2 ต.ค. 2022 เวลา 12:19 • การศึกษา
“Abhijit Banerjee และ Esther Duflo” คู่รักเจ้าของรางวัลโนเบลเศรษฐศาสตร์
ช่วงเดือนตุลาคมของทุกปี เป็นช่วงที่เราจะได้รู้กันแล้วว่าเจ้าของรางวัลโนเบลแต่ละสาขาคือใคร ดังนั้นบทความ Blockdit original by Bnomics
ในเดือนนี้ก็เลยอยากจะชวนทุกคนไปย้อนดูเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ในอดีตว่าเป็นใครกันบ้าง แล้วผลงานของแต่ละท่านนั้นสร้างประโยชน์ให้แก่สังคมอย่างไร
บทความแรกของเดือนนี้ ขอเริ่มต้นด้วยศาสตราจารย์ Abhijit Banerjee และศาสตราจารย์ Esther Duflo สองสามีภรรยานักเศรษฐศาสตร์จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ในปี 2019 (ร่วมกับศาสตราจารย์ Michael Kremer) ผู้สร้างผลงานเชิงประจักษ์ในด้านการต่อสู้ เพื่อแก้ปัญหาความยากจน
4
📌 เติบโตมาแตกต่าง…บนเส้นทางเดียวกัน
5
ศาสตราจารย์ Esther Duflo เติบโตมาในฝรั่งเศส โลกเสรีที่มีความเท่าเทียมกัน ในขณะที่ศาสตราจารย์ Abhijit Banerjee เติบโตจากอีกซีกโลกหนี่งที่ยังมีระบบชนชั้นวรรณะ…ประเทศอินเดีย
1
แม้จะเติบโตมาจากโลกที่แตกต่างกันสุดขั้ว แต่ทั้งสองกลับเลือกเดินบนเส้นทางเดียวกัน ศาสตราจารย์ Esther Duflo จบปริญญาตรีและโทสาขาเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยในฝรั่งเศส ก่อนที่เรียนต่อปริญญาเอกสาขาเศรษฐศาสตร์ ที่ MIT และเริ่มอาชีพการทำงานในฐานะอาจารย์ที่นั่น
1
ส่วนศาสตราจารย์ Abhijit Banerjee ก็จบปริญญาตรีและโทสาขาเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยในประเทศอินเดีย ก่อนที่เรียนต่อปริญญาเอกสาขาเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และเริ่มสอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน ก่อนที่จะย้ายไปสอนที่ MIT ตั้งแต่ปี 1993 เป็นต้นมา และที่แห่งนั้นเองที่ทำให้ทั้งสองท่านได้เริ่มรู้จัก เป็นคู่คิด และกลายเป็นคู่ชีวิตกันในเวลาต่อมา
ในปี 2003 ศาสตราจารย์ Abhijit Banerjee และศาสตราจารย์ Esther Duflo ร่วมกับ ศาสตราจารย์ Sendhil Mullainathan ที่ MIT ก่อตั้ง Abdul Latif Jameel Poverty Action Lab หรือ J-PAL ขึ้นมา เพื่อเป็นศูนย์วิจัยนโยบายที่จะช่วยลดความยากจนทั่วโลก
1
📌 เพราะโลกนี้ไม่มียาวิเศษที่ช่วยลดความยากจน
2
ทั้งศาสตราจารย์ Abhijit Banerjee และศาสตราจารย์ Esther Duflo ต่างเป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สนใจเรื่องการแก้ปัญหาความยากจนเป็นอย่างมาก แต่ทั้งคู่รู้ดีว่าบนโลกนี้ไม่มียาวิเศษที่จะช่วยขจัดความยากจนให้หมดไปได้โดยทันที แต่จำเป็นต้องมีนโยบายเข้าไปช่วยเหลือ จึงได้ลงไปศึกษายังพื้นที่ที่ยากจนที่สุดในโลก คือ อินเดียและแอฟริกา
หลายคนมักจะมองปัญหาความยากจนในภาพใหญ่แล้วไม่รู้จะแก้อย่างไรนอกจากแจกเงิน แต่ทั้งคู่พยายามกระเทาะปัญหาลงไปให้ลึกกว่านั้น โดยทดลองกว่า 70 - 80 การทดลองในแต่ละประเทศ ศึกษาปัญหาตั้งแต่ว่าคนจนซื้ออะไร, จัดการเรื่องสุขภาพของลูกอย่างไร, ต้องการมีลูกกี่คน, ทำไมไม่ส่งลูกเข้าโรงเรียน, ทำไมเรียนไม่สูง, ทำไมไมโครไฟแนนซ์จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่คนจน, คนจนกินอาหารที่ดีและเพียงพอหรือไม่
แล้วค่อยๆ นำจิ๊กซอว์ชิ้นเล็กๆ แต่ละชิ้นมาประกอบเข้าด้วยกันจนได้ภาพใหญ่ที่ต้องการ คือ การลดความยากจน
1
📌 สิ่งเล็กๆ ที่ยิ่งใหญ่
หนึ่งในงานวิจัยที่น่าสนใจของทั้งคู่ คือ การศึกษาการกินอาหารของคนจน โดยในตอนแรกทั้งคู่ได้ตั้งสมมติฐานว่าคนจนจะกินอาหารมากที่สุดเท่าที่จะสามารถกินได้ โดยศึกษาข้อมูลจาก 18 ประเทศ พบว่าค่าใช้จ่ายด้านอาหาร คิดเป็น 36 - 70% ของการบริโภคของคนจนขั้นรุนแรงที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบท ในขณะที่สำหรับคนจนที่อยู่ในเมือง จะใช้จ่ายด้านอาหารคิดเป็น 53-74% และข้อสังเกตที่พบคือ คนจนมักจะเลือกกินอาหารที่มีรสชาติอร่อย ให้พลังงานสูง มากกว่าจะสนใจเรื่องสารอาหาร
1
ทั้งคู่จึงเสนอแนะว่ารัฐบาลและองค์กรระหว่างประเทศ ควรจะคิดถึงเรื่องนโยบายทางด้านอาหาร โดยจัดหาอาหารที่มีสารอาหาร มากกว่าจะเน้นไปที่การให้กินอาหารที่แคลอรี่ครบถ้วน แบบที่โปรแกรมช่วยเหลือด้านความมั่นคงทางอาหารส่วนใหญ่นิยมทำ
1
อีกงานวิจัยหนึ่ง ศึกษาเรื่องการเรียนของเด็กในประเทศที่ยากจนว่าจะต้องช่วยเหลืออย่างไรถึงจะเกิดประสิทธิภาพต่อตัวเด็กมากที่สุด พวกเขาได้ลองศึกษาทั้งการเปลี่ยนวิธีการสอนของครู เปลี่ยนหนังสือเรียน เปลี่ยนช่วงเวลาเรียน
แต่สุดท้ายพบว่าปัญหามันอยู่ที่ว่าเด็กๆ ต้องการเวลาที่จะมาตามทบทวนสิ่งที่เรียนไม่ทัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ขาดหายไปจากระบบการศึกษาของโรงเรียนในประเทศกำลังพัฒนา แต่เมื่อมีคลาสทบทวน มีผู้ช่วยสอน เข้าไปช่วยเหลือนักเรียนที่มีความต้องการเป็นพิเศษอย่างเช่นเด็กที่เรียนอ่อนที่สุดในชั้น ก็ก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพทั้งในระยะสั้นและระยะกลางได้
1
และในงานวิจัยล่าสุดที่ทำในประเทศเคนยา ได้มีการทดลองลดขนาดคลาสเรียนลงแต่ยังใช้ครูอัตราจ้างประจำ พบว่าไม่ได้มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็กมากนัก
1
แต่เมื่อลองเปลี่ยนครูที่สอนเป็นครูสัญญาจ้างระยะสั้น ที่จะได้ต่อสัญญาเมื่อสอนดีเท่านั้น กลับพบว่าช่วยให้เด็กมีผลลัพธ์ทางการเรียนที่ดีกว่า แล้วก็เป็นการกระตุ้นแรงจูงใจให้ครูมีความรับผิดชอบ ไม่ขาดสอนบ่อยอีกด้วย
นอกจากด้านการศึกษาแล้ว ทั้งคู่ยังได้ศึกษาไปถึงด้านสุขภาพในอินเดีย และประเทศรายได้น้อยส่วนใหญ่ แรงงานมักจะขาดงาน เนื่องจากความเจ็บป่วย และคุณภาพศูนย์บริการสาธารณะสุขไม่ค่อยดีนัก อีกทั้งในครอบครัวยากจนก็มักจะไม่ได้รับยาป้องกันโรคอย่างวัคซีนชนิดต่างๆ พอเริ่มทดลองให้มีคลินิกแบบเคลื่อนที่เข้าไปตามชุมชนในอินเดีย
พบว่ามันช่วยให้เด็กมีอัตราการรับวัคซีนเพิ่มมากขึ้นกว่าชุมชนที่ไม่มีคลินิกเคลื่อนที่ถึง 3 เท่า แล้วยิ่งเพิ่มมากขึ้นเป็น 6 เท่า หากมีการแจกถั่วเลนทิล 1 ถุง (ธัญพืชที่คนอินเดียนิยม) ทุกครั้งที่ไปฉีดวัคซีน
1
ตลอดเวลาที่ทั้งคู่ได้ร่วมงานกันมา ยังมีการทดลองอีกมากมาย เพื่อช่วยลดความยากจนและได้ผลเป็นที่ประจักษ์ ช่วยให้คนยากจนมีชีวิตที่ดีขึ้น
 
จากเพื่อนร่วมงานที่มีแพชชั่นคล้ายกัน ทำการลงพื้นที่วิจัยในหลายๆ แห่งที่ยากลำบากด้วยกันมาหลายปี จนในที่สุดในปี 2015 ศาสตราจารย์ Abhijit Banerjee และศาสตราจารย์ Esther Duflo ตัดสินใจที่จะกลายเป็นคู่ชีวิตกัน และยังทำงานวิจัย เพื่อขจัดปัญหาความยากจน ซึ่งเป็นสิ่งที่ทั้งคู่ทำร่วมกันมาตลอด
จนกระทั่งในปี 2019 ทั้งสองได้ขึ้นรับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ร่วมกัน
ในฐานะที่เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่ต่อสู้กับปัญหาความยากจนด้วยวิธีแตกปัญหาจากภาพใหญ่ให้ย่อยลงไป และนำมาออกแบบการทดลองเชิงพฤติกรรม
1
เพื่อหาคำตอบของปัญหาความยากจนให้ตรงจุดมากยิ่งขึ้น และกลายเป็นแม่แบบที่กระตุ้นให้เกิดการทำวิจัยแบบทดลองภาคสนามในอีกหลายประเทศ และได้กลายมาเป็นวิธีการพื้นฐานสำหรับนักเศรษฐศาสตร์การพัฒนาที่ใช้ศึกษาผลของมาตรการต่างๆ เพื่อขจัดความยากจนให้หมดสิ้นไปจากโลกนี้
1
Poverty is not just a lack of money; it is not having the capability
to realize one’s full potential as a human being.
Abhijit V. Banerjee
1
ความยากจนไม่ใช่แค่การไม่มีเงิน
แต่คือการไม่มีความสามารถจะบรรลุศักยภาพของมนุษย์คนหนึ่งอย่างเต็มที่
Abhijit V. Banerjee
1
ผู้เขียน: ชนาภา มานะเพ็ญศิริ Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶︎ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Line OA : @Bnomics https://bit.ly/3eYkTJC
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
References:
เครดิตภาพ : Scott Eisen, AFP และ Nobel Prize
โฆษณา