22 ต.ค. 2022 เวลา 12:19 • ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ “ตลาดกาแฟ” กับการก้าวขึ้นมาเป็นผู้ส่งออกเบอร์หนึ่งของบราซิล
3
คิดสิ คิดสิ คาบูชิโน่ เอสเปรสโซ่ อาราบิก้า ท่อนฮุกติดหูของหญิงลีที่นำชื่อกาแฟมาแต่งเป็นเพลงสะท้อนถึงความนิยมในกาแฟ ใครไปไหนทำอะไรก็ต้องดื่มกาแฟ เรียกได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของมนุษย์เราไปแล้ว
แต่กว่าจะมาเป็นกาแฟที่ไม่ว่าใครก็ดื่มได้แบบทุกวันนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะกาแฟเคยถูกจำกัดให้เฉพาะคนชนชั้นสูงเท่านั้นที่ดื่มได้ ส่วนคนชนชั้นล่างต้องดื่มอย่างอื่นทดแทนกาแฟไป
3
แต่การก้าวเข้ามาของบราซิล เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ตลาดกาแฟกลายเป็น Mass product ไม่ว่าจะรวยหรือจนก็ดื่มได้หมด และกลายมาเป็นผู้ส่งออกกาแฟเบอร์หนึ่งมาจนถึงปัจจุบัน
1
วันนี้ Bnomics จึงได้หยิบประวัติศาสตร์ตลาดกาแฟในอดีตสมัยศตวรรษที่ 18-19 มาเล่าให้ทุกคนฟัง เพราะเป็นช่วงเวลาที่เราจะไขข้อสงสัยได้ว่า ทำไมบราซิลถึงก้าวขึ้นมาเป็นเบอร์หนึ่งและทำให้เราทุกคนได้ดื่มกาแฟกันอย่างทุกวันนี้
3
🌟 ประวัติศาสตร์ “ตลาดกาแฟ” ในสมัยศตวรรษที่ 18
ก่อนเราจะไปดูว่าทำไมบราซิลถึงก้าวเข้ามาเป็นเบอร์หนึ่งการส่งออกกาแฟ สินค้าอย่าง “กาแฟ” ถูกเปลี่ยนมือจากมหาอำนาจมาหลายแห่ง โดยเริ่มจากตะวันออกกลางมีการขนส่งกาแฟผ่านคนกลาง ทำให้ค่าขนส่ง ภาษีและต้นทุนการค้าขายสูง ส่งผลให้ราคากาแฟสูงอย่างมาก ตลาดกาแฟจึงค่อนข้างเล็กและไม่ได้รับความนิยมมากนัก
2
ในช่วงศตวรรษที่ 18 แม้เจ้าอาณานิคมยุโรปจะเข้ามาทำการผลิตในประเทศอาณานิคมของตนเอง เช่น Java Reunion Saint Domingue และ Jamaica แต่ก็ไม่ได้ทำให้ราคากาแฟถูกลงแต่อย่างใด เพราะรัฐบาลอาณานิคมต้องการให้กาแฟถูกจำกัดในแวดวงชนชั้นสูง พ่อค้า นักธุรกิจเท่านั้นผ่านการออกนโยบายเก็บภาษีสูง ในตอนนั้น ชาวนาและกรรมกรไม่สามารถเข้าถึงกาแฟได้ พวกเขาจึงต้องดื่ม Chicory พืชสมุนไพรที่เป็นยาบำรุงแทนการดื่มกาแฟ
2
นอกจากนี้ แม้กาแฟถูกควบคุมโดยอาณานิคมยุโรปอย่าง ดัตซ์ อังกฤษ ฝรั่งเศส แต่การเข้าไปในครั้งนั้นไม่ใช่การนำเทคโนโลยีหรือพัฒนาให้เกิดความเจริญ แต่เข้าไปด้วยการบีบบังคับให้เกิดการผลิตผ่านการใช้แรงงานทาส ทำให้การผลิตไร้ประสิทธิภาพ กาแฟราคาสูง ตลาดกาแฟจึงไม่ได้เป็นที่นิยมแพร่หลายมากขนาดนั้น
2
โดยผู้เขียนขอหยิบยก St.Dominique เขตสำคัญในการผลิตกาแฟซึ่งเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสมาเป็นตัวอย่างในการอธิบายภาพรวมประวัติศาสตร์กาแฟในศตวรรษที่ 18
1
ในช่วงแรก ตลาดกาแฟเจริญรุ่งเรืองอย่างมากในชุมชนอาณานิคมแถบ St.Dominique เนื่องจากคนบนเกาะพยายามเลียนแบบวัฒนธรรมของชาวปารีสที่ดื่มกาแฟกันใน coffeehouses ซึ่งเป็นวัฒนธรรมของชนชั้นสูงและชนชั้นนายทุน เพราะคนเหล่านี้ทำให้ความต้องการกาแฟแพร่หลายมากขึ้นแต่ก็ถูกจำกัดแค่เฉพาะคนบางกลุ่มเท่านั้น
3
ความต้องการกาแฟเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จนในปี 1787-1789 St.Dominique สามารถส่งออกกาแฟได้เกือบเท่ากับการส่งออกน้ำตาล (น้ำตาลถือเป็นการส่งออกอันดับหนึ่งของเมืองในขณะนั้น) ส่งผลให้ St.Dominique กลายเป็นอันดับหนึ่งของการส่งออกกาแฟที่ใหญ่ที่สุดในโลก
1
แม้จะส่งออกได้เยอะแต่ก็เป็นเหมือน “ดาบสองคม” เพราะส่งออกเยอะหมายความว่าต้องใช้แรงงานทาสจำนวนมากในการปลูกและเก็บเกี่ยวผลกาแฟจนนำไปสู่ความขัดแย้งและเลิกทาสทั่วโลกซึ่งมาจากเกิดการปฏิวัติฝรั่งเศส (French Revolution) เป็นตัวกระตุ้นสำคัญ ทำให้ชาว Haiti (คนใน St.Domingue) ต้องยุติการผลิตกาแฟลง ทำให้ผลผลิตนั้นตกลงจาก 40,000 เมตริตัน สู่ 9,000 เมตริกตัน ในปี 1818 ส่งผลให้ราคากาแฟโลกพุ่งสูงอย่างมาก
4
แม้ชาว Haiti จะพยายามกลับมาส่งออกกาแฟอีกครั้งแต่ก็ไม่สามารถทำได้ดีเท่าแต่ก่อน เพราะไม่มีแรงงานในการผลิต ทาสที่ได้รับการปลดปล่อยก็ปฏิเสธที่จะเข้ามาเป็นทาสเช่นเดิม และตั้งรกรากของตนเองในเทือกเขาที่ห่างไกล
1
🌟 บราซิลขึ้นแท่นมหาอำนาจทางกาแฟในศตวรรษที่ 19
เห็นได้ว่าในช่วงศตวรรษที่ 18 กาแฟไม่ได้เป็นที่แพร่หลายมากนักส่วนหนึ่งเพราะราคาสูง ทำให้คนทั่วไปไม่สามารถดื่มกาแฟได้
1
และบราซิลคือผู้ที่ก้าวเข้ามาทำให้กาแฟมี “ราคาถูก” จนสามารถก้าวเป็นเบอร์หนึ่งของโลกได้
แล้วทำไมบราซิลถึงสามารถก้าวขึ้นมาเป็นเบอร์หนึ่งการส่งออกกาแฟในยุคศตวรรษที่ ​19 อาจกล่าวได้ว่ามีทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกที่ช่วยผลักดันให้บราซิลสามารถทำการผลิตกาแฟเพื่อตอบรับกับความต้องการบริโภคกาแฟได้อย่างมหาศาล โดยผู้เขียนแบ่งออกเป็น 2 ปัจจัย ได้แก่
1) ปัจจัยภายใน: ต้นทุนการผลิตต่ำสามารถส่งออกกาแฟในราคาถูกกว่าเจ้าอื่น
จากที่กล่าวไปตอนแรกว่า ในแรกเริ่มกาแฟถูกมองว่าเป็นเครื่องดื่มของชนชั้นกลางขึ้นไปเพราะมีราคาสูง แต่บราซิลสามารถส่งออกกาแฟได้ในราคาถูกเพราะความโชคดีของบราซิลที่มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก และมีแรงงานทาสราคาถูก (ในช่วงปี 1900s บราซิลใช้แรงงานทาสถึง 1.5 ล้านคนในการผลิตกาแฟ)
1
เมื่อต้นทุนต่ำ ก็ขายในราคาถูกได้ ด้วยเหตุนี้ทำให้คนเริ่มหันมาบริโภคกาแฟกันมากขึ้นเพราะจากที่เคยเป็นเครื่องดื่มที่เอื้อมไม่ถึงก็สามารถซื้อดื่มได้ในราคาที่ถูก และด้วยราคาแสนถูกนี้เองทำให้การส่งออกกาแฟของบราซิลในช่วงปี 1822 ถึง 1899 พุ่งสูงขึ้นกว่า 75 เท่า
3
และหากย้อนไปมองอัตราการบริโภคกาแฟก็เพิ่มขึ้นกว่า 15 เท่าทั่วโลก ในตอนนั้น ไม่มีประเทศอาณานิคมไหนสามารถจะแข่งขันเทียบเคียงกับบราซิลได้ทั้งในเรื่องของราคา รวมถึงฐานความต้องการการบริโภคที่บราซิลได้ครอบครองทั้งในประเทศอาณานิคมและสหรัฐอเมริกา
อาจกล่าวได้ว่า ในขณะนั้น มากกว่า 80% ของการส่งออกกาแฟไปทั่วโลกมาจากประเทศบราซิล!
3
แล้วราคาถูก มันส่งผลให้คนหันมาซื้อขนาดนั้นเลยหรอ?
1
ในทางเศรษฐศาสตร์เรียกสภาวะนี้ว่า Supply induce demand คือ สภาวะที่คนขายสามารถสร้างให้เกิดความต้องการในการบริโภคได้ กล่าวคือในสมัยก่อนราคากาแฟค่อนข้างสูงและคนชนชั้นล่างเข้าไม่ถึง เมื่อกาแฟมีราคาถูกลงก็ดึงดูดให้คนหันมาดื่มกาแฟกันอย่างที่ไม่เป็นมาก่อน อย่างเช่นกรณีของบราซิล
3
นอกเหนือจากเรื่องราคาถูก การพัฒนาการขนส่งคือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้บราซิลสามารถส่งออกได้เพิ่มมากขึ้น โดยบราซิลมีการพัฒนาการขนส่งโดยสร้างเส้นทางรถไฟและท่าเรือทำให้บราซิลมีต้นทุนการขนส่งระหว่างประเทศที่ต่ำลง และถือว่าเป็นระบบการขนส่งภายในที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในโลก
1
2) ปัจจัยภายนอก: ความต้องการบริโภคกาแฟเพิ่มสูงขึ้นจากสหรัฐอเมริกา
ผลพวงจากสภาวะ Supply induce demand ที่กล่าวไปข้างต้น เพราะกาแฟราคาถูกเลยดึงดูดให้คนหันมาบริโภคกาแฟมากขึ้นเป็นประวัติการณ์ ซึ่งประเทศที่ได้รับอิทธิพลนี้อย่างมากคือสหรัฐอเมริกา
จะเห็นได้จากความพยายามของรัฐบาลในการออกนโยบายเพื่อช่วยให้คนบริโภคกาแฟมากขึ้น เช่น ในศตวรรษที่ 19 สหรัฐอเมริกาได้ออกนโยบายปลอดภาษีการนำเข้ากาแฟซึ่งเป็นประเทศเดียวบนโลกในขณะนั้น โดยค่อย ๆ ลดลงระดับภาษีจาก 10 เซนต์ต่อปอนด์ในปี 1812 เป็น 5 เซนต์ในปี 1814 และฟรีสำหรับทุกคนที่ต้องการนำเข้ากาแฟ รวมถึงอัตราการบริโภคต่อหัวของคนอเมริกาเพิ่มสูงขึ้น และการขยายตัวของประชากรถึง 15 เท่าในศตวรรษนั้น ทำให้การนำเข้ากาแฟของสหรัฐอเมริกาพุ่งสูงขึ้นถึง 2,400%
🌟 แล้วความต้องการกาแฟสูงในสหรัฐอเมริกามีประโยชน์กับบราซิลยังไง?
1
สหรัฐอเมริกาคือฐานการรองรับตลาดกาแฟขนาดใหญ่จนกาแฟกลายเป็นสินค้า Mass product ในสหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรก เนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจและอัตราการบริโภคต่อหัวสูง ด้วยข้อนี้ ทำให้บราซิลได้สหรัฐอเมริกาเป็นฐานบริโภคขนาดใหญ่ และส่งออกกาแฟได้เป็นจำนวนมหาศาล เรียกได้ว่าไม่ว่าจะผลิตกาแฟออกมาเยอะแค่ไหนก็มีคนต้องการอยู่ดี
2
ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ชาวอเมริกาบริโภคกาแฟยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากการนำเข้ากาแฟมากกว่า 40% ของโลก และยังคงเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการนำเข้ากาแฟมากกว่า 60% เรียกได้ว่า เกินครึ่งของคนบริโภคกาแฟบนโลกนี้คือชาวอเมริกานั่นเอง ในขณะที่ส่วนอื่น ๆ ที่เหลือคือประเทศในแถบยุโรปตะวันตก โดยเฉพาะยุโรปเหนือ เช่น เบลเยี่ยม เยอรมนี ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์และสแกนดิเนเวีย
1
และด้วยสองสาเหตุนี้เอง ทำให้บราซิลก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจการส่งออกกาแฟจวบจนถึงปัจจุบัน อาจกล่าวได้ว่าเป็นทั้งความโชคดีของบราซิลเองที่ความต้องการในการบริโภคกาแฟเพิ่มสูงขึ้น มีฐานรองรับตลาดใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกาและยุโรปอื่น ๆ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าบราซิลมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงเสมอเพื่อให้สอดรับกับความต้องการของตลาดโลก เช่น การพัฒนาระบบขนส่งกาแฟหลังการเลิกทาสในปี 1888 ซึ่งส่งผลทำให้บราซิลสามารถขยายการส่งออกได้เช่นเดิม
3
ผู้เขียน: ขัตติยาภรณ์ ด้วงแก้ว Political Analyst, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶︎ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Line OA : @Bnomics https://bit.ly/3eYkTJC
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
References :
เครดิตภาพ : Hulton Archive via Getty Image

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา