13 ต.ค. 2022 เวลา 15:30 • ภาพยนตร์ & ซีรีส์
7หนังจากหนังสือของสตีเฟ่นคิงที่ควรดูก่อนตาย
หากจะพูดถึงหนังสยองขวัญ สั่นประสาทที่สามารถเรียกคะแนนความนิยมได้ เราคงจะนึกถึงหนังที่มีผี เลือดและความแปลกประหลาด หนังที่ได้เรียกความนิยมหนังสยองขวัญตะวันตกคงหนีไม่พ้น เดอะคอนจูริ่ง แต่หลายๆคนอาจจะพลาดความสยองปนแฟนตาซีหน่อย อีกทั้งยังหนีไม่พ้นดราม่าแบบทะลุทรวงอกที่จะทำให้น้ำตาแตกกันมานักต่อนัก ที่ผมพูดมาเหล่านี้อยู่ในคนๆเดียวครับสตีเฟ่น คิงนักเขียนนิยายสยองขวัญ เรียกได้ว่าราชาแห่งความสยองขวัญเลยก็ว่าได้
สตีเฟน คิง เกิดเมื่อ 21 กันยายน พ.ศ. 2490 ที่เมืองพอร์ตแลนด์ ในรัฐเมน เป็นบุตรคนที่ 2 ของเอ็ดวิน คิง และ เนลลี รูธ พิลส์บูรี เขาเสียพ่อตั้งแต่วัยเด็ก ในปี พ.ศ. 2509 เขาได้เข้าเรียนในภาควิชาภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยเมน ที่เมืองออรอโน หลังจบการศึกษาเขาได้สอนวิชาภาษาอังกฤษในเมืองแฮมปเดน ในรัฐเมน
ด้านชีวิตส่วนตัว เขาสมรสกับทาบิธา คิง (นามกุลก่อนแต่งงาน: สปรูซ) เมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2514 ทั้งคู่มีบุตรด้วยกัน 3 คนคือ นาโอมิ ราเชล คิง, โจ คิง และ โอเว่น คิง โดย 2 คนสุดท้ายนี้มีอาชีพเป็นนักเขียนเช่นเดียวกับบิดา-มารดาของพวกเขาเอง
หนังสือของสตีเฟ่นคิง ถูกตีพิมพ์มาแล้วหลายเล่ม แต่วันนี้ผมจะหยิบยกนิยายของสตีเฟ่นคิงที่ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ เป็นภาพยนตร์เจ็ดเรื่องจากหนังสือของสตีเฟ่น คิงที่สมควรดูก่อนตาย
นี่เป็นความคิดเห็นส่วนตัวล้วนจากคนที่ดูทั้งหนังและอ่านนิยายมาแล้วทุกเรื่อง
เรื่องที่1 คงหนีไม่พ้น CARRIE
เป็นภาพยนตร์ที่ถูกสร้างมาแล้วถึงสองเวอร์ชั่น ทั้งในปี1976และ2013 พล็อตของเรื่องราวยังถูกสร้างตามนวนิยายต้นฉบับ หนังเปิดตัวด้วยแครี่ที่เป็นเด็กผู้หญิงที่ถูกล่อ ถูกแกล้ง หรือที่บ้านเราเรียกกันว่าบูลี่นั่นเอง ซึ่งในเรื่องยังแสดงให้เห็นถึงการบูลลี่ที่รุนแรงชนิดที่ทำให้อับอายและเลือดตกยางออกเลยทีเดียว หนังดำเนินไปบนความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวที่ไม่ค่อยดีนัก แม่ที่คลั่งศาสนาและลัทธิ ส่วนเธอก็เป็นเด็กผู้หญิงที่มีพลังจิต
ไม่ว่าคุณจะดูเวอร์ชั่นไหนมันก็ดีไม่แพ้กัน แต่ถ้าส่วนตัวผมชอบของปี1976มากกว่า เพราะได้อารมณ์และความดิบเถื่อนชนิดแทบจะหยุดหายใจ สตีเฟ่นคิงนำเรื่องสองเรื่องที่ไม่เข้ากันอย่างมากมาเชื่อมโยงเพื่อเขียนหนังสือเล่มนี้ คิงได้ต้นแบบแครี่มาจากเพื่อนร่วมชั้นของเขาประจวบเหมาะกับช่วงนั้นมีข่าวเกี่ยวกับคนที่มีภาวะจิตที่ไม่ปกติในหน้าหนังสือพิมพ์ ผลผลิตของมันจากปลายปากกาของคิง ทำให้รู้ได้แล้วว่าแค่รี่ควรค่าแก่การดูและการอ่านมากขนาดไหน
เรื่องที่2 MISERY
ในคืนหนึ่งขณะที่สตีเฟ่นคิงนอนอยู่ในโรงแรม เขาฝันถึงการถูกแฟนหนังสือจับตัวไปเพื่อให้เขียนหนังสือที่เขียนจบไปแล้ว ในฝันเขาโดนทรมานสารพัด ทั้งจับขึงกับเตียงไม่ให้ไปไหน ขาถูกตัดกับเลื่อยฟันปลา ไม่มีอะไรสยองไปกว่านี้อีกแล้ว ตอนแรกคิงตั้งใจจะเขียนเรื่องนี้เป็นเรื่องสั้น แต่ตัวละครเอกของเรื่องดันมีมิติเกินกว่าที่เราจะคาดคิด
เป็นผลงานดัดแปลงจากสตีเฟน คิงเรื่องเดียวเท่านั้นที่ได้รับรางวัลออสการ์ และนี่คือ "Misery" ของร็อบ ไรเนอร์ Kathy Bates คว้ารางวัลออสการ์อันทรงคุณค่ากลับบ้านจากบทบาทพยาบาลโรคจิตที่ลักพาตัวนักเขียนคนโปรดของเธอไปและบังคับให้เขาทำนิยายแฟนตาซีของเธอ
James Caan จับคู่ฉาก Bates กับฉากที่น่าสงสัยอย่างเชี่ยวชาญที่ระเบิดความวิตกกังวลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของนักเขียนทุกคนเกี่ยวกับผู้อ่านของพวกเขา และผู้อ่านทุกคนรักนักเขียนคนโปรด ถึงขั้นยอมทำทุกอย่างเพื่อให้นักเขียนคนโปรดเขียนนิยายที่ตัวเองอยากอ่าน กระทั้งนำหนังหน้านักเขียนคนนั้นมาทำเป็นปกหนังสือก็ตาม
จากเรื่องราวกลายเป็นพล็อตและความแปลกใหม่ของตัวละครผ่านนักแสดงที่มีความสามารถ เป็นภาพยนตร์จากหนังสือของสตีเฟ่นคิงอีกเรื่องที่ถึงเนื้อถึงหนังได้ดีจริงๆ
เรื่องที่3 pet samatary
ครั้งที่สตีเฟ่นคิงย้ายเข้าบ้านใหม่ ตอนนั้นลูกๆของเขายังเล็ก ถนนหน้าบ้านเป็นสายหลักของรถบรรทุกที่วิ่งไปมาไม่ขาดสาย pet samataryเกิดจากความกลัวของเขาเองที่คิดว่ารถบรรทุกอาจจะชนลูกของเขาเอาก็ได้
คนตายไม่สามารถฟื้นขึ้นใหม่ได้ แต่สุสานบางแห่งทำให้มันเป็นจริงได้ ไม่แน่ว่าศพที่คุณนำไปฝั่งอาจจะกลับมาจากดินแดนแห่งความตายและไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
Pet samatary "บางครั้งความตายก็ดีกว่า" เรื่องราวที่เลวร้ายและน่าสยดสยองของ Stephen King เกี่ยวกับความเศร้าโศกของครอบครัวที่ผิดพลาดอย่างไม่สบายใจกลายเป็นภาพยนตร์ที่ระเบิดอารมณ์และน่าขนลุกภาพยนตร์นี้มีมาแล้วสองเวอร์ชั่น การรีเมคของ "Pet Sematary" นั้นใกล้เคียงกันกับต้นฉบับ
โดยมีการเปลี่ยนแปลงที่โดดเด่นเล็กน้อยที่ทำให้เรื่องราวนั้นดูไร้กาลเวลาแต่ก็ไม่คุ้นเคยทั้งหมด ช่วยเพิ่มแรงกระแทกและทำให้บรรยากาศน่าขนลุกมากกว่าที่เคย แต่เวอร์ชันใดที่ "ดีกว่า" จริงๆ อาจเป็นเรื่องของรสนิยม ภาพยนตร์ในปี1986กับ2019 ยังตราตรึงเราคนดูให้คิดว่าบางครั้งตายก็ยังดีเสียกว่า
เรื่องที่4 the shining
นวนิยาย the shiningเล่มนี้ถูกเขียนขึ้นในตอนที่สตีเฟ่นคิงมีภาวะติดเหล้าขั้นรุนแรง จะเห็นได้ว่าตัวละครหลักของเรื่องแจ็ค ทอร์เลนมีอาการไม่ต่างจากผู้เขียน เขาเขียนหนังสือเล่มนี้บนโต๊ะทำงานกับเพลงเมทัลที่กระซวกอารมณ์ให้ the shiningมีความดิบขึ้นมา เหตุผลที่ตัวละครอยู่ในโรงแรมโอเวอร์ลุคที่ห่างไกลเพราะว่าเขาเองรู้สึกโดดเดี่ยวตอนเขียนงานเล่มนี้
แต่ถึงอย่างนั้นสตีเฟน คิงไม่ชอบการดัดแปลง "The Shining" ของ Kubrick อย่างมีชื่อเสียง แต่เราเห็นด้วยที่จะไม่เห็นด้วย "The Shining" เป็นผลงานชิ้นเอกของหนังสยองขวัญ เป็นการผสมผสานกันอย่างลงตัวระหว่างวัสดุและผู้สร้างภาพยนตร์ ด้วยการแสดงที่โดดเด่นและความน่ากลัวที่ร้ายกาจ Jack Nicholson และ Shelley Duvall ติดอยู่ที่โรงแรม Overlook ตลอดฤดูร้อน และความบ้าคลั่งก็เข้าครอบงำ Kubrickตั้งใจดำเนินเรื่องด้วยแจ็คทอเรน
ซึ่งตามหนังสือที่เขียนไว้จะเน้นไปในเรื่องลูกมากกว่า เหมือนกับเด็กจะมีพลังบางอย่างในตัว แต่หนังแสดงให้เห็นมุมนั้นน้อยเกิน ทั้งมุมกล้องและการกำกับทำให้เราปฏิเสธไม่ได้ว่า "The Shining" เป็นภาพยนตร์ที่น่ากลัวที่สุดที่เคยสร้างมา
สถานที่ที่ร้างห่างไกลผู้คนย่อมทำให้เราบ้าและกลายเป็นอีกคนไปได้ ผมยังแนะนำThe Shiningในฐานะหนังสยองขวัญชั้นครูอีกเรื่องที่ได้รับนิยมสูง แต่ถ้าจะให้ดีอ่านนิยายต้นฉบับด้วยคุณจะบวกความสยองได้ถึงขีดสุด
เรื่องที่5 Dr.Sleep
การปรับตัวที่ท้าทายและทะเยอทะยานของไมค์ ฟลานาแกนจากภาคต่อของคิงในเรื่อง "The Shining" มีภารกิจที่หาที่เปรียบไม่ได้ในการหาจุดร่วมระหว่างนวนิยายต้นฉบับกับการปรับตัวที่หลวมของคูบริก มันได้ผล: ยวน แม็คเกรเกอร์รับบทเป็นแดนนี่ ทอร์แรนซ์ เขาโตและต่อสู้กับการใช้สารเสพติดเหมือนกับพ่อของเขา เมื่อเด็กสาวที่มี "ความสดใส" ร้องขอความช่วยเหลือ เขาก็ถูกลากกลับเข้าไปในฝันร้ายเหนือธรรมชาติที่เขาพยายามจะทิ้งไว้เบื้องหลัง
ภาพยนตร์สยองขวัญเศร้าโศกเกี่ยวกับการเสพติดและการบาดเจ็บ และบทความที่ซับซ้อนเกี่ยวกับการดูเรื่องราวคลาสสิกจากหลายมุมมอง "Doctor Sleep" ใช้แนวทางที่แตกต่างจาก "The Shining" อย่างมาก และยัง -- ปาฏิหาริย์ -- มันเป็นผลสืบเนื่องที่คู่ควร
รู้สึกว่าสตีเฟ่นคิงตั้งใจเขียนเรื่องนี้ต่อจาก The Shining เป็นหนังสือเล่มต่อที่ค่อนข้างสนุกเอาเรื่อง กับการเขียนที่เป็นเอกลักษณ์ของคิงในสมัยใหม่ เขาถ่ายทอดเรื่องราวของพลังแฝงจากลูกของแจคทอแรนใน The Shining ถ้าไม่อยากพลาดเรื่องนี้จะอ่านหนังสือหรือดูหนังก็ไม่ต่างกัน เพราะรายละเอียดถูกผู้กำกับอย่างไมค์ ฟลานาแกนเก็บ เรียกได้ว่าทุกซอกทุกมุมของหนังสือเล่มนี้ทีเดียว
เรื่องที่6 It
หนังเรื่องนี้เดินเรื่องด้วยตัวละครเด็กล้วนๆ ส่วนตัวละครผู้ใหญ่แทบกลายเป็นแค่ตัวประกอบเท่านั้นเอง แต่คงต้องยกเว้นเจ้าตัวตลกท่อน้ำไว้สักคนนึง ทุกช่วงเวลาของหนังล้วนเป็นความรู้สึกนึกคิดของเด็กๆ ผู้ใหญ่คือตัวร้ายที่ทำลายความรู้สึกของเด็กๆ เสียมากกว่า
นอกจากแก๊งขี้แพ้ ก็ยังมีแก๊งอันธพาลที่คอยแกล้งพวกเขาอยู่เช่นกัน
เพนนีไวส์ ตัวตลกตกท่อ คือภาพจำของหนัง
ตัวละครอย่างตัวตลกตกท่อแบบ เพนนี่ไวส์ ดูไม่ค่อยมีที่มาที่ไปที่เห็นเป็นรูปธรรมเท่าไหร่ อาจมีการสืบสาวราวเรื่องอยู่บ้างแต่ก็ไม่ถึงกับบอกเล่าเกี่ยวกับ “มัน” ได้ทั้งหมด แถมมันยังเป็นผีที่ต้องการเอฟเฟ็กต์พอสมควร และไม่สนใจวิธีการหลอกหลอน ตอนแรกเราคิดว่ามันต้องการน้ำ
แต่ไปๆ มาๆ ไม่ต้องใช้น้ำ มันก็กระทำการหลอกได้เช่นกัน
ผีตัวตลกเป็นจำพวกไม่ประนีประนอมในการเข้าทำ มันมักจะจู่โจมชนิดเอาเป็นเอาตาย และด้วยเพลงประกอบ มุมกล้องและการตัดต่อ นี่คือการเข้าทำที่จัดระเบียบได้เอาอยู่สุดๆ
It อิท โผล่จากนรก
สิ่งที่เห็นได้ชัดคือตัวตลกผีมันใช้จุดอ่อนที่แตกต่างกันของเด็กแต่ละคนมาสร้างวิธีการหลอกหลอน แต่สิ่งที่เหมือนกันก็คือจุดอ่อนนั้นมาจากความกลัวในใจของพวกเขาทั้งหลาย
แม้ดูเส้นเรื่องจะเดินไปอย่างตรงๆ มองเห็นได้พอเดาๆว่าเรื่องราวจะขมวดไปในทางไหน แต่การเดินเรื่องที่โคตรโหดก็ทำให้คนดูลุ้นขนลุกเกรียวไปได้ตลอดเรื่อง
ทั้งการรวบรวมกลุ่มแก็งที่นำมาซึ่งมิตรภาพความเป็นเพื่อนและก้าวข้ามผ่านพ้นวัย
เวลาเห็นเด็กๆ ที่มาเป็นแก๊ง เป็นตัวนำของเรื่อง มันทำให้นึกไปถึงซีรีส์ ‘Stranger Things’ อย่างอดไม่ได้
จริงๆ หนังก็มีกลิ่นแบบนั้นอบอวลอยู่ มีความเป็นนักสืบกลายๆ ขณะเดียวกันเรื่องราวทั้งหมดขับเคลื่อนโดยเด็กๆ พวกเขาต้องใช้ความกล้าหาญและความสามัคคีในการแก้ไขสถานการณ์ ในภาคสองจะเห็นได้ว่าตัวละครขาดส่วนผสมของในตอนเด็กไปทำให้คำวิจารณ์ภาคแรกนั่นดีกว่าเห็นๆ
หนังเล่มนี้มีความยาวสองเล่มกับภาพยนตร์สองภาค ส่วนตัวแล้วผมค่อนข้างชอบภาคแรกมากกว่า เพรารู้สึกว่าถ่ายทอดออกมาได้ดี ความไม่เข้ากันของตัวตลกและท่อระบายน้ำสู่ความลงตัวในIT มันโผล่มาจากนรก ไม่ว่าคุณจะอ่านหนังสือหรือดูหนังก็ให้ความสยองไม่แพ้กัน
เรื่องที่7shawahank redemption
สตีเฟ่นคิงคือหนึ่งนักเขียนที่สามารถถ่ายทอดดราม่าได้ดี จนเราต้องหลงใหลเข้าไปในหนังสือของเขา ผลงานดัดแปลงจากภาพยนตร์เรื่อง "Rita Hayworth and the Shawshank Redemption" ของแฟรงค์ ดาราบอนต์ นำแสดงโดยทิม ร็อบบินส์ในฐานะนักบัญชีที่มีมารยาทอ่อนโยนซึ่งถูกคุมขังในข้อหาฆ่าภรรยาและพยายามปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของเรือนจำที่โหดร้าย
ระหว่างทาง เขาได้พัฒนามิตรภาพตลอดชีวิตกับผู้ช่วยชีวิตของมอร์แกน ฟรีแมน และดึงปาฏิหาริย์เล็กๆ น้อยๆ ออกมาทีละอย่าง สร้างแรงบันดาลใจในการเล่าเรื่องที่น่าทึ่ง ด้วยการแสดงที่ยากจะลืมเลือนจากนักแสดงเกือบทั้งหมด การถ่ายภาพยนตร์ที่สวยงาม และดนตรีไพเราะ "The Shawshank Redemption" เป็นหนึ่งในละครยอดเยี่ยมแห่งทศวรรษ 1990
ถ้าอยากสลัดความสยองขวัญออกไปบ้างเรื่องนี้คือจุดที่จะทำให้เรารักในนักเขียนที่ชื่อ สตีเฟ่นคิงอย่างหยุดไม่อยู่
เป็นยังไงกันบ้างครับ หนังที่สร้างจากนวนิยายของสตีเฟ่นคิง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรสนิยม ถ้าคุณอยากลองความสยองขวัญและดราม่าที่หาที่เปรียบไม่ได้ รับรองได้ว่าสตีเฟ่นคิงไม่ทำให้คุณผิดหวังแน่นอน
โฆษณา