15 ต.ค. 2022 เวลา 23:30 • หนังสือ
ภาษี (เงินได้บุคคลธรรมดา) ต้องรู้
ตอนที่ 4 เงินได้ 8 ประเภท ( Part 2.1 )
1
เมื่อตอนที่ 3 เราได้ทำความรู้จักอย่างคร่าว ๆ กับเงินได้และวิธีคิดภาษีไปแล้ว ซึ่งหนึ่งสิ่งที่ทุกคนผ่านตามาเมื่อตอนที่แล้วก็คือ "เงินได้สุทธิ" ใช่ไหมครับ
ซึ่งเงินได้สุทธินั้น ก็คือเงินได้ที่ถูกหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนแล้ว มีสูตรในการหาคือ
*รายได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ*
ซึ่ง "เงินได้สุทธิ" ตัวนี้ต้องนำไปคูณกับอัตราภาษีที่รัฐกำหนดเพื่อคิดออกมาเป็น "ภาษีที่เราต้องจ่าย" นั่นเองครับ
ถ้าสังเกตดูดี ๆ หากเรามีค่าใช้จ่ายเยอะ และก็ค่าลดหย่อนเยอะ เงินได้สุทธิเราก็จะยิ่งน้อยถูกไหมครับ ทีนี้เราก็จะเสียภาษีน้อยลงใช่ไหมครับ
แต่ช้าก่อนครับทุกคน มันไม่ได้หมายความว่ายิ่งทุกคนใช้เงินสุรุ่ยสุร่ายแล้วจะจ่ายภาษีน้อยลงนะครับ เพราะทางรัฐเขาได้กำหนดกฏเกณฑ์การหักค่าใช้จ่ายของเงินได้ทั้ง 8 ประเภทไว้แล้วนั่นเองครับ (ใช้มากเท่าไรก็หักได้ตามเกณฑ์น้า ฮ่าๆ)
โดยอัตราการหักค่าใช้จ่ายของเงินได้ทั้ง 8 ประเภทดูได้ตามตารางได้เลยครับ
เพื่อความเข้าใจที่ง่ายขึ้น ผมขออนุญาตยกตัวอย่างนะครับ
กรณีที่ 1 นาย A มีรายได้ 2 ทางคือ
-เงินเดือน 1,000,000 บาท/ปี (ประเภทที่ 1)
-ค่าจ้างจากงานฟรีแลนซ์ 1,000,000 บาท/ปี (ประเภทที่ 2)
รวม 2,000,000 บาท
1
ถึงแม้ว่าเงินได้ 2 ประเภทนี้รวมกันจะสามารถหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ 50% แต่ในเมื่อ 50% ของรายได้ของ A เกิน 100,000 บาท A ก็สามารถหักเป็นค่าใช้จ่ายสูงสุดได้แค่ 100,000 บาทครับ ส่วน 1,900,000 บาทคือ"เงินได้สุทธิ"ที่จะต้องนำไปคูณอัตราภาษีต่อไป
(กรณีนี้ผมขอยังไม่นำค่าลดหย่อนมาคิดนะครับ ไว้ค่อยว่ากันในบทต่อ ๆ ไป)
กรณีที่ 2 นาย B มีรายได้จากค่าลิขสิทธิ์ (ประเภทที่ 3 ) 300,000 บาท/ปี
ซึ่งเงินได้ประเภทนี้สามารถหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ 50% และไม่เกิน 100,000 บาท ดังนั้น B จะไม่สามารถหักค่าใช้จ่ายส่วนนี้เต็มจำนวน 50% ได้เช่นกัน
เพราะ 50% ของค่าลิขสิทธิ์ของ B เกิน 100,000 บาท จึงสามารถหักเป็นค่าใช้จ่ายได้แค่ 100,000 บาทเท่านั้นครับ
เมื่อหักแล้วก็จะเหลือ "เงินได้สุทธิ" คือ 200,000 บาท ก็จะนำไปคูณอัตราภาษีต่อไปครับ
กรณีที่ 3 นาย C มีรายได้จากดอกเบี้ยและเงินปันผลจากหุ้น (ประเภทที่ 4) 200,000 บาท/ปี
C จะไม่สามารถหักเป็นค่าใช้จ่ายใด ๆ ได้เลย เท่ากับว่า รายได้ส่วนนี้นั้น ต้องถูกนำไปคูณกับอัตราภาษีเต็มจำนวน ไม่มีการหักค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้นครับ
ส่วนเงินได้ประเภทที่ 5-8 ผมจะขอยกตัวอย่างต่อไปใน Part 2.2 นะครับ (เกรงว่าจะยาวเกิน แหะๆ) สำหรับวันนี้ขอขอบคุณทุกๆคนที่อ่านบทความของผมจนจบนะครับ ขอบคุณครับ 🙏🏻😊
เรียบเรียงบทความจาก
หนังสือ : Money Literacy
คนไทยฉลาดการเงิน
ผู้เขียน : ศักดา สรรพปัญญาวงศ์
จักรพงษ์ เมษพันธุ์
ถนอม เกตุเอม
จัดพิมพ์และจำหน่ายโดย : บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด
เว็บไซต์ : www.itax.in.th
ติดตามบทความดีๆ จากหนังสือดีๆ ได้ที่
โฆษณา