31 ต.ค. 2022 เวลา 03:59 • สุขภาพ
การผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังด้วยกล้องขยาย (Microdiscectomy)
อ่านเพิ่มเติม https://bit.ly/3WkSyAP
การผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังด้วยกล้องขยาย คือ วิธีการผ่าตัดนำหมอนรองกระดูกสันหลังที่มีปัญหากดทับกระดูกสันหลังและเส้นประสาทออก โดยแผลจากการผ่าตัดมีขนาดเล็กมากเนื่องจากการใช้กล้องขยายขนาดเล็กมาช่วยในการผ่าตัดนำเอาเศษชิ้นของหมอนรองกระดูกที่มีปัญหาออกมา
การผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังด้วยกล้องขยาย (Microdiscectomy)
วิธีการผ่าตัด
การผ่าตัดกระดูกสันหลังโดยใช้กล้องขยายขนาดเล็ก (Microdiscectomy) ใช้การฉีดยาชาควบคู่กับยาระงับความรู้สึก ซึ่งผู้ป่วยจะรู้สึกตัวตลอดการผ่าตัด ในบางรายแพทย์อาจจะให้ใช้ยาสลบแทน
การผ่าใช้การกรีดแผลเล็กเพียงประมาณ 2 นิ้วที่บริเวณกระดูกสันหลัง แพทย์จะทำการเปิดกล้ามเนื้อบริเวณหลังไปไว้อีกข้างหนึ่ง แล้วใช้สายท่อซึ่งมีความยืดหยุ่นติดอุปกรณ์ผ่าตัดและกล้องขยายขนาดเล็กประสิทธิภาพสูงเข้าไป
กล้องจะขยายและแสดงภาพให้แพทย์เห็นอย่างชัดเจนและสามารถนำเอาเนื้อเยื่อหมอนรองกระดูกที่กดทับและชิ้นส่วนเล็กๆ ออกมาได้
ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด
การผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังด้วยกล้องผ่าตัดขนาดเล็ก (Microdiscectomy) ช่วยลดอาการปวดร้าวไปยังปลายขา (sciatica) หรืออาการขาอ่อนแรง รวมทั้งอาการปวดหลังจากหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทกดเบียดช่องโพรงกระดูกสันหลัง
ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อน
ภาวะแทรกซ้อนพบได้ไม่บ่อยและมักเป็นอาการเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดย่อมมีความเสี่ยงในการเกิดอาการต่างๆ ดังต่อไปนี้
  • รากประสาทถูกทำลาย ทำให้ขามีอาการชา สั่น หรืออ่อนเปลี้ย
  • มีน้ำไขสันหลังไหลออกมาบริเวณเส้นประสาทและกระดูกสันหลัง
  • การกดทับของหมอนรองกระดูกที่จุดเดิม
  • อาการปวดที่ยังคงมี หรือปวดมากขึ้นหลังจากการผ่าตัด
  • อาการแพ้ยาชา
ผู้ป่วยสามารถลดความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ด้วยการปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ทั้งก่อนและหลังการผ่าตัด
ทางเลือกอื่นในการรักษา
แพทย์อาจแนะนำวิธีการรักษาแบบอื่นนอกเหนือจากการใช้การผ่าตัดแบบไมโครดิสเอกโตมี เช่น การลดน้ำหนัก การใช้ยาระงับปวด การใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ การฉีดยาคอร์ติโซนเข้าไขสันหลัง และการทำกายภาพบำบัด นอกจากนี้แพทย์อาจจะแนะนำการผ่าตัดรักษาด้วยวิธีการอื่นแทนก็ได้
ผู้ป่วยที่เหมาะสม
ผู้ป่วยที่ต้องรับการผ่าตัดแบบไมโครดิสเอกโตมี คือผู้ป่วยที่หมอนรองกระดูกมากดทับเส้นประสาทบริเวณสันหลังจนเกิดการระคายเคือง แพทย์จะเป็นผู้ทำการวินิจฉัยถึงความเหมาะสมในการรักษาของผู้ป่วยแต่ละรายหลังจากที่ได้มีการตรวจเช็กและพูดคุยกับผู้ป่วยแล้ว

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา