18 พ.ย. 2022 เวลา 10:19 • ศิลปะ & ออกแบบ
การแข่งขันต่อสู้สร้างอัจฉริยะ:
บทเรียนจากศิลปินเรอเนสซองส์
นิ้วกลม x อ.ภากร มังกรพันธุ์
#BenNote จาก #Journey_with_Arts #EP5
หลังจากคุยเรื่องมนุษย์ Renaissance มา 4 ep. คุณเอ๋บอกว่า ep. นี้จะมา “ขยุ้ม” เรื่องราวชาว Renaissance 5555 ชอบศัพท์เห็นภาพมาก ๆ มาค่ะ ... ตามไปเป็น “แมงมุม... แมงมุมขยุ้มหัวใจ” กัน (เพลงดักแก่โคตร ๆ 5555 ใครร้องตามได้แปลว่าเราเปิดเจอเพลงของแสงรวี อัศวรักษ์ในยูทูปพร้อม ๆ กันเลยข่าพี่น้องงงง 555 ... งุ้ย สภาพพพพ)
ออกทะเลแต่หัววันเลย 555 กลับเข้าอ่าวไทยมาก๊อนนนน ... ตามไปขยุ้มเรื่องราวกับ อ.ภากรและคุณเอ๋กันดีกว่าค่า ว่าทำไมยุคเรอเนสซองส์นี้ถึงได้มีศิลปินที่ไม่น่าจะเรียกว่าศิลปินซะทีเดียวเกิดขึ้นมากมายราวกับดอกเห็ดแชมปิยองหน้าฝน (เห็ดแชมปิยองมันขึ้นหน้าฝนหรือเปล่านะ 555 ช่างมัน ความเม้าท์เมามันพาไป อย่าซี ... อย่าซี)
(วันนี้มีคนมาบอกว่าอ่าน BenNote แล้วสนุก ภาษาวัยรุ่นดี 555 ดีใจที่คนอ่านไม่รำคาญเยาวรุ่นนะค้า ข่อมค่า ... (ถ้าเวิ่นเพิ่มอีกนิด คนน่าจะไม่ทนละ 555 ไปอ่านเรื่องราวของ Renaissance Men กันต่อดีกั่ว)
ที่บอกว่าศิลปินสมัยนี้ไม่น่าจะเรียกว่าศิลปินนี่ไม่ใช่อะไรนะคะ คือเราหมายถึงว่าพี่ ๆ เค้าเก่ง เค้าเทพ เค้าเมพหลายสิ่งติงมาก ๆ นั่นเองค่ะ เรียกได้ว่าเป็นอัจฉริยะ ทุกคนมีความเชี่ยวชาญ ความรู้ความสามารถในศาสตร์หลายสาขา
อย่างพี่ Michelangelo ที่จะขึ้นไปเพ้นท์เพดานโบสถ์ก็ต้องคิดวิธีตะกายขึ้นไปให้ถึง ต้องออกแบบ Catwalk / Tiered Scaffolding ตั่ง ๆ นานาเอง สถาปนิกก็ต้องรู้เรื่องวิศวกรรม เมื่อมองจากสายตาของมนุษย์เฉพาะทางแบบคนรุ่นใหม่ มนุษย์เรอเนสซองส์จึงน่าสนใจมากๆ นะคะว่าไหม เพราะเป็นคนที่ไม่ใช่แค่ “สนใจ” แต่ยัง “ลึกซึ้ง” กับความรู้ที่หลากหลายวาไรตี้มาก ๆ อีกทั้งหยิบมาใช้ นำมาเชื่อมโยงกันได้เจ๋งมาก ๆ ด้วย
การชวนคุยวันนี้ อ.ภากรตั้งชื่อตอนว่า “การแข่งขันต่อสู้สร้างอัจฉริยะ” ... จาก 4 ep. ที่แล้ว เราได้ฟังกันมาเรื่อย ๆ ว่าพี่ ๆ Renaissance Man ทั้งหลายเค้าแข่งกัน ขิงกันเว่อร์ ๆ จริง ๆ และการแข่งขันกันก็ทำให้งานของแต่ละคนออกมามหัศจรรย์มาก ๆ วันนี้จะได้ฟังอาจารย์วิเคราะห์เจาะลึกกัน ... WOWWWW … น่าตื่นเต้นมาก ๆ เบยยยย ป่ะ ตามมาจะพาไปฟังค่ะ
💖💖
-------------------------------------
***4 ep. ที่เบ็นพูดถึงคือ 4 เรื่องนี้นะคะ
- Monalisa ทำไม่ภาพนี้ของ Davinci จึงโด่งดัง
- เจาะลึกความ “ไม่ธรรมดา” ของ Davinci’s The Last Supper
- Sistine Chapel Ceiling งานที่ไม่น่าเป็นไปได้ของ Michelangelo
- The Last Judgement วันสิ้นโลกในสายตา Michelangelo
ทั้งหมดดูได้ใน Album #BenNote Journey with Arts นะคะ
------------------------------------
🥰🥰
เอาล่ะมาเข้าเรื่องของ ep. นี้กันค่ะ มีหลายคนตั้งคำถามกันว่าทำไมศิลปินยุคนี้เก่งจังแฮะ มีคนสำคัญ ๆ ที่สร้างสรรค์งานชิ้นสำคัญออกมามากมาย เอาแค่ Michelangelo คนเดียวก็ โอ้โหวววววววววววว คือต่อให้ทั้งชีวิตพี่โล่ทำงานแค่ชิ้นเดียวคือ fresco บนเพดาน Sistine Chapel เราก็ต้องยอมพี่เค้าแล้ว
นี่ยังไม่นับ The Last Judgement ไหนจะงานประติมากรรมระดับโลกที่เสร็จสมบูรณ์อีกนับสิบชิ้น (ไอ้ที่ไม่เสร็จอีกมากมาย เราไม่ต้องนับ แห่ะ) แล้วยังงานออกแบบสถาปัตยกรรมอี๊กกกก (#จารย์ภากรเสียงสอง ... มันทำได้ยังง้ายยยยย 555) งานชิ้นท้าย ๆ ทำตอนอายุเยอะมากแล้วด้วย เอ๊ะ พี่ ๆ เค้า #เอาแรงผลักดันมาจากไหน?
คุณเอ๋บอกว่าไม่ต้องดูงานชิ้นท้าย ๆ หรอก เอาแค่ The Last Judgement ที่ต้องปีนขึ้นไปวาดผนังใหญ่เบอร์นั้น ตอนอายุ 60 กว่า ๆ นี่ก็ต้องกราบพี่เค้าละ ... จริงงงงงงงงงงงง เห็นด้วยเบอร์แรงค่า ทำได้งัยวะ (164 ตรม. เอ๊ง เบา ๆ เนาะ)
คนเราถ้าจะสามารถทำอะไรได้มากมายขนาดนี้ มันต้องมีแรงขับ มีพลังงานบางอย่าง อ.ภากรมานั่งตรองดูแล้วก็คิดว่าน่าจะเป็นเพราะมันมีการแข่งขันที่สูงมาก ๆ ในยุคนั้นค่ะ คือถ้าไม่เก่งไปเลยก็คงต้องจมดินไปเลยแหละ นี่จึงเป็นที่มาของชื่อ ep. นี้ … จะว่าไปยุคปัจจุบันของเรา ๆ นี้ก็ไม่แพ้กันนะคะ ยุคนั้น Reformation ยุคนี้ก็ Transformation … Renaissance Man ก็ M-Shaped Skills Talents สมัยนี้นั่นแหละ ไปดูกันค่ะว่า M-Shaped แบบเราจะเอาทักษะและจิตวิญญาณอะไรของพี่ ๆ เรอเนสซองส์มาใช้ได้บ้าง
ก่อนจะไปถึงเบื้องหน้า เบื้องลึก เบื้องหลัง เรามารู้จัก 2 คำนี้กันก่อนค่ะ
The Renaissance and Reformation
การฟื้นฟูและการปฏิรูป
Renaissance เป็นภาษาฝรั่งเศส = Rinascimento ในภาษาอิตาเลี่ยน = Rebirth ในภาษาอังกฤษ ซึ่งก็คือ การเกิดใหม่ หรือการฟื้นฟูศิลปวิทยาการกรีกและโรมัน เอา classical concept / philosophy ต่าง ๆ ที่หายไปในช่วงยุคกลาง (Medieval) กลับมาฟื้นฟูใหม่
Reformation ก็คือการปฏิรูป (ศาสนา)
มาเรียน ปวศ. กันนิดนุงค่ะ (เล่าเท่าที่จำมานะคะ ไม่ถูกต้องเป๊ะ ๆ ต้องขออภัยไว้ก่อนเลยนะคะ เอาพอเห็นภาพรวมเนาะ) จะพูดถึง Renaissance ก็ต้องพูดถึงยุคกรีก โรมัน และยุคกลางนะคะ คือช่วง 300 ปีแรกของการเกิดคริสตศาสนา ก่อนหน้าที่จักรพรรดิ์ Constantine จะขึ้นมาเป็นใหญ่ในอาณาจักรโรมันและยกย่องศาสนาคริสต์ขึ้นมาเป็นศาสนาแห่งอาณาจักร ชาวคริสต์ถูกกดขี่ข่มเหงอย่างรุนแรงมาก เพราะขัดแย้งกับความเชื่อเดิม (ศิลปะกรีกโรมันจะเน้นรูปเคารพของเทพเจ้า แต่คริสต์นับถือพระเจ้าองค์เดียว ไม่นับถือรูปเคารพต่าง ๆ)
พอจักรพรรดิ์ยกย่องนับถือศาสนาคริสต์ขึ้นมา ทั้งอาณาจักรโรมันก็กลายเป็นคริสเตียน focus ของศาสนาย้ายไปอยู่ที่ Bible … ผู้คนจึงทิ้งปรัชญาและความเชื่อทั้งหลายของกรีกไปด้วย
และเพราะความเชื่อคำสอนทั้งหลายมันแทรกอยู่ในเทวตำนานต่าง ๆ งานศิลปะกรีก พวกประติมากรรม รูปปั้นเทพเจ้าทั้งหลายจึงต้องพลอยอาภัพดับแสงตาม ๆ กันไป ... เรียกว่ากรีกมัน out ตกกระแสว่าซั่น ... แต่ก็ไม่ได้ทิ้งไปหมดนะคะ อะไรดีศรีก็ว่าดี คืออะไรที่ไม่ขัดแย้งกับสิ่งใหม่ ที่ยังไปต่อได้เช่นรูปแบบสถาปัตยกรรมกรีกก็ยังคงได้รับการนำมาปรับใช้ หรือบางอันก็ไม่ปรับ ยกมาทั้งยวงเลย เช่น วิหารแพนธีออน ... งี้ ...)
หลังจากนั้นก็เข้าสู่ยุคกลาง (Middle Age) ซึ่งรู้จักกันในอีกชื่อว่า Dark Age คือเป็นยุคที่ไม่ต้องหืออือค่ะ ศาสนจักรเป็นใหญ่ เป็นศูนย์กลางของจักรวาล ทุกอย่างต้องเป็นไปตามคำสอนของพระเจ้า (ตามที่ศาสนจักรจะอ้างล่ะนะคะ)
ชื่อเล่นว่า Dark Age หรือยุคมืดไม่ได้มาเล่น ๆ ค่ะ มันเป็นคำเปรียบเทียบของความมืดมนแห่งปัญญา แห่งศิลปวิทยาการ คือไม่ใช่ว่าคิดไม่ได้นะคะ แต่ต้องคิดไปในทิศทางเดียวกันเท่านั้น ใครคิดต่างก็กลายเป็นพ่อมดแม่มดหมอผีกันไป (ไม่ใช่ Harry Potter อ่ะเนาะ แน่นอนว่าจะไม่ได้เกิดบน Box Office แน่ ๆ ค่ะ 555 แค่เอาตัวให้รอดไม่ถูกเผาให้ได้ก่อนนน)
ซึ่งอิ Dark Age นี่กินเวลายาวน๊านนนนน…นานมากกกก นานถึง 900 ปีเลยทีเดียว (ขุ่นพระ!!) คือตั้งแต่ศตวรรษที่ 5 – 14 นับตั้งแต่การล่มสลายของอาณาจักรโรมัน (the Fall of the Roman Empire) กว่าจะเงยหน้าฟ้าใสกันในยุค Renaissance จำเนียรกาลก็ผ่านไปเกือบพันปีแน่ะค่ะ
ยุค Renaissance เป็นยุคที่ผู้คนกลับมาให้ความสนใจ ฟื้นฟูศิลปะวิทยาการของกรีก-โรมันขึ้นมามีความแตกหน่อต่อยอดออกไปจนเกิดทั้งงานศิลปะและนวัตกรรมเปลี่ยนโลกมากมาย อะไรที่เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิด + กระตุ้น + สนับสนุนให้ Renaissance เฟื่องฟูกันนะ
อ.ภากรสะระตะมาให้ว่าเส้นทางของ Renaissance เกิดจาก 10G ค่ะ 😊 นั่นก็คือ The 10 “Great” Factors เออร์ๆๆๆๆ ดังต่อไปเน้ๆๆๆๆ
1.
Great Collapse
การล่มสลายของโรมันตะวันตก
หลังจากจักรพรรดิ์ Constantine ขึ้นครองอำนาจและย้ายเมืองหลวงจากโรมไป Constantinople (Istanbul ในปัจจุบัน) อาณาจักรโรมันก็ถูกแยกเป็น 2 ส่วนคืออาณาจักรโรมันตะวันตกศูนย์กลางอยู่ที่ Rome และอาณาจักรโรมันตะวันออกศูนย์กลางอยู่ที่เมืองหลวงใหม่ แม้แต่ศาสนาจักรพรรดิ์ Constantine ก็แยกออกมาตั้งนิกายใหม่เป็น Orthodox ในขณะที่โรมหรือฝั่งตะวันตกยังเป็น Catholic
อาณาเขตของอาณาจักรโรมันในช่วงที่รุ่งเรืองที่สุดค่ะ สีแดงนั่นคือใช่หมดเลย
การล่มสลายของโรมันตะวันตกเกิดขึ้นเพราะอำนาจของจักรพรรดิ์ไปไม่ถึง ความกว้างใหญ่ของอาณาจักรทำให้ไม่สามารถ control เมืองต่าง ๆ ในฟากตะวันตกที่อยู่ไกลออกไปได้ แม้จะตั้งคนไปปกครองแต่พอเกิดอะไรขึ้นเช่นมีคนมาบุกกว่าข่าวจะมาถึงศูนย์กลางที่ฝั่งตะวันออกความช่วยเหลือก็ไปไม่ทันแล้ว แล้วจะอยู่ใต้จักรพรรดิ์ไปทำซากวิหารอะไรใช่ไหมคะทุกคน
นอกจากความช่วยเหลือที่มาไม่ถึงแล้ว การที่จักรพรรดิ์อยู่ไกลก็ทำให้ผู้ดูแลที่จักรพรรดิ์ส่งไป ฮั้วกะเจ้าเมืองต่าง ๆ ได้ง่ายไปอีก เอ้าไม่มีตังค์เหรองั้นหยวน ๆ ไม่ต้องส่งส่วยก็ได้ หรือส่งแล้วบอกไม่ส่งก็ได้ ใครจะเช็คได้เนาะ ... corrupt ง่ายไปอีก
นี่ทำให้อาณาจักรโรมันฝั่งตะวันตก (ก็คือยุโรปในปัจจุบันนั่นแล) แตกออกเป็นเสี่ยง ๆ ประมาณศตวรรษที่ 5 ก็กระจัดกระจายไม่รวมกันเป็นหนึ่ง เมืองต่าง ๆ ปกครองตัวเองกันอย่างอิสระ ไม่ขึ้นกับ Rome อีกต่อไป
2.
Great Disaster
สงครามคือหายนะ
ใน 900 กว่าปีของยุคกลาง มีสงครามตลอดเวลาและมีสงครามใหญ่ที่ยาวนานมากกินเวลากว่า 200 ปีนั่นคือสงครามศาสนาที่ชื่อว่าสงคราม Crusade ค่ะทุกคน การรบกันของอิสลามกับคริสต์ตั้งแต่ 1095 – 1291 เพื่อแย่งชิงดินแดนศักดิ์สิทธิ์ ... เยรูซาเล็ม (อิสราเอล) ซึ่งทำให้สูญเสียคนไปจำนวนมหาศาล (ทั้งทหารและพลเมือง)
สงครามครูเสดมันกินเวลายาวนานก็จริง แต่ไม่ใช่ว่ารบกันทุกวี่วันตลอด 200 ปีนะคะ ใครเคยอ่านมหาภารตะจะเข้าใจ การรบสมัยก่อนมันจะเป็นอารมณ์แบบว่า รบ - พัก - รบ - พัก วนไปค่ะ อย่างสงครามครูเสดนี่ก็รบกัน 8-9 รอบแน่ะ และใน 8-9 รอบนี้ Italy ผู้ซึ่งไม่ค่อยมีกองกำลังหรือขุนน้ำขุนนางก็จะไม่ค่อยได้มีบทบาทในการรบค่ะ แต่ Italy กลายเป็นศูนย์กลางทางการรบ!!!
ยังงัยซิ?
ประเด็นคือ Italy นางเป็นทางผ่านที่ทุกกองกำลังต้องเดินทางผ่านเพื่อไปรบ (คนร่วมรบมาจากทั่วยุโรป เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เสปน) สิ่งที่เกิดขึ้นคือเมืองต่าง ๆ ของ Italy เฟื่องฟูไปเลยจ้ะ เพราะทุกกองกำลังต้องซื้อหาโน่นนี่ ตระเตรียมเสบียง เติมเสบียงไปรบ ... การค้าขายจึงรุ่งเรืองอู้ฟู่มาก และเกิดเมืองท่าใหม่ขึ้นเช่น Pisa, Genoa, Venice
แผนที่แสดงตำแหน่ง Italy และ Jerusalem
กว่าจะจบสงครามเมืองใหม่เหล่านี้ก็ค่อย ๆ ใหญ่ขึ้น ๆ ๆ และเมื่อจบสงครามก็นำพา Italy สู่จุดสูงสุด กลายเป็นมหาอำนาจของยุโรปไปเลย
เอ๊ะ ... สำหรับ Italy แบบนี้เรียกว่าหายนะไม่น่าจะได้เนาะ #วิกฤติของคนหนึ่งอาจเป็นโอกาสของอีกคนได้เสมอ ... แบบที่ The Great Disaster ทำให้เกิดความเจริญทางการค้าขึ้นในคาบสมุทรแห่งนี้
3.
Great Travelling
การเดินทางที่ยิ่งใหญ่
หลังสงครามครูเสด ก็เข้าสู่ยุคสำรวจโลกเพื่อหาดินแดนใหม่ค่ะทุกคน และการเดินทางที่ยิ่งใหญ่ของมาร์โคโปโลก็เกิดขึ้นในปี 1300 ที่จริงในยุคก่อนหน้านี้ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีความพยายามที่จะขยาย horizon นะคะ แต่ด้วยความที่เทคโนโลยีการสร้างเรือการเดินเรืองยังไม่ดี ส่วนใหญ่ก็เลยจบที่ก้นทะเลค่ะ (เลยมีอาชีพงมสมบัติใต้ทะเลมาให้เราเลือกเป็น career path เนาะ)
มาร์โคโปโลเป็นนักเดินทางคนแรกที่เดินทางไปถึง central Asia >> จีน แล้วเดินทางกลับมาได้ แต่แค่เดินทางคงไม่ดังและไม่มีอิทธิพลกับโลกมากเท่านี้ ถ้ามาร์โคโปโลไม่ได้เขียนหนังสือเล่ามันเอาไว้ด้วยนะคะ หนังสือ The Travel of Marco Polo มีอิทธิพลทำให้ไอเดียการ travel แพร่กระจายออกไปอย่างกว้างขวางมาก เพราะพี่เค้าเขียนบรรยายถึงสิ่งประหลาดมหัศจรรย์ทั้งหลายที่ได้พบ สิ่งที่ไม่มีในบ้านเมืองของตัวเอง
เช่นการได้ไปเห็น Rain Forest ที่มีความหลากหลายของต้นไม้ใบหญ้า เห็น Bird of Paradise ที่สีสรรเทคนิคคัลเล่อร์มาก ๆ ไหนจะสัตว์นานาพันธุ์ อ.ภากรบอกว่าเอาแค่งูอย่างเดียวทั้งยุโรปก็สู้ไม่ได้แล้ว เขตอบอุ่นมีงู 2 สายพันธุ์เท่านั้น มาเจอเขตร้อนบ้านเรานี่มีเป็น 1,000 ชนิดกันไปเลย แล้วจะไม่ตื่นเต้นยังไงไหว
“I did not write half of what I saw, for I knew I would not be believed…” Marco Polo
Marco Polo
4.
Great Disaster #2
การเดินทางที่ยิ่งใหญ่ พามาซึ่งโรคระบาดที่ใหญ่ยิ่ง (กรำ...)
เหรียญมี 2 ด้านเสมอนะคะ ในขณะที่การเดินทางทำให้เกิดความรุ่งเรืองทางการค้า การเปิดโลกทัศน์ใหม่ ๆ แต่มันก็ทำให้เกิดสิ่งที่ไม่คาดคิดตามมาด้วย คนไม่ใช่สิ่งมีชีวิตเดียวเดินทางไป-มามา เชื้อโรคก็ตามรอบเท้าเราไปด้วย การเดินทางที่แพร่หลายทำให้เกิดโรคระบาด Black Death ขึ้นในยุโรปในปี 1347
โรคนี้เริ่มจากเอเชียแล้วไประบาดหนักในยุโรปค่ะทุกคน คนยุโรปตายไปเยอะกว่าคนเอเชียมาก อ.ภากรบอกว่าน่าจะเป็นเพราะเป็นเชื้อประจำถิ่นฝั่งเอเชีย คนทางนี้จึงมีภูมิต้านทานและ recover ได้ แต่เชื้อนี้เป็นสิ่งแปลกปลอมสำหรับฝั่งยุโรป ปรากฏว่าระหว่าง 1348 – 1350 มีคนตายไป 75 – 200 ล้านคน ตายกันเป็นเบือเลยค่ะ
บางเมืองคนตายไป 50-60% ของจำนวนประชากร ยิ่งทางยุโรปมีประเพณี “ฝัง” ไม่ได้เผาศพ โรคเลยยิ่งระบาดง่ายและรุนแรงได้มาก เฉพาะ Italy คนตายไป 1 ใน 3 ทำให้เกิดการล่มสลายและการเกิดใหม่ของเมือง เช่น The Fall of Siena VS The Rise of Florence
Siena เคยเป็นเมืองที่รุ่งเรืองมาก รุ่มรวยอารยธรรม และมีนวัตกรรมสูงมาก (Innovative Technology) เช่น มีระบบส่งน้ำ มี spa น้ำอุ่น ต้องล่มสลายไปเพราะคนตายเยอะมาก คนที่เหลือก็ทิ้งเมือง (คือนึกสภาพว่ามีหลุมศพใหม่ ๆ ของคนครึ่งเมืองอยู่เต็มไปหมดสิคะ ตรงโน้นหลุม ตรงนี้หลุม เป็นเราก็คงย้ายหนีอ่ะเนาะ)
ในขณะที่ Florence มีคนตายน้อยกว่า สามารถผ่านวิกฤติ Black Death มาได้ เลยกลายเป็นเมืองที่โดดเด่นขึ้นมาแทน
ด้วยการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรและของเมือง The Great Disaster ครั้งนี้จึงก่อให้เกิด G ต่อไปตามมาค่ะ นั่นก็คือ ...
5.
Great Social Change
ในยุคกลาง (Medieval) โครงสร้างประชากรของยุโรปเป็นแบบนี้ค่ะ
- 80% เป็นชาวนาในระบบ feudal (ศักดินา)
- 20% เป็นชนชั้นปกครอง (กษัตรย์ ขุนนาง นักบวช)
พอมีคนตายเยอะ ๆ บวกกับมีการเดินทางกันอย่างแพร่หลายทำให้เกิดชนชั้นใหม่ขึ้นมาในสังคม นั่นคือกลุ่มพ่อค้า ซึ่งถือเป็นชนชั้นกลาง (middle class) มีรายได้เป็นของตนเอง คนพวกนี้เริ่มลืมตาปากได้ โครงสร้างประชากรเปลี่ยน โครงสร้างทางสังคมก็เปลี่ยน
กลุ่มที่เริ่มเรืองอำนาจขึ้นมาและมีความสำคัญในยุคนี้คือตะกูล Medici ซึ่งเริ่มสร้างตัวจากการเป็นพ่อค้าวานิช แล้วตั้งธนาคารของตนเองซึ่งประสบความสำเร็จมากสามารถขยายไปทั่วยุโรปในยุคต่อมา เงินมาพร้อมอำนาจตระกูล Medici ขึ้นเป็นเจ้าเมืองในที่สุด
รวยแล้วต้อง celebrate ค่ะ ยุคนี้ยังไงไม่รู้ล่ะนะคะ ยุคนั้น “They used the artists to celebrate themselves” ใช้ศิลปินเพื่อสร้างบารมีให้ตัวเองค่ะ คือรวยเท่ากันจะโชว์เหนือยังไงคะ บ้านนี่สร้างให้ใหญ่เท่ากันตามกันทันได้ แต่ความสวยของบ้านมันเท่ากันไม่ได้ค่ะ บ้านไหนมีศิลปะมากกว่าบ้านนั้นมีบารมี 555
ยุคนี้คนที่มีอำนาจ มีเงิน และกลายเป็นคนที่สั่งสร้างงานศิลปะคือ “พ่อค้า” ... คนรวยนิยมให้ศิลปินสร้างสรรค์ภาพเหมือนของตัวเองขึ้นมา บ้างก็ให้วาดไปอยู่ในภาพของพระแม่มารีและพระบุตร (คือให้วาดตัวเองเป็น saint ว่างั้น) เช่นของ Medici ก็มีภาพ Virgin and Child with St. Anne and members of the Medici family as saints โดย Giovanni Maria Butteri (1540-1606)
Virgin and Child with St. Anne and members of the Medici family as saints by Giovanni Maria Butteri (1540-1606)
6.
Great Support
ยุคนี้เป็นยุคที่ศิลปินได้รับการสนับสนุนอย่างดีงามพระรามแปดเก้าสิบมาก ๆ ค่ะ อย่างที่บอกไปพ่อค้าที่ร่ำรวยขึ้นมาพากันสนับสนุนงานศิลป์ บางคนถึงขึ้นเป็นผู้อุปถัมภ์ให้กับศิลปินกันเลย
Patron หรือผู้อุปถัมภ์คนสำคัญที่อุปถัมภ์ศิลปินไว้จำนวนมากมายหลายสิบชีวิตได้แก่ Lorenzo Medici หรือที่เรียกกันว่า Lorenzo the Magnificent ค่ะ ในซุ้มของพี่ Lorenzo มีศิลปินเจ๋ง ๆ เพียบ อย่างเช่น Michelangelo ที่พี่เค้ารับอุปถัมภ์ตั้งแต่อายุ 14 หรือแม้แต่ Botticelli หนึ่งในอาจารย์ของ Michelangelo ก็ได้รับการอุปถัมภ์จาก Lorenzo
นอกจากรับอุปถัมภ์ศิลปินแล้ว Lorenzo ยังก่อตั้ง The Accademia Platonica di Firenze หรือ Platonic Academy of Florence เพื่อเป็นที่ศึกษาค้นคว้าเอกสารโบราณต่าง ๆ ของกรีกและโรมันด้วย
7.
Great Idea: Humanist
แนวคิดมนุษย์นิยม
ขอแนะนำให้ทุกคนรู้จักกับ “The First Renaissance Man” ค่ะ คุณพี่ Leon Battista Alberti (1404 – 1472) พี่ Alberti เริ่มจากการเป็นนักมนุษย์นิยม คือแกเชื่อมั่นว่ามนุษย์เราทำได้ทุกอย่างถ้าอยากทำ
“A Man can do all things if they will” Leon Battista Alberti
Leon Battista Alberti
แกเลยทำแม่งทู้กกกกอย่าง พี่ Alberti เป็นนักเขียน ศิลปิน สถาปนิก กวี นักบวช นักภาษาศาสตร์ นักปรัชญา และ cryptographer (นักเข้ารหัส) ... แล้วทำทุกอย่างได้ประเสริฐเริ่ดสะแมนแตนด้วยนะคะ
เช่น งาน Façade ของ The Santa Maria Novella church in Florence (Alberti ออกแบบ Façade มาครอบโบสถ์ Byzantine เดิม แล้วงดงามเลื่องลือมาก กลายเป็น World Heritage ในปัจจุบัน)
Façade of The Santa Maria Novella church in Florence by Alberti
หรือจะงานเขียนซึ่งมีมากมายหลากหลายแนวตามความสนใจของพี่เค้า ที่สำคัญพี่ Alberti เขียนตำราปรัชญาสถาปัตย์ที่ยิ่งใหญ่มากเอาไว้ ชื่อ De re aedificatoria หรือ Ten Books on Architecture (1452) ซึ่งมีการแปลในหลายภาษาเลยนะคะ บางฉบับใช้ชื่อว่า On the art of building in ten books (ชื่อนี้เก๋กว่าเนอะ 😊) ซึ่งตำรานี้มีอิทธิพลมากกับ modern and contemporary architecture ในสมัยนั้นและสมัยต่อ ๆ มาค่ะ
มหัศจรรย์แมนจริง ๆ เลย
ก่อนยุคนี้มนุษย์ยังไม่เชื่อมั่นในความเป็นมนุษย์มากนัก (ก็แหงแหละ โดนกดไม่ให้คิดต่างมาตั้งหลายร้อยปีเนาะ) แต่พอเข้า Renaissance … A Man can do all things ของพี่ Alberti นี่กลายเป็นปรัชญาแห่งยุคสมัยนะคะ มนุษย์กลับมาเชื่อมั่นในตัวมนุษย์มากขึ้น เริ่มมีคนกล้าขัดแย้งกับความเชื่อทางศาสนา และกล้าพูดมันออกมา พอพูดได้ 1 คน ... คนที่ 2-3-4-5 ก็ผุด ๆ ๆ ๆ ๆ ตาม ๆ กันมา ความคิดก็เบ่งบานเป็นดอกเห็ดกันไปเลย
✨ ความมนุษย์นิยมนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทัศนศิลป์ตามมาค่ะ งานศิลปะเริ่มมีความเป็นมนุษย์มากขึ้น ดูได้จากภาพพระเยซูค่ะ
- ในยุค Byzantine ขนบในการวาดพระเยซูจะมีความ Devine มีความเป็นเทพ มี Halo ไม่มีริ้วรอยเหี่ยวย่น สไตล์การวาดการให้สีก็จะมาแนวกราฟฟิก ๆ หน่อย
- พอมาถึง Early Renaissance (ปี 1280++) งานจะเริ่มมีความเป็นมนุษย์มากขึ้น มีสีหน้าอารมณ์ เจ็บเป็นเจ็บ เศร้าเป็นเศร้า คือเห็นอารมณ์จริง มีกล้ามเนื้อ มีเลือด พระแม่มารีร้องไห้ก็มีน้ำตาหยดกันไปเลย เช่นใน Martini’s Annunciation (1933) (ตอนนี้อยู่ใน the Uffizi Gallery, Florence) จะเริ่มเห็นความที่พระแม่มารีมีสีหน้าตระหนกเมื่อได้ยินข่าวประเสริฐที่ทูตสวรรค์มาแจ้ง
Martini’s Annunciation (1933)
หรือรูปปั้น Virgin Mary and Christ (Virgin and Child) by Claus Sluter (1385-1393) ที่ท่าทางและการจัดวางองค์ประกอบเปลี่ยนไปเป็นธรรมชาติมากขึ้น จากที่แต่ก่อนพระบุตรจะอยู่ด้านหน้าเสมอ ยุคนี้ศิลปินเริ่มวางองค์ประกอบให้ไปอยู่ข้าง ๆ พระแม่มารีได้ มีการสบตากัน เห็นความสัมพันธ์แม่ลูก แสดงสีหน้าอารมณ์มากขึ้น เน้นความเป็นมนุษย์ ไม่มี halo ... พระเยซูก็ไม่ต่างจากเด็กธรรมดา
Virgin Mary and Christ (Virgin and Child) by Claus Sluter (1385-1393)
หรือสีหน้าท่าทางอารมณ์ของพระแม่มารีและพระเยซูในภาพ Van Eyck’ s Madonna in a Church (1410 – 1425) ที่สมจริง มีนางเม้าท์มอย 2 นางในภาพ สีหน้าก็เม้าท์มอยหอยกาบขั้นสุด
Van Eyck’ s Madonna in a Church (1410 – 1425)
8.
Great Discovery and Invention
ความเฟื่องฟูของศิลปะวิทยาการยิ่งทำให้ศิลปะวิทยาการเฟื่องฟูขึ้นไปอีก มีการค้นพบและคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ขึ้นมากมายในยุคนี้ ทั้งเพื่อตามหาดินแดนใหม่ เพื่อสร้างสิ่งที่คิดให้เกิดขึ้นได้จริง เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และ ... เพื่อการสงคราม (TT__TT อันนี้แซด ๆ หน่อยเนอะ แต่มันก็เป็นยุคของมันอ่ะนะคะ)
การค้นพบ แนวคิดและสิ่งประดิษฐ์เปลี่ยนโลกที่เกิดขึ้นในยุคนี้ก็อย่างเช่น
🟠 1492 Christopher Columbus ค้นพบทวีปอเมริกา (เพราะเรือเดินทางได้ดีขึ้น)
🟠 Nicolaus Copernicus (1473 – 1543) กล้าเสนอความคิดขัดแย้งกับผู้นำทางศาสนาที่เชื่อว่าโลกคือศูนย์กลางของจักรวาล คอปเปอร์นิคัสบอกว่าพระอาทิตย์ต่ะหากตะเอ๊งที่เป็นศูนย์กลางของจักรวาล
🟠 Galileo Galilei (1564 – 1642) ประดิษฐ์กล้อง Telescope
🟠 Leonardo Da Vinci’s Anatomy ... มีการผ่าศพเพื่อศึกษา Anatomy พี่เค้าเอามาผ่าที่บ้านกันไปเลยจ้ะ อาจจะเป็นแฟชั่นนึงของศิลปินเนาะ เพราะพี่ Michelangelo ก็ไม่แพ้ เปิดบ้านผ่าศพเช่นกัลล์ (เค้าว่าผ่ากันเป็นคนละร้อย ๆ ศพนะฮะทั่นผู้ชม)
และเนื่องด้วยมีสงครามรบพุ่งกันตลอดเวลาในดินแดนแถบนี้ Italy เองก็ต้องมีคลังแสงเพื่อป้องการอาณาจักรเนาะ คือ...บางทีไม่อยากรบก็ต้องรบแหละ อย่างเช่นในปี 1494 ฝรั่งเศสก็บุกมาตี...งิ ก็เลยเป็นภาคบังคับว่าศิลปินทั้งหลายของเราซึ่งเป็น Renaissance Man ก็ต้องเป็นที่ปรึกษาเรื่องการต่อสู้ ออกแบบอาวุธ และวางผังเมืองไปด้วยในเวลาเดียวกัน (และทำงานศิลปะ จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม อะไรนั่นไปด้วยนะ ... มือก็ไกว (พู่กัน) ดาบ (ดินสอ) ก็แกว่งจริงจริ๊งงง)
เรียกได้ว่าน้า Da Vinci (1452-1519) และพี่ Michelangelo (1475 – 1564) ต้องควบตำแหน่ง Military Engineer ไปด้วย เราจะเห็นว่าใน sketch book ของ Da Vinci และ Michelangelo มีแบบยุทโธปกรณ์อยู่มากมาย (ในผรั่งเศสมี museum ที่จำลองสิ่งประดิษฐ์จาก sketch เหล่านี้ให้ชมด้วยค่ะ ใครอยากเห็นตามไปดูได้โลด)
(ส่วนตัวเบ็นเอง เบ็นโชคดีเคยได้ดูนิทรรศการ Davinci’s ที่มาจัดที่สิงคโปรค่ะ มี part นี้ด้วย สนุกมาก แค่ได้ลองสร้าง Da Vinci’s Bridge ตาม mechanic ของน้าเค้าก็โคตรจะ amazing ละค่ะ 😉 … ดูจำนวนชิ้นงานมหาศาลที่พี่ ๆ เค้าสร้างสรรค์กันออกมาได้ แล้วก็คิดว่า ... ทำได้ไงวะเนี่ยยยยย 555)
หรือจะเพราะ mindset แบบนี้...
“It had long since come to my attention that people of accomplishment rarely sat back and let things happen to them. They went out and happened to things.” Leonardo Da Vinci
🟠 Johannes Gutenberg (1440) สร้างแท่นพิมพ์สำเร็จ ทำให้การเผยแพร่องค์ความรู้เป็นไปได้รวดเร็วและกว้างขวางอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน และคนที่ใช้การพิมพ์ แล้วก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางศาสนาครั้งยิ่งใหญ่ก็ได้แก่พี่คนถัดไปค่ะ
🟠 Martin Luther’s Conscience Awaken ... ข้อคัดค้าน 95 ข้อของ Martin Luther คงไม่ไปไกลและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ใหญ่ขนาดนี้ถ้าไม่มีแท่นพิมพ์ Gutenberg นึกถึงภาพเราต้องคัดลายมือทีละ copy ดูสิคะ ข้อคัดค้านชุดนึงมี 95 ข้อ วันนึงจะได้กี่ copy เนาะ
ที่จริงตอนเริ่มหลวงพี่ Martin ซึ่งเป็นบาทหลวงที่เคร่งมากก็ไม่ได้ตั้งใจจะต่อต้านนะคะ แค่อยากนำเสนอความคิดเห็นที่ขัดแย้ง อยาก discuss กับ Pope คือมีหลายอย่างที่ผู้นำศาสนาในขณะนั้นทำเพื่อหาเงินเข้าโบสถ์แล้วหลวงพี่แกไม่เห็นด้วย อย่างขายใบไถ่บาปอะไรงี้อ่ะค่ะ (ตอนเริ่มก็อยากคุยกันในวงก่อนแหละ ไม่งั้นแกคงไม่เขียนเป็นภาษาละตินเนาะ) แกเพียงแค่ต้องการให้มีการ Discuss กันให้ประชาชนทราบด้วย แต่ Pope เคืองและ excommunicate แกออกจากศาสนจักร
นั่นเป็นจุดเริ่มของการประท้วง และความต้องการให้คนได้รับรู้ข้อคัดค้านนี้ให้มากที่สุด คราวนี้คนส่วนใหญ่อ่านละตินไม่ได้ใช่ไหม งั้นแปล เอาให้เป็นภาษษธรรมดาที่คนใช้กัน ... อ่านหนังสือไม่ออกใช่ไหม งั้นวาดออกมาเป็นการ์ตูน เมื่อแนวคิดแพร่อกไป เมืองต่าง ๆ เริ่มพากันออกจากศาสนจักร และก่อให้เกิดการรบกันในยุโรปเป็นเวลายาวนานถึง 30 ปีเลยค่ะ
เรียกได้ว่า Protestantism Reformation เกิดขึ้นและ spread out ได้อย่างรวดเร็วเพราะการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์และการ์ตูนคอนเทนต์
นอกจากนั้น “การพิมพ์” ยังทำให้ความรู้และ Bible แพร่ออกไปได้ในหลาย ๆ ภาษา คนสามารถหาความรู้และเรียนรู้ได้เอง ไม่ต้องรอผู้รู้หรือคริสตจักรอีกต่อไป ... เออเนอะ access สำคัญสำหรับ knowledge & wisdom จริง ๆ ค่ะ
นี่เป็นการกระตุ้นให้คนคิดไม่ใช่เฉพาะแค่ในเรื่องศาสนานะคะ แต่ในทุก ๆ เรื่องเลย คนเริ่มตั้งตำถาม หาคำตอบ และท้าทายความเชื่อเดิม ๆ ซึ่งตรงกับปรัชญาของ Renaissance คือ “มนุษย์คิดเองได้” ไม่จำเป็นต้องเชื่อผู้นำทุกอย่าง พอมี Bible ในภาษาที่ตนเองเข้าใจ = คนธรรมดาสามารถ access สู่พระเจ้าได้ เลยเป็น “น้ำหนุน” ให้คนฃยิ่งอยากศึกษา พออ่าน bible ได้เองก็อาจจะค้นพบว่าตัวเองคิดไม่เหมือนที่นักบวชเคยบอกเรา เอ๊ะ หรือนักบวชอาจจะตีความผิด??
กระแสการตั้งคำถามที่ท้าทายอำนาจเดิมแบบนี้ทำให้เกิดการลุกขึ้นสู้ ... นั่นแหละค่ะ ว่าแล้วสงครามก็ตามมาแหละ ทั้งสงครามจริง ๆ และสงครามประชันปัญญา ทักษะ และฝีไม้ลายมือ
-------------------------------
**Ben’s thought หลังจากถูกกดมานาน เบ็นว่าบรรยากาศของยุคสมัยมันน่าจะเต็มไปด้วยความตื่นเต้น คนกระหายใคร่รู้ อยากค้นหา อยากถาม อยากรู้และอยาก “เติม” ตัวเองนะคะ และพอเติมแล้วก็อยากพิสูจน์ อยากอวดให้โลกรู้แหละว่ากูรู้วววว กูรเจ๋งนะทุกโคนนนน มองฉันสิ 😊
-------------------------------
9.
Great Competition
เมื่อมีคนเทพ ๆ เยอะ ยุคนี้ก็มีการแข่งขันสู้งงงงงง เป็นธรรมดาค่ะ จะสร้างอะไรทีเจ้าของเงินก็เปิด audition กันไปเร้ย ใครชนะได้งานไปจ้ะ (โอ้วววว การ pitch มีมาตั้งแต่โบราณกาลเลยทุกค้นนนน) อย่างเช่น ...
💖 Gates of Paradise
ประตูฝั่งตะวันออกของวิหาร Baptistery, Florence Cathedral ซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้าม Duomo ตอนจะสร้าง ทางเมืองประกาศให้ศิลปินส่ง sketch เข้ามาแข่ง มีคนส่ง 12 คน กรรมการคัดเหลือ 2 คนคือ Lorenzo Ghiberti VS Filippo Brunelleschi สองคนนี้ต้องมาแกะชิ้นงาน 1 ชิ้นแข่งกันค่ะ นั่นคือ The Sacrifice of Isaac ซึ่งถ้าเป็นเราก็ไม่รู้จะตัดสินยังไงอ่ะนะคะ มันสวยวิจิตรทั้งคู่เลย แต่กรรมการท่านว่า Ghiberti แหร่มกว่า Ghiberti เลยชนะได้งาน Gates of Paradise นี้ไป
The Sacrifice of Isaac by Lorenzo Ghiberti VS Filippo Brunelleschi
ทายสิคะว่าอีประตูวิหารคู่เดียวนี่ Ghiberti ใช้เวลาไปเท่าไหร่ … 27 ปีเท่านั้นเอ๊งงงงง ห๊ะ!!! ทำตั้งแต่ 1425 - 1452 อ่ะทุกคน บ้าไปแล้ววววว คือมันใหญ่แหละเนาะ ตามประสาหมู่มหาวิหารยุโรป (สูง 5.18ม.) แต่มันไม่ใช่แค่ขนาดค่ะ คือพี่เค้าทำงานยากงานละเอียดละเมียดไปอี๊กกกกกกกกก
Ghiberti's Gates of Paradise (1425 - 1452) by Ghiberti Baptistery Pavilion, Florence
ประตู่คู่นี้เป็นประติมากรรมบรอนซ์ แบ่งเป็น 10 panel เล่าเรื่อง The Old Testament ลองดูภาพที่เบ็นหามาประกอบนะคะ แค่ 1 panels ก็งานยาวววววละ ทำกันตายไปข้าง (ก็ไม่รู้คนจ้างต้องมีตังค์เบอร์ไหนเนาะ งานประตูอย่างเดียวจ้างศิลปินเบอร์นี้มาทำ 27 ปีอ่ะ ... ขนแขนสแตนอัป ขนขาแถว ๆ หน้าแข้งสั่นระรัว ๆ 555)
Ghiberti's Gates of Paradise (1425 - 1452) by Ghiberti Baptistery Pavilion, Florence
Ghiberti's Gates of Paradise (1425 - 1452) by Ghiberti Baptistery Pavilion, Florence
สวยไม่สวยไม่ต้องให้เราการันตีก็ได้ค่ะ เพราะพี่ Michelangelo เห็นประตูนี้แล้วร้องเลยยยย และบอกว่านี่เป็น “Gates of Paradise” และนั่นเป็นที่มาของชื่อประตูนี้นั่นเองค่ะ 😊
"I strove to imitate nature as clearly as I could, and with all the perspective I could produce..." Lorenzo Ghiberti
ตอนนี้ประตูของจริงเค้าถอดไปรักษา (และซ่อม) ในพิพิธภัณฑ์ด้านหลัง Duomo นะคะ น่าจะเข้าไปดูได้ด้วย ส่วนของที่อยู่ตรงประตูทิศตะวันออกตอนนี้เป็นของจำลองที่เหมือนจริงเป๊ะ ๆ เลยค่ะ)
--------------------
ประเด็นคือชีวิตศิลปินยุคนี้ไม่ได้แข่งขันแค่เพื่อให้ได้งานค่ะ ได้งานมาแล้วก็ยังต้องแข่งต่อ คือต้องทำให้เจ๋งกว่าอีผนังข้าง ๆ ที่กำลัง paint หรือแกะอยู่ในเวลาเดียวกันบ้างแหละ จะทำเพดานก็ต้องทำให้ปั๊วะปังอลังเว่อร์กว่าผนังที่รุ่นอาจารย์ทำไว้มั่งแหละ (ถ้าใครจำเรื่องราวของเพดานโบสถ์น้อยซิสทีนของพี่ Michelangelo ได้นะคะ จำไม่ได้ย้อนไปอ่านได้ค่า)
คือมันจะแพ้กันไม่ได้ไงทุกคน เพราะอีผนังโน้นอาจจะชนะเราในงานก่อนหน้า อ่ะเราต้องพิสูจน์ว่าเราเจ๋งกว่าเว้ย คนรวยคะ...คุณเลือกผิดค่ะ (อินเน่อร์เชิด ๆ ต้องมา 555) หรือถ้าเราเป็นฝ่าย pitch ชนะเมื่องานก่อน ก็ยิ่งแล้วใหญ่ เพราะเราต้องพิสูจน์ให้ Patron รู้ว่า ท่านคิดไม่ผิดนะเว้ย (ไม่งั้นงานต่อไปมีนกนะทุกคน) ... บรรยากาศมันเลยเต็มไปด้วยกันแข่งขันที่เจ้มจ้นนนนน ทำงานกันเอาเป็นเอาตายไม่ต้องหลับต้องนอนจ้ะ
ตัวอย่างเช่น ...
💖 Palazzo Vecchio
The Battle of the Battle Frescos: Leonardo vs Michelangelo in Florence’s Palazzo Vecchio ค่ะมาวาดผนังแข่งกันค่ะ อย่าคิดถึงผนังจิ๊บ ๆ กุ๋มกิ๋มนะคะ มันคือผนังที่ใหญ่ม๊ากกกกกกกเพราะเป็นผนัง Town Hall เมือง Florence ข่า ... ตามเคย เมืองก็คัดสรรว่าใครจะได้มาวาดผนังศาลากลางเนาะ (เรียกศาลากลางแล้วคิดถึงงานกาชาดมากกว่างานศิลป์แฮะ 555)
ปรากฏว่าได้มาเป็น 2 ผู้ยิ่งใหญ่แห่ง Renaissance ค่ะ คราวนี้มันก็เลยเหมือนเป็นศึกแห่งศักดิ์ศรีระหว่าง generation นะคะ เพราะตอนเริ่มวาด Michelangelo อายุ 50 ปีแล้วค่ะ ขณะที่ Da Vinci อายุ 29 เอง กะลังวัยสะรุ่น 😊 เอ๊ะ เค้าวาดอะไรกันนะ .. ช่วงนั้นเป็นช่วงสงคราม เก๊าะต้องวาดชัยชนะอวดชาวบ้านชาวเมืองค่ะ
2 คนนี้วาดผนังกันคนละด้าน ประชัดกันฟุ่ด ๆ
- Da Vinci วาดสงครามระหว่าง Florence กับ Pisa
- Michelangelo วาดสงครามระหว่าง Florence กับ Milan
สรุปไม่มีใครวาดเสร็จสักคน (ก็โอ้โหวววว ขนาดจะใหญ่กว่าสนามบอลแระ แล้ว Fresco เนาะ ไม่ใช่จะวาดง่าย ๆ) คนที่มาเก็บงานคือ Vasari ค่ะ (มีการวาดทับลงไปด้วยนะคะ ตอนหลังจะซ่อมมาเจาะลงไปดูพบภาพ Sketch ของ Da Vinci อยู่ใต้งาน Vasari งี้)
The Battle of the Battle Frescos: Leonardo vs Michelangelo in Florence’s Palazzo Vecchio
-----------------
นั่นแหละค่ะชีวิตชาว Renaissance การแข่งขันสูงม๊าก คุณต้องทำให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อ survive ในสังคมแบบนี้ เพื่อรักษาอันดับ 1 ของตัวเองไว้ให้ได้ ตลอดเวลาที่วาดหรือทำงานต่าง ๆ กันอยู่ ต่างคนต่างก็จะรู้นะคะว่ามีใครทำอะไรอยู่ตรงไหนบ้าง มันก็จะมีข่มมีขิงกันตลอดเวลา วันเผยผลงานให้โลกเห็นนี่เป็นวันหน้าใหญ่หน้าโตกันแหละ ถ้าออกมาแล้ว ... อุ๊ย!!! … อ่ะ มันก็ไม่ได้นะวิ
การแข่งขิงกันนี้ทำให้ทุกคนฝันใหญ่ ฝันไกลและพยายาม achieve สิ่งที่ยากกว่าเดินขึ้นไปเรื่อย ๆ คือไปให้เกินศักยภาพปัจจุบันเสมอ มันก็มีที่ล้มเหลวนะคะ แต่คนไม่จำ 100 เรื่องที่คุณล้มหรอกใช่ไหม คนจำ 1 เรื่องที่คุณทำสำเร็จ ถ้ามัน Out of the Universe จริง ๆ เหมือนที่ไม่มีใครจำ The Unmade Horse ของ Da Vinci ได้ จำได้แต่ Monalisa นั่นแหละค่ะ
ที่สำคัญไอ้งานที่คุณสร้างไม่เสร็จ ถ้าคุณยิ่งใหญ่พอ ก็จะมีคนสร้างมันจนเสร็จ แม้เมื่อคุณไม่อยู่ในโลกนี้แล้ว เหมือนที่ The Unmade Horse กลายเป็นพี่บึ้ก “Il Gran Cavallo” ในอีก 500 ปีต่อมาค่ะ
-----------------
💖 “Il Gran Cavallo”
Da Vinci’s Unmade Horse, made 500 years later
พี่ม้ายักษ์แห่งมิลานตัวนี้ Da Vinci ออกแบบให้เจ้าเมืองมิลาน Ludovico Sforza ในปี 1482 ค่ะ ตามฝัน Da Vinci จะหล่อม้าบรอนซ์สูง 24 ฟุต (7.2 เมตร) คือมันอภิมหาโค-ตะ-ระหยั่ยอ่ะทุกคน (สำหรับสมัยนั้นนะคะ) ลองคิดดูว่าม้าใหญ่ขนาดนี้จะปั้นแบบดิน ทำแบบปูน หล่อบรอนซ์กันอีท่าไหน แล้วมันจะต้องใช้ทรัพยากรทั้งดิน ทั้งปูน ทั้ง Bronze เยอะเบอร์ไหน แล้วคนอีกล่ะ
แต่พี่ Davin Ci ซะอย่าง สบายไป 8 อย่าง พี่เค้าออกแบบ ทำการค้นคว้า มี sketch และวางแผนการสร้างจบหมดละ ว่ากันว่าต้องสร้างโรงงานใหม่หมด เพราไม่มีโรงไหนทำงานชิ้นใหญ่ขนาดที่พี่เค้าต้องการได้ ทั้งโรงปั้น โรงหล่อ อ่ะ...โรงงานเสร็จ พี่เค้าก็เริ่มสร้างม้า ขั้นตอนแรก ... ปั้นแบบดิน (clay model) กันค่าทุกโคน ...
พอปั้นแบบดินเสร็จ โชคชะตาก็นะ ดั๊นเกิดสงครามว่ะแกรรร อิฝรั่งเศสยกพวกมาบุก Milan ปัญหาเกิด!!! ช่วงหน้าสิ่วหน้าขวานต้องป้องกันเมือง เจ้าเมืองจะมัวเอา Bronze มาทำม้าเล่นก็คงไม่ได้ละ ต้องเอาไปตีอีดาบก่อนหงิ ... เคราะซ้ำกรำซัดของพี่ม้า พอสงครามจบ ยังไม่ทันจะได้ทำต่อพี่ Da Vinci ของเราก็ลาโลกกลับสวรรค์ไปซะก่อน งานชิ้นนี้เลยค้างเติ่งอยู่แบบนั้นไม่มีโอกาสสร้างให้เสร็จ
ละความขิงความข่มกันของศิลปินก็บังเกิด 555 พี่โล่ (Michelangelo) มาเห็นว่าทำม้าจริงไม่สำเร็จ ก็เลยเรียกพี่ชี่ว่า Horse Modeller … แหม่ พี่เค้าก็นะ
Sketch ของ “Il Gran Cavallo” Da Vinci’s Unmade Horse, made 500 years later
อาจารย์ตุ้ยเล่าจบไว้เท่านั้น แต่ความสนุกก็ทำให้เบ็นไปค้นต่อ ได้ความมาว่า... ในที่สุดก็มีการสร้างต่อนะทุกคน ... อย่างที่เบ็นบอกค่ะ ถ้าเป็นศิลปินที่ยิ่งใหญ่ งานเราไม่จบก็จะมีคนมาจบให้เราเอง เนื่องด้วย sketch ทั้งหมดของพี่เค้ายังอยู่ 500 ปีต่อมาศิลปินในยุคปัจจุบันนี้ก็เลยเอาแบบของ Da Vinci มาสร้าง จนออกมาเป็นพี่ “Il Gran Cavallo” จนได้ แล้วไม่ได้สร้างตัวเดียวนะคะ มีพี่ม้า Da Vinci นี่อีก 5-6 ตัวทั่วโลกค่ะ แต่ถ้าอยากเจอพี่ตัวแรกในเมืองที่เค้าควรจะเกิดก็ไปเยี่ยมพี่ม้ากันได้ที่มิลานน้า
“Il Gran Cavallo” สร้างตาม Sketch ของ Da Vinci’s Unmade Horse ในอีก 500 ปีต่อมา
พี่ม้าบึ้กนี่เป็นตัวสะท้อนให้เราเห็นได้ดีเลยนะคะว่า Da Vinci เป็นคนมีความทะเยอทะยานในการสร้างสรรค์ผลงานมาก ๆ เพราะตัวพี่ชี่เองก็ต้องรู้ข้อจำกัดของการหล่อ Bronze ขนาดใหญ่เบอร์นี้ (ในสมัยนั้น) แหละว่ามีอะไรอยู่บ้าง แต่พี่เค้าก็ยัง #ฝันที่จะทะลุข้อจำกัด และตั้งใจจะทำมันออกมาให้ได้
ความขิงข่าตะไคร้ใบมะกรูดมันไม่ได้เกิดขึ้นแค่แง่งสองแง่งนะคะ ในยุคแห่ง Renaissance Man นี้มันเกิดขึ้นรัว ๆ ทุกหัวระแหงค่ะ บางทีก็แค้นฝังหุ่นตามมาขิงข้ามรุ่นกันเป็นหนังจีนกำลังภายในเลย แก้แค้นให้รุ่นพี่ ให้อาจารย์ก็มา 555 เอาแค่พี่ Michelangelo ก็มีหลายคดีเลย
💖 ความขิงข่ากะ Bramante
อันนี้พื้นที่ปลูก “ขิง” คือเพดานโบสถ์น้อยซีสทีนค่ะ Michelangelo ตั้งใจทำให้เป็นอภิมหึมามหางานศิลป์ Fresco เพราะแค้นฝังหุ่นที่พี่ Bramante ไปบอก Pope ให้ระงับงานสร้างที่ Pope ตั้งใจจะให้พี่โล่เป็นประติมากร (ซึ่งเป็นงานที่พี่โล่จะได้ทำประติมากรรมแนว Pieta / David มากถึง 40 ตัวอ่ะทุกคน)
และพี่โล่เชื่อว่า Bramante เป็นคนยุให้ Pope ให้งานที่ยากมาก ๆ กับพี่โล่ เพื่อให้พี่โล่ทำงานล้มเหลว ... แค้นนี้ต้องชำระ (พี่โล่เป็นประติมากรแต่ได้งานจิตรกรรมบนเพดานโบสถ์ที่ใหญ่เกือบเท่าหนามบอลอ่ะคิดดู)
นอกจากแค้น Bramante แล้ว ยังมีแค้นอื่นและขิงแง่งอื่นที่ทำให้พี่โล่บ้าเลือดรับงานนี้ทั้งที่มันยากมาก ๆ ด้วยนะคะ นั่นคือ
1. เพราะ Sangaro ซึ่งเป็น Mentor ของ Michelangelo แข่งแพ้เสียงาน St. Peter’s ให้ Bramante นอกจากแก้แค้นให้ตัวเองแล้ว ยังแก้แค้นให้พี่เลี้ยงเลือดฟลอเรนทีนเหมือนกันได้ด้วยอีกดอก
2. เพราะอาจารย์ของตัวเองและทีมสุดยอดศิลปินแห่ง Florence เป็นคน Paint งาน Fresco ชุดแรกที่นี่ไว้ ถ้าเขามาวาดสิ่งที่เจ๋ง ใหญ่โตกว่า ยากกว่า มันจะเป็นข้อพิสูจน์ว่าเขาเจ๋งจริง
ขิงแง่งนี้ของ Michelangelo เลยสุดทุกทาง ในแง่ความสวยไม่ต้องพูดถึง สวยมหัศจรรย์แบบดูแล้วตายไปเลย ... ในแง่เทคนิคก็ทำยากสุด ๆ เอาแค่ต้องคิด mechanic ขึ้นไปวาดในที่สูงจากพื้น 20 เมตรก็ปราบเซียนแล้ว ... ในแง่จำนวนและความละเอียดยิบพริบพราว ก็แค่ Pope สั่งให้วาดเทพ 12 องค์ พี่เค้าวาดไป 300 เอ๊ง เบา ๆ ... และในแง่ของเวลา ก็ ... ค่ะ ... ใช้เวลาแก้แค้นไปแค่ 4 ปีเท่าน้านนนน
อยากจะถามพี่เค้าเหลือเกินว่า ... เหนื่อยไหม สิ่งที่เธอทั๊มมม...อยู่ววว
Sistine Chapel Ceiling by Michelangelo
Sistine Chapel Ceiling by Michelangelo
(อ่านเรื่องเต็ม ๆ ของโบสถ์น้อยซิสทีนซึ่งมีเกร็ดสนุก ๆ มากมายได้ที่ ep. 3 “Sistine Chapel Ceiling งานที่ไม่น่าเป็นไปได้ของ Michelangelo” ค่ะ)
💖 ความขิงข่ากับ Raphael
ไม่จบค่ะ ขิงแง่งใหญ่ขนาดเพดานโบสถ์น้อยซีสทีน มันต้องมีแรงผลักดันสู้งงงงง ... เชื้อไฟแห่งศิลปะใน 4 ปีนี้มีความเหม็นหน้าพี่ Raphael เข้ามาเอี่ยวด้วยค่ะ
คือช่วงที่ Michelangelo แหงนเงิบเพ้นท์เพดานอยู่นี้ ศัตรูเบอร์ต้นของพี่โล่ ... ขุ่นพี่ Raphael แกก็มาเพ้นท์ School of Athens อยู่ในบริเวณอาคารใกล้เคียงกัน imagine ได้ไหมคะว่ามันจะบันเทิงเบอร์ไหน (มีหลักฐานว่าคู่นี้เขม่นกัน แขวะกัน ด่ากันกระจายตลอดเว... 555)
School of Athens by Raphael
พอต้องทำงานโดยมีคู่แข่งหายใจรดต้นคอกันอยู่ (และมันต้องมาแอบดูงานเราแน่ ๆ) มันก็เป็นธรรมดาที่ต่างฝ่ายก็ต่างจะต้องทำงานตัวเองให้เทพที่สุดทิพย์ที่สุดเหนือชั้นที่สุด ก็งานอยู่ข้าง ๆ กันอ่ะเนาะ มันมีตัวเปรียบเทียบตลอดเวลา ชีวิตคือการแข่งขันทุกวินาที แพ้ไม่ได้ ตกไม่ได้เพราะจะถูกเหยียบทันที (ถูกเหยี่ยบอาจจะไม่เท่าถูกหยามแหละเบ็นว่า...)
บรรยากาศที่เต็มไปด้วยการแข่งขันแบบนี้จึงทำให้งานทุกชิ้นของศิลปินยุคนี้ออกมาราวกับเทพสรรสร้าง ผลดีก็มาตกอยู่กับเมืองและผู้ชมอย่างเรา ๆ 😊
10.
Great Works Produced
ในยุคนี้งานต่าง ๆ ถูกผลิตออกมามากมายเพราะมี 2 Factors หลัก นั่นก็คือ Great Support และ Great Competition ศิลปินต้อง fit เว่อร์ ทำงานกันเข้าไปให้หนัก ทุกงานทุ่มกันให้เทพสุด ๆ ไปได้เลย เพราะเงินไม่อั้น 😊
จิตวิญญาณแห่งการแข่งขันนี้ทำให้งานของทุกคนพัฒนาไปไกลมากขึ้นเรื่อย ๆ เหนือขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยนะคะ ไม่ใช่เฉพาะ “คนชนะ” ที่ต้อง prove งานตัวเอง แต่ “คนแพ้” ก็ต้องพยายามกลับมาใหม่ให้เจ๋งเด็ดกว่าเดิมด้วยค่ะ ไม่มีใครอยากถูกจำเป็นคนแพ้อ่ะเนอะ และไม่รู้พี่ ๆ เค้าศึกษาภาษิตจีนมาละเปล่า “แพ้วันนี้ … ล้างแค้นกี่สิบปีไม่สาย” ค่ะ แพ้เมื่อไหร่หลบไปสั่งสมพลังยุทธ์ฝึกปรือเคล็ดวิชาใหม่ แล้วออกมาท่องยุทธจักรโชว์พาวให้คู่แข่งกระอักได้เสมอ
จำพี่ Brunelleschi ที่แข่งงานประตูวิหารแพ้พี่ Ghiberti ได้ไหมคะ แกไม่ได้หายไปไหนค่ะ พี่บรูเน่ล (ที่ไม่ใช่บรูโน่ อิอิ) ไปซุ่มอยู่ที่ Rome ด้อม ๆ ศึกษาซากอารยธรรมกรีกโรมันจากของจริง แล้วกลับมาสร้างโดมของ Florence Cathedral เอาให้แม่งใหญ่และสูงกลบวิหารกันไปเร้ยยยย
ออกแบบก็เรื่องนึงนะคะ แต่พี่ Brunelleschi ต้องคิดค้นเทคโนโลยีเพื่อที่จะก่อสร้างมันขึ้นมาให้สำเร็จให้ได้ด้วย พี่เค้าต้องคิดว่าจะเอาหินขึ้นไปยังไงวะ ... อ่ะ ออกแบบรอกให้หมุนทางเดียวแล้วขนของขึ้น-ลงได้ (คือหมุนไปแล้วไม่ต้องหมุนกลับ หมุนทางเดียวเลย พอขึ้นไปแล้วถ้าหมุนเกินรอบมันก็จะกลายเป็นลงเอง) รอกแบบนี้เป็น patent ของพี่เค้าคนนี้นี่เอง เอง เอง
เนี่ยค่ะ Renaissance Man เป็นทุกอย่างเพื่อเธอแล้วของจริง ทั้งนักฝัน นักวิจัย นักออกแบบ สถาปนิก นักประดิษฐ์ วิศวกร 555
ที่เจ็บสุดคือโดมของพี่บรูเน่ลหันหน้าประจันกะ Gate of Paradise ของพี่กิแบร์เลย แล้วเดี๋ยวนี้เวลาคนไป Florence ก็จะไปดูอิ Dome นี่ก่อน แทบไม่มีใครสนใจจะหันมาดู Gates of Paradise ... โง้ยยยย เจ็บบบบ 1
เจ็บ 2 คือมีช่วงนึงที่พี่ Brunelleschi ป่วย ไม่รู้จะกลับมาทำได้ไหม เมืองเลยไปทาบทามถามพี่ Ghiberti ว่า... เธอ เธอ เธอมาทำต่อได้ไหม ... Ghiberti ดูแบบแล้วบอกว่า ไม่ใช่แฟนทำแทนไม่ได้ค่ะ 555 ... ไม่ได้ว้อย ก็แน่แหละ กว่าพี่บูรเน่ลจะทำได้ก็ต้องศึกษามาอย่างหนัก แล้วจะให้พี่ Ghiberti ที่ง่วนกะการเนรมิตประตูอยู่ เอาภูมิรู้ที่ไหนไปทำต่อ (ว่าแล้วก็วงวารพี่ Ghiberti เหมือนกันนะคะเนี่ย อยู่ ๆ ก็ต้องมาเสียเซลฟ์อ่ะ)
Duomo โดมใหญ่ ๆ ด้านขวาของภาพคืองานของ Brunelleschi ส่วนตึกสีขาว 8 เหลี่ยมด้านซ้ายคือวิหาร Baptistery ประตูของที่ Ghiberti อยู่ก้านที่หันไปทางโดมค่ะ
อ่ะมาดูงานเทพงานทิพย์ที่พี่ ๆ Renaissance Man ทั้งหลายเค้าพยายามก้าวข้ามศักยภาพของตัวเองกันค่ะ
🎨 The Last Supper, Da Vinci (1495 - 1498) ขนาด 8 x 4 เมตร เป็นงานที่พี่ Da Vinci ส่ง message บอกผู้คนว่าฉันเป็นประติมากรแต่ฉันก็ทำงาน Mural ได้เฟ้ย (ไม่ใช่ mural ธรรมดาค่ะพี่คะ งานพี่นี่แม่งโคตร mural แล้ววว)
The Last Supper, Da Vinci (1495 - 1498)
🎨 Pieta, Michelangelo (1498 - 1499) งานประติมากรรมที่ St. Peter ที่พี่โล่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากงานกรีก พี่โล่โชว์ฝีมือแกะสลักหินให้มีความพลิ้วไหวได้อย่างน่าอัศจรรย์
Pieta, Michelangelo (1498 - 1499)
🎨 David, Michelangelo (1501 - 1504) พี่โล่ใส่ความ anatomy เข้าไปอย่างละเอียดมาก ๆ เป็นงานที่พัฒนาขึ้นไปอีกขั้นจากงานกรีกที่เป็นแรงบันดาลใจ (มีความ arts & science ผสานกันอย่างกลมมากอ่ะทุกคน) อาจารย์เล่าว่าที่จริง David ต้องขึ้นไปอยู่บนหลังคา Duomo นะคะ แต่ฮีสูงมาก (5 เมตร) และหนักมาก พี่โล่หาวิธีเอาขึ้นไม่ได้ Da Vinci ที่เป็นหนึ่งในกรรมการเลยบอกว่าขึ้นไม่ได้ก็เอามาตั้ง ๆ ไว้ข้างตึกแถวนี้ก็ได้ 555
David, Michelangelo (1501 - 1504)
แต่ในที่สุดพี่ David ก็ได้ที่แลนดิ้งเป็นกลางจัตุรัสกันไปเลยค่า และหันหน้าไปทาง Rome (เกร็ดเรื่องนี้คือ Medici เคยถูกไล่ออกจากเมืองโดยศาสนจักร พอกลับมาได้ก็เลยเปิดศึกท้าชนกับ Rome ... David เป็นสัญลักษณ์ของ Florence ที่กำลังสู้กับ Goliath ซึ่งก็คือ Rome)
🎨 Sistine Chapel Ceiling, Michelangelo (1508 - 1512) เกิดจากการถูกกดดันท้าทาย ต้องทำให้ดีกว่าของอาจารย์ที่ทำไว้ >> พอเพดานเสร็จ Michelangelo ได้งานผนังที่พี่ท่าน paint เป็น The Last Judgement ต่อกันไปเล้ย 😊
🎨 School of Athens, Raphael (1509 - 1511) เป็นการ celebrate ความรู้ภูมิปัญญาของยุคคลาสสิค
🎨 Moses, Michelangelo (1513 - 1515) ได้รับอิทธิพลมาจากงานชิ้นที่ดังมากของ Claus Sluter (1385 – 1393)
Moses, Michelangelo (1513 - 1515) ได้รับอิทธิพลมาจากงานชิ้นที่ดังมากของ Claus Sluter (1385 – 1393) แต่ทำให้เหนือขึ้นไปอีก
ได้อิทธิพล aka แรงบันดาลใจมาแต่พี่โล่โชว์เหนือไปอีกด้วยการทำให้ซับซ้อนกว่าของพี่คล้าวส์ อาทิ
1. สลักเป็น posture นั่งกางขา ถกชายเสื้อคลุมขึ้นมาโชว์กล้ามเนื้อน่อง (ของ Sluter เป็น Posture ยืน)
2. มีความถกแขนเสื้อเพื่อโชว์กล้ามเนื้อ เส้นเลือด เส้นเอ็น
3. มีความเอามือเสยเข้าไปในเครา ซึ่งจะเสยเข้าไปเพื่อ...!!! ก็เพื่อโชว์ความเจ๋งว่าสลักงานละเอียด ซ้อนเป็นเลเยอร์ ๆ ๆ ๆ ได้น่ะแหละค่ะ
4. แล้วอีมือข้างเดียวกันนี่ก็เกี่ยวบัญญัติ 10 ประการไว้ด้วย
5. แล้ววววอีมือข้างนี้ก็กระดกนิ้วนาง คือพี่โล่แก่จะโชว์ฝีมือขั้นเทพของแกน่ะแหละ ว่าละเอียดดดดด มากนะ ชั้นละเอียดกะ anatomy ชั้นมีความรู้เรื่องนี้ลึกกกกสุดใจ คือละเอียดขนาดว่าตั้งใจทำให้นิ้วนางกระดกเพื่อโชว์เส้นเอ็นที่จะปรากฏเฉพาะเมื่อนิ้วนางกระดกอยู่ใน position นี้เท่านั้นอ่ะค่ะ
อ่า ข้อ 3 - 5 นี่คือมือข้างเดียว เอาเป็นว่าพี่เค้า “เล่น” ทุกเส้น ทุกช่อง ทุกร่อง ทุกรอย ว่าซั่นนน
มือในตำนานของพี่ Moses โดย Michelangelo
ถามว่าไม่ทำขนาดนี้ได้ไหม ก็ได้ไง คนดูไม่รู้ละเอียดเบอร์นี้หรอก แต่ใด ๆ คือตรูจะทำ คงมันมืออ่ะเนอะ อยากใส่สิ่งที่ตัวเอง “อิน” หมกหมุ่นลุ่มหลงและศึกษามาอย่างลึกซึ้งลงไป และเหนือสิ่งอื่นใดก็คือทำเพื่อ “ชนะคนรุ่นก่อน” อ่ะบอกเลย
ถามว่า Moses เวอร์ชั่นพี่ Michelangelo งามปานไหน ก็แค่เพื่อนศิลปิน คุณพี่ Vasari มาเห็นแล้วบอกว่าชาวยิวต้องมาเคารพรูปนี้นะ (Moses คือบรรพบุรุษของชาวยิวค่ะ) 😊
---------------------
🟠 พี่ Michelangelo จึงถือเป็น True Renaissance Man นะคะ แกทำงานจนวันสุดท้ายของชีวิตเลยค่ะ นึกถึงเราตอนอายุ 89 สิคะ เราจะยกสิ่วไหวไหมก่อน แต่พี่โล่ (ต้องเรียกว่าปู่โล่แล้วล่ะในจุด ๆ นี้) คุณปู่โล่ของเรายังคงสลักหินได้อยู่ค่ะ ไม่ใช่ได้ธรรมดานะคะ แต่สลักออกมาได้งดงามด้วย
งานชิ้นสุดท้ายของปู่โล่คือ The Rondanini Pietà เป็นประติมากรรมหินอ่อนที่ปู่เริ่มแกะตั้งแต่ 1552 จนถึงวันสุดท้ายของชีวิตในปี 1564 ค่ะ เรียกว่าตอกหินจนลมหายใจสุดท้ายกันไปเลย อ.ภากรบอกว่างานชิ้นนี้เป็นชิ้นที่เรียกว่า “สวยได้ทุกวัน” ... หมายถึงว่าตอนนี้มันก็สวยแล้วในแบบนึงค่ะ แต่ถ้าปู่ยังไม่ตายแล้วแกะต่อมันก็จะสวยไปอีกแบบ ... อีกแบบ ... และอีกแบบ ... เปลี่ยนความสวยไปเรื่อย ๆ เป็นความสวยในแต่ละวันนั่นเองค่ะ เอาเป็นว่ามันเป็นงานศิลป์ชิ้นที่แกะต่อก็ได้ จบไว้แค่นี้ก็งาม 😊
งานชิ้นสุดท้ายของ Michelangelo คือ The Rondanini Pietà เป็นประติมากรรมหินอ่อนที่เริ่มแกะตั้งแต่ 1552 จนถึงวันสุดท้ายของชีวิตในปี 1564 (อายุ 89 ปี)
ชีวิตของ Renaissance Man เหล่านี้ #แหกทุกกฏ กินไม่ดี (คือหิวเมื่อไหร่ก็กิน งานยุ่งอยู่ไม่ว่างก็ไม่กิน) นอนไม่พอ แบบบ้าพลัง ทำงานไปเรื่อย ๆ ง่วงเมื่อไหร่ค่อยนอน ที่จริงก็เหมือนอัจฉริยะที่ประสบความสำเร็จในทุกแขนงนะคะ Edison, Einstein ก็แทบจะไม่นอน บ้านช่องไม่กลับ ง่วงก็กางเตียงงีบมันในแล็บนั่นแหละ
นี่เป็นสิ่งที่พิสูจน์ให้เราเห็นชัด ๆ เลยค่ะว่า #คนที่ทำสิ่งที่รักจะทำไปได้เรื่อยๆ ไม่เหนื่อย ไม่พักพลังจะมาไม่หยุด และจมหายไปในกาลเวลา
“The true work of art is but a shadow of the divine perfection.” Michelangelo
ศิลปะคือเงาสะท้อนแห่งความสมบูรณ์แบบของพระเจ้า
“พระเจ้าสร้างมนุษย์
มนุษย์มี creativity
สิ่งที่สะท้อนความยิ่งใหญ่
ของพระเจ้าคือมนุษย์
แล้วอะไรกันนะที่จะสะท้อน
ความยิ่งใหญ่ที่พระเจ้า
ซ่อนไว้ในมนุษย์?
คำตอบคือ “งานศิลปะ” ...”
มนุษย์ Renaissance ต้องการจะไปให้ไกลกว่า “สุดยอดในอดีต” ซึ่งก็คือ classical philosophy ของยุคเฟื่องฟูทางปัญญา การตั้งคำถามเพื่อพัฒนาและวิวัฒนาการไปเรื่อย ๆ ทำให้เกิดเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ Renaissance จึงถือเป็นยุคที่เป็นจุดเริ่มต้นของความเชื่อมั่นในมนุษย์
#ความเชื่อมั่นในมนุษย์บันดาลใจคน
#ให้คนกล้าคิดกล้าตั้งคำถามกล้าทำ
สนุกมาก ๆ อีกเช่นเคยค่ะ เบ็นสนุกทุกครั้งที่ได้ฟัง Journey with Art และจาก ep. นี้ เบ็นเองก็เชื่อในปรัชญา Renaissance นะคะ เบ็นเชื่อว่าเราทุกคนเป็น Renaissance Man ได้ในแบบของเราเอง มาเป็น The Rondanini Pietà กันค่ะ เป็นเราที่สวยวันนี้ สวยพรุ่งนี้ และทุก ๆ วัน 😊
ขอบคุณคุณเอ๋และ อ.ภากรมาก ๆ นะคะ สำหรับการแบ่งปันความคิด ความรู้ และแรงบันดาลใจ ตามไปฟังอาจารย์กับคุณเอ๋คุยกัน อันจะมีภาพประกอบแบบละเอียด ๆๆๆ ได้ที่นี่ค่ะ
💖🥰🥰💖
#BenNote #bp_ben
#benji_is_learning #benji_is_drawing
#Renaissance #Arts_Appreciation
#RoundFinger #Phagorn_Manggornpant
#Inspiration #journey_with_art
โฆษณา