2 ธ.ค. 2022 เวลา 12:19 • ภาพยนตร์ & ซีรีส์
ส่องอุตสาหกรรมเกมญี่ปุ่นจากซีรีส์ “Atom Last’s Shot”
วันนี้ Bnomics ขอแหวกแนว พาทุกคนไปดูซีรีส์ญี่ปุ่นกันบ้าง Atom Last’s Shot เป็นซีรีส์ญี่ปุ่นที่ออกฉายทาง Disney Plus Hotstar ซึ่งมีเนื้อเรื่องที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก
โดยดำเนินเรื่องผ่านพระเอกที่เป็นโปรแกรมเมอร์อัจฉริยะในการสร้างเกม ซึ่งเนื้๋อเรื่องจะค่อยๆ พาผู้ชมไปเปิดโลกวงการเกมแบบที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน
ถ้าเป็นเมื่อก่อน การเล่นเกมคงถูกผู้ใหญ่มองว่าเป็นเรื่องไร้สาระ แต่เดี๋ยวนี้ไม่ใช่แบบนั้นอีกต่อไปแล้ว เพราะวงการเกมสามารถทำเงินได้อย่างมหาศาล ในบทความนี้ Bnomics เลยอยากจะพาทุกคนไปเจาะลึกวงการเกมของญี่ปุ่นกัน
📌 ตลาดของอุตสาหกรรมเกมญี่ปุ่นจากอดีตถึงปัจจุบัน
เชื่อว่าหลายคนน่าจะโตมากับวิดีโอเกมญี่ปุ่น ตั้งแต่ยุคเกม Pac-Man, Super Mario Bros ไปจนถึง Pogemon Go ไม่ว่าจะผ่านไปนานแค่ไหน แต่เกมจากญี่ปุ่นยังคงเป็นที่ชื่นชอบสำหรับคนทั่วโลกเสมอ ทำให้ในปัจจุบันญี่ปุ่นเป็นตลาดเกมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสาม รองจากสหรัฐฯ และจีน
2
เกมส่วนใหญ่ในตลาดเกมญี่ปุ่น ถูกผลิตออกมาจากบริษัทยักษ์ใหญ่ที่เรียกว่าเป็น Big five แห่งอุตสาหกรรมเกมอย่าง Nintendo, Square Enix, Sega, Bandai Namco, และ Konami
2
ข้อมูลจาก Statista พบว่าในปี 2020 อุตสาหกรรมเกมในจีนสร้างรายได้กว่า 56.92 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รองลงมาคือ อุตสาหกรรมเกมในสหรัฐฯ ที่สร้างรายได้กว่า 55.28 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนอันดับสามก็คือ ญี่ปุ่น ที่สร้างรายได้ราวๆ 40 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
1
อุตสาหกรรมเกมในญี่ปุ่น สามารถแบ่งแยกย่อยได้เป็น 3 ประเภท จากรายงานในปี 2017 เกมในโทรศัพท์มือถือ ครองส่วนแบ่งในตลาดมากที่สุดถึง 62% รองลงมาคือ เกมคอนโซล 22% และเกมพีซี อยู่ที่ 16%
ด้วยความที่ตลาดสมาร์ทโฟนเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว อุตสาหกรรมเกมในโทรศัพท์มือถือจึงค่อยๆ เข้ามาแทนที่ตลาดเกมคอนโซลแบบเดิมๆ และกลายมาเป็นตลาดหลักๆ ของอุตสาหกรรมเกมในญี่ปุ่นในที่สุด
จากยุค 1980 ซึ่งถือเป็นยุครุ่งเรืองของอุตสาหกรรมเกมคอนโซลที่ครองตลาดโดย Nintendo และ Sony ก็เปลี่ยนผ่านมาเป็นเกมที่อยู่บนสมาร์ทโฟนแทน
📌 ญี่ปุ่น…ตลาดเกมที่น่าจับตามอง
อัตราการเข้าถึงเกมของคนญี่ปุ่นนั้นค่อนข้างสูงมาก และฐานผู้เล่นก็ค่อนข้างใหญ่ โดยมีผู้เล่นเกมในโทรศัพท์มือถืออยู่ที่ 40 ล้านคน ผู้เล่นเกมคอนโซล 30 ล้านคน และผู้เล่นเกมพีซีอยู่ที่ 15 ล้านคน นอกจากนี้ยังมีกลุ่มคนที่เล่นทั้งเกมในโทรศัพท์มือถือและเกมคอนโซล อย่ที่ 11 ล้านคน
ด้วยความที่ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีเทคโนโลยีก้าวหน้า และเป็นบ้านเกิดของแบรนด์เกมชื่อดังอย่าง Nintendo, Sony PlayStation, และ Sega จึงทำให้ญี่ปุ่นเป็นผู้พัฒนาหลักที่สำคัญในอุตสาหกรรมเกม
ในญี่ปุ่น อุตสาหกรรมเกมไม่ใช่ส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจเท่านั้น แต่เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมญี่ปุ่น คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะใช้เวลาไปกับการเล่นเกมค่อนข้างมาก โดยเฉลี่ยแล้ว 6.7 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ สำหรับเกมในโทรศัพท์มือถือ และยังใช้จ่ายเงินเติมเกมมากที่สุดด้วย
เมื่อดูรายได้เฉลี่ยของผู้ให้บริการต่อลูกค้าหนึ่งคน (Average revenue per user : ARPU) ของเกมในโทรศัพท์มือถือญี่ปุ่นแล้ว พบว่าตัวเลขค่อนข้างสูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับตลาดอื่นๆ ในโลก สำหรับปี 2022 คาดว่าจะอยู่ที่ 418.99 ดอลลาร์สหรัฐฯ ถ้าพูดง่ายๆ ก็คือ คนญี่ปุ่นใช้เงินไปกับการเติมเกมสูงที่สุด ในขณะที่ทั่วโลก อยู่ที่เพียง 64.66 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่านั้น
ตลาดเกมญี่ปุ่น จึงเป็นที่น่าจับตามอง และดูมีศักยภาพที่จะเติบโตได้มาก ข้อมูลจาก Statista คาดว่าในปีนี้ รายได้จากส่วนของเกมในโทรศัพท์มือถือในญี่ปุ่น จะพุ่งขึ้นไปแตะ 32.71 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และจะมีอัตราการเติบโตโดยเฉลี่ยต่อปีแบบทบต้น (CAGR) ระหว่างปี 2022 - 2027 อยู่ที่ 5.95% ทำให้ประมาณการขนาดของตลาดว่าจะเติบโตจนมีมูลค่าถึง 43.67 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในอีก 5 ปีข้างหน้า
เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้ผลิตเกมทั้งในญี่ปุ่นและต่างประเทศ จึงต้องแข่งขันกันและทำการบ้านอย่างหนัก เพื่อผลิตเกมที่จะสามารถครองใจเหล่าเกมเมอร์ชาวญี่ปุ่นได้ และกลายมาเป็นผู้ครอบครองตลาดเกมในที่สุด…
📌 ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
ในปี 2020 เป็นช่วงที่คนเล่นเกมในโทรศัพท์มือถือเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากช่วงโควิดที่ต้องเก็บตัวอยู่แต่ในบ้าน
9 เดือนแรกของปี ผู้ผลิตเกมของญี่ปุ่นอย่าง Bandai Namco สร้างรายได้ 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
1
ในขณะที่ Square Enix สร้างรายได้ 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ผู้เขียน : ชนาภา มานะเพ็ญศิริ Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶︎ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Line OA : @Bnomics https://bit.ly/3eYkTJC
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
Reference:

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา