จริงโดยไม่ผ่าน “ตัวกลาง” ใด
1
ซึ่งถือเป็นเป้าหมายหลักของเทคโนโลยีบล็อกเชน นอกจากนี้ หากประชาชนรู้สึกว่าตนเองไม่มีเวลามากพอที่จะศึกษารายละเอียดเพื่อผ่านข้อกฎหมายหรือเชื่อมั่นในความเห็นของผู้เชี่ยวชาญมากกว่า ก็อาจโอนสิทธิในการโหวตของตนเองให้กับบุคคลที่ตนเองเชื่อมั่นได้ ซึ่งแน่นอนว่าการโอนสิทธิหรือมอบอำนาจโหวตนั้นจะถูกบันทึกอยู่ในระบบบล็อกเชนเช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม ระบบบล็อกเชนจัดว่าเป็นระบบโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง และจะคุ้มค่าต่อการวางระบบก็ต่อเมื่อมีอย่างน้อย 3 หน่วยงานร่วมกันเป็นผู้ถือบัญชีธุรกรรม และเปิดข้อมูลให้อีกฝ่ายตรวจสอบซึ่งกันและกันได้อย่างแท้จริง
จากมุมมองนี้ มติจากผู้นำในภูมิภาคอาเซียน 43% มองการจัดการข้อมูลรัฐด้วยบล็อกเชนเป็นเรื่องสำคัญ ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารปี ค.ศ. 2025 - 2030 แต่ ณ ปัจจุบันจะพบว่ามีโครงการการจัดการข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของรัฐบาลทั้งภูมิภาคอาเซียน ใช้ระบบบล็อกเชนไม่ถึง 5% ด้วยซ้ำ
1
นัยยะสำคัญที่มีต่ออนาคต:
- อาชีพในอนาคตที่น่าสนใจคือวิศวกรบล็อกเชนและเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางไซเบอร์จะเป็นที่ต้องกาในตลาดแรงงานโลก รูปแบบงานอาจจะไม่สนใจวุฒิการศึกษาและอายุแต่จะเน้นประสบการณ์การทำงานในโครงการก่อนหน้ามากกว่า ทำให้คนอายุน้อย เช่น เจเนอเรชัน Z และ Alpha สามารถมีอาชีพได้ตั้งแต่ยังอายุน้อยและสามารถรับงานได้จากทั่วโลก
1
- ภาครัฐควรให้ความสำคัญหน่วยงานป้องกันภัยทางไซเบอร์ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือหากเกิดภัยคุกคามจากแฮกเกอร์ทางการเมือง รวมไปถึงดูแลข้อมูลส่วนบุคคนของประชาชนเพื่อป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลและถูกในไปใช้ในทางไม่ควร
2
- เทคโนโลยีที่สามารถเปิดข้อมูลที่จำเป็นเพื่อเพิ่มความโปร่งใสของการทำงานภาครัฐ จะทำให้ภาคประชาชนเชื่อมั่น หันมาให้ความสนใจรวมถึงเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองและประเทศ
อยากรู้จักเรามากขึ้น คลิก www.futuretaleslab.com และ https://www.blockdit.com/futuretaleslab
#FutureTalesLAB #FuturePossible #FutureUpdate #FutureofWork #Blockchain #Government #Cybersecurity #MQDC
โฆษณา