8 ธ.ค. 2022 เวลา 13:21 • ธุรกิจ
จัดการเงินสดผิดพลาด อาจทําลายธุรกิจอย่างคาดไม่ถึง
รู้หรือไม่ว่ากว่า 80% ของธุรกิจ ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ มักพบกับความล้มเหลวหรือปิดตัวลงเพราะไม่สามารถจัดการกระแสเงินสดได้ดีพอ
ต่อไปนี้จะเป็น 10 ข้อผิดพลาดในการจัดการกระแสเงินสด ที่อาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจอย่างร้ายแรง ลองสำรวจดูว่าคุณทําผิดพลาดในข้อใดบ้างหรือไม่ เพื่อจะได้หลีกเลี่ยงปัญหาไม่ให้เกิดกับธุรกิจของคุณได้ค่ะ
1) การกดดันหรือบังคับให้ธุรกิจเติบโต
1
การเติบโตที่ถูกบังคับ จะตามมาซึ่งการใช้เงินสดที่มากขึ้น โดยเข้าใจว่ามันจะสร้างการเติบโตได้ เช่น การทดลองใช้โฆษณาในช่วงแรกแล้วได้รัผลตอบแทนที่ดี จึงเพิ่มค่าใช้จ่ายโฆษณาเพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งอาจไม่ได้ผลลักษณะเดียวกัน
กรณีดังกล่าวนี้ ควรต้องมีการประเมินกระแสเงินสดที่ขาดหายไปภายในกรอบเวลาที่กําหนด เนื่องจากการสูญเสียเงินมากเกินไปจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการดําเนินงานประจําวันได้
2) ใช้จ่ายเรื่องการขายมากเกินไป
1
การใช้จ่ายมากเกินไปกับการได้มาซึ่งลูกค้า อาจนําไปสู่การได้ลูกค้ากลุ่มเล็กๆ ที่สร้างผลตอบแทนได้ไม่มากนัก ซึ่งธุรกิจจํานวนมากมักสะดุดในจุดนี้ เนื่องจากคิดว่าการมีลูกค้ามากขึ้นจะมีกําไรมากขึ้น ซึ่งไม่จริงเสมอไป
โดยทั่วไปของธุรกิจขนาดเล็ก การจะหาลูกค้าใหม่ไม่ใช่เรื่องง่ายและจะต้องมีค่าใช้จ่ายเหล่านี้ ซึ่งมีตัวชี้วัดที่จะชี้ว่าลูกค้านั้น จะนําผลกําไรมาให้หรือไม่ นั่นก็คือ
2
- ต้นทุนการได้มาซึ่งลูกค้า (Acquisition Cost) ซึ่งเป็นจํานวนเงินที่ใช้เพื่อการได้ลูกค้ามาหนึ่งราย
- มูลค่าตลอดช่วงชีวิต (Lifetime Value) ของลูกค้า เป็นรายได้ที่จะได้จากลูกค้าแต่ละรายตลอดช่วงชีวิตของเขา หรือ ตลอด Lifetime Value เขาจะใช้สินค้าและบริการของคุณเป็นจํานวนเงินเท่าใด
ดังนั้น จะต้องมั่นใจว่าค่าตลอดชีพจะต้องสูงกว่าต้นทุนการได้มาของลูกค้า ซึ่งจะมีผลดีต่อกระแสเงินสดของบริษัท
3) การคํานวณกําไรที่ไม่ถูกต้อง
ผู้ประกอบการส่วนมากมักจะคิดราคาจากต้นทุนโดยตรงของสินค้า และตัดค่าใช้จ่ายส่วนเล็กน้อยอื่นๆ ออกไป ไม่นำมาพิจารณาด้วย เช่น ซื้อของมา 60 บาท และขายไปที่ 100 บาท จะคิดว่ามีมาร์จิ้น 30-40% ของยอดขาย
แต่เมื่อพิจารณางบการเงินสิ้นปี จึงรู้ว่าขาดทุน เพราะไม่ได้นำค่าใช้จ่ายส่วนอื่นๆมาพิจารณาด้วย เช่น ค่าจัดส่งสินค้า ค่าวางสินค้าขาย ค่าจัดเก็บสินค้า เป็นต้น
4) การจัดการภาษีที่ไม่เหมาะสม
ภาษีเป็นภาระหน้าที่ตามกฎหมาย และจะต้องชําระเมื่อถึงกําหนด ดังนั้น ควรมีการเตรียมการหรือวางแผนไว้ล่วงหน้า โดยการตั้งสํารองที่เพียงพอ
ภาระภาษีนั้น หากมีการชําระไม่ตรงตามกําหนดหรือชําระไม่ถูกต้องหลายครั้ง กรมสรรพากรสามารถตรวจสอบและมีบทลงโทษ จึงต้องมีการคํานวณประมาณการภาษีที่ต้องจ่ายในปีถัดไป โดยควรระบุอยู่ในแผนทางการเงินของธุรกิจอย่างถูกต้อง
1
5) วางคนไม่ตรงกับงาน
2
การจ้างพนักงานแต่ละครั้งเป็นต้นทุนที่ไม่น้อย โดยเฉพาะกับกิจการขนาดเล็ก ซึ่งผู้ประกอบการส่วนมากมักจะคาดหวังให้พนักงานใหม่มาช่วยเพิ่มยอดขายให้กับกิจการ แต่มาพบภายหลังว่าไม่สามารถทํางานได้ตามที่วางไว้
และบางกรณีกิจการได้จ่ายเงินค่าฝึกอบรมในช่วงแรกของการปฏิบัติงานไปแล้วด้วย ซึ่งเป็นต้นทุนเพิ่มอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาให้รอบคอบเป็นอย่างดี
6) ไม่เตรียมการสําหรับเรื่องฉุกเฉิน
ภัยพิบัติทางธรรมชาติ หรือสินค้าของบริษัทถูกแจ้งเตือน หรือมีข้อร้องเรียนเชิงลบจากลูกค้า คือสิ่งที่ไม่มีใครสามารถควบคุมได้ และเป็นค่าใช้จ่ายที่คาดไม่ถึง ซึ่งสามารถสร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อสถานะเงินสดของกิจการ
แผนฉุกเฉินจึงเป็นสิ่งที่ต้องทําเพื่อให้กิจการปลอดภัยจากเหตุต่างๆ เหล่านี้ อาจไม่มีวิธีป้องกันที่ดีที่สุด แต่เพื่อบรรเทาความรุนแรงได้ ก็คือการประกันภัย หรือเตรียมเงินกองทุนฉุกเฉินเพื่อรักษาธุรกิจให้ผ่านไปได้ในระยะเวลาหนึ่ง
7) ไม่ให้ความสนใจธรรมชาติตามฤดูกาลของธุรกิจ
บางธุรกิจจะพบว่ามีเงินสดมากในช่วงฤดูกาลของธุรกิจ ซึ่งอาจต้องเผชิญกับความยากลําบากในการจัดการกระแสเงินสดประจําวัน
เมื่อฤดูกาลของธุกิจมาถึงกระแสเงินสดก็เริ่มต้นขึ้นและนําไปสู่ภาระผูกพันค่าใช้จ่ายที่ต่อเนื่องถึงช่วงนอกฤดูกาลของธุรกิจ ดังนั้นจะต้องมีการสํารองจํานวนเงินอย่างเพียงพอสําหรับค่าใช้จ่ายคงที่ที่จะเกิดขึ้น
8) ละเลยหรือไม่ให้ความสำคัญกับค่าใช้จ่ายแฝง
1
ค่าใช้จ่ายบางอย่างดูเหมือนไม่มีนัยสําคัญ แต่เมื่อสะสมเป็นเวลาหลายปี จะมีผลกระทบกับบริษัทในภาพรวม
ค่าใช้จ่ายไม่ว่าจะเล็กน้อยแค่ไหนก็เปรียบเสมือนนํ้าที่ไหลออกไปตามรูรั่วเล็กๆ ได้ ถ้าปล่อยให้ดําเนินต่อไปโดยไม่ได้รับการจัดการที่ดี จะสามารถกัดกร่อนผลกําไรของธุรกิจและส่งผลต่อการดํารงอยู่ของธุรกิจในระยะยาวได้
ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียมการชําระเงินล่าช้า ค่าธรรมเนียมการค้าต่างๆ ค่าประกันภัย ค่าใบอนุญาต การใช้ทรัพยากรหรืออุปกรณ์สิ้นเปลืองต่างๆ เป็นต้น
กิจการที่สามารถเติบโตได้อย่างแข็งแรง ต้องอาศัยการดูแลเอาใจใส่ การวางแผนทางการเงินที่ดีพอ ถ้ากิจการมีแผนทางการเงินที่ดีจะช่วยให้เกิดการเตรียมตัวและรับมืออย่างเหมาะสมด้วย
9) ละเลยหนี้ที่ค้างชำระ หรือจ่ายเงินที่ล่าช้า
1
หากเกิดกรณีที่ลูกค้าชําระเงินล่าช้า ก็เข้าใจได้ว่ามันก็ยากที่กิจการจะจ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้หรือซัพพลายเออร์ต่อ แต่หากเจ้าหนี้ไม่ผ่อนปรนการชําระเงิน ธุรกิจก็จำต้องจ่ายเงินออกไปเพื่อรักษาความน่าเชื่อถือ และรักษาเครดิตไว้ต่อไป
10) ละเลยคะแนนเครดิต
1
คะแนนเครดิต คือสิ่งที่ธนาคารใช้ประเมินความสามารถในการชําระหนี้ของผู้ประกอบการ การมีคะแนนที่ไม่ดีอาจทําให้ยากที่จะได้รับการอนุมัติเงินกู้ เจ้าหนี้หรือสถาบันการเงินจะหลีกเลี่ยงการให้สินเชื่อ เพราะมองว่ามีความเสี่ยง
โดยเฉพาะสินเชื่อระยะสั้น ซึ่งส่วนมากไม่จำเป็นต้องใช้หลักทรัพย์คํ้าประกัน และกิจการยังมีความจําเป็นต้องใช้เป็นเงินหมุนเวียนของธุรกิจ ดังนั้นกิจการต้องให้ความสําคัญกับการชําระหนี้ให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่สถาบันการเงินกําหนด
แม้ว่าผู้ประกอบการจะมีไอเดียที่ยอดเยี่ยมในการทําธุรกิจ และกิจการกําลังเติบโตอย่างรวดเร็วตั้งแต่เริ่มประกอบการ ก็มักจะมีปัญหาหลากหลายอย่างเข้ามาให้ต้องเผชิญอย่างไม่หยุดหย่อน
ดังนั้น จำเป็นต้องเรียนรู้วิธีหลีกเลี่ยงปัญหาเหล่านี้เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับธุรกิจที่กําลังเติบโตของคุณไม่ให้สะดุดได้ค่ะ
Cr. classic.set
เรียบเรียงโดย : ลงทุนในบัญชีและภาษี
ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาเยือนค่ะ 😊
ติดตามอ่านบทความอื่นๆ ได้ที่

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา