10 ก.ย. 2022 เวลา 15:43 • ประวัติศาสตร์
15 นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ในช่วง 70 ปี รัชสมัยควีนเอลิซาเบธที่ 2
สรุปเหตุการณ์สำคัญที่เกิดในวาระของนายกฯแต่ละคน (ตอนที่ 1)
เครดิตภาพปก: พื้นหลัง – Pixabay, ภาพควีนเอลิซาเบธที่ 2 - Donald McKague/Michael Ochs Archives & Lichfield/Getty Images
PM ทั้งหมดยกเว้นลำดับที่ 11,13,14,15 เครดิตภาพ: Wikimedia Commons
PM คนที่ 11 Gordon Brown เครดิตภาพ: Getty Images
PM คนที่ 13 Theresa May เครดิตภาพ: Twitter
PM คนที่ 14 Boris Johnson เครดิตภาพ: Reuters
PM คนที่ 15 Liz Truss เครดิตภาพ: Ian Forsyth/Getty Images
ภายใต้รัฐธรรมนูญของอังกฤษ ควีนเอลิซาเบธที่ 2 ทรงไม่มีพระราชอำนาจในการปกครองประเทศด้วยพระองค์เอง แต่พระองค์ทรงมีบทบาทสำคัญในฐานะประมุขของรัฐ และถือว่านายกรัฐมนตรีและฝ่ายบริหารนั้นปฏิบัติหน้าที่ในนามของพระองค์
1
มีพระราชภารกิจหนึ่งที่จะต้องให้นายกรัฐมนตรีแต่ละคนเข้าเฝ้าฯ ถวายรายงานเป็นประจำทุกสัปดาห์ ทำให้ทรงมีโอกาสใช้ช่วงเวลาดังกล่าวในการปรึกษาหารือ ให้กำลังใจ หรือตักเตือนนายกรัฐมนตรีในประเด็นต่างๆ
1
บางครั้งนายกฯยังไม่เคยเจอสถานการณ์บางเรื่องและไม่รู้วิธีการแก้ปัญหา ด้วยประสบการณ์อันยาวนานของพระองค์ มีหลายครั้งที่พระองค์ให้คำแนะนำในการบริหารประเทศให้แก่นายกฯ
โดยเรื่องที่หารือระหว่างการเข้าเฝ้าฯ ของนายกรัฐมนตรีแต่ละคนนั้นถือเป็นความลับระหว่างพระองค์กับนายกรัฐมนตรี แม้ว่าในบางสมัยจะมีบางคนกล่าวถึงสิ่งที่ได้หารือกับพระองค์ แต่ก็ถือเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง เนื่องด้วยสถานะของควีนฯ ที่ต้องทรงวางพระองค์เป็นกลางทางการเมือง
1
บทบาทของพระองค์จะทรงมีเพียงการให้คำแนะนำและความเห็นต่างๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจของนายกรัฐมนตรีเท่านั้น เรื่องราวที่ได้ปรึกษาหารือกันนั้นจึงไม่อาจเปิดเผยได้
รัชสมัย 70 ปี ของควีนเอลิซาเบธที่ 2 พระองค์ทรงผ่านพ้นทั้งช่วงเวลาแห่งความสุข ความโศกเศร้า ตลอดจนเหตุการณ์และวิกฤตการณ์สำคัญต่างๆ ของทั้งอังกฤษและของโลก ดังนั้นรัชสมัยของพระองค์จึงไม่ใช่เป็นเพียงรัชสมัยหนึ่งของอังกฤษเท่านั้น หากแต่เรียกได้ว่าเป็นยุคสมัยหนึ่งของโลก
  • ตามที่ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ของสหรัฐอเมริกา ได้กล่าวในแถลงการณ์ไว้อาลัยว่า “Her Majesty Queen Elizabeth II was more than a monarch. She defined an era.” [แปลเป็นไทย] “ควีนเอลิซาเบธที่ 2 ทรงเป็นยิ่งกว่ากษัตรีย์ พระองค์ทรงเป็นผู้กำหนดยุคสมัย”
...
บทความนี้จะเริ่มย้อนกลับไปเมื่อกว่า 70 ปีที่แล้ว มองตลอดรัชสมัยของควีนเอลิซาเบธที่ 2 ว่ามีนายกรัฐมนตรีคนใดเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารของอังกฤษบ้าง และยกตัวอย่างเหตุการณ์สำคัญว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างในแต่ละสมัยของการบริหาร โดยแบ่งเป็นตอนๆครับ
1
  • วินสตัน เชอร์ชิล (Winston Churchill) วาระ: ค.ศ. 1951-1955
1
ภาพถ่ายเมื่อ 4 เมษายน ค.ศ. 1955 ขณะ วินสตัน เชอร์ชิล กำลังส่งควีนเอลิซาเบธที่ 2 เสด็จกลับ หลังจากจัดงานเลี้ยงให้พระองค์ที่ 10 Downing Street เครดิตภาพ: STF/AFP
  • เขาเคยดำรงตำแหน่งนายกฯของอังกฤษมาก่อนสมัยแรกคือช่วง 1940-1945 ก่อนรัชสมัยของควีนเอลิซาเบธที่ 2 ซึ่งเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
  • ในสมัยที่ 2 ของเขา ผลงานโดดเด่นคือการจัดตั้งระบบรัฐสวัสดิการ (Welfare State) สำหรับชนชั้นแรงงาน ขึ้นเป็นครั้งแรก
2
  • ความพยายามในการลดความตึงเครียดของสงครามเย็นที่ได้ก่อตัวขึ้น ผ่านวิธีการทางการทูตส่วนตัวของเขา กลับไม่ได้ผลเห็นเป็นประจักษ์มากนัก
  • ด้วยสุขภาพที่ย่ำแย่ทำให้เขาต้องลาออกในปี 1955 เพื่อเปิดทางให้ Anthony Eden รัฐมนตรีต่างประเทศและรองนายกรัฐมนตรีของเขา ขึ้นเป็นนายกฯคนถัดไป
  • แอนโทนี อีเดน (Anthony Eden) วาระ: ค.ศ. 1955-1957
1
นายกฯ แอนโทนี อีเดน ต้อนรับควีนเอลิซาเบธที่ 2 เมื่อเสด็จมาถึง Guildhall เมื่อ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1956 เครดิตภาพ: AP
  • ค.ศ. 1956 เกิดวิกฤตการณ์สุเอซ โดยผลลัพธ์ของการจัดการเรื่องความขัดแย้งของเขาออกมาได้ล้มเหลว ภายหลังการแปรสภาพคลองสุเอซโดย พันเอกอับดุล นัสเซอร์ แกนนำชาตินิยมของอียิปต์ แอนโทนี อีเดน เกรงว่าพันธมิตรชาติอาหรับใหม่จะตัดการจ่ายน้ำมันไปยังยุโรป โดยสมคบคิดกับฝรั่งเศสและอิสราเอลเพื่อยึดคลองกลับคืนมา
3
  • ทักษะด้านการทูตของเขาดูจะด้อยลงในปี 1956 เมื่อสหรัฐอเมริกาได้ปฏิเสธให้ความสนับสนุนอังกฤษและฝรั่งเศสในวิกฤตการณ์สุเอซครั้งนี้ กลายเป็นข้อวิพากษ์วิจารณ์ในหมู่สมาชิกสภาถึงความเสื่อมถอยด้านนโยบายต่างประเทศของสหราชอาณาจักร
  • ฮาโรลด์ แมคมิลแลน (Harold Macmillan) วาระ: ค.ศ. 1957-1963 (2 สมัย)
1
ฮาโรลด์ แมคมิลแลน ยังอยู่ในตำแหน่งอธิการบดีของมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ให้การต้อนรับการเสด็จมาที่มหาวิทยาลัยของควีนเอลิซาเบธที่ 2 ภาพถ่ายปี ค.ศ. 1960 เครดิตภาพ: Getty Images
  • หลังจากการลาออกของ แอนโทนี อีเดน เมื่อต้นปี 1957 ฮาโรลด์ แมคมิลแลน ได้ขึ้นมาเป็นผู้นำของพรรคอนุรักษนิยมเพื่อแก้ปัญหาจากเรื่องวุ่นวายของวิกฤตการณ์สุเอซ ซึ่งทำให้อังกฤษในตอนนั้นอยู่ในความวุ่นวาย
  • แม้เขาจะกล่าวกับควีนฯว่า เขาไม่คิดว่ารัฐบาลชุดใหม่ของเขาจะใช้เวลานานเกิน 6 สัปดาห์ โดยได้คืนความมั่นใจและความมั่งคั่งของประเทศกลับมาได้อย่างรวดเร็ว
  • นโยบายภายในประเทศ
  • เขาตั้งใจแน่วแน่ที่จะลดการว่างงานจำนวนมากที่เขาได้เห็นในช่วงทศวรรษที่ 1930 ในตอนที่เขามีตำแหน่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
  • เขามีความยอดเยี่ยมด้านการวางแผนทางเศรษฐกิจและหัวสมัยใหม่ เมื่อมาตรฐานการครองชีพและความรุ่งเรืองในสหราชอาณาจักรเพิ่มขึ้น ทำให้ได้ใจประชาชนอย่างมาก และเพิ่มเสียงข้างมากของพรรคอนุรักษนิยมในการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1959
  • นโยบายการต่างประเทศ
  • เขายุ่งอยู่กับความซับซ้อนของสงครามเย็น เขาเป็นผู้นำประเทศผ่านวิกฤตขีปนาวุธคิวบา และเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกที่ติดอาวุธนิวเคลียร์อย่างแท้จริง โดยดำเนินขั้นตอนสำคัญๆ เพื่อวางรากฐานเรื่องการรักษาประสิทธิภาพและเสถียรภาพของการป้องปรามด้วยอาวุธนิวเคลียร์ (nuclear deterrence) ที่จะเกิดขึ้นในช่วงทศวรรษ 1980
2
  • นอกจากนั้นเขายังได้เร่งกู้ความร้าวฉานที่เกิดขึ้นกับความสัมพันธ์แองโกล-อเมริกัน ผ่านความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์ และ เคนเนดี
  • ด้วยสุนทรพจน์ “Winds of change” ของเขาในปี ค.ศ. 1960 เขาทำให้ตัวเองและประเทศห่างไกลจากการแบ่งแยกสีผิว และเขาเร่งกระบวนการปลดปล่อยอาณานิคมให้เร็วขึ้น หลังจากการศึกษาชุดหนึ่งเกี่ยวกับต้นทุนและผลประโยชน์ที่จะเกิดกับจักรวรรดิอังกฤษ
1
  • แมคมิลแลนยอมรับว่าอนาคตของสหราชอาณาจักรขึ้นอยู่กับยุโรป แต่แผนการของเขาในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC) แห่งใหม่นั้นกลับถูกทำให้สะดุด เมื่อประธานาธิบดีฝรั่งเศส นายพลชาร์ลส์ เดอ โกล ปฏิเสธคำขอของสหราชอาณาจักรในเดือนมกราคม ค.ศ. 1963 เขาเขียนบันทึกด้วยความเสียใจว่า “นโยบายทั้งหมดของเราในประเทศและต่างประเทศกำลังพังทลาย”
  • ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเขาในเวทีระหว่างประเทศเกิดขึ้นไม่กี่เดือนต่อมาคือ ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1963 เมื่อเขามีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมากในการเจรจาสนธิสัญญาห้ามทดสอบนิวเคลียร์โดยได้รับคำชมจากประธานาธิบดีเคนเนดีและครุสชอฟสำหรับความอดทนและความสามารถด้านการทูตของเขา
2
  • ในปี ค.ศ. 1963 เศรษฐกิจกำลังประสบปัญหาเกี่ยวกับดุลการชำระเงินกำลังสะดุด โดยแมคมิลแลนก็รับรู้ได้ว่ารับมือได้ยากมาก การปลดรัฐมนตรี 6 คนในเหตุการณ์ที่รู้จักกันในชื่อ “night of the long knives” ไม่ได้ทำให้รัฐบาลกลับมาดีขึ้น หลังจากเกิดเรื่องอื้อฉาวหลายครั้ง กรณีของรัฐมนตรีที่ชื่อ John Profumo สร้างความเสียหายมากที่สุด เขาจึงได้ลาออกในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1963
1
จบแล้วตอนที่ 1
ติดตามได้ในตอนต่อไป…
เรียบเรียงโดย Right SaRa
10th Sep 2022
  • แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
โฆษณา