11 ต.ค. 2022 เวลา 12:00 • ประวัติศาสตร์
#แหล่งให้กำเนิดของครัวซองต์ชิ้นแรกไม่ใช่ที่ฝรั่งเศส
เมื่อนึกถึงครัวซองต์ที่สดใหม่ หลายคนคงนึกภาพปารีสขึ้นมาเป็นอันดับแรก พร้อมบรรยากาศจิบชาตอนเช้าอันแสนผ่อนคลาย ฝั่งซ้ายบนโต๊ะกลมเล็ก ๆ มีหนังสือเล่มโปรด และเครื่องดื่มร้อน ๆ พร้อมด้วยครัวซองต์เนยหอม ๆ อุ่นๆ กรอบนอก นุ่มใน เพลิดเพลินเหนื่อจินตนาการ
ครัวซองต์
หากต้องเล่าถึงการทำครัวซองต์ชิ้นแรก คงต้องเริ่มเล่าจากภาษาศาสตร์กันก่อน ครัวซองต์เป็นรูปแบบหนึ่งของ ขนมอบสไตล์ เวียนนา ซึ่งแน่นอนว่าเกี่ยวข้องกับเมืองเวียนนาของออสเตรีย หรือที่รู้จักกันว่าเป็นแหล่งกำเนิดของครัวซองต์
ครัวซองต์ เดิมถูกเรียกว่า kipferl ขนมรูปพระจันทร์ ซึ่งมีอายุย้อนไปถึงศตวรรษที่ 13 ในยุคนั้น kipfer มีรูปทรงและขนาดที่หลากหลาย อีกทั้งครัวซองต์ยังเต็มไปด้วยถั่วหรือวัตถุดิบธัญญาพืชอื่น ๆ นอกจากนี้ Kipferl ยังมีความเป็นไปได้ว่าถูกพบในอียิปต์ยุคโบราณทว่ายังไม่มีหลักฐานชี้ชัด
สำหรับรูปแบบของ rugelach หรือ kipfer เป็นขนมของชาวยิวที่มีต้นกำเนิดจาก Ashkenazic ขนมมีความแน่นและหวานกว่าครัวซองต์สมัยใหม่ ในช่วงเปลี่ยนศตวรรษที่ 17 แป้งที่ใช้เริ่มเปลี่ยนแปลงไปและสูตรดั้งเดิมนี้ก็ได้ถูกบันทึกไว้เป็นครั้งแรก
A Kipferl, a precursor to croissants
ตามตำนานเล่าว่า คนทำขนมปังชาวเวียนนาที่ทำงานตลอดทั้งคืนได้ยินพวกเติร์กที่พยายามเจาะอุโมงค์ใต้เมืองระหว่างการบุกรุกในปี 1683 พวกเขาแจ้งเตือนผู้พิทักษ์ของเมือง เพื่อให้ชาวเมืองพ้นจากการล้อมโจมตีของออตโตมัน
ในการเฉลิมฉลอง คนทำขนมปังได้ทำขนมรูปพระจันทร์เสี้ยว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์เด่นบนธงชาติตุรกี คำภาษาเยอรมัน kipferl หรือ พระจันทร์เสี้ยว นับแต่พ้นวิกฤตออกมาได้ kipferl ก็กลายเป็นสัญญาลักษณ์แห่งชัยชนะของเวียนนาที่รอดพ้นจากชาวเติร์ก
สำหรับครัวซองต์ในฝรั่งเศสเกิดจากคนทำขนมปังชื่อ August Zang Zang เขาเป็นเชฟชาวออสเตรีย ที่เข้ามาเปิดร้านขนมปังในปารีสช่วงต้นทศวรรษ 1800 โดยตั้งชื่อร้านว่า Boulangerie Viennoise เป็นชื่อแบบเวียนนาพื้นเมือง Zang เสิร์ฟขนมขึ้นชื่อของเวียนนามากมายรวมถึง kipferl ในร้านของเขาด้วย
The original Boulangerie Viennoise in 1909 (when it was owned by Philibert Jacquet). The bakery proper is at left and its tea salon at right.
หลังจากเปิดได้ไม่นาน Zang ก็ได้นำเอาเตาอบไอน้ำที่ได้รับการจดสิทธิบัตรของเขามาใช้ภายในร้านเพื่อทำขนมปังเวียนนา ทว่าเตาอบที่ใช้หญ้าแห้งชื้นเพื่อให้ขนมอบมีประกายเงางาม กลับทำให้เนื้อขนมปังเปลี่ยนไป โดยเฉพาะ kipferl ที่ภายนอกกรอบ แต่ภายในนุ่มขึ้น ต่างจากสูตรดั้งเดิม
ดังนั้นเขาจึงทำให้ kipferl หวานกว่าแบบดั้งเดิม และด้วยรสชาติ รูปลักษณ์ที่มีเสน่ห์ ชาวปารีสจึงเริ่มเรียกขนมชนิดว่า ครัวซองต์ เพราะรูปร่างเสี้ยวที่คล้ายพระจันทร์บนท้องฟ้า และได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง (ภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า Croissant “ครัวซองต์” มีความหมายว่า “พระจันทร์เสี้ยว”)
ในที่สุดปี 1915 คนทำขนมปังชาวฝรั่งเศสชื่อ Sylvain Claudius Goy จึงเริ่มเขียนสูตรขนมครัวซองไว้ ทำให้ขนมชนิดนี้เป็นที่รู้จักและเป็นที่ชื่นชอบมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนั่งกินพร้อมเครื่องดื่มสุดโปรดอุ่น ๆ สักถ้วยในตอนเช้า
จิบกาแฟยามเช้า
อีกตำนานหนึ่งเล่าถึงราชินีฝรั่งเศส Marie Antoinette หลังจากที่พระนางแต่งงานกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส ได้ไม่นานพระนางก็ทรงคิดถึงบ้านและอยากลิ้มรสชาติขนมเวียนนาอีกครั้ง
1
ด้วยการนี้ พระนางจึงแนะนำ kipfel ให้กับเชฟชาวฝรั่งเศส แต่ เชอวาลิเยร์ ไม่พบหลักฐานใด ๆ ที่จะสนับสนุนแนวคิดนี้ ตำนานนี้จึงเป็นเพียงเรื่องเล่าขานที่เล่าสืบต่อกันมา
“หลายครั้งความบังเอิญก็มักนำมาซึ่งเรื่องดี ๆ ดังเช่นเรื่องราวของการทำครัวซองต์”
ติดตามเรื่องเล่าจากดาวนี้เพิ่มเติมได้ที่
หากชื่นชอบก็อย่าลืมกด Like กด Share เพื่อเป็นกำลังใจให้กันด้วยนะคะ สามารถแชร์แนวคิด มุมมองดีๆได้ใน Comments นี้เลย
#เรื่องเล่าจากดาวนี้
โฆษณา