16 ธ.ค. 2022 เวลา 12:19 • เพลง & ซีรีส์ เกาหลี
Reborn Rich : การปรับโครงสร้างแชโบลในช่วง ยุค IMF
3
ซีรีส์เรื่อง Reborn Rich ดำเนินเรื่องไปเกินครึ่งทางแล้ว และยังคงหักมุมไม่หยุดด้วยการเฉือนคมทางธุรกิจของแต่ละตัวละคร เนื้อเรื่องยิ่งเข้มข้นขึ้นเมื่อค่อยดำเนินเรื่องไปถึงช่วงหลังของปี 1997 ที่เกิดวิกฤติการณ์การเงินเอเชีย
4
หรือเราได้ยินคนในซีรีส์เรียกว่าเป็นวิกฤติ IMF ซึ่งเกาหลีใต้ถือเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติในครั้งนั้นอย่างมาก
1
เรื่องราวในซีรีส์ในช่วงก่อนกลาง ๆ เรื่องไปจนถึงกลางเรื่อง จึงฉายให้เห็นตั้งแต่ปัญหาก่อนเกิดวิกฤติ ไปจนถึงการที่รัฐออกมาตรการปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ของธุรกิจในขณะนั้น
โดยเฉพาะกลุ่มแชโบล เพื่อหวังแก้ไขสถานการณ์และฟื้นฟูเศรษฐกิจให้ดีขึ้นจนสามารถชำระหนี้คืน IMF ได้ในที่สุด
ในบทความนี้ Bnomic อยากจะมาเล่าถึงมาตรการปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ของกลุ่มแชโบลในเวลานั้น ซึ่งจะช่วยให้ทุกคนที่ดูซีรีส์เข้าใจสถานการณ์ในตอนนั้นได้มากขึ้น
1
⏬ ในบทความก่อน Bnomics เคยเล่าเรื่องการก่อตั้งกลุ่มแชโบลไว้อย่างละเอียดแล้ว ถ้าใครยังไม่อ่านสามารถเข้าไปอ่านก่อนได้ที่ลิงก์นี้
📌 แชโบล…จุดเริ่มต้นของความรุ่งโรจน์และร่วงโรย
ในช่วงที่เศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว กลุ่มแชโบลถูกมองว่ามีบทบาทเป็นเหมือนกับตัวกระตุ้นทางเศรษฐกิจ แม้ว่าจะต้องแลกมากับการที่ธุรกิจขนาดเล็กไม่สามารถโตได้มากนัก เพราะเงินภาษีส่วนใหญ่ถูกนำมาอุดหนุนให้กับกลุ่มแชโบล
6
แต่ก็ต้องยอมรับว่าเพราะกลุ่มแชโบล ที่ทำให้ในช่วงเวลานั้นเกาหลีใต้ผงาดขึ้นมาจากการเป็นประเทศด้อยพัฒนา สู่ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 11 ของโลก เกาหลีใต้กลายเป็นประเทศที่มีศักยภาพในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์, ต่อเรือ, ยานยนต์, และเคมีภัณฑ์ จนได้เข้ามาเป็นสมาชิกกลุ่มประเทศ OECD ในปี 1996
1
แม้ว่ากลุ่มแชโบลเป็นเครื่องยนต์สำคัญที่ช่วยให้เศรษฐกิจเติบโตได้ตามที่รัฐบาลต้องการก็จริง แต่ในอีกแง่หนึ่ง กลุ่มแชโบลก็มีส่วนผลักให้เศรษฐกิจเข้าสู่วิกฤติ IMF เช่นกัน
2
เนื่องจากกลุ่มแชโบลเติบโตจนมีขนาดใหญ่ถึงจุดที่สามารถกอบโกยเอาทรัพยากรในประเทศไปใช้เพื่อประโยชน์ของธุรกิจตัวเองได้ อย่างในซีรีส์เราจะเห็นที่ซุนยังกรุ๊ป (บริษัทกลุ่มแชโบลขนาดใหญ่ในเรื่อง) ถูกเปรียบว่าเป็นเหมือนเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงเศรษฐกิจ สามารถควบคุมทุก ๆ อย่างเพื่อให้เศรษฐกิจเดินไปได้
3
ในความเป็นจริง ความยิ่งใหญ่นั้นทำให้กลุ่มแชโบลมีอำนาจที่จะควบคุมระบบการเงินของทั้งประเทศและกำหนดนโยบายรัฐเลยด้วยซ้ำ ไม่ว่าจะเป็น
  • การกู้ยืมเงินมาใช้ในธุรกิจเกินความจำเป็นและนอกเหนือขอบเขตที่กฎหมายกำหนด
  • การขยายกำลังการผลิตอย่างไม่สิ้นสุด
  • การตั้งราคาสูงเกินกว่าที่ควรจะเป็น
  • การไล่ต้อนให้บริษัทคู่แข่งและบริษัทขนาดเล็กให้ออกจากตลาดไป
  • ไม่ค่อยพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ
  • ชักจูงให้รัฐบาลออกนโยบายจำกัดคู่แข่งรายใหม่ๆ
  • เก็งกำไรอสังหาริมทรัพย์และตลาดหุ้น
  • การสืบทอดธุรกิจหรือโอนมรดกโดยไม่เป็นไปตามระเบียบที่กฎหมายกำหนดในขณะนั้น
9
ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ล้วนมีส่วนนำพาให้เกาหลีใต้ต้องเผชิญกับวิกฤติการเงินในที่สุด จากข้อมูลพบว่าในช่วงก่อนเกิดวิกฤติการเงินเอเชีย เกาหลีใต้มีหนี้ต่างประเทศสูงขึ้นเรื่อยๆ ประมาณกันว่าเกินกว่า 150 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งหลักๆ ก็เป็นหนี้ที่เกี่ยวข้อง หรือมาจากกลุ่มแชโบล
📌 การยื่นมือเข้ามาของ IMF กับข้อเสนอปฏิรูปแชโบล
สถานการณ์เศรษฐกิจเกาหลีใต้ตอนนั้นค่อนข้างย่ำแย่ ตลาดการเงิน ตลาดหุ้นแทบจะหยุดชะงัก IMF จึงได้เข้ามาช่วยด้วยการให้เงินกู้ราวๆ 57 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่ออุ้มเศรษฐกิจเกาหลีใต้
แต่ความช่วยเหลือจาก IMF ก็แลกมาด้วยเงื่อนไขหลายข้อ หลัก ๆ คือ IMF ต้องการเข้ามาควบคุมกรอบนโยบายเศรษฐกิจมหภาค เพื่อจัดระเบียบนโยบายต่าง ๆ ซึ่งรวมไปถึงการปฏิรูปภาคการเงินและภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง
  • 1.
    IMF ต้องการให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจลดลง ให้รัฐบาลรัดเข็มขัด กำหนดดอกเบี้ยสูง ลดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะปรับเปลี่ยนโครงสร้างและฟื้นฟูความเชื่อมั่นของนักลงทุน
  • 2.
    IMF ต้องการให้มีการปรับโครงสร้างทั้งภาคการเงินและภาคอุตสาหกรรม ประกอบด้วบ
  • 3.
    การปิดสถาบันทางการเงิน บริษัทอุตสาหกรรม และปรับปรุงกฎให้บริษัทต้องเปิดเผยข้อมูล สามารถตรวจสอบได้
  • 4.
    กำจัดความไม่เป็นธรรมในธุรกิจและการค้า และสนับสนุนการเคลื่อนย้ายในตลาดแรงงานอย่างยืดหยุ่น
2
ในเวลานั้น บริษัทเกาหลีที่กู้เงินจากสถาบันการเงินต่างชาติเยอะๆ ก็ถูกบังคับให้ขายสินทรัพย์หรือบริษัทลูก เพื่อหาเงินมาชำระหนี้เงินตราต่างประเทศ บางบริษัทจำเป็นต้องลดขนาดลง เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ดังนั้นก็เลยมีบริษัทต่างชาติจำนวนมากที่เข้ามาลงทุน หรือเทคโอเวอร์ธุรกิจในเกาหลีใต้ไป จึงกดดันให้บริษัทที่เหลืออยู่ต้องเร่งปรับโครงสร้างเพื่อให้อยู่รอดต่อไปได้
แน่นอนว่ากลุ่มแชโบล ซึ่งมีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดวิกฤติทางการเงินก็ถูกเพ่งเล็งให้ปรับโครงสร้างเช่นกัน
ทาง IMF กดดันให้มีการปฏิรูปแชโบล รัฐบาลของประธานาธิบดีคิมแดจุงในขณะนั้นจึงต้องออกมาตรการตามที่ IMF ต้องการ คือ ให้กลุ่มแชโบลปรับโครงสร้างให้มีความคล่องตัว จากที่แต่เดิมมีการขยายบริษัทออกไปมากมายเกินความจำเป็น ซึ่งมาตรการนั้นประกอบไปด้วย
3
  • 1.
    ควบรวมธุรกิจให้เหลือแต่ธุรกิจที่เป็นความสามารถหลัก
  • 2.
    ปรับโครงสร้างทุน
  • 3.
    ยกเลิกการค้ำประกันหนี้
  • 4.
    ปรับปรุงความโปร่งใสในการบริหารจัดการ
  • 5.
    ปรับปรุงให้การบริหารงานสามารถตรวจสอบได้
3
จนกระทั่งในตอนหลัง ยังมีการเพิ่มกฎออกมาอีก 3 ข้อด้วยกันเพื่อลดการกระทำที่ไม่เหมาะสมในเชิงธุรกิจของแชโบล
1
  • 1.
    ลดการเป็นเจ้าของทางอ้อมในหลาย ๆ บริษัท
  • 2.
    ป้องกันไม่ให้มีการทำธุรกรรมภายในกลุ่มบริษัทแบบไม่แข่งขันตามจริง และการซื้อขายหลักทรัพย์โดยใช้ข้อมูลภายในที่ผิดกฎหมาย
  • 3.
    ป้องกันการหลบเลี่ยงภาษีมรดกและภาษีการให้
4
การปรับโครงสร้างของกลุ่มแชโบล ก็เพื่อที่จะส่งเสริมให้เกิดการแข่งขัน และให้กลุ่มแชโบลสามารถเติบโตได้ด้วยตนเองอย่างแท้จริงเสียที
1
อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าสุดท้ายแล้ว การปรับโครงสร้างแชโบลนั้นอาจไม่ได้เป็นไปอย่างที่ IMF ต้องการ ถ้าดูในซีรีส์จะเห็นว่ามีการใช้อำนาจต่อรองระหว่างกลุ่มแชโบลกับรัฐบาลอยู่หลายต่อหลายครั้ง เพื่อให้เกิดข้อตกลงที่ลงตัวกับทุกฝ่าย
2
การปรับโครงสร้างแชโบลในตอนนั้น จึงอาจกลายเป็นเหมือนมาตรการที่รัฐบาลออกมาเพื่อเหตุผลในเชิงการเมืองมากกว่าเหตุผลทางเศรษฐศาสตร์จริง ๆ ทำให้ในทุกวันนี้ เราก็ยังคงเห็นกลุ่มแชโบลใหญ่ขึ้น และมีอำนาจมากขึ้นเรื่อย ๆ…
3
ผู้เขียน: ชนาภา มานะเพ็ญศิริ Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
3
▶︎ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Line OA : @Bnomics https://bit.ly/3eYkTJC
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
เครดิตภาพ : VIU Original และ tvN

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา