9 ก.ย. 2022 เวลา 15:32 • ประวัติศาสตร์
8 เรื่อง ที่คุณอาจไม่รู้และประหลาดใจ
เกี่ยวกับควีนเอลิซาเบธที่ 2
เครดิตภาพ: Serge Lemoine/Getty Images
  • พระองค์ไม่มีพาสปอร์ต
1
ควีนเอลิซาเบธที่ 2 ประทับบนเครื่องบินส่วนพระองค์ ภาพถ่ายปี ค.ศ. 1970 เครดิตภาพ: Pinterest
แม้จะเป็นประมุขแห่งรัฐที่เดินทางอย่างกว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ พระองค์ได้ไปเคยเสด็จเยือนมากกว่า 100 ประเทศในช่วงรัชสมัย แต่พระองค์ไม่ได้ถือหนังสือเดินทาง (พาสปอร์ต) เพราะหนังสือเดินทางของอังกฤษทั้งหมดออกในพระนามของพระองค์อยู่แล้ว
5
พระองค์จึงไม่จำเป็นต้องถือหนังสือเดินทาง และไม่ต้องมีใบขับขี่อีกด้วย
2
  • พระองค์ฉลองวันเกิดที่ต่างกัน 2 วัน
1
ทารกน้อยนามเอลิซาเบธ ภาพถ่ายปี ค.ศ. 1926 เครดิตภาพ: Speaight/Hulton Archive/Getty Images
วันพระราชสมภพที่แท้จริงของพระองค์คือ 21 เมษายน ค.ศ. 1926
ตามธรรมเนียมของประเทศในเครือจักรภพจะฉลองวันเกิดของประมุขในวันที่กำหนดตายตัว คือในเดือนพฤษภาคมหรือมิถุนายน ตัวอย่างเช่นในสหราชอาณาจักรตรงกับวันเสาร์ที่หนึ่ง สอง หรือสามของเดือนมิถุนายน นับอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี ค.ศ. 1748
3
ในช่วงเดือนมิถุนายนของทุกปีจะมีพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของควีนเอลิซาเบธที่ 2 โดยงานถูกรวมเข้ากับพิธี “Trooping the Colour” ประจำปีและขบวนพาเหรด
ส่วนวันพระราชสมภพของพระองค์จริงๆ มักใช้เวลาเป็นส่วนพระองค์ในงานฉลองส่วนตัวกับราชวงศ์
  • พระองค์เป็นคนขับรถหน่วยพยาบาลของกองทัพ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
2
พระองค์ทรงแต่งกายในชุดเจ้าหน้าที่หน่วย ATS หรือหน่วยช่วยเหลือสนับสนุนในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นพลขับรถปฐมพยาบาล เครดิตภาพ: Keystone/Getty Images
หลังจากหลายเดือนที่พระองค์อ้อนวอนพระบิดา (พระเจ้าจอร์จที่ 6) เพื่อขอเข้าร่วมทำหน้าที่หน่วยทหาร เอลิซาเบธซึ่งขณะนั้นเป็นเจ้าหญิงอายุ 18 ปี ได้เข้าร่วมหน่วยบริการเสริมที่มีเฉพาะสตรี รู้จักในนาม Second Subaltern Elizabeth Windsor
2
พระองค์สวมชุดคลุมและฝึกฝนในลอนดอนในฐานะช่างยนต์และคนขับรถบรรทุกของกองทัพ ควีนเอลิซาเบธที่ 2 เป็นสมาชิกหญิงคนเดียวของราชวงศ์ที่เข้าสู่กองทัพและเป็นประมุขแห่งรัฐเพียงคนเดียวที่ทรงรับใช้ในสงครามโลกครั้งที่สอง
8
  • พระองค์จ่ายค่าชุดแต่งงานของพระองค์ด้วยคูปองปันส่วน
4
ภาพถ่ายเมื่อปี ค.ศ. 1947 เครดิตภาพ: NCJ Archive
เจ้าหญิงเอลิซาเบธทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าชายฟิลิป เมานต์แบตเตน (เดิมเป็นเจ้าชายแห่งกรีซและเดนมาร์ก) เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1947
งานแต่งของพระองค์จัดในช่วงฟื้นฟูหลังสงคราม ดังนั้นจึงไม่สามารถจัดยิ่งใหญ่หรูหราอะไรได้ และเป็นพิธีที่มีความสำคัญน้อยเมื่อเทียบกับสมัยนี้
1
ด้วยมาตรการรัดเข็มขัดที่ยังคงมีผล เจ้าหญิงเอลิซาเบธจึงต้องเก็บคูปองปันส่วนเพื่อใช้ซื้อ วัสดุสำหรับชุดแต่งงานของเธอ ชุดราตรีผ้าซาตินสีงาช้างที่ออกแบบโดย นอร์แมน ฮาร์ตเนลล์ และประดับด้วยไข่มุกสีขาว 10,000 เม็ด
3
  • พระองค์ไม่ทรงใช้สกุลนามของพระสวามี
พระองค์กับเจ้าชายฟิลิป ขณะกำลังอุ้มเจ้าชายชาร์ลส์และเจ้าหญิงแอนน์ ภาพถ่ายเมื่อปี ค.ศ. 1951 เครดิตภาพ: Keystone-France/Gamma-Keystone/Getty Images
พระเจ้าจอร์จที่ 6 พระบิดาของเจ้าหญิงเอลิซาเบธ เกิดในราชวงศ์แซ็กซ์-โคบูร์กและโกธา แต่ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 ต้องถูกเปลี่ยนมาใช้เป็นวินด์เซอร์ เนื่องจากอยู่ในช่วงที่ผู้คนมีความรู้สึกต่อต้านเยอรมัน
เช่นเดียวกับเจ้าชายฟิลิป พระสวามีของพระองค์ก็ทรงทิ้งนามสกุลดั้งเดิมของบิดาคือ Schleswig-Holstein-Sonderburg-Glücksburg และใช้นามสกุลรุ่นก่อนหน้าของบิดาคือ Mountbatten (เมานต์แบตเทน) มาใช้ในระหว่างการหมั้นกับพระองค์
2
แต่เมื่อเอลิซาเบธขึ้นครองบัลลังก์ พระมารดาของพระองค์และนายกรัฐมนตรี วินสตัน เชอร์ชิลล์ ทำทุกอย่างด้วยอำนาจของพวกเขาเพื่อป้องกันไม่ให้ควีนและรุ่นทายาทสืบทอดต่อจากพระองค์กลายเป็นราชวงศ์เมานต์แบตเทน พวกเขากีดกันได้สำเร็จ ทำให้ควีนเอลิซาเบธไม่ต้องใช้นามสกุลของเจ้าชายฟิลิปแต่ดั้งเดิม
2
แต่หลายปีต่อมา ควีนเอลิซาเบธประกาศว่าทายาทของพระองค์บางคนจะใช้ชื่อ เมานต์แบตเทน-วินด์เซอร์ อาจเป็นเพราะพยายามจะปลอบใจพระสวามีที่กำลังไม่พอใจอย่างมาก
3
  • พระองค์เริ่มส่งอีเมลครั้งแรก เมื่อปี ค.ศ. 1976
พระองค์เริ่มใช้งานเชื่อมต่อกับอินเทอร์เนต ภาพถ่ายเมื่อปี ค.ศ. 1976 เครดิตภาพ: PETER KIRSTEIN
เมื่อวันที่ 26 มีนาคม ค.ศ. 1976 ควีนเอลิซาเบธที่ 2 ทรงส่งอีเมลฉบับแรกในขณะที่มีส่วนร่วมในการสาธิตเทคโนโลยีเครือข่ายที่ Royal Signals and Radar ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยในเมือง Malvern ประเทศอังกฤษ โดยข้อความถูกส่งผ่าน ARPANET ถือเป็นต้นแบบของอินเทอร์เน็ตในยุคสมัยใหม่ พระองค์ถือเป็นประมุขของรัฐคนแรกที่ใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์
  • พระองค์ถูกลอบยิงโดยวัยรุ่นคนหนึ่งแต่ไม่เป็นอะไร
พระองค์ทรงขี่ม้าในขบวน Trooping the Colour ในพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ภาพถ่ายเมื่อปี ค.ศ. 1981 เครดิตภาพ: Tim Graham/Getty Images
ในระหว่างการฉลองวันคล้ายพระราชสมภพของพระองค์เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน ค.ศ. 1981 ขณะที่ควีนเอลิซาเบธที่ 2 กำลังทรงขี่ม้าในขบวนพาเหรดใกล้พระราชวังบักกิงแฮม
1
มีชายวัยรุ่นชื่อ Marcus Sarjeant วัย 17 ปี ผู้คลั่งและบูชามือปืนผู้สังหาร John F. Kennedy และ John Lennon ได้ยิงกระสุนเปล่าหกนัดไปในทิศทางที่ควีนกำลังขี่ม้ามาตามถนน ตำรวจจับคุมตัวได้อย่างรวดเร็ว เขาใช้เวลาสามปีอยู่ในโรงพยาบาลจิตเวช
1
โดยที่ควีนเอลิซาเบธที่ 2 ทรงไม่เป็นอะไร แค่ม้าของพระองค์ที่สะดุ้ง พอทำให้สงบได้ก็เดินขบวนต่อ
  • ครั้งหนึ่งพระองค์ตื่นมาเจอคนสะกดรอยตามในห้องพระบรรทม
1
ภาพวาดจำลองเหตุการณ์ในวันที่ 9 กรกฎาคม ค.ศ. 1982 เครดิตภาพ: Staff/Mirrorpix/Getty Images
เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม ค.ศ. 1982 ผู้ป่วยจิตเวชอายุ 31 ปีชื่อ ไมเคิล ฟาแกน ปรับขนาดท่อระบายน้ำของพระราชวังบักกิงแฮมและเดินเตร่เข้าไปในห้องบรรทมของควีนเอลิซาเบธ ควีนซึ่งบรรทมอยู่ก็ลุกตื่นขึ้นและพบชายแปลกหน้าคนหนึ่งนั่งอยู่ที่ขอบเตียงของพระองค์ มีเลือดหยดจากจุดที่เขาทำมือตัวเองบาด ขณะเดินไปตามทางเดินอันมืดมิดของวัง
1
ในตอนเกิดเหตุพระองค์ไม่สามารถติดต่อตำรวจได้ทันที ควีนจึงทำทีพูดคุยกับฟาแกนชายแปลกหน้าคนนั้น อย่างน้อย 10 นาที เพื่อถ่วงเวลา โดยฟังเขาเล่าเกี่ยวกับปัญหาส่วนตัวและความสัมพันธ์ของเขากับลูกทั้งสี่ของเขา ในที่สุดเจ้าหน้าที่ในวังได้ตื่นขึ้นก็จับผู้บุกรุกที่พูดจาโผงผาง
4
ผลคือชายแปลกหน้าผู้นี้ถูกสั่งให้ใช้เวลาหกเดือนในโรงพยาบาลจิตเวช
เรียบเรียงโดย Right SaRa
1
9th Sep 2022
1
  • แหล่งข้อมูลอ้างอิงหลัก:
โฆษณา