9 พ.ย. 2022 เวลา 09:37 • ศิลปะ & ออกแบบ
เจาะลึกความ “ไม่ธรรมดา” ของ
Davinci’s The Last Supper
#BenNote จาก #Journey_of_Arts
#Round_Finger คุยกับ อ.ภากร มังกรพันธุ์
งานพิเศษของคนพิเศษ 😊
ที่ อ.ภากรบอกว่าเป็นงานพิเศษก็ต่อเนื่องมาจาก EP. ที่แล้วที่อาจารย์และคุณเอ๋คุยกันเรื่องภาพ Monalisa ว่าภาพ Painting ของ Davinci ... มนุษย์ Renaissance นั้นมีน้อยยิ่งกว่าน้อย ทั้งหมดรวมกันมีเพียงประมาณ 20 กว่าภาพ The Last Supper เป็นหนึ่งในนั้น และเป็นภาพขนาดใหญ่มหึมาเพียงภาพเดียวที่เหลืออยู่ (4 x 8 เมตร)
1
ชิ้นอื่นๆ ไปไหน ...คือมันไม่รอดจากการทดลองจับโน่นผสมนี่ (อ.ภากรบอกว่า Davinci จับปูดำขยำปูนา 5555) คือฮีลองเทคนิค เอาโน่นนี่นั่นมาทา จน ... เละ ... หมด ... ภาพนี้ก็ไม่ใช่ว่าไม่เละนะ เละแหละ...สวยอยู่ได้แพ้บนุง จะพังแค่ไหน ยังงัยสิ ... ป่ะ ตามไปฟังกัน
ก่อนจะฟังขอออกตัวแรงไว้ก่อนนะคะว่าเบ็นไม่ได้เชี่ยวชาญทั้งศิลปะและศาสนา ภาพนี้เป็นภาพสำคัญที่เขียนเกี่ยวกับศาสนา (2 เด้งไปอี๊กกกกกก) ถ้าเบ็นเก็บประเด็นไหนพลาด ตกหล่น ผิดไปอย่างไรขออภัยไว้ก่อนเลยนะคะ และสามารถให้ feedback ทักท้วงเบ็นได้เลยค่ะ
เอาละไปฟังเรื่อง The Last Supper และความอัจริยะของ Davinci กันนะคะ
1.
ภาพ The Last Supper มีมานานแค่ไหนกันแล้วน้า ...
เราไม่ใช่ Christ ก็อาจจะรู้จักแต่ภาพ The Last Supper ของ Davinci เพราะเป็นภาพที่ดังมาก (ยิ่งดังมากไปอีกตอน Dan Brown เขียน Davinci Code + มีหนังออกมาเนาะ)
ที่จริงแล้วภาพ The Last Supper ไม่ได้มีแค่ภาพของ Davinci และภาพของ Davinci ก็ไม่ได้เป็นภาพภาพแรก มีทั้งศิลปินและมือสมัครเล่นวาดมายาวนานแล้วตั้งแต่ 2-300 ปีแรกหลังคริสตกาล ภาพแรกที่อาจารย์นำมาให้ชมอายุเกือบ 2,000 ปีแล้วแน่ะ!!! เป็นภาพเฟรสโก้ในคริสต์ศตวรรษที่ 2 อยู่ในหลุมฝังศพและที่หลบภัยของคริสเตียนที่เรียกกันว่า Catacombs of Domitilla ในกรุงโรม สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นฝีมือของคริสเตียนที่หลบตายอยู่ในนั้น ไม่ได้เป็นฝีมือของศิลปิน (เบ็นว่ามันดิบๆ ดี สวยไปอีกแบบ แอบชอบ 😊)
Last Supper (2nd century) Fresco at Catacombs of Domitilla, Rome
ภาพอื่นๆ ก็มีความ Amazing น่าทึ่งไปคนละแบบค่ะ (ไปตามดูใน Link ย้อนหลังที่เบ็นแปะไว้ท้ายโน้ตนี้ได้นะคะ แค่ไล่ดูภาพก็สนุกมากๆ แล้ว ... ความเจ๋งอยู่ที่อ.ภากร รวบรวมเอามาให้เราดู พอดูต่อๆๆๆๆ กัน + มีผู้เชี่ยวชาญมาคุยให้ฟังด้วย มันเหมือนเปิดโลกให้เราไปอีกค่ะ)
โดยจิตรกรแต่ละคนก็พยายามหาวิธีการที่จะถ่ายทอด The Last Supper ออกมาให้เหมือนในพระคัมภีร์ ... ความหามุมที่จะวางให้มีคน 13 คนอยู่ในภาพให้ได้ครบ ... ต้องเห็นโต๊ะอาหารด้วย เออ... เป็นเราจะเอากล้องวางตรงไหนดีวะ ... พออาจารย์เอามาวางเรียงให้ดู ถึงกับต้องอมยิ้ม คือเอ็นดูความช่างคิดของศิลปิน 555 ...
1
- เริ่มจากนั่งล้อมวงก็มี ...
- ยุคถัดมา เอ๊ะ... นั่งล้อมวงจะเห็นหน้าทุกคนได้ยังงัย งั้นนั่งแผ่ไหม
- เดี๋ยวนะ ... พระเยซูจะอยู่ข้างเดียวกะศิษย์ได้ไหม
- เอ๊ะหรือเราวาดพระเยซูอยู่อีกด้านของโต๊ะ
- เอ้ากลายเป็นหันหลังไม่เห็นหน้าพระเยซูอีก
- งั้นพระเยซูครับผม เอียงตัวนิดคร้าบโผม ...
1
มันหลากหลายวาไรตี้มากๆ มีทุกแบบ 😊
- ดูไปดูมา ... จัดโต๊ะเป็นรูปตัวยูคว่ำ พระเยซูอยู่หัวโต๊ะก็มา
คนจบ ... โต๊ะอาหารอีก ... วาดมองตรงๆ เข้าไปจะเห็นว่ามีอาหารบนโต๊ะได้ยังงัย ยุคที่ยังไม่มี Perspective ศิลปินก็พลิกโต๊ะขึ้นมาเลย แล้วพอยุคสมัยผ่านไปกล้องก็เริ่มยกสูงขึ้น จนเป็นมุมจาก Drone ไปเลยก็มี ... เอ๊ะ ... เราเปลี่ยนจาก Bird-Eye-View ไปเป็น Drone-View ตั้งแต่เมื่อไหร่กันนะ ... เอาเถอะช่างหัวนกมันไปก่อน ... เอาเป็นว่าดูอาจารย์กับคุณเอ๋เอามาร้อยให้ดูแล้วสนุกจัง 😊
1
ตัวอย่าง The Last Supper ในยุคต่าง ๆ
2.
The Last Supper สำคัญอย่างไร
เรื่องราวของ The Last Supper เป็น Moment สำคัญในพระคัมภีร์ เป็น moment สุดท้ายที่พระเยซูคริสต์ได้อยู่กับอัครสาวกและเป็นช่วงเวลาพิเศษ
1
เรื่องราวของ The Last Supper นี่อยู่ในพันธสัญญาใหม่นะคะ พระคัมภีร์ในศาสนาคริสต์แบ่งเป็น 2 ตอน พันธะสัญญาเดิมเขียนก่อนสมัยพระเยซู เป็นของศาสนายิว จากนั้นพระเยซูอ้างพระองค์เป็นบุตรของพระเจ้า และมาตีความขยายความพระคัมภีร์ต่อ ว่าพระองค์มาช่วยโลก มาไถ่บาปให้มนุษย์
3
ยุคใหม่นี่จะมีบันทึกของสาวกหลัก 4 เล่มที่เป็นพระกิตติคุณ หรือ Gospel = Good News
- Matthew
- Mark
- Luke
- John
ทั้ง 4 เล่มมีบันทึกถึง The Last Supper แต่จะมีรายละเอียดต่างกันเล็กน้อย
1
The Last Supper เป็นพิธีมหาสนิทแรก ซึ่งเอามาจากพิธีเดิมของยิวที่เรียกว่าปัสกา (Passover) หรือ “เทศกาลกินขนมปังไร้เชื้อ” อันเป็นพิธีที่ระลึกถึงการปลดปล่อยตนเองของชาวยิวออกมาจากอียิปต์ (การกินขนมปังไร้เชื้อ (ยีสต์) = ความบริสุทธิ์ของชาวยิวที่ไม่มีเชื้อชาติพันธ์อื่นมาปน เป็นชนชาติบริสุทธิ์ของพระเจ้าเปรียบดั่งพระเจ้าที่ไม่มีเชื้อความบาป)
1
เทศกาลนี้เริ่มต้นหลังจาก Moses นำชาวยิวออกมาจากการปกครองของอียิปต์ได้ (ไปดูการ์ตูน Prince Of Egypt ประกอบจะกระจ่างใจมนต์ฮะ 😊) โดยพระเจ้าทรงให้ทำเทศกาลนี้เป็นระยะเวลา 7 วันของทุกปี จากนั้นพิธีนี้กลายมาเป็นพิธีมหาสนิทของคริสเตียน (คริสตังเรียกว่าพิธีมิสซา)
The Last Supper เกิดขึ้นในวันแรกของเทศกาลขนมปังไร้เชื้อ ซึ่งพระเยซูกินปัสกากับสาวก 12 คนเป็นอาหารมื้อสุดท้ายก่อนจะถูกตรึงกางเขน และได้เพิ่มความหมายเชิงสัญลักษณ์ให้กับปัสกาขณะกินอาหารมื้อสุดท้ายนี้ไว้ว่า... ขนมปังคือร่างกาย เหล้าองุ่นคือเลือดของพระองค์ที่กำลังจะตายในอีกไม่กี่ชัวโมงนับจากนี้ เพื่อไถ่บาปให้มนุษย์
มื้อนี้จึงมีความหมายเหมือนเป็นการเตรียมของพระเจ้า เป็นการทิ้งความหมายเชิงสัญลักษณ์ไว้ให้มนุษย์
- Devine Symbol สาวกถามพระเยซูว่าจะให้เตรียมปัสกาให้เสวยที่ไหน ... ปัสกาจะกลายเป็นสัญลักษณ์แทนพระองค์ต่อไป
- Devine Preparation ความมหัศจรรย์แรกคือพิธีเกิดขึ้นในบ้านของใครก็ไม่รู้ที่พระเยซูบอกให้สาวกไปขอว่าจะจัดพิธีในบ้านเขา แล้วเขาก็ให้ ... (ลองนึกว่าเป็นบ้านเรา แล้วมีคน 13 คนมาบอกว่าจะมาขอกินข้าวที่บ้านนะ ... เราจะให้ไหมนะ)
1
- Devine Mercy ระหว่างรับประทานอาหาร พระเยซูกล่าวแก่สาวกอย่างนิ่มนวลว่า “เรารู้ว่ามีคนทรยศเรา แล้วคนนั้นนั่งอยู่ในที่นี้ด้วย” ... ถ้าเราเป็น “ยูดาส” คนทรยศ เราจะขนหัวลุกไหมนะ และถ้าเราเป็นพระเยซูเห็นคนทรยศลอยหน้าทำใสซื่ออยู่ตรงหน้า เราจะเดือดหรือเราจะพูดนิ่ม ๆ? ... เราเป็นยังงัยไม่รู้ แต่พระองค์พูดนิ่ม ๆ ถามว่าทำไม?
2
เพราะพระองค์เพียงต้องการสกิดเตือนคนหลงผิดให้รู้สำนึก ... ถามว่าทำไม? … เพราะพระองค์เมตตา พระองค์ต้องการให้อภัย ต้องการให้เขาเริ่มต้นใหม่
2
- Devine Symbol Explained ในพิธีพระเยซูแบ่งขนมปังและน้ำองุ่นให้สาวกและบอกว่าต่อไปให้ทำแบบนี้เพื่อระลึกถึงการตายของพระองค์ นี่เป็นพันธสัญญาใหม่ ขนมปังคือกายของพระองค์ น้ำองุ่นคือเลือด ที่เสียสละเพื่อไถ่บาปให้มนุษย์ เป็นสัญลักษณ์ที่ให้ทำไปตลอดชั่วนิรันดร์
2
เรียกได้ว่า The Last Supper คือจุดเริ่มต้นของพิธีและสัญลักษณ์แห่งขนมปังกับน้ำองุ่นนี้ (มันเลยเป็น Moment ที่สำคัญมาก และภาพเกี่ยวกับศาสนาจึงมีศิลปินวาด Moment นี้กันมากมายนั่นเอง)
- Irony: Disciple’s Promise สาวกทุกคนสัญญากับพระองค์ว่าจะไม่ทิ้งพระองค์ แต่ทุกคนต่างทอดทิ้งพระองค์ ไม่มีใครรักษาสัญญา มีเพียงพระเจ้าเท่านั้นที่รักษาสัญญาว่าจะช่วยมนุษย์ (ภาพนี้จึงแสดงให้เห็นความต่างนี้ >> ความหวาดกลัว สิ้นหวังของคน VS ความสงบนิ่งมั่นคงของพระเยซู)
1
อาจารย์เล่าแถมเพื่อให้เราเห็นลักษณะเฉพาะและความพิเศษของพระเยซูมากขึ้นไปอีก มีภาพที่แสดงว่าพระองค์ล้างเท้าให้สาวกทุกคน (การเดินทางในสมัยนั้นฝุ่นเยอะ เป็นประเพณีว่าถ้ามีแขกมาบ้าน เจ้าบ้านจะเตรียมน้ำล้างเท้าให้กับแขก อาจมีคนรับใช้มาล้างเท้าให้ แต่พระเยซูล้างเท้าให้สาวกทุกคนด้วยพระองค์เอง) นี่เป็นการสอนเรื่อง Servant Leadership พระองค์ทรงเป็นแบบอย่างของผู้นำที่มี Servant Leadership คือเป็นผู้นำที่ถ่อมใจยอมเป็นคนรับใช้ของคนอื่น
1
The Servant Leadership
ขนลุกเนอะ พอฟังเรื่องราวแบบนี้แล้วมันจะกลับมาคิดถึงตัวเอง เราถ่อมใจให้กับผู้คนได้แค่ไหนกันนะ
1
3.
ภาพนี้ของ Davinci พิเศษอย่างไร
- เทคนิคพิเศษ
- การเล่าเรื่องผ่านองค์ประกอบศิลป์ที่พิสดารพิเศษ
- ซ่อนความหมายพิเศษ
ทั้ง 3 ข้อมีความโคตรรรรร...ละเอียดเป็นพิเศษ ตามนิสัยของ Davinci
1
#เทคนิคส่วนตัว ของ Davinci … คือ … #เทคนิคตรูจะเอา ไม่แคร์เวิลด์อะไรทั้งสิ้น 555
- เค้าใช้สีอะไรกันไม่รู้ ตรูชอบสีน้ำมัน เพราะมันแก้ง่าย ก็ใช้สีน้ำมัน
1
- ช่วงนั้นนิยมใช้เทคนิค Fresco (ปูนเปียก) กัน แต่ Fresco เมื่อปูนแห้งสีจะ Drop ลง 1 Stop เป็นผลให้ทำ Chiaroscuro (ความมืด-สว่าง แสงเงา) ยาก … แล้วนี่ใคร Davinci งัย ... Davinci ไม่ยอมให้มันเป็นไปแบบที่ไม่ต้องการ >> เพราะชอบความมิติแสงเงามาก ๆ เมื่ออยากได้แสง-สี-เงาให้ได้ดั่งใจ Davinci จึงเขียนสีทับๆๆๆๆ ซ้อนๆๆๆๆๆๆ ลงไปหลายชั้น หลายชนิดสี ... คือต้องเอาให้เหมือนที่คิดที่จินตนาการให้ได้ว่างั้น
1
- ปรากฏว่า 60 ปีผ่านไป ... วินาศครับผม ... สีลอกหมดเลย T__T
1
ภาพจริงที่ Davinci วาดไว้ ในปัจจุบันนี้ไม่เหลือสภาพสวยงามตามใจ Davinci แบบตอนที่เขียนเสร็จอีกต่อไป มันล่อนไปจนถึงชั้นไหนแล้วก็ไม่รู้ (อาจารย์เอาภาพที่ถ่ายไว้ในปี 1970 มาให้ดู โอ้โหว ... ยับวินาศมากมาย...)
1
Davinci's The Last Supper in 1970
เอ้า... แล้วอีภาพที่เราเห็นในปัจจุบันนี่มายังงัย (สภาพไม่เหมือนตอนปี 1970 ละนะ)
Davinci's The Last Supper, as present
เดชะบุญมั้งเนาะ ... ภาพนี้เป็นแรงบันดาลใจให้ศิลปินร่วมสมัย (ร่วมสมัยกะ Davinci น่ะนะ) มันเลยมี 3 Contemporary Copies เว้ยแก คือมีสาวก Davinci 3 คนวาดเลียนแบบอาจารย์ไว้เป็นขนาดจริง >> ภาพแรกอยู่ที่ Royal Academy of Arts, London >> อีกภาพอยู่ที่เบลเยี่ยม (อีกภาพอาจารย์ไม่ได้พูดถึง ต๊ะไว้นะคะ)
The Last Supper, c. 1520, by Giampietrino, oil on canvas, in the collection of the Royal Academy of Arts, London
The Last Supper, c. 1520, Andrea Solari, oil on canvas, in the Leonardo da Vinci Museum, Tongerlo Abbey, Belgium
คนซ่อมก็เลยใช้ 2 ภาพนี้เป็นต้นแบบในการซ่อมภาพจริงที่มิลาน ซึ่งก็ไม่ได้ซ่อมให้กลับไปเหมือนต้นฉบับเป๊ะๆ ขนาดนั้นนะคะ คือไม่ได้ลงสีน้ำมันทับๆๆๆๆ ให้สีจัด หรือพยายามใช้เทคนิคเพิ่มให้แสงเงาคมชัดอะไรแบบนั้น … คิดว่าน่าจะลงเฉพาะชั้น Fresco แบบว่าซ่อมเท่าที่จำเป็น โดยใช้ภาพของสาวกเป็น Guide ... ตอนนี้ภาพจริงของ Davinci เลยออก Pastel ฟุ้งๆ … ไปซะงั้น
1
จากบันทึกของ Walter Isaacson ผู้เขียนหนังสือประวัติ Davinci บอกว่าภาพนี้มีการซ่อมใหญ่มาทั้งหมด 6 ครั้งแล้ว และการซ่อมแต่ละครั้งก็ทำให้สภาพแย่ลงเรื่อยๆ (ก็นะ… อีครั้งที่ 2 มีการลอกหน้าของคนส่วนใหญ่ในภาพออกแล้ววาดขึ้นใหม่งี้ >> ในช่วงปฏิวัติฝรั่งเศสกลุ่มผู้ต่อต้านบาทหลวงมีการขูดตาของอัครสาวกออกไปทั้งหมดงี้ ... มันคงไม่เหลือสภาพเดิมเท่าไหร่แล้วแหละ >>> แต่บุญบาปภาพนี้ก็รอด Bomb ใน WWII มาได้นะ รอดแบบปาฏิหารย์อ่ะ เพราะอาหารฟังทั้งหมดยกเว้นผนังนี้ผนังเดียว!!!)
2
#วิธีเล่าเรื่องผ่านองค์ประกอบศิลป์ที่พิสดารพิเศษ
- ภาพนี้เป็น Moment Capturing แสดงถึงอารมณ์ความรู้สึกของคนในภาพอย่างชัดเจน ทั้งความสงบมั่นคงของพระเยซู และความตระหนก อลหม่านของอัครสาวก
1
- มีความ High Renaissance
1. Posture ของพระเยซู = รูปทรง Pyramid = แสดงถึงความมั่นคงของพระเยซู
2
Triangle Post in Davinci's The Last Supper
2. เส้น Perspective ทุกเส้นวิ่งเข้าหาขมับพระเยซู = พระองค์เป็นศูนย์กลางของเรื่อง
3
Perspective of Jesus in Davinci's The Last Supper
- Davinci ใส่เรื่องสัดส่วนทองคำของ Vitruvian Man เข้าไปในภาพพระเยซูด้วย >> วงกลม = รัศมีรอบพระองค์ >> สี่เหลี่ยม = กรอบหน้าต่าง (ต้องดูภาพอาจารย์ประกอบถึงจะเก็ทนะคะ ... อธิบาย 1,000 คำยังไม่ดีเท่า 1 ภาพจริงๆ)
2
Vitruvian Man in Davinci's The Last Supper
#ความหมายพิเศษที่ซ่อนไว้
- เช่นยูดาสกำลังเอื้อมมือมาหยิบกระปุกเกลือ ในภาษาอังกฤษมีสำนวนว่า Betray the salt หมายถึง to betray one’s Master สื่อความหมายว่ายูดาสคือผู้ทรยศต่อพระเยซู (โอ้โหวววว)
1
- เลข 3 … อัครสาวกแบ่งเป็นกลุ่มละ 3 คน / หน้าต่าง 3 บาน = ตัวเลขสำคัญในคริสตศาสนา = พระบิดา พระบุตร พระจิต = Trinity
1
The 3 = Trinity
- หน้าต่างด้านหลังพระเยซูคริสต์ที่มีแสงสว่างส่องเข้ามาเป็นฉากหลังให้กับพระองค์ เปรียบดั่งความหวังที่มีให้แก่มนุษยชาติ
1
- พระองค์คือความมั่นคง ความสงบท่ามกลางความวุ่นวายโกลาหล (แทนด้วยบรรดาอัครสาวกที่ตื่นตระหนกอยู่ในภาพ Davinci แสดงออกมาได้งดงามมากผ่านทั้งเส้นสายและองค์ประกอบ) = มนุษย์กังวล พระเจ้าสงบนิ่ง
1
- Davinci สนใจงานละครด้วย สิ่งหนึ่งที่สนใจศึกษามากคือ Expression ของมือ นี่เป็น 1 ในความพิเศษของภาพนี้ “มือ” ของผู้คนในภาพ The Last Supper บ่งบอกอารมณ์ความรู้สึกและเล่าเรื่องราวที่ล้วนแตกต่างกัน
1
ภาพนี้เหมือนการ Capture Climax Moment ในละครเวทีที่มีความ “เล่นใหญ่” เพื่อสื่อสารให้เห็นถึงอารมณ์และเรื่องราวของผู้คนในภาพเอาไว้
1
ในหนังสือของ Isaacson เขียนไว้ว่ามันเป็นเหมือนก้อนหินโยนลงไปในน้ำ แล้วเกิดแรงกระเพื่อมขึ้น พระเยซูคือก้อนหินนั้น เมื่อท่านพูดว่า “จะมี 1 ในพวกเจ้าทรยศเรา” ทุกคนก็แตกฮือออก เป็นวงกระเพื่อมออกไป
1
(ภาพชัดมากๆ เลยนิ พอฟังแล้วมองภาพ เราเห็น Movement แบบนั้นจริงๆ และพระเยซูก็นิ่งสงบเป็นหินก้อนหนึ่งจริงๆ )
มีเกร็ดเล่าว่ารูปนี้ใช้เวลาวาด 4 ปี (ไม่ใช่ว่ามันวาดยากม๊ากกกกอย่างเดียวหรอกนะ แต่ Davinci “หาทำ” ตลอดๆ งัย งานเย๊อะ ... ไหนจะผ่าคน ไหนจะเป่าลมใส่กระเพาะหมู 555) จนมีบาทหลวงรูปนึงไปบ่นกับสังฆราชว่าทำไมไม่เสร็จสักที Davinci ไม่โกรธ แต่เดือดมาก 555 บอกสังฆราชว่าที่วาดไม่เสร็จเพราะคิดไม่ออกว่าจะวาดยูดาสยังงัยถึงจะชั่วร้ายได้ถึงขนาด แต่ตอนนี้รู้แล้ว เดี๋ยวจะใช้หน้าบาทหลวงนี่แหละเป็นต้นแบบยูดาส 555 (แหยมก็ใครไม่แหยมเนาะ)
7
- ภาพนี้เป็นสัญลักษณ์ของการ Joining the Lord’s table … ทำไม Davinci จึงวาดพระเยซูและอัครสาวกทั้งหมดอยู่ด้านเดียว ภาพนี้อยู่ที่ผนังโรงทานด้านหลังโบสถ์ Santa Maria Delle Grazie ในมิลาน มีทฤษฏีเชื่อกันว่าในสมัยนั้นเวลาทำพิธีมหาสนิท บาทหลวงจะตั้งโต๊ะชิดกำแพงและหันหน้าเข้าหาภาพ เปรียบเสมือนการร่วมโต๊ะกับพระองค์ (Perspective ในภาพเชื่อมต่อกับ Perspective ของอาคารจริงด้วย คนที่เดินเข้ามาในอาคารจะรู้สึกว่าอาคารในภาพ The Last Supper ต่อเนื่องกับอาคารจริง)
1
Joining the Lord's Table
ลึกล้ำไปอีก ... นี่ถ้านั่งดูภาพเอง ก็คงไม่เห็นอะไรเลย 555 มีผู้รู้มาเล่าให้ฟังมันทำให้การเสพศิลป์สนุกขึ้น ลึกขึ้น เห็นรายละเอียดที่ซ่อนอยู่มากขึ้นจริงๆ
1
4.
แล้ว Davinci ตีความภาพนี้ตรงกับพระคัมภีร์ไหมนะ
- ในส่วนของการ Capturing the moment of anxiety ถือว่าทำได้ต้องตรงกับพระคัมภีร์และ Davinci ใส่ใจรายละเอียดมากอย่างที่อาจารย์กะคุณเอ๋เล่าให้ฟังข้อที่แล้ว ถึงขนาดมี sketch แยกเป็นคนๆ ก่อนว่าแต่ละคนจะทำท่าไหนยังงัย จะวาดยังงัยให้ดูแล้ว “รู้สึก” ว่ามีการคุยกันด้วยความตระหนกตกใจ แล้วแบบว่าไม่ได้ตกใจ Cliché (ขอใช้ภาษาละครหน่อย อิอิ) คือทำท่าเหมือนๆ กันไปหมด ... เก่งอ่ะ มีอะไรที่ทำไม่ได้มั่งไหนนะ Davinci เนี่ย เก่งประมาณพันเก้าร้อยล้านอย่างโนะ
1
Davinci's Sketch
- แต่สิ่งที่ตีความผิดก็มีนะ … ในพระคัมภีร์ John เขียนไว้ว่ามีสาวกคนหนึ่ง (ซึ่งคือ John นั่นแหละ) ที่เอนกายอยู่ใกล้ทรวงของพระองค์ กระซิบคุยกับพระองค์ ศิลปินเลยวาดให้มีสาวกเอนมาหา บางคนวาดให้เอนมาซบอกพระเยซูกันไปเลย คือมันประหลาดมากอ่ะทุกคน คือนั่งกินข้าวกันอยู่ แล้วมาเอนซบอกกัน...อิหยังวะ
1
มีนักประวัติศาสตร์ท่านนึงออกมาตีความว่าที่จริงทุกคนไม่น่านั่งกินงัย น่าจะเป็นอารมณ์กึ่งนั่งกึ่งนอนเอนๆ พิงหมอนอิงอยู่รอบๆ โต๊ะวางอาหารมากกว่า (นึกถึงขุนนางอำมาตย์ในหนังกรีกหรืออียิปต์โบราณออกไหมคะ ที่นั่งเอนๆ บนตั่งเวลากินอาหารจิบไวน์รัยงี้) ถ้าเป็นแบบนี้การเอนเพิ่มอีกนิดมาหาพระเยซูก็จะไม่ดูประหลาดมาก ถ้าข้อสันนิษฐานนี้ถูกแปลว่าไอ้ที่วาดๆ กันมา ก็ตีความผิดกันหมดโลกเนี่ยแหละ ไม่ใช่เฉพาะ Davinci
1
(แต่เอาจริงพี่ดาวินชี่ก็ไม่ได้แคร์เรื่องนี้อยู่แล้วนะ เพราะภาพของ Davinci ไม่มีสาวกที่เอนเข้ามาหาพระเยซู พี่เค้าน่าจะข้ามเรื่องนี้ไป เพราะองค์ประกอบภาพจะไม่สวยถ้ามีใครมาอ้อยอิ่งกะพระเยซูน่ะนะ)
5.
การตีความของ Dan Brown ใน Davinci’s Code เกี่ยวกับ The Last Supper ถูกต้องไหม
1
The secret revealed or deceived?
นักประวัติศาสตร์ศิลป์และน่าจะคริสเตียนด้วยแหละ บอกว่า Dan Brown เอาประวัติศาสตร์มานิดเดียว แล้วขยายแต่งเป็นนิยายด้วยจินตนาการล้วนๆ (ต้องบอกว่าเขียนเก่งมากนะ เพราะอ่านแล้วอินมาก พร้อมเชื่อ 555 คือยอมให้เลย กับการใช้ภาษา ท่วงท่า และ plot และทุกอย่าง ตอนเบ็นอ่านเล่มนี้นี่ขนลุกและมีความหวาดระแวงตามท้องเรื่องไปด้วยเลย ใครยังไม่เคยอ่านแนะนำค่ะ)
1
กลับมาที่การหยิบข้อมูลมาใช้ของ Dan Brown … ตัวอย่างเช่น
- Gospel of Phillip เป็นหนังสือโบราณยุคเดียวกับพระคัมภีร์แต่ไม่ได้ถูกนับเข้าเป็นพระคัมภีร์ มันเปื่อยมาก ก็จะแหว่งๆ วิ่นๆ ข้อความไม่ครบ เขียนถึงว่าพระเยซูคุยกับนางมารี มีประโยคนึงอ่านได้ความว่า … “พระองค์ทรงรักนางมารี และ พระองค์ก็…” เนี่ยข้อความหายด้วนไปแค่นี้ Davinci ก็เติมคำให้ช่องว่างในนิยายไปตามท้องเรื่อง
1
- เรื่อง John ที่เอนมาใกล้ทรวงพระเยซู ศิลปินทุกคนจะวาดคนนี้อิงพระเยซู และจะเป็นคนที่หน้าเด็กกว่าคนอื่น นักปวศ. เชื่อว่า John เป็นสาวกที่อายุน้อยที่สุด น่าจะเป็น teenager … Dan Brown ก็มีการตีความว่าคนนี้แหละเป็น Mary … (John ในภาพของ Davinci แม้จะไม่ได้เอนมาทางพระเยซู แต่ก็ดูคล้ายผู้หญิงมาก ทำให้คนเชื่อตาม Dan Brown ไปค่อนโลก… *เรื่องนี้มีคนบอกว่ามันเป็นสไตล์การวาดคนของ Davinci ที่เส้นแบ่งระหว่างหญิงชายค่อนข้างจะเบลอ และที่จริงมีอีกหลายคนในภาพที่มีส่วนคล้ายผู้หญิงไม่ใช่เฉพาะ John)
*Note เพิ่มเติมเรื่องความเบลอ-ความพร่าเลือนในการแบ่งชายหญิงเวลาวาดภาพของ Davinci (คือการชอบวาดคนที่มีส่วนผสมของชายหญิงอยู่ในคนเดียวกัน) ภาพ Monalisa ก็มีลักษณะนี้ คุณเอ๋บอกว่ามันน่าจะเป็นเพราะความเชื่อในความงามแห่งการผสมผสานหลายๆ อย่างเข้าด้วยกันของ Davinci …
คุณหญิงจำนงศรีเคยบอกว่า Davinci อาจจะคิดว่ามันไม่ได้มี “ทวิลักษณ์” คือไม่ขาวไม่ดำ ไม่ซ้ายไม่ขวา ไม่หญิงไม่ชาย สัจธรรมคือการที่ไม่ได้แบ่งอะไรชัดเจนแบบนั้น
สรุปว่า Dan Brown เขียนนิยายเก่ง จับแพะชนแกะ เชื่อมโยงเก่ง เบ็นเชื่อว่าเค้าก็ต้อง Study เยอะมากๆๆๆๆๆๆ และลงรายละเอียดลึกมากๆๆๆๆ ถึงจะเขียนได้เนียนเบอร์นี้ จนนิยายโด่งดัง มีอิทธิพลทำให้คนเชื่อไปค่อนโลก >> ทำให้คนสนใจศิลปะเพิ่มขึ้นมากมาย แม้คริสเตียนจะงงกันไปทั้งบาง 😅 แต่ Dan Brown ก็ทำเงินได้หลายพันล้านอ่ะ … คนเรามันต้องลึก ต้องละเอียดในงานที่ทำจริงๆ เนอะ
6.
บทเรียนสำคัญจาก The Last Supper
คือ Hope … คือความหวัง
- Hope: Enigmatic Scheme นี่คือแผนการลึกลับของพระเจ้าที่จะให้ “ความหวัง” แก่มวลมนุษย์ ... ถ้าซาตานรู้ว่าการตายของพระเยซูจะนำไปสู่การฟื้นคืนชีพและการไถ่บาปสำเร็จ ซาตานจะยังปล่อยให้พระเยซูตายหรือไม่ ทำไมซาตานไม่รู้ ... That’s magic
- Hope: Nothing can separate us from the love of God ในความทุกข์มนุษย์มักถามว่าพระเจ้ายังอยู่ไหม ... พระเจ้าอยู่เสมอ พระเจ้ามองเราอยู่แม้เราจะมองไม่เห็นพระองค์
- Hope: For those who love him ตามปรัชญาของคริสเตียนเชื่อว่าไม่ว่าจะผ่านความเลวร้ายแค่ไหนก็แล้วแต่ ในที่สุดความหวัง สิ่งใหม่จะเกิดขึ้น แผนการของพระเจ้าจะสำเร็จ สุดท้ายสิ่งดีๆ จะเกิดขึ้นในชีวิต ไม่ชีวิตนี้ก็ชีวิตหน้า
- Hope that is ultimate ตามความเชื่อของคริสเตียน หากเป็นผู้เชื่อไม่ว่าจะทนทุกข์หรือต้องผ่านความตาย เช่นเดียวกับพระเยซูที่ฟื้นคืนมาในไม่เกิน 3 วันนับจาก The Last Supper ทุกคนจะได้มีกายใหม่ในแผ่นดินใหม่ของพระเจ้า
สุดยอดไปเลยนะคะ นี่เป็นแค่จุดเริ่มต้นเท่านั้นค่ะ ภาพนี้สำคัญ พิเศษ และมีเสน่ห์เพราะมันเป็นภาพที่ Capturing Moment ที่สำคัญ The Moment of Hope ไว้ ... ตัว Davinci เองก็ตั้งใจวาดอย่างที่สุด ใส่รายละเอียดไม่ยั้ง จนอาจารย์และคุณเอ๋ก็ไม่สามารถเอาทุกอย่างมาเล่าให้เราฟังได้ ภายในเวลาแค่ 1 ชั่วโมง
The Last Supper ยังมีเรื่องราวมหัศจรรย์ที่ซ่อนอยู่รอให้เราไปค้นหาอีกมากมาย
- เอาแค่เรื่อง “มือ” ของคนในภาพก็เพลินแล้ว มือใครมีความหมายว่ายังงัย ทุกคนผายมือไปทางยูดาสหรือเปล่า
- Action ของแต่ละคนที่สื่อออกมาแตกต่างกันไปแสดงว่าอะไร >> ทุกอย่างต้องผ่านการ Study มาเยอะมาก ก่อนจะวาด (เราดูได้จาก Sketch ก่อนขึ้นภาพจริงของ Davinci ค่ะ)
- เทคนิคแสงเงาในภาพที่มีรายละเอียดมากมาย >> การหลอกตาด้วยแสงทำให้พระเยซูดูตัวใหญ่กว่าคนอื่น >> การใช้ Perspective ที่ไม่ว่าจะมองจากซ้าย-ขวา-ไกล-ใกล้ก็ยังได้มุมมองที่ไม่หลอกตา >> แสงที่ Davinci ให้ไว้ในภาพ ด้านนึงมืดด้านนึงสว่าง ทำให้เหมือนมีแสงธรรมชาติจากภายในอาคาร (โรงทาน) ตกกระทบบนโต๊ะอาหารของพระเยซูจริงๆ ... คือเนียนเหมือนพระในโบสถ์ได้ร่วมรับประทานอาหารกับพระเยซูจริงๆ ...
คือเอาเป็นว่างานละเอียดมากกกกกกกกก ไปตามอ่านตามดูเพิ่มเติมกันนะคะ สำหรับเบ็นก็ได้แต่หวังว่าสักวันจะได้มีโอกาสไปชมด้วยตาของตัวเองสักครั้งในชีวิต 😊
เบ็นว่างานระดับ Masterpiece แบบนี้เกิดได้ด้วย “ศรัทธา” นะคะ และที่มันมหัศจรรย์อย่างยิ่งจนเราศึกษาเท่าไหร่ก็ไม่รู้จบก็เป็นเพราะว่ามันรังสรรค์ด้วย “หัวใจ” ค่ะ
May the faith and passion be with you … ขอให้ศรัทธาและหัวใจสถิตอยู่กับทุกคน และอย่าลืมเก็บความหวังไปด้วยนะคะ ความหวังจะนำทางเราไป และเราทุกคนจะก้าวผ่านช่วงเวลายากๆ นี้ไปด้วยกันค่ะ
ป.ล.
อาจารย์กับคุณเอ๋คุยกันสนุกมากเช่นเคยตามไปดูได้ที่นี่นะคะ
ขอบคุณทั้งอาจารย์ภากรและคุณเอ๋มากๆ ค่ะ
#BenNote #bp_ben
#benji_is_learning #benji_is_drawing
#The-Last-Supper #Davinci
#RoundFinger # Phagorn_Manggornpant #Inspiration
โฆษณา