17 ต.ค. 2022 เวลา 05:59 • ประวัติศาสตร์

เมืองเก่าภูเก็ต ชิโน-โปรตุกีส และชาวบาบ๋า ย่าหยา

Sino-Portuguese Mansion, Phuket City
เมืองใต้ ทำไมเต็มไปด้วยพื้นที่หลากวัฒนธรรม? เป็นไปได้หรือไม่ว่าดินแดนด้ามขวานแห่งนี้ คือ hecterotopia หรือ พื้นที่ทับซ้อนของวัฒนธรรมต่างๆ ทั้ง ชาวพื้นเมือง จีน มาลายู ลังกาสุกะ รวมถึงชาติตะวันตก
แล้วที่จริง ใครคือชาวใต้?
ยกตัวอย่าง การทับซ้อนของพื้นที่ ในเมืองเก่าภูเก็ต และตึก ชิโน-โปรตุกิส https://www.blockdit.com/posts/63413ee2aea26b7eeb1250f6
ชิโน-โปรตุกีส ถือกำเนิดขึ้นในดินแดนแหลมมลายูในยุคสมัยแห่งจักรวรรดินิยมของตะวันตก เมื่อประมาณปีพุทธศักราช 2054 โดยชาวโปรตุเกส ในช่วงเวลาเดียวกันชาวจีนก็เดินทางเข้ามาพำนักอาศัยตั้งถิ่นฐานอยู่ในดินแดนแถบนี้แล้วในก่อนหน้านี้ เพื่อทำการค้าขายกับชาวมาเลย์ซึ่งเป็นชาวพื้นเมือง ทำให้ชาวจีนและชาวมาเลย์แต่งงานเป็นครอบครัวเดียวกัน เกิดเป็นสายสัมพันธ์ใหม่ซึ่งขนานนามว่าชาวบ้าบ๋า แปลว่าลูกชาย และชาวย่าหยา แปลว่าลูกสาว
ชาวบ้าบ๋า ย่าหยา มีรูปร่างหน้าตาแบบคนจีน คือตาชั้นเดียวและโครงหน้าแบบคนเอเชีย ผิวสีแทนแบบชาวมาเลย์ แต่งกายด้วยการนุ่งผ้าบาติกและเสื้อคอจีน นับเป็นส่วนผสมที่ลงตัวระหว่างสองวัฒนธรรม
ที่จริงแล้ว ใครกันแน่ที่เป็นชาวใต้ และเอกลักษณ์ที่แท้จริงของชาวใต้ คืออะไร? คำตอบที่ทางเราสามารถตอบได้ ณ วันนี้คือ ไม่มีแน่ชัด เพราะจากหลักฐานทางโบราณคดี เท่าที่ปรากฎให้เห็นนั้นแสดงว่า ภาคใต้เป็นพื้นที่ที่รวมความหลากหลาย ไม่ได้มีโบราณสถาน หรือโบราณวัตถุไหนบ่งบอกถึง เอกลักษณ์ของชาวใต้ในท้องถิ่น หากเทียบกับอารยธรรมทวารวดีในภาคกลาง ที่จะมีเอกลักษณ์บ่งบอกถึงความเป็นท้องถิ่นตน
ทว่า ประเด็นนี้สะท้อนถึงเสน่ห์ของความหลากหลายในพื้นที่เดียว ทำให้ภาคใต้ และเมืองภูเก็ต เป็นจุดหมายปลายทางในฝันของนักเดินทาง ประกอบกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ทำให้คำถามนี้กลายเป็นคำถามที่ ไม่จำเป็นต้องถาม มนุษย์คือมนุษย์ พวกเรา พวกเขา ก็คือสรรพนามที่ไว้ใช้บ่งบอกถึง คนเช่นเดียวกัน
แล้วสำหรับคุณ เผ่าพันธ์ การแบ่งพวกเธอ พวกเขา นั้นสำคัญไหม? เพราะอะไร มาแชร์คำตอบกัน
โฆษณา