23 ต.ค. 2022 เวลา 14:03 • การศึกษา
การนำเสนอที่เราพบเห็นได้ทั่วไป
ถ้ายังจำกันได้เราเคยดูเรื่องการลดช่องว่าง ระหว่างนักวิทยาศาสตร์และประชาชนกันมาแล้ว
ทำแล้วจะช่วยส่งผลดีให้กับประเทศอย่างมาก ประชาชนก็จะมีองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้อง มีกระบวนการคิดวิเคราะห์และแยกแยะ
และมีความพร้อมในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภายในประเทศหรือระดับนานาชาติ
นำไปสู่การประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการขับเคลื่อนประเทศ
วิธีการนำเสนอที่เราพบเห็นได้บ่อยๆ อย่างแรกเลยก็คือการบรรยาย
การบรรยาย คือ การเล่าเรื่อง การกล่าวถึงเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องกัน
ชี้ว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร เพื่ออะไร และผลที่จะตามมาเป็นอย่างไร
เนื้อหาที่บรรยายอาจเป็นเรื่องจริง หรือเป็นเรื่องจากประสบการณ์ เรื่องสมมุติ เช่น นิทาน นิยาย หรือเรื่องสั้น เป็นต้น
การศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยมักต้องนำเสนอผลงานประกอบกับโปสเตอร์
ลักษณะของการนำเสนอผลงานด้วยโปสเตอร์คือผู้รับสารหรือผู้ที่มาเยี่ยมชมโปสเตอร์จะมีส่วนร่วมในการถามตอบและเสนอแนวคิดริเริ่มต่อเนื่องมาจากเนื้อหาที่มีในโปสเตอร์
ลักษณะการนำเสนอก็จะค่อนข้างผ่อนคลาย เปิดโอกาสให้มีการสร้างเครือข่ายวิจัยและความสัมพันธ์ที่ดีในหมู่นักวิจัยนักวิทยาศาสตร์
เวลาจัดนิทรรศการ ผู้ที่เข้ามาชมจะเดินดูไปเรื่อยๆ ถ้าโปสเตอร์ไหนน่าสนใจ เขาก็จะหยุดอ่าน และจะมีโอกาสได้พูดคุยกับผู้ที่ดูแลโปสเตอร์นั้น
ดังนั้นเอง ความเตะตาจะกระตุ้นให้เกิดความสนใจชวนดู นอกจากนั้น ผู้ประจำโปสเตอร์ต้องแต่งกายสุภาพเพื่อให้เกียรติสถานที่ และสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้ที่มาเยี่ยมชมด้วย
ผู้ประจำโปสเตอร์นั้นต้องสามารถอธิบายเรื่องราวในโปสเตอร์ได้ ใช้เวลาไม่เกิน 5 นาที หลังจากนั้นก็สามารถตอบคำถามที่ผู้เยี่ยมชมถามหรือเสนอแนะได้
การเล่าเรื่องที่อยู่ในโปสเตอร์ ไม่ใช่หันไปอ่านโปสเตอร์ให้ผู้เยี่ยมชมฟัง แต่ต้องสามารถเล่าเรื่องได้อย่างเป็นธรรมชาติ
นอกจากโปสเตอร์และการพูดคุย อาจแจกเอกสารประกอบเนื้อหาในโปสเตอร์ รวมทั้งนามบัตร เพื่อสร้างโอกาสในการทำงานร่วมกันต่อไป
นอกจากการบรรยายการนำเสนอประกอบโปสเตอร์แล้ว
ในงานวิชาการงานวิจัย นิยมนำเสนอผลงานผ่านบทความ
บทความก็คือข้อเขียนที่ถ่ายทอดเรื่องกับข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นรวมทั้งเหตุผลที่เชื่อถือได้ของผู้เขียนต่อเหตุการณ์หรือสถานการณ์หนึ่งๆ
โดยใช้สำนวนภาษาที่ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของบทความ
วัตถุประสงค์ของบทความเป็นตัวที่กำหนดสำนวนภาษาที่ใช้
โฆษณา