14 ต.ค. 2022 เวลา 12:00 • ประวัติศาสตร์
#ความบังเอิญ ที่ทำให้เกิดเป็น เตาอบไมโครเวฟ
เตาอบไมโครเวฟเป็นเครื่องใช้ในครัวที่มีอยู่ในบ้านเกือบทุกหลัง โดย 90 เปอร์เซ็นต์ของครัวเรือนมักมีไมโครเวฟหนึ่งเครื่อง เพราะความง่ายที่กดปุ่มเพียงไม่กี่ปุ่มก็ต้มน้ำ อุ่นอาหาร ทำป๊อปคอร์นหรือละลายเนื้อสัตว์แช่แข็งได้ในเวลาเพียงไม่กี่นาที
ไมโคเวฟ
เตาไมโครเวฟถูกประดิษฐ์ขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ทว่าในยุคแรกเตาไมโคเวฟมีขนาดใหญ่และแพงมาก อีกทั้งผู้คนยังไม่ไว้วางใจเพราะรังสีที่เครื่องไมโคเวฟใช้ถือเป็นเทคโนโลยีใหม่
แต่ความกลัวนี้ก็จางหายไปในช่วงปี 2000 หลังจากที่ชาวอเมริกันยกให้เตาอบไมโครเวฟเป็นเทคโนโลยีอันดับ 1 ที่ทำให้ชีวิตของพวกเขาง่ายขึ้น ตามคำบอกเล่า ของ J. Carlton Gallawa ผู้เขียนหนังสือ Complete Microwave Oven Service Handbook
แต่คุณรู้ไหมว่า….. จุดเริ่มต้นของไมโคเวฟ เกิดจากอุบัติเหตุเล็ก ๆ เท่านั้น
Percy LeBaron Spencer วิศวกรที่เรียนรู้ด้วยตนเองซึ่งเขาไม่เคยเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ตามรายงานของพิพิธภัณฑ์วิศวกรรม การสื่อสารและการคำนวณทางตะวันตกเฉียงใต้ ขณะอยู่ที่ Raytheon Corp. เขาทำงานเกี่ยวกับแมกนีตรอน ซึ่งเป็นหลอดสุญญากาศที่ผลิตรังสีไมโครเวฟและใช้ในระบบเรดาร์
เพื่อใช้ในการทหาร
ในปี 1941 เขาได้คิดค้นวิธีการผลิตที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและด้วยนวัตกรรมของเขา ทำให้การผลิตเพิ่มจาก 17 ต่อวันเป็น 2,600 ต่อวัน และในระหว่างที่ Spencer กำลังทดสอบแมกนีตรอน เขาก็สังเกตเห็นว่าแท่งช็อกโกแลตในกระเป๋าของเขาละลาย
แน่นอนว่า Spencer ไม่ใช่คนแรกที่สังเกตเห็นปรากฏการณ์ดังกล่าว แต่เขาเป็นคนแรกที่รู้สึกทึ่งกับปรากฏการณ์นี้ หลังจากนั้นเขาจึงเริ่มทดลองข้าวโพดคั่วธรรมดา ๆ กับ คลื่นแม็กนิตรอน (magnetron) ซึ่งระหว่างการทดลองป๊อปคอร์นก็แตกตัวออกมาสวยงามมาก
หลังจากนั้น เขาก็ลองใช้ แม็กนิตรอน (magnetron) กับไข่ทั้งฟองและพบว่าไข่เมื่อวางไข่ไว้ใกล้แมกนีตรอน ไข่จะเริ่มสั่นและระเบิด Spencer จึงเริ่มตระหนักได้ว่า “อาหารควรได้รับพลังงานไมโครเวฟความหนาแน่นต่ำจึงจะดี ด้วยเหตุนี้ Spencer จึงสร้างกล่องเหล็กและใส่พลังงานไมโครเวฟเข้าไป
Demonstration by Westinghouse of cooking sandwiches with a 60 MHz shortwave radio transmitter at the 1933 Chicago World's Fair
เมื่อสร้างเสร็จเขาก็ได้นำกล่องรูปแบบต่าง ๆ เข้าไปในไมโคเวฟรุ่นทดลอง ทำให้ Spencer ได้พบว่า คลื่นไมโครเวฟไม่สามารถผ่านโลหะได้ นอกจากนี้ Spencer ยังพบว่าตู้ไมโครเวฟที่เขาสร้างขึ้นสามารถปรุงอาหารได้เร็วกว่าเตาอบแบบทั่วไปที่ใช้ความร้อน
