3 ต.ค. 2022 เวลา 00:00 • สุขภาพ
10 บทเรียนจากคอร์ส The Science of sleep ชีวิตดีขึ้นได้ด้วยการนอน
สอนโดย รศ.พญ. นฤชา จิรกาลวสาน
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาฯ สภากาชาดไทย
หน่วยโรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤต ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จาก Cariber
1. สิ่งที่หลายคนเข้าใจผิดคือ การนอนไม่ได้เหมือนกับการปิดสวิตซ์ไฟให้ร่างกายหยุดทำงาน เพราะในระหว่างที่เรานอน สมองบางส่วนยังคงทำงานอยู่ เพื่อช่วยฟื้นฟูร่างกายส่วนที่สึกหรอ
2. การนอนหลับจึงเป็นสิ่งที่จําเป็นและสําคัญสําหรับชีวิต ไม่น้อยไปกว่าการได้ทานอาหารที่ดีและการได้สูดอากาศที่บริสุทธิ์
3. การนอนที่ดี ไม่ใช่วัดกันที่ ‘จำนวนชั่วโมง’ แต่ต้องมี ‘คุณภาพการนอนที่ดี’ ด้วย
4. ปัจจัย 2 ประเภทที่ส่งผลต่อการนอนคือ
1. ปัจจัยที่ควบคุมได้ เช่น สภาพแวดล้อม
2. ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ คือ นาฬิกาการนอนของแต่ละบุคคล
5. ถ้าอยากเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการนอน ให้ค่อยๆ ปรับทีละนิด เช่น ทานอาหารให้เร็วขึ้น ทำกิจกรรมที่ผ่อนคลาย อย่างการอ่านหนังสือแทนการเล่นโทรศัพท์ ฝึกนิสัยที่ทำให้ร่างกายได้ปรับตัว แล้วนาฬิกาการนอนของเราจะค่อยๆ ดีขึ้น
6. สัญญาณที่บ่งบอกว่า เรามีคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดี คือ ยังต้องตื่นด้วยนาฬิกาปลุก ซึ่งหมายถึงเรานอนหลับไม่เพียงพอ ให้แก้ด้วย นอนให้พอ แพลนเวลาและเข้านอนเร็วกว่าเวลานอนจริง 1 ชั่วโมง จะช่วยให้เพิ่มคุณภาพการนอนให้ดีขึ้นได้
7. เวลานอนควรนอน ไม่ควรฝืนทำงาน จนนอนไม่พอ เพราะจะส่งผลต่อ productivity ของอีกวัน
8. การนอนที่เพียงพออยู่ที่ 7-9 ชั่วโมงต่อวัน และไม่ควรนอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมง
9. เทคนิคการนอนหลับให้ได้คุณภาพ คือ ให้หาท่านอนที่เรารู้สึกสบายที่สุด รวมถึงต้องจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับการนอนด้วย เช่น ห้องนอนควรจะมืด ไม่มีเสียงรบกวน เป็นต้น
10. การนอนที่ดีจะส่งผลดีทั้งต่อประสิทธิภาพในการทำงาน และคุณภาพชีวิต ดังนั้น อย่าละเลยและคิดว่ามันไม่สำคัญ ถึงแม้ว่าการนอนหลับอาจเป็นสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้ แต่เป็นเรื่องที่ฝึกกันได้

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา