19 พ.ย. 2022 เวลา 15:15 • ปรัชญา
ทำไมเราต้องเป็นคนดี ในเมื่อโลกก็ใจร้ายกับเรา ?
คำถามนี้ถูกลบ
ผมมองว่า
“การทำดี” เปรียบเหมือนการออก “บิลสีขาว (white bills)” ให้กับตัวเอง
ซึ่งไม่ว่าจะช้านานเพียงใด “บิลสีขาว” ที่ถูกออกไว้จาก “การทำดี” ของเราก็จะถูก “ส่งมอบถึงผู้รับ” ที่ได้ออกบิลนั้นไว้ ไม่ว่าผู้รับจะอยู่แห่งหนตำบลใดเวลาใด โดยที่ผู้รับเองก็มิอาจรู้ได้ว่า “บิลสีขาว” ที่ตนได้ออกให้กับตัวเองไว้นานแสนนานมาแล้วจะกลับมา “ตอบแทน” ตัวเองเช่นไรและเมื่อใด แต่ก็แน่นอนว่า “ผลแห่งความดี” ที่เป็น “บิลสีขาว” จะส่งผลในทางดีอย่างไม่ต้องสงสัย!
และเราไม่สามารถตรวจสอบได้ด้วยการเข้าไปดูใน “บัญชี” ธนาคาร เฉกเช่นการตรวจสอบเงินในบัญชีว่าเรามี “บิลสีขาว” สะสมอยู่รอการมาให้ผลหรือทำการชำระอยู่มากน้อยเพียงใด!
“การทำชั่ว” ก็คือ “การออกบิลสีดำ (black bills)” นั่นเอง!
ซึ่งจะให้ผล “ตรงข้าม” กับ “บิลสีขาว” โดยสิ้นเชิง! และ “ผู้ออกบิล” ไม่อาจหลบหนีผลของกรรมชั่วไปได้ตลอด ถึงบิลสีดำจะถูกนำส่งช้า แต่ชัวร์เลยว่า “มันมาแน่!”
มีแต่ “ผู้มีปัญญา” เท่านั้น ที่จะ “อ่านเกมส์” บิลสีขาวบิลสีดำออก
และสามารถ “เลือกบิล” ที่ตัวเองต้องการในที่สุดได้
ผมขอหยิบยกคำสอนของท่าน
“สมเด็จพระสังฆราช”
1
มานำเสนอดังนี้ครับ
คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 26
คนโดยมากมักเข้าใจผิดในผลของความดี คือมักไปเข้าใจผลพลอยได้ว่าเป็นผลโดยตรง และมักมุ่งผลพลอยได้เป็นสำคัญ เมื่อไม่ได้ผลเป็นวัตถุจากการทำความดีก็จะบ่นว่าทำดีไม่เห็นจะได้อะไร รักษาศีลไม่เห็นร่ำรวยอะไร เป็นเพราะไม่เข้าใจว่า ผลของความดีคืออะไร ผลของความดี คือความหลุดพ้น ผู้ทำความดี ย่อมแสดงถึงว่าเป็นผู้ที่มีจิตหลุดพ้นจากความเห็นแก่ตัว มีจิตกว้างขวางออกไปโดยลำดับและเห็นว่าการให้สำคัญกว่าการรับ และย่อมบำเพ็ญความดีเพื่อความดี มิใช่เพื่อผลตอบแทนใดๆเป็นสำคัญ
คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 40
คนที่ทำดีไม่น้อย เป็นทุกข์เพราะการทำดีของตน ที่ไม่กล้าที่จะทำดีก็มี แต่คนทำดีที่ยังเป็นทุกข์ดังกล่าว ก็เพราะยังทำไม่ถึงความดีแห่งจิตใจของตนเอง จิตใจจึงทำไม่ถึงความดีแห่งจิตใจของตนเองจิตใจจึงยังมีความยินดียินร้ายไป ตามอารมณ์ที่มากระทบจากคนทั้งหลาย
หากได้เล็งเห็นว่าเรื่องของคนทั้งหลายนั้นเป็นเรื่องของโลก ถ้าตนเองมีจิตใจมั่นคงไม่หวั่นไหว ก็ไม่ต้องเป็นทุกข์ เพราะเรื่องของคนอื่นการปฏิบัติทำจิตใจของตนให้มั่นคงดังนี้ เป็นการสร้างความดีให้แก่จิตใจ เป็นตัวความดีที่เป็นแก่นแท้ ของความดีทั้งหลาย ซึ่งจะป้องกันความทุกข์กระทบกระเทือนใจได้ทุกอย่าง
คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 42
อันความดีนั้นย่อมเป็นอาภรณ์ เป็นอิสริยยศ(ยศคือความเป็นใหญ่)ของคนดี เพราะคนดีย่อมเห็นความดีนี้แหละเป็นยศอันยิ่งใหญ่ และย่อมพอใจประดับความดีเป็นอาภรณ์ จึงกล่าวได้ว่าความ ดีนั้นเป็นอิสริยาภรณ์ของคนดี
คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 46
ทุกๆคนทำกรรมใดไว้ กรรมนั้นย่อมให้ผลในปัจจุบันบ้าง ในภายหน้าบ้าง ในเวลาต่อๆไปบ้างตามแต่กรรมนั้นๆ จะหนักเบาอย่าง ไร ท่านเปรียบเหมือนอย่างยืนอยู่บนที่สูงและโยนสิ่งต่างๆ มีก้อนหิน ก้อนดิน กิ่งไม้ ใบหญ้าลงมา ของที่มีน้ำหนักมากย่อมตกลงสู่ พื้นดินก่อน ส่วนกรรมที่หนักน้อยกว่าหรือเบากว่าจะให้ผลตามหลัง
คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 48
ผู้ที่ทำกรรมดีอยู่มากเสมอๆ จึงไม่ต้องกลัวกรรมชั่วในอดีตหากจะมี กุศลของตนก็จะชูช่วยให้มีความสุขความเจริญสืบต่อไป และถ้าได้แผ่เมตตาจิตอยู่เนืองๆ ก็จะระงับคู่เวรอดีตได้อีกด้วย ระงับได้ตลอดถึงปัจจุบัน
คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 73
เมื่อทำดีก็ได้ผลดีทันที เมื่อทำชั่วก็ได้ผลชั่วขึ้นทันที อันผลดีผลชั่วที่ได้ทันทีนี้ก็คือความเป็นคนดีความเป็นคนชั่ว เมื่อทำดีก็เป็นคนดีขึ้นทันที เมื่อทำชั่วก็เป็นคนชั่วทันที ตนเองจะรู้หรือไม่รู้ ผู้อื่นจะรู้หรือไม่รู้ ก็ไม่เป็นเหตุเปลี่ยนแปลงสัจจะคือความจริงดังกล่าวนี้ ได้แต่ว่าผลคือความเป็นคนดีความเป็นคนชั่วดังกล่าวนี้เป็นของละเอียด ถ้าไม่ใช้ปัญญาพิจารณาแม้ตนเองก็ไม่รู้
ครั้งหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า
ก็ทรงช้อนดินขึ้นมาเท่าปลายเล็บของพระองค์
แล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า เธอจะสำคัญข้อนี้ว่าอย่างไร
ดินเท่าปลายเล็บของเรากับดินทั้งป่าในมหาปฐพีนี้
อันไหนจะมากกว่ากัน
ภิกษุกราบทูลว่า ดินทั้งป่าในมหาปฐพีนี้
มากกว่าอย่างเทียบกันไม่ได้เลยพระพุทธเจ้าค่ะ
ฉันใดผู้ที่ได้มีโอกาสเกิดขึ้นมาเป็นมนุษย์
เมื่อละจากโลกนี้ไป จะได้มีโอกาสกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก
เท่าดินเท่าปลายเล็บของตถาคต
ท่านทั้งหลายจะคิดว่าจะได้กลับมาเป็นมนุษย์อีกหรือ
โอกาสเท่าดินเท่าปลายเล็บเมื่อเทียบกับดินทั้งมหาปฐพี
การเกิดขึ้นมาเป็นมนุษย์ก็ยาก
โอกาสกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ยิ่งยากขึ้นไปอีก
กรรมกับการเกิดใหม่
กำเนิด 4
การกำเนิดของสัตว์โลกมี 4 อย่าง
1. ชลาพุชะกำเนิด ได้แก่ สัตว์ที่เกิดในมดลูก คือ มนุษย์ และสัตว์เดียรัจฉานที่คลอดออกมาเป็นตัว และเลี้ยงลูกด้วยนม เช่น โค กระบือ สุนัข แมว เป็นต้น
2. อัณฑชะกำเนิด สัตว์ที่เกิดในไข่​ ได้แก่ สัตว์เดียรัจฉานที่ออกมาเป็นไข่ก่อนแล้วจึงฟักออกมาเป็นตัว เช่น ไก่ เป็ด นก ปลา เต่า จิ้งจก งู เป็นต้น
​ชลาพุชะกำเนิดและอัณฑชะกำเนิดนี้ รวมเรียกว่า ศัพภเสยยะกำเนิด เพราะเกิดอยู่ในครรภ์ของมารดาก่อน ภายหลังจึงออกจากครรภ์
3. สังเสทชะกำเนิด ​ ได้แก่ สัตว์ทั้งหลายที่เกิดโดยไม่อาศัยท้องพ่อแม่ แต่อาศัยเกิดจากต้นไม้ ผลไม้ ดอกไม้ ของโสโครก ที่ชุ่มชื่น เชื้อรา เป็นต้น
4. โอปปาติกะกำเนิดได้แก่ สัตว์โลกที่เกิดมาโดยไม่ได้อาศัยพ่อแม่และของโสโครกหรือที่ชุ่มชื้น แต่อาศัยอดีตกรรมอย่างเดียว และเมื่อเกิดก็เติบโตขึ้นทันที เช่น พวก สัตว์นรก เปรต เทวดา มนุษย์สมัยต้นกัป เป็นต้น
คติ 5
คติ 5 คือ เมื่อกายแตกหรือตายไปแล้ว ย่อมไปเกิดใน คติ 5 ตามกรรมตามฐานะ
​1. นิรยะ ​​[นรก]
​2. ติรัจฉานโยนิ ​[กำเนิดดิรัจฉาน]
​3. ปิตติวิสัย ​[ภูมิแห่งเปรต]
​4. มนุสสะ ​​[มนุษย์]
​5. เทวะ ​​[เทวดา]
ภพ 3 ภูมิ 4
ภพภูมิ หมายถึง โลกหรือสถานที่อันเป็นที่อาศัยอยู่ของสรรพสัตว์ผู้ยังมีกิเลส ยังไม่เข้าสู่พระนิพพาน นั่นหมายความว่ามนุษย์ตลอดถึงสรรพสัตว์ทั้งปวงเมื่อยังไม่หมดกิเลส ก็ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่างๆ และเสวยผลแห่งกรรมตามแต่กุศลและอกุศล
ที่ตนสั่งสมไว้
ภพ 3 ประกอบด้วย
กามภพ รูปภพ อรูปภพ
ภูมิ 31 ได้แก่ อบายภูมิ 4 มนุสสภูมิ 1 เทวภูมิ 6 รูปภูมิ 16 อรูปภูมิ 4 หรือจัดแบ่งได้ดังนี้ คือ
1.อบายภูมิ มี 4 คือ นรก เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย
2.กามสุคติภูมิ มี 7 คือ มนุสสภูมิ 1 และเทวภูมิ 6 ชั้น ชื่อจาตุมหาราชิกา ตาวติงสา ยามา ดุสิตา นิมมานรดี และ ปรนิมมิตวสวัตดี
3.รูปภูมิ มี 16 คือ
​- ปฐมฌานภูมิ 3 ชื่อ ปาริสัชชา ปุโรหิตา และมหาพรหมา
- ทุติยฌานภูมิ 3 ชื่อ ปริตตาภา อัปปมาณาภา และอาภัสสรา
- ตติยฌานภูมิ 3 ชื่อ ปริตตสุภา อัปปมาณสุภา และสุภกิณหา
​- จตุตถฌานภูมิ 7 ชื่อ เวหัปผลา อสัญญีสัตตา และสุทธาวาสภูมิ 5 ชื่อ อวิหา อตัป
​- ปา สุทัสสา สุทัสสี และอกนิฎฐา
4.อรูปภูมิ มี 4 คือ
- อากาสานัญจายตนะ
- วิญญาณัญจายตนะ
- อากิญจัญญายตนะ
- เนวสัญญานาสัญญายตนะ
ลักษณะของภพภูมิในทางพระพุทธศาสนา
​การมองเห็นจักรวาลอันกว้างใหญ่หลายๆ จักรวาล ในทางพระพุทธศาสนาได้กล่าวถึง ในสมัยพุทธกาลคือ พระอนุรุทธะผู้เป็นเลิศทางทิพยจักขุได้ตอบพระสารีบุตรถึงป่าโคสิงคสาลวัน งามด้วยภิกษุเช่นไร
​สำหรับจักรวาลหลายๆ จักรวาลที่มารวมตัวกัน พระพุทธองค์ตรัสเรียกว่า โลกธาตุ โดยในจูฬนีสูตร
ได้กล่าวถึงลักษณะของจักรวาล 3 อย่าง คือ
​1.โลกธาตุมีขนาดเล็ก เรียกว่า สหัสสีจูฬนิกาโลกธาตุ มี 1,000 จักรวาล
 
​2.โลกธาตุขนาดกลาง เรียกว่า ทวิสหัสสีมัชฌิมิกาโลกธาตุ มี 1,000,000 จักรวาล
 
​3.โลกธาตุขนาดใหญ่ เรียกว่า ติสหัสสีมหาสหัสสีโลกธาตุ มีแสนโกฏิ หรือล้านล้านจักรวาล
​ในทางพระพุทธศาสนาได้พูดถึงโครงสร้างของจักรวาล ว่าทุกๆ จักรวาลจะประกอบด้วยไตรภพ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ
กำเนิดในกามภพ
​ลักษณะโครงสร้างของกามภพจะมี เขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลาง มีทวีปทั้ง 4 อยู่ด้านข้างของเขา เหนือขึ้นไปก็จะเป็นรูปภพ เหนือขึ้นอีกก็จะเป็นอรูปภพ มีมหานรก อยู่ใต้เขา
มหานรกมี 8 ชั้น
ชั้นที่ 1 ชื่อว่า สัญชีวมหานรก ​
สัญชีวมหานรก หมายถึง มหานรกที่ไม่มีวันตาย นรกขุมนี้
เป็นนรกขุมแรกที่อยู่ใต้เขาตรีกูฏ มีขนาดเล็กที่สุดในบรรดามหานรกทั้งหมด สัตว์นรกในขุมนี้แม้ถูกลงโทษจนตายจะฟื้นมีชีวิตรับโทษใหม่อีกเป็นอยู่ดังนี้โดยตลอด ผู้ลงโทษคือนายนิรยบาลมีมือถืออาวุธมีแสง ไล่ฆ่าฟันสัตว์นรกทั้งหลายให้ตาย ตายแล้วก็กลับเป็นขึ้นใหม่ดังนี้
ชั้นที่ 2 ชื่อว่า กาฬสุตตมหานรก
— ​​ชั้นที่ 3 ชื่อว่า สังฆาฏมหานรก
— ​ชั้นที่ 4 ชื่อว่า โรรุวมหานรก
— ​​ชั้นที่ 5 ชื่อว่า มหาโรรุวมหานรก
— ​​ชั้นที่ 6 ชื่อว่า ตาปนมหานรก
— ​​ชั้นที่ 7 ชื่อว่า มหาตาปนมหานรก
— ​​ชั้นที่ 8 ชื่อว่า อเวจีมหานรก
สวรรค์ มี 6 ชั้น คือ
ชั้นที่ 1 ชื่อว่า จาตุมหาราชิกา ผู้ที่เกิดชั้นนี้ คือ ผู้ที่ทำบุญเพื่อหวังคุณ
ชั้นที่ 2 ชื่อว่า ดาวดึงส์ ผู้ที่เกิดชั้นนี้ คือ ผู้ที่ทำบุญเพราะเห็นว่าเป็นความดี
ชั้นที่ 3 ชื่อว่า ยามา ผู้ที่เกิดชั้นนี้ คือ ผู้ที่ทำบุญเพราะเพื่อสืบทอดวงศ์ตระกูลของ ตนเอง
ชั้นที่ 4 ชื่อว่า ดุสิตา ผู้ที่เกิดชั้นนี้ คือ ผู้ที่ทำบุญเพื่ออยากจะสงเคราะห์สัตว์โลก
ชั้นที่ 5 ชื่อว่า นิมมานรดี ผู้ที่เกิดชั้นนี้ คือ ผู้ที่ทำบุญตามต้นแบบและทำด้วยความตั้งใจ
ชั้นที่ 6 ชื่อว่า ปรนิมมิตวสวัตดี ผู้ที่เกิดชั้นนี้ คือ ผู้ที่ทำบุญด้วยความปีติ
รูปภพ
รูปภพอยู่สูงกว่ากามภพขึ้นไปอีกกล่าวคือ พรหม 16 ชั้น แต่จริงๆ แล้ว พรหมมีเพียง 9 ชั้น แต่มี 16 พวก เพราะว่าพวกรูปภพคือพวกที่ได้รูปฌาน รูปฌานก็มีดังนี้ คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน และจตุตถฌานก็แยกออกไปอีกเป็นปัญจมฌาน
​ฌานที่ 1 มีองค์ฌาน 5 คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
​ฌานที่ 2 มีองค์ฌาน 4 คือ วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
​ฌานที่ 3 มีองค์ฌาน 3 คือ ปีติ สุข เอกัคคตา
​ฌานที่ 4 มีองค์ฌาน 2 คือ สุข เอกัคคตา
​ฌานที่ 5 มีองค์ฌาน 2 คือ อุเบกขา เอกัคคตา
ลักษณะของภพภูมิทางวิทยาศาสตร์กับพระพุทธศาสนา
​แม้ว่าภพภูมิจะเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วตามธรรมดา แต่มนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลายยากที่จะมองเห็น เพราะความจำกัดของดวงตา ที่มองเห็นเฉพาะสิ่งที่สัมผัสได้ แม้ว่าเครื่องมือในปัจจุบันจะมีวิวัฒนาการจนสามารถมองเห็นดวงดาวและจักรวาลอื่นๆ จนถึงบอกขนาดของเอกภพ และสันนิษฐานถึงลักษณะของการเกิดเอกภพได้ แต่ก็ยังไม่สามารถทำให้ความรู้เกี่ยวกับภพภูมิในทางพระพุทธศาสนาแจ่มแจ้ง ดวงตาของพระธรรมกายจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ไปรู้เห็นเรื่องราวของโลก จักรวาลและภพภูมิอย่างแท้จริง ต่อไปนี้
ลักษณะโครงสร้างของภพภูมิ
ในทางวิทยาศาสตร์เห็นจักรวาลของเรา มีลักษณะเป็นรูปก้นหอย มีจุดศูนย์กลางลักษณะเป็นจานแบนๆ เป็นเกลียวก้นหอยหมุนอยู่รอบศูนย์กลาง ในทางพระพุทธศาสนากล่าวไว้ว่า ในทุกๆ จักรวาล จะมีภูมิทั้ง 31 อยู่ โดยใจกลางจักรวาล คือ เขาพระสุเมรุ ดังนั้น กลุ่มแก๊สขาวๆ สว่างๆ อยู่ตรงกลาง ที่เป็นศูนย์กลางของก้นหอย ซึ่งอยู่ในกลางของกาแล็กซีก็คือเขาพระสุเมรุ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของจักรวาลตลอดทุกจักรวาล แต่เป็นธาตุที่เป็นส่วนละเอียด
ภพและกำลังอิทธิพลของภพ
ภพ แปลว่า โลกอันเป็นที่อยู่ของสัตว์, ภาวะชีวิตของสัตว์
​ภพ ในปฏิจจสมุปบาท จึงหมายถึง ภาวะของชีวิตหรือภาวะของจิตที่อยู่ภายใต้การครอบงำของอุปาทาน ณ ช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ
​ภพ ในวงจรปฏิจจสมุปบาทเป็นองค์ธรรมที่แสดงการดำเนินและเป็นไปของกระบวนจิตให้ครบถ้วนบริบูรณ์ถูกต้องเท่านั้น ไม่สามารถดับทุกข์ลงไปได้โดยตรงๆ
ลักษณะการทำบุญที่ทำให้เกิดบนสวรรค์แต่ละชั้น
​​เกิดบนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา มีหลายสาเหตุ คือ เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ ทำบุญไม่ค่อยเป็น ไม่รู้หลักการทำบุญ และไม่ค่อยได้สั่งสมบุญ นานๆ ทำครั้งหนึ่ง เมื่อทำก็ทำน้อย หรือทำบุญเอาคุณ บุญที่ได้ก็ไม่บริสุทธิ์ ไม่สมบูรณ์ บาปในตัวก็มีอยู่ แต่ว่าบุญมากกว่า เมื่อละโลกใจนึกถึงบุญก่อนก็ไปสวรรค์ชั้นนี้
​​เทพธิดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ จำนวนบริวารขึ้นอยู่กับกำลังบุญเมื่อครั้งเป็นมนุษย์
​​เกิดบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ คือ เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ ทำบุญเพราะเห็นว่าเป็นความดีงาม
เป็นสิ่งที่ควรทำ กระทำแล้วก็สั่งสมบุญ สั่งสมเทวธรรม มีหิริโอตตัปปะด้วย เมื่อละโลกก็จะไปบังเกิดบนสวรรค์ชั้นนี้
เกิดบนสวรรค์ชั้นยามา คือ เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ ทำบุญเพราะอยากจะรักษาประเพณีแห่งความดีงาม แล้วไว้ ทำนองว่า วงศ์ตระกูลทำมาอย่างไร ก็อยากจะรักษาประเพณีไว้ หรือ ผู้หลักผู้ใหญ่สอนมาอย่างไร เห็นบรรพบุรุษทำมาอย่างไรก็ทำอย่างนั้นทำกันไปตามธรรมเนียมกันไป
เกิดบนสวรรค์ชั้นนิมมานรดี คือ เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ เห็นผู้อื่นทำบุญแล้วได้รับการยกย่องส่งเสริม จึงอยากจะทำอย่างนั้นบ้าง อยากจะเป็นอย่างนั้นบ้าง เมื่อละโลกแล้วจะไปบังเกิดบนสวรรค์ชั้นนี้
เกิดบนสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี คือ เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ ทำบุญด้วยความเลื่อมใส เคารพในทาน ทำแล้วมีความรู้สึกปลื้มใจในบุญที่ทำนั้น
การจุติและการเข้าถึงสุคติของเทวดา
เทวดาผู้กำลังจะจุติไปเกิดในภพอื่น ภูมิอื่น เพราะหมดบุญที่จะอยู่ในสวรรค์นั้นต่อไป จะมีนิมิตหรือสิ่งบอกเหตุ ๕ อย่างปรากฏขึ้น คือ
1. ดอกไม้ประดับกายเหี่ยวแห้ง
2. เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายมีสีเศร้าหมองหรือซีดจาง
3. มีเหงื่อไหลออกจากรักแร้
4. ผิวพรรณของร่างกายเศร้าหมอง ไม่เปล่งปลั่งสดใส
5. รู้สึกเบื่อหน่ายในทิพยอาสน์หรือที่อยู่อาศัยของตน
เมื่อนิมิตทั้ง 5 ประการนี้ปรากฏขึ้น เทพบุตรหรือเทพธิดานั้น ย่อมตระหนักแน่ว่าตนถึงวาระที่จะจุติจากสวรรค์ที่เคยอยู่ไป จึงย่อมรู้สึกสะดุ้งหวาดหวั่น เช่นคนที่รู้ว่าวาระสุดท้ายแห่งชีวิตของตนกำลังจะมาถึง ความเศร้าโศกด้วยความอาลัยอาวรณ์ ย่อมครอบงำจิตใจของเทวดาผู้กำลังประสบชะตากรรมเช่นนี้
ชาวพุทธผู้เชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ ส่วนมากก็รู้แต่ว่า สุคติที่น่าปรารถนาของมนุษย์ก็คือการได้ไปเกิดเป็นเทวดาในสวรรค์ ถ้าพระพุทธเจ้าไม่ทรงบอกไว้ก็คงจะไม่ทราบว่า อันสุคติที่น่าปรารถนาของเทวดานั้น ก็คือการได้เกิดเป็นมนุษย์ ผู้เป็นมนุษย์อยู่แล้วจึงควรภูมิใจที่ได้เกิดมาดี แล้วสวรรค์นั้น เป็นที่เกิดเสวยผลของกุศลกรรมที่ได้ทำไว้สมัยเป็นมนุษย์
​พระพุทธพจน์ดังกล่าวนี้ ทำให้ปัญหาซึ่งเป็นที่สนใจของคนเป็นจำนวนมากว่า มนุษย์ตายแล้วไปไหน แจ่มแจ้งขึ้น นั่น คือ
1. มนุษย์ส่วนหนึ่งตายแล้วได้เกิดเป็นมนุษย์อีก แต่ก็เป็นจำนวนน้อยของมนุษย์ที่ตายไปทั้งหมด
2. มนุษย์ส่วนหนึ่งตายแล้วไปเกิดเป็นเทวดาในสวรรค์ แต่ก็เป็นจำนวนน้อยของมนุษย์ที่ตายแล้วเช่นกัน
3. มนุษย์ส่วนมากตายแล้ว บางพวกไปเกิดในนรก บางพวกเกิดเป็นสัตว์เดียรัจฉาน และบางพวกเกิดเป็นเปรต ซึ่งเมื่อรวมทั้ง 3 พวกเข้าด้วยกัน ก็จะมีจำนวนมากกว่าประเภทที่ 1 และที่ 2
“จงเลือกให้ดีเถิด!”
โฆษณา