เมื่อทุกอย่างเริ่มลงตัว Spencer จึงตัดสินใจยื่นคำขอรับสิทธิบัตรในปี 1945 (สเปนเซอร์ได้รับสิทธิบัตร 150 ฉบับตลอดอาชีพการงานของเขา ทั้งยังถูกนำชื่อเข้าหอเกียรติยศนักประดิษฐ์แห่งชาติ เขาเสียชีวิตในปี 1970)
ส่วนเตาอบไมโครเวฟเชิงพาณิชย์เครื่องแรก ถูกนำไปทดสอบในร้านอาหาร ที่บอสตันปี 1947 หลังจากนั้นในปีต่อมา Raytheon ก็ได้เปิดตัว Radarange 1161 (เครื่องไมโคเวฟ) ความสูง 5.5 ฟุต (1.7 เมตร) หนัก 750 ปอนด์ (340 กิโลกรัม) ราคาอยู่ที่ $5,000
A chef using a Raytheon Radarange III, an early commercial microwave oven, circa 1958. Getty Images
เวลานั้น เครื่องไมโคเวฟต้องต่อเข้ากับสายยางเพราะ คลื่นแมกนีตรอนระบายความร้อนด้วยน้ำ ประชาชนทั่วไปที่ซื้อไปใช้ในช่วงนั้นจึงต้องรับมือกับความหนัก ความใหญ่ ปัญหาการติดตั้ง และราคา นานร่วม 3 ปี
จนเมื่อเทคโนโลยีแบบใหม่มีมากขึ้น เตาไมโครเวฟจึงได้รับความนิยมโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอาหาร ที่นำใช้ไมโครเวฟไปใช้ได้หลากหลาย เพราะนอกจากใช้ทำอาหารแล้ว พวกเขายังใช้คั่วเมล็ดกาแฟ ถั่วลิสง ละลายเนื้อแช่แข็ง ปรุงเนื้อสัตว์ล่วงหน้า รวมถึงใช้เพื่อแกะหอยนางรม
นอกจากนี้อุตสาหกรรมอื่น ๆ ยังพบว่ามีการใช้เครื่องไมโครเวฟ ในการตากไม้ก๊อก เซรามิก กระดาษ หนัง ยาสูบ สิ่งทอ ดินสอ ดอกไม้ หนังสือเปียก และหัวไม้ขีด
หลังจากนั้น Tappan ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าได้เปิดตัวเตาไมโครเวฟเครื่องแรกสำหรับใช้ในบ้านในปี 1955 แต่ด้วยขนาดที่ใหญ่ และมีราคาสูงกว่า 1,295 เหรียญจึงทำให้ธุรกิจเป็นไปได้ยาก Raytheon จึงเข้ามาซื้อกิจการ Amana Refrigeration ในปี 1965
Pictorial Parade//Getty Images
สองปีต่อมา Amana Radarange สามารถผลิตไมโคเวฟที่สามารถติดตั้งบนเคาน์เตอร์ครัวได้ พร้อมทั้งมีราคาเพียง 500 เหรียญ ไม่นานหลังจากนั้น เตาไมโครเวฟก็ได้รับความนิยมมากขึ้น
ในปี 1975 มีเพียง 4 เปอร์เซ็นต์ของบ้านในสหรัฐฯ เท่านั้นที่มีเตาไมโครเวฟ และจำนวนก็ได้เพิ่มขึ้นในปี 1976 เป็น 14 เปอร์เซ็นต์ ปัจจุบันประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ของครัวเรือนในสหรัฐอเมริกามีเตาอบไมโครเวฟเป็นเครื่องครัวพื้นฐานที่ต้องมีติดบ้านไว้
ดังที่ Percy LeBaron Spencer กล่าวไว้ว่า "บนโลกนี้ไม่มีหรอก 'ความท้าทาย' ทุกอย่างเป็นเพียงปัญหาที่เลวร้ายที่ต้องแก้ไขให้ได้ก็เท่านั้น"
1
ติดตามเรื่องเล่าจากดาวนี้เพิ่มเติมได้ที่
หากชื่นชอบก็อย่าลืมกด Like กด Share เพื่อเป็นกำลังใจให้กันด้วยนะคะ สามารถแชร์แนวคิด มุมมองดีๆได้ใน Comments นี้เลย
#เรื่องเล่าจากดาวนี้
โฆษณา