12 ก.ย. 2022 เวลา 16:59 • ความคิดเห็น
FORM E (อาเซียน-จีน): แบบที่ผู้ขายมี License
ขอบคุณภาพจาก canva
จากที่ได้ทำความรู้จักกับ รายละเอียดของ FORM E กันไปแล้วในบทความที่ผ่านมา หรือท่านใดยังไม่ได้อ่านเราแปะ link ไว้ตามนี้ค่ะ
ในบทความนี้จะว่ากันด้วยเรื่องของ FORM E. แบบที่ผู้ขายที่เมืองจีนมี License ในการทำ FORM E การติดต่อประสานงานก็จะไม่ยุ่งยาก ส่วนมากแล้วเจ้าใหญ่ ๆ ที่ติดต่อค้าขายทำธุรกิจกับทางอาเซียนก็จะมี License ในการทำ FORM E อยู่แล้วไม่ได้มีปัญหาอะไร
ในการตรวจสอบเอกสาร FORM E ในเงื่อนไขนี้สามารถตรวจสอบได้ตามหลักการที่ได้กล่าวไว้ ตรวจ 13 จุดหยุดความผิดพลาด เพราะในกรณีที่ผู้ขายมี License ในการทำ FORM E ชื่อผู้ส่งออกหรือ Exporter ในช่องที่ 1 จะเป็นชื่อเดียวกันกับ ชื่อใน invoice , packing และ B/L พูดให้เข้าใจง่าย ๆคือ ชื่อผู้ส่งออกในทุก ๆ เอกสารที่เกี่ยวข้องเป็นชื่อเดียวกัน
ต่อให้เงื่อนไขนี้จะทำงานง่ายแต่เราก็อย่าได้ประมาทไปเลยเชียว เพราะเคยมีประสบการณ์มาแล้ว เหตุเพราะความไว้ใจว่าเป็น supplier รายใหญ่ตรวจ FORM E กันมาแล้วไม่รู้กี่ร้อยฉบับและครั้งนั้นตรวจแบบผ่าน ๆ กลายเป็นว่า ชื่อเรือที่นำเข้า พิมพ์ผิดไป 1 ตัวอักษร…. โอ้ยย อยากเอาหัวโขกโต๊ะทำงาน
ต้องขอแก้ไข FORM E ให้ต้นทางยกเลิกใบเดิมและทำเรื่องใหม่ และส่งต้นฉบับมาให้ใหม่ เคสนี้รับผิดชอบร่วมกัน ต้นทางเสียค่าใช้จ่ายในการทำ FORM E ใหม่ ส่วนเราจ่ายค่าส่ง FORM E ตัวจริง 2 รอบ (เขียนลงบัญชีรอหักโบนัสปลายปี :) )
ในการตรวจสอบเอกสารเพื่อการนำเข้า อาจจะมองว่าเป็นเรื่องที่ยาก แต่ถ้าเรามีความรู้ความเข้าใจที่มากพอทุก ๆ การตรวจเอกสารแต่ละฉบับมันจะมีความตื่นเต้น และรู้สึกสนุกเหมือนได้เล่นเกมจับผิด อยู่ตลอดเวลา
การนำเข้ายังมีเรื่องราวให้เราต้องเรียนรู้อีกเยอะเลยค่ะ จะทยอยเอามาเล่าบ่อย ๆ น๊า
หวังว่าความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ได้จากประสบการณ์ในการทำงานนี้ จะพอเป็นประโยชน์ให้กับคุณผู้อ่านได้ไม่มากก็น้อยนะคะ …
ขอบคุณที่ติดตามแล้วพบกันใหม่ในบทความถัดไปนะคะ
ติดตามผลงานในช่องทางอื่นที่
เจ้ากระต่ายขี้เซา :
ฝันจะนั่งรถไฟไปทรานส์ – ไซบีเรีย
รักการเขียนและการเล่าเรื่อง
และกำลังฝึกเขียนนิยาย

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